คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 76

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255-256/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-ความรับผิดกรรมการสหภาพ: ศาลฎีกาวินิจฉัยการฟ้องต้องชัดเจน, ความรับผิดชอบกรรมการแยกต่างหาก
ฟ้องของโจทก์จะถูกต้องสมบูรณ์หรือเคลือบคลุมนั้น อยู่ที่ตัวฟ้องของโจทก์การที่จำเลยจะได้รับสำเนาฟ้องครบถ้วนหรือไม่หาทำให้ฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์กลายเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไปไม่
การกระทำโดยสหภาพแรงงานกับการกระทำโดยกรรมการสหภาพแรงงานนั้นไม่เหมือนกัน เพราะการกระทำโดยสหภาพแรงงานอาจเป็นการกระทำโดยมติของกรรมการอันมีเสียงข้างมากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในระเบียบโดยที่กรรมการบางคนอาจไม่เห็นด้วย และคัดค้านการกระทำของสหภาพแรงงานนั้นก็เป็นได้ฉะนั้นการกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างนั้น เป็นความรับผิดชอบของกรรมการผู้กระทำแต่ละคนไป ผู้ใดมิได้ร่วมกระทำด้วยก็หาต้องรับผิดชอบแต่ประการใดไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามจำนวนวันและเป็นเงินตามบัญชีรายละเอียดท้ายฟ้อง จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการวันเริ่มเข้าทำงาน อัตราค่าจ้าง และรายได้อื่น ๆ ของโจทก์ซึ่งบางรายการก็ตรงกับบัญชีของโจทก์อันเป็นการรับรองว่าถูกต้องบางรายการก็ไม่ตรงหรือไม่มี เท่ากับปฏิเสธว่าไม่ถูกต้อง สำหรับรายการเงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยมิได้ระบุไว้ในบัญชี คงกล่าวไว้ในคำร้องที่ส่งบัญชีต่อศาลอันถือเป็นคำให้การว่านอกเหนือจากนั้นถือว่าปฏิเสธความถูกต้องทั้งสิ้น เพราะยังคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิเสธจำนวนวันและเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134-3135/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายจ้าง: ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลก็เป็นนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
นายจ้างตามคำนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 นอกจากหมายความถึงผู้ที่รับเอาลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งในคดีนี้ได้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของโรงงานกระดาษกาญจนบุรีแล้ว ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลยังหมายความถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นด้วย เมื่อผู้อำนวยการโรงงานกระดาษจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ แม้จะมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303-2311/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะราชการส่วนกลางของโรงงานกระดาษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ได้รับการยกเว้นบังคับใช้ประกาศคุ้มครองแรงงาน จึงอาจต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย
แม้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นราชการส่วนกลางตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515ข้อ 3 และข้อ 5(4) แต่ไม่ปรากฏว่าโรงงานกระดาษเป็นส่วนราชการของกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วย โรงงานกระดาษกรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงมิใช่ราชการส่วนกลางไม่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 บังคับกรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยในฐานะเป็นนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานกระดาษกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นนายจ้างของโจทก์จึงอาจถูกฟ้องให้รับผิดจ่ายค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบังคับใช้ประกาศคุ้มครองแรงงานกับหน่วยงานของรัฐ: โรงงานยาสูบไม่ใช่ราชการส่วนกลาง
โรงงานยาสูบเป็นโรงงานของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1มิใช่ส่วนราชการของจำเลยที่ 1 โรงงานยาสูบจึงมิใช่ราชการส่วนกลาง ต้องอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานยาสูบ และเป็นนายจ้างของโจทก์จึงอาจถูกฟ้องให้รับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ มิใช่เป็นการใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวบังคับแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นราชการส่วนกลาง
จำเลยที่ 2 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมเป็นนายจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 และมีหน้าที่ในฐานะเป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 จำเลยที่ 2 จึงอาจถูกฟ้องเรียกค่าชดเชยได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพ-โบนัส: การคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน - ค่าจ้าง vs. เงินรางวัล
เมื่อนายจ้างมีนโยบายและระเบียบที่จะเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น การที่นายจ้างจ่ายเงินค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นจึงแสดงว่าเป็นการเพิ่มค่าจ้างให้สูงขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังได้ความว่า ภายหลังต่อมานายจ้างก็รวมเงินค่าครองชีพเข้าเป็นค่าจ้างปกติ แสดงให้เห็นว่านายจ้างประสงค์ให้เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง แต่ที่ได้แยกจ่ายออกจากค่าจ้างปกติก็โดยหวังว่าจะทำให้ไม่ต้องนำมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินอื่นเท่านั้น ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ตามระเบียบของบริษัทนายจ้างบริษัทจะไม่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสในปีใดก็ได้ มิได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกปี ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
เพียงแต่จำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมแรงงานจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการคืนเงินสมทบที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนซึ่งมีฐานะเป็นกองสังกัดกรมจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเกินมาแก่โจทก์ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยังเป็นของโจทก์ แม้โอนทะเบียนให้บริษัทขนส่งเพื่อวิ่งรับจ้าง และกองทัพอากาศต้องรับผิดในฐานะผู้สั่งการ
โจทก์นำรถเข้าวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมในเส้นทางสัมปทานของบริษัทขนส่ง จำกัด โดยบริษัทขนส่ง จำกัด เรียกค่าตอบแทนจากโจทก์เป็นรายเที่ยว และโจทก์ต้องทำสัญญาโอนทะเบียนรถใส่ชื่อบริษัทขนส่ง จำกัด เป็นเจ้าของ ในระหว่างที่โจทก์ยังคงใช้รถในเส้นทางดังกล่าวอยู่ สัญญาทำกันเป็นรายปี หากไม่ต่อสัญญาจะต้องโอนทะเบียนรถคืนให้แก่โจทก์ส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการใช้รถยังคงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องจ่ายเองทั้งสิ้น พฤติการณ์ตามข้อตกลงดังกล่าว ไม่พอฟังว่าโจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ในรถให้แก่บริษัทขนส่ง จำกัดไปโดยแท้จริงเพราะไม่ปรากฏว่าบริษัทขนส่งจำกัด ได้ชำระราคารถนั้นแต่อย่างใด ทั้งมีข้อตกลงว่าถ้าไม่มีการต่อสัญญาทะเบียนรถจะโอนกลับเป็นของโจทก์ กรรมสิทธิ์ในรถคันดังกล่าวยังเป็นของโจทก์
กรมการบินพลเรือนเป็นหน่วยราชการในสังกัดของจำเลยที่ 3ร้านค้าในกรมได้ตั้งขึ้นตามอำนาจหน้าที่ของเจ้ากรมเพื่อเป็นการช่วยเหลือข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 3 ในด้านสวัสดิการต่างๆอันเป็นนโยบายประการหนึ่งของจำเลยที่ 3 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 รับราชการมีหน้าที่ขับรถยนต์ของกรมการบินพลเรือน ได้ขับรถยนต์ไปทำการขนข้าวสารอันเป็นกิจการของร้านค้ากรมการบินพลเรือน ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในทางราชการส่วนหนึ่ง ดังนี้ จำเลยที่ 3 จะอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์ นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ไม่ต้องร่วมรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คปลอมแก้ตัวยาแก้ตัวยาก: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเดิม แม้การแก้ไขไม่ประจักษ์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว.ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นมีสิทธิ)ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแก้ไขจำนวนเงิน – ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว. ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์กรณี จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นสิทธิ) ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นข้อสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว. เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการมีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจำเลยและลูกจ้าง
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่าง ๆแม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจนำข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง โจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและลูกจ้าง แม้คำสั่งเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.แรงงานฯ
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่างๆ แม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจข้อกล่าวที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
of 26