พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลทำละเมิด: ฟ้องจำเลยโดยตรงได้ แม้ไม่ได้ระบุตัวผู้กระทำละเมิด และการนำสืบไม่ถือว่านอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลว่าทำละเมิดต่อโจทก์ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดจากเจ้าหน้าที่บริษัทและตำรวจ ยึดรถของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหาย
รถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ น้องชายโจทก์เช่าไปขับรับจ้างชักลากไม้ให้บริษัทจำเลยที่ 3 โดยน้องชายโจทก์ได้เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากจำเลยที่ 3 แล้งยังชักลากไม้ให้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ขอเบิกล่วงหน้าไป ต่อมาโจทก์ต้องการใช้รถยนต์พิพาท จึงให้น้องชายโจทก์พาคนไปขับรถยนต์พิพาทไปเสียจากบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ควบคุมรถยนต์บรรทุกไม้ รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ ได้ไปขอกำลังตำรวจติดตามไปยึดรถยนต์พิพาทไว้โดยคำนึงอยู่แต่อย่างเดียวว่าน้องชายโจทก์ยังคิดค้างหนึ้สินบริษัทจำเลยที่ 3 อยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระหว่างที่ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากผลของการละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 451 ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ติดตามรถยนต์พิพาทไปกับจำเลยที่ 1 และแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจอีกท้องที่หนึ่งยึดรถยนต์พิพาทไว้ เมื่อปรากฏว่าได้กระทำไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตใจจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดจากยึดรถของผู้อื่นโดยเข้าใจผิดถึงหนี้สิน และความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
รถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ น้องชายโจทก์เช่าไปขับรับจ้างชักลากไม้ให้บริษัทจำเลยที่ 3 โดยน้องชายโจทก์ได้เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากจำเลยที่ 3 แล้วยังชักลากไม้ให้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ขอเบิกล่วงหน้าไปต่อมาโจทก์ต้องการใช้รถยนต์พิพาท จึงให้น้องชายโจทก์พาคนไปขับรถยนต์พิพาทไปเสียจากบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ควบคุมรถยนต์บรรทุกไม้รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ ได้ไปขอกำลังตำรวจติดตามไปยึดรถยนต์พิพาทไว้โดยคำนึงอยู่แต่อย่างเดียวว่าน้องชายโจทก์ยังติดค้างหนี้สินบริษัทจำเลยที่ 3 อยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระหว่างที่ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากผลของการละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 451 ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ติดตามรถยนต์พิพาทไปกับจำเลยที่ 1 และแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจอีกท้องที่หนึ่งยึดรถยนต์พิพาทไว้ เมื่อปรากฏว่าได้กระทำไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตใจจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2202/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางละเมิด
พลตำรวจขับรถวิทยุตำรวจทางหลวงทำละเมิดในการขับรถตามหน้าที่ ถือว่าเป็นผู้แทนกรมตำรวจและกรมทางหลวง ทั้ง2 กรมต้องร่วมรับผิดกับพลตำรวจด้วย
โจทก์หลายคนถูกจำเลยขับรถชนโดยประมาท โจทก์ฟ้องมาในคดีเดียวกัน โจทก์ที่ 5 เรียกค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 5 แก่จำเลย
โจทก์หลายคนถูกจำเลยขับรถชนโดยประมาท โจทก์ฟ้องมาในคดีเดียวกัน โจทก์ที่ 5 เรียกค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 5 แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าสังกัดต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจรับกุมโจทก์ในข้อหาว่านำปลาทูสดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้เสียภาษีเพราะจำเลยไม่ทราบว่ามีกฎหมายยกเว้นภาษี โจทก์ชี้แจงว่าไม่ต้องเสียภาษี จำเลยก็ไม่รับฟัง นำโจทก์ไปควบคุมตัวไว้โจทก์ขอขายปลาทูสดเพื่อบรรเทาความเสียหาย จำเลยทั้งสามอนุญาตแล้ว คนของโจทก์ฉีดน้ำเพื่อละลายน้ำแข็งที่แช่ปลาออก ครั้นรุ่งเช้าจำเลยทั้งสามกลับสั่งอายัดไม่ยอมให้ขายจนเวลา 10 นาฬิกา ล่วงเลยเวลาซื้อขายปลาสดตามปกติแล้วจึงอนุญาตให้ขาย เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขายปลาไปในราคาถูก ดังนี้ ถือว่าจำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
เมื่อการละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เกิดขึ้นในการปฏิบัติการตามหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าสังกัดจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ขอใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคแรก
ศาลพิพากษาให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องมิใช่เพียงเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง สำหรับคดีนี้ศาลพิเคราะห์แล้วยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าขึ้นศาลดังกล่าวให้เป็นอย่างอื่น
เมื่อการละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เกิดขึ้นในการปฏิบัติการตามหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าสังกัดจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ขอใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคแรก
ศาลพิพากษาให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องมิใช่เพียงเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง สำหรับคดีนี้ศาลพิเคราะห์แล้วยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าขึ้นศาลดังกล่าวให้เป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้ถูกจับเสียหาย ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย และนิติบุคคลสังกัดต้องรับผิดร่วมด้วย
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโจทก์ในข้อหาว่านำปลาทูสดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้เสียภาษีเพราะจำเลยไม่ทราบว่ามีกฎหมายยกเว้นภาษี โจทก์ชี้แจงว่าไม่ต้องเสียภาษี จำเลยก็ไม่รับฟัง นำโจทก์ไปควบคุมตัวไว้โจทก์ขอขายปลาทูสดเพื่อบรรเทาความเสียหายจำเลยทั้งสามอนุญาตแล้ว คนของโจทก์ฉีดน้ำเพื่อละลายน้ำแข็งที่แช่ปลาออก ครั้นรุ่งเช้าจำเลยทั้งสามกลับสั่งอายัดไม่ยอมให้ขายจนเวลา 10 นาฬิกา ล่วงเลยเวลาซื้อขายปลาสดตามปกติแล้วจึงอนุญาตให้ขาย เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขายปลาไปในราคาถูก ดังนี้ ถือว่าจำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
เมื่อการละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เกิดขึ้นในการปฏิบัติการตามหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าสังกัดจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76วรรคแรก
ศาลพิพากษาให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องมิใช่เพียงเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าขึ้นศาลดังกล่าวให้เป็นอย่างอื่น
เมื่อการละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เกิดขึ้นในการปฏิบัติการตามหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าสังกัดจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76วรรคแรก
ศาลพิพากษาให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องมิใช่เพียงเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าขึ้นศาลดังกล่าวให้เป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมที่ดินต้องรับผิดค่าเสียหายจากความผิดของช่างตรี แต่มีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายจากช่างตรีได้
ช่างตรีเจ้าพนักงานกรมที่ดินโจทก์รายงานไม่ตรงตามความจริงฝ่าฝืนระเบียบ ทำให้เจ้าพนักงานที่ดินสั่งแก้รูปโฉนดที่ดินเจ้าของโฉนดเสียหาย กรมที่ดินต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของโฉนดกรมที่ดินไล่เบี้ยเอาแก่ช่างตรีผู้เป็นต้นเหตุแห่งความเสียหายได้ อายุความการไล่เบี้ยมี 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ไม่ใช่ช่างตรีทำละเมิดต่อกรมที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินหวงห้าม: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการแทนกองทัพบก
ที่พิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเช่า อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2479 ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติให้เป็นอำนาจของผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีที่จะหวงห้ามที่ดินได้ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และต่อมาพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินเสียแล้ว พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไปด้วย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีโดยลำพังจึงหมดอำนาจหวงห้ามที่ดิน แต่ที่พิพาทก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กองทัพบกมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเช่าฯ พ.ศ. 2479 อำนาจดูแลรักษาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตตามพระราชกฤษฎีกานี้จึงตกเป็นของกองทัพบก การที่โจทก์ขอออกโฉนดที่พิพาทและจำเลยคัดค้าน โดยกองทัพบกมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยจึงอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนของกองทัพบกซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่พิพาท
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กองทัพบกมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเช่าฯ พ.ศ. 2479 อำนาจดูแลรักษาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตตามพระราชกฤษฎีกานี้จึงตกเป็นของกองทัพบก การที่โจทก์ขอออกโฉนดที่พิพาทและจำเลยคัดค้าน โดยกองทัพบกมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยจึงอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนของกองทัพบกซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขัดขวางการออกโฉนดที่ดิน: ที่ดินหวงห้าม, อำนาจกองทัพบก, ผู้กระทำการแทน, ไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรง
ที่พิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้ายเซ่าอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2479ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติให้เป็นอำนาจของผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีที่จะหวงห้ามที่ดินได้ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และต่อมาพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินฯเสียแล้ว พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไปด้วย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรี โดยลำพังจึงหมดอำนาจหวงห้ามที่ดิน แต่ที่พิพาทก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรัฐมนนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทยได้มอบหมายให้กองทัพบกมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินตามกฎหมายไว้ในพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเซ่าฯ พ.ศ. 2479 อำนาจดูแลรักษาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตตามพระราชกฤษฎีกานี้จึงตกเป็นของกองทัพบกการที่โจทก์ขอออกโฉนดที่พิพาทและจำเลยคัดค้าน โดยกองทัพบกมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยจึงอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนของกองทัพบพซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่พิพาท
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรัฐมนนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทยได้มอบหมายให้กองทัพบกมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินตามกฎหมายไว้ในพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเซ่าฯ พ.ศ. 2479 อำนาจดูแลรักษาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตตามพระราชกฤษฎีกานี้จึงตกเป็นของกองทัพบกการที่โจทก์ขอออกโฉนดที่พิพาทและจำเลยคัดค้าน โดยกองทัพบกมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยจึงอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนของกองทัพบพซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายฝากไม่ผูกพันจำเลยในการเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ สิทธิการเช่าไม่ตามกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง
โจทก์รับซื้อฝากบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ธรณีสงฆ์ไว้จาก ฉ. มีกำหนด1 ปี โดยมีข้อสัญญาด้วยว่า ถ้า ฉ.ไม่ไถ่บ้านคืนภายใน1ปี ฉ. ยอมโอนสิทธิการเช่าที่ธรณีสงฆ์ให้โจทก์ ครั้นครบ 1 ปี บ้านหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์ ฉ. กลับยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการผลประโยชน์ที่ธรณีสงฆ์ขอโอนสิทธิการเช่าให้แก่ ท. ด. เจ้าหน้าที่ของจำเลยได้รายงานเท็จต่อคณะกรรมการจัดผลประโยชน์ของจำเลยว่าไม่มีบ้านปลูกอยู่ในที่ดินคณะกรรมการจึงอนุญาตให้ ท.เป็นผู้เช่าแทน ฉ. ได้ ดังนี้แม้ในทางปฏิบัติจะมีความเห็นของเจ้าหน้าที่ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าของบ้านผู้นั้นควรได้รับเช่าที่ดินก็ตาม แต่ก็มิใช่ข้อบังคับเด็ดขาดว่า จำเลยต้องให้เช่าเสมอไปการที่มีข้อสัญญาระหว่าง ฉ. กับโจทก์นั้นจำเลยก็มิได้เป็นคู่สัญญาด้วยข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลย ฉะนั้น การที่โจทก์รับซื้อฝากบ้านจนหลุดเป็นสิทธิไม่ก่อให้เกิดสิทธิการเช่าที่ดิน และจำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องให้โจทก์เช่าที่พิพาทการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยทำรายงานเท็จก็เป็นเรื่องทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนส่วนหนึ่งต่างหาก หาใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้โจทก์ไม่ได้เช่าที่พิพาทไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์