พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคลที่ระบุในสัญญา ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" ขอทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่บริษัท ส. และบริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากบริษัท ส. ให้ย้ายไปปฏิบัติงาน มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แก่บริษัท ส. และเฉพาะแก่บริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้น แม้โจทก์จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัท สก. แต่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นลูกจ้างของโจทก์ สัญญาค้ำประกันฉบับดังกล่าวก็หาได้ครอบคลุมถึงโจทก์ด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้ไม่มีตราประทับ และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด เดิมมีโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาโจทก์ถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยมีการทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็น ผู้ให้สัญญา แต่ไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงข้ออื่น ๆ ในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์บางส่วนไปแล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ก็จดทะเบียนถอนโจทก์ออกจากการเป็น ผู้ถือหุ้น ตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติไปตามบันทึกข้อตกลงนั้นเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว จะไม่มีการประทับตราของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำการแทนในนามของจำเลยที่ 1 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดย่อมต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1077 (2) ประกอบด้วยมาตรา 1087 แห่ง ป.พ.พ. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดย่อมต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1077 (2) ประกอบด้วยมาตรา 1087 แห่ง ป.พ.พ. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6873/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง
ในการฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าอำนาจฟ้องของโจทก์เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์คงมีแต่ บ. ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารโดยมิได้มีการประทับตราสำคัญของโจทก์กำกับไว้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ จึงถือไม่ได้ว่า บ. ได้กระทำการโดยชอบในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีผลเท่ากับโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อ ในหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยชอบ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ยื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ในชั้นฎีกาตามเอกสารท้ายฎีกาโดยฝ่ายจำเลยไม่มีโอกาสนำสืบหักล้าง จึงไม่อาจรับฟังได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวสำหรับจำเลยบางคนที่หลบหนี ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ายกฟ้องจำเลยคนใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์คงมีแต่ บ. ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารโดยมิได้มีการประทับตราสำคัญของโจทก์กำกับไว้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ จึงถือไม่ได้ว่า บ. ได้กระทำการโดยชอบในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีผลเท่ากับโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อ ในหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยชอบ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ยื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ในชั้นฎีกาตามเอกสารท้ายฎีกาโดยฝ่ายจำเลยไม่มีโอกาสนำสืบหักล้าง จึงไม่อาจรับฟังได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวสำหรับจำเลยบางคนที่หลบหนี ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ายกฟ้องจำเลยคนใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจำกัด ไม่ถือเป็นส่วนได้เสียในคดีแรงงานที่จำเลยเป็นนิติบุคคล
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ร้อง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย แต่การที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่มีผลโดยตรงต่อผู้ร้อง ทั้งการที่ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยและเป็นผู้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ ก็เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อไม่ปรากฏเหตุอื่นใดที่จะทำให้ผู้ร้องต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ผู้ร้องย่อมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิและไม่มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี ไม่อาจขอเข้าเป็นจำเลยร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9320/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีต้องมีเหตุตามกฎหมาย แม้กรรมการผู้มีอำนาจเป็นคนละนิติบุคคลก็ไม่ถือเป็นคู่ความเดียวกัน
คดีที่จำเลยหยิบยกมาเป็นเหตุในคำร้องให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคหนึ่ง โจทก์คือบริษัท ท. จำเลยคือบริษัท อ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แม้โจทก์คดีนี้จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท อ.และจำเลยจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ท.ก็ตาม จะถือว่าคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นบุคคลต่างรายกัน ชอบที่ศาลจะยกคำร้องของจำเลยโดยเหตุดังกล่าวเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนิติบุคคลต่อละเมิดของผู้แทน แม้ผู้แทนไม่มีความประมาทเลินเล่อ
รถยนต์โดยสารของโจทก์ได้เกิดอุบัติเหตุมีผู้โดยสารตกจากรถของโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีฐานะ เป็นผู้ช่วยพนักงานสอบสวนได้กระทำการโดยนำรถคันที่เกิดเหตุ มาจอดไว้ที่ริมถนนหน้าสถานีตำรวจเพื่อมิให้กีดขวาง ทางจราจรตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ต่อมาอุปกรณ์ในรถของโจทก์สูญหายในขณะอยู่ในความครอบครองดูแลของ พนักงานสอบสวน เหตุละเมิดซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว หากแต่มิได้เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แต่เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนมีคำสั่งยึดรถเนื่องจากรถที่สั่งยึดเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อพนักงานสอบสวนนำรถไปจอดอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามสถานีตำรวจโดยมิได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษาตามสมควร เป็นเหตุให้อุปกรณ์ในรถสูญหายไปบางส่วน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงต้องรับผิด ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 ไม่ว่าผู้แทนของโจทก์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นจะเป็น จำเลยที่ 1 หรือพนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ก็ปฏิเสธ ความรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนิติบุคคลจากละเมิดของเจ้าหน้าที่ แม้ไม่ใช่ความรับผิดโดยตรง
รถยนต์โดยสารของโจทก์ได้เกิดอุบัติเหตุมีผู้โดยสารตกจากรถของโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีฐานะเป็นผู้ช่วยพนักงานสอบสวนได้กระทำการโดยนำรถคันที่เกิดเหตุมาจอดไว้ที่ริมถนนหน้าสถานีตำรวจเพื่อมิให้กีดขวางทางจราจรตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ต่อมาอุปกรณ์ในรถของโจทก์สูญหายในขณะอยู่ในความครอบครองดูแลของพนักงานสอบสวน เหตุละเมิดซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว หากแต่มิได้เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แต่เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนมีคำสั่งยึดรถเนื่องจากรถที่สั่งยึดเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อพนักงานสอบสวนนำรถไปจอดอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามสถานีตำรวจโดยมิได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษาตามสมควร เป็นเหตุให้อุปกรณ์ในรถสูญหายไปบางส่วน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 ไม่ว่าผู้แทนของโจทก์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นจะเป็นจำเลยที่ 1 หรือพนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ก็ปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดเจ้าพนักงานจดทะเบียน: ความประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบเอกสาร ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การซื้อที่ดินของโจทก์ได้ กระทำ ขึ้น ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ กรม ที่ดินจำเลยที่ 2 จึง มั่นใจ และ เชื่อ โดย สุจริตใจ ว่า การ ซื้อ ขายจะ ต้อง สมบูรณ์ และ ถูก ต้อง ตาม กฎหมาย ซึ่ง การ ซื้อ ขายครั้งนี้ จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้มี อำนาจ ใน ฐานะเจ้าพนักงาน ที่ดิน จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน การ ซื้อ ขายเสร็จแล้ว มอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา จึง ทราบ ว่า โฉนด ที่ดิน ที่จำเลย ที่ 1 ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ให้ แก่โจทก์ ทั้งแปด เป็น ของปลอม และ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ไม่ได้ ขายที่ดิน ของตน แต่ประการใด การปลอม บัตร ประจำตัว ประชาชน สำเนา ทะเบียน บ้าน และ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน โดย โจทก์ไม่ทราบ มา ก่อน จำเลย ที่ 1 กับพวก ได้ ร่วมกัน ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือมิฉะนั้น ได้ กระทำ การ ใน หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ โดย มิได้ตรวจสอบ หลักฐาน และ โฉนด ที่ดิน หาก มี การ ตรวจสอบ หลักฐานของ ทาง ราชการ ที่มี อยู่ โดย เฉพาะ โฉนด ที่ดิน ก็ ทราบ ได้ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ที่นำ มา จดทะเบียน เป็น เอกสาร ปลอมการ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ เป็น เจ้าพนักงาน ที่ดิน และ เป็นผู้แทน ของ จำเลยที่ 2 เป็น การ กระทำ หน้าที่ โดย มิชอบ หรือ เป็นการ ประมาท เลินเล่อ อย่าง ร้ายแรง ทำให้ โจทก์ เสียหาย เป็น เงินเท่ากับ ค่าที่ดิน ที่ โจทก์ ทั้งแปด เสียไป อัน เป็น ความ เสียหาย จากผล ละเมิด ที่ จำเลย ที่ 1 กระทำ โดย ตรง นั้น เป็น การ โต้แย้ง สิทธิของ โจทก์ แล้ว โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 มี อำนาจ หน้าที่ อย่างไร และได้ ปฏิบัติ หน้าที่ อย่างไร ซึ่ง การ ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง นั้น แสดงว่า จำเลย ที่ 1 กับ พวก ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือ มิฉะนั้น ก็ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ เป็น ผล ให้ โจทก์ ได้ รับความ เสียหาย และ ได้ บรรยาย ฟ้อง ถึง การ กระทำ หลาย ประการ ซึ่งจำเลย ที่ 1 มี หน้าที่ ปฏิบัติ ทั้ง การ ประทับ ตรา ปลอม หรือ การ ไม่ ตรวจเอกสาร อัน เป็น การ บรรยาย ใน รายละเอียด การ ปฏิบัติ จึง ไม่ ขัดแย้ง กันฟ้อง ของ โจทก์ ได้ แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และคำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้อ อ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อ หา เช่น ว่า นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้อง โจทก์ ไม่ เคลือบ คลุม จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าพนักงาน จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม มีความรู้ ความชำนาญ ใน วิธีการ จดทะเบียน และ ตรวจสอบ เอกสาร ต่าง ๆที่ เกี่ยว ข้อง เป็น พิเศษ ซึ่ง จะ ต้อง ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ข้อ กำหนด และระเบียบ ปฏิบัติ ตาม กฎกระทรวง ที่ วาง ไว้ โดย เคร่งครัด ตาม ขั้น ตอนก่อน ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ลง นาม ใน สารบัญ จดทะเบียน เปลี่ยนแปลง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ขั้นตอน สุดท้าย เมื่อ จำเลย ที่ 1 ได้ พบ ข้อ พิรุธ ใน เรื่อง ความ สามารถ และ ใน เรื่อง อายุ ของ ผู้ขาย ก่อน แล้ว อย่างเห็น ได้ชัดซึ่ง สามารถ นำ ฉบับ ที่ ราชการ รับรอง ถูกต้อง มา ตรวจสอบ ดู ได้ นอกจาก นี้ เมื่อ พบ ข้อ พิรุธ ตั้งแต่ เบื้องต้น การ ตรวจสอบ เอกสาร ย่อมจะ ต้อง ตรวจสอบ ให้ ละเอียด รอบคอบ ยิ่งขึ้น หาก จำเลย ที่ 1 ใช้ความ ระมัดระวัง และ พินิจ พิเคราะห์ ให้ ละเอียด รอบคอบ ตาม อำนาจ หน้าที่ก็ สามารถ ตรวจ พบ ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ดังกล่าว มิใช่ เอกสาร ที่ ถูก ต้อง แท้ จริง ดังนี้ การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น การ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วยความ ประมาท เลินเล่อ เป็น เหตุท ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย ซึ่ง เป็น ผลโดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของ จำเลย ที่ 1 การ ที่ โจทก์ ไม่ ตรวจ สอบ กับ โฉนด ที่ แท้ จริง เสีย ก่อน นั้น เมื่อปรากฏ ว่า มี การ เสนอ ขาย ที่ดิน พิพาท โจทก์ พอใจ แต่ ไม่เชื่อ ใจ ในความ ถูกต้อง จึง ไม่ ทำ สัญญา วาง มัด จำ ไว้ ก่อน แต่ ตกลง นัดทำ การ โอนที เดียว อัน เป็น การ เชื่อมั่น ต่อ การ ตรวจสอบ ของ เจ้าพนักงาน จึง มิใช่ โจทก์มี ส่วน เป็น ความประมาท เลินเล่อ ที่ ไม่ ทำการ ตรวจสอบ โฉนด ที่ดิน ที่แท้ จริงเสีย ก่อน เพราะ ต้อง มี การ ตรวจสอบ โดย เจ้าพนังาน อยู่ แล้ว จำเลย ที่ 1 ผู้ทำละเมิด จะ ปฏิเสธ ความ รับผิด ใน เหตุ ดังกล่าว หาได้ไม่ เมื่อ ความ เสีย หาย เป็น ผล โดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของจำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม หน้าที่ โดย โจทก์ ไม่มีส่วน ต้อง รับผิด ด้วย จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วม รับ ผิด กับ จำเลยที่ 1 ด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าพนักงานที่ดินต่อความเสียหายจากการจดทะเบียนโฉนดที่ดินปลอม โดยประมาทเลินเล่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การซื้อที่ดินของโจทก์ได้กระทำขึ้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 2 จึงมั่นใจและเชื่อโดยสุจริตใจว่าการซื้อขายจะต้องสมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการซื้อขายครั้งนี้ จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนการซื้อขายเสร็จแล้วมอบโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินให้แก่โจทก์ ต่อมาจึงทราบว่าโฉนดที่ดินที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งแปดเป็นของปลอมและเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ได้ขายที่ดินของตนแต่ประการใดการปลอมบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินโดยโจทก์ไม่ทราบมาก่อน จำเลยที่ 1 กับพวกได้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่หรือมิฉะนั้นได้กระทำการในหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยมิได้ตรวจสอบหลักฐานและโฉนดที่ดิน หากมีการตรวจสอบหลักฐานของทางราชการที่มีอยู่โดยเฉพาะโฉนดที่ดินก็ทราบได้ว่าโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่นำมาจดทะเบียนเป็นเอกสารปลอม การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินและเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำหน้าที่โดยมิชอบหรือเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์เสียหายเป็นเงินเท่ากับค่าที่ดินที่โจทก์ทั้งแปดเสียไปอันเป็นความเสียหายจากผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยตรงนั้น เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่อย่างไรและได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องนั้นแสดงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกทุจริตต่อหน้าที่ หรือมิฉะนั้นก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นผลให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำหลายประการซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติ ทั้งการประทับตราปลอม หรือการไม่ตรวจเอกสาร อันเป็นการบรรยายในรายละเอียดการปฏิบัติ จึงไม่ขัดแย้งกันฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีความรู้ความชำนาญในวิธีการจดทะเบียนและตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่วางไว้โดยเคร่งครัดตามขั้นตอน ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะลงนามในสารบัญจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1ได้พบข้อพิรุธในเรื่องความสามารถ และในเรื่องอายุของผู้ขายก่อนแล้วอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสามารถนำฉบับที่ราชการรับรองถูกต้องมาตรวจสอบดูได้ นอกจากนี้เมื่อพบข้อพิรุธตั้งแต่เบื้องต้น การตรวจสอบเอกสารย่อมจะต้องตรวจสอบให้ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังและพินิจพิเคราะห์ให้ละเอียดรอบคอบตามอำนาจหน้าที่ก็สามารถตรวจพบว่า โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินดังกล่าวมิใช่เอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ไม่ตรวจสอบกับโฉนดที่แท้จริงเสียก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่ามีการเสนอขายที่ดินพิพาท โจทก์พอใจแต่ไม่เชื่อใจในความถูกต้องจึงไม่ทำสัญญาวางมัดจำไว้ก่อน แต่ตกลงนัดทำการโอนทีเดียว อันเป็นการเชื่อมั่นต่อการตรวจสอบของเจ้าพนักงาน จึงมิใช่โจทก์มีส่วนเป็นความประมาทเลินเล่อที่ไม่ทำการตรวจสอบโฉนดที่ดินที่แท้จริงเสียก่อน เพราะต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานอยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดจะปฏิเสธความรับผิดในเหตุดังกล่าวหาได้ไม่
เมื่อความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ตามหน้าที่ โดยโจทก์ไม่มีส่วนต้องรับผิดด้วยจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่อย่างไรและได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องนั้นแสดงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกทุจริตต่อหน้าที่ หรือมิฉะนั้นก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นผลให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำหลายประการซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติ ทั้งการประทับตราปลอม หรือการไม่ตรวจเอกสาร อันเป็นการบรรยายในรายละเอียดการปฏิบัติ จึงไม่ขัดแย้งกันฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีความรู้ความชำนาญในวิธีการจดทะเบียนและตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่วางไว้โดยเคร่งครัดตามขั้นตอน ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะลงนามในสารบัญจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1ได้พบข้อพิรุธในเรื่องความสามารถ และในเรื่องอายุของผู้ขายก่อนแล้วอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสามารถนำฉบับที่ราชการรับรองถูกต้องมาตรวจสอบดูได้ นอกจากนี้เมื่อพบข้อพิรุธตั้งแต่เบื้องต้น การตรวจสอบเอกสารย่อมจะต้องตรวจสอบให้ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังและพินิจพิเคราะห์ให้ละเอียดรอบคอบตามอำนาจหน้าที่ก็สามารถตรวจพบว่า โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินดังกล่าวมิใช่เอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ไม่ตรวจสอบกับโฉนดที่แท้จริงเสียก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่ามีการเสนอขายที่ดินพิพาท โจทก์พอใจแต่ไม่เชื่อใจในความถูกต้องจึงไม่ทำสัญญาวางมัดจำไว้ก่อน แต่ตกลงนัดทำการโอนทีเดียว อันเป็นการเชื่อมั่นต่อการตรวจสอบของเจ้าพนักงาน จึงมิใช่โจทก์มีส่วนเป็นความประมาทเลินเล่อที่ไม่ทำการตรวจสอบโฉนดที่ดินที่แท้จริงเสียก่อน เพราะต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานอยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดจะปฏิเสธความรับผิดในเหตุดังกล่าวหาได้ไม่
เมื่อความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ตามหน้าที่ โดยโจทก์ไม่มีส่วนต้องรับผิดด้วยจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์ในคดีต่อมา แม้มีมูลเหตุเดียวกัน หลักการบุคคลภายนอก
คดีที่จำเลยฟ้องขอให้บังคับ ภ. ชำระเงินค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยนั้น เมื่อเป็นกรณีที่จำเลยฟ้องภ. ในฐานะเป็นเจ้าของและผู้ขับรถยนต์เก๋งคันเกิดเหตุมิใช่ฟ้อง ภ.ในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจ ทำการแทนนิติบุคคลซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ แม้ ภ. เป็นกรรมการโจทก์แต่เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีฐานะแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นทั้งหลาย ถือว่าโจทก์คดีนี้จึงเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ ผลแห่งคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีนั้น และหามีผลผูกพันหรือยันโจทก์คดี นี้ได้ไม่ ในการพิจารณาคดีแพ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ชี้ขาดไว้มาเป็นหลักในการวินิจฉัย แม้ว่าคดีทั้งสองนั้นจะมีมูลกรณีเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกันก็ตาม