พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการตรวจสภาพรถและการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากเหตุฝากระโปรงหลุด
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นตำรวจ มีหน้าที่ขับรถยนต์ของทางราชการกรมตำรวจจำเลยที่ 3 วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถจิ๊ปของจำเลยที่ 3 ไปราชการตามหน้าที่โดยมิได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูรถก่อนจะขับออกไปว่าฝากระโปรงครอบหน้ารถอยู่ใน สภาพเรียบร้อยหรือไม่ เมื่อรถยนต์คันจำเลยที่ 1 ขับแล่นสวนทางกับรถยนต์คันที่ อ. ขับ ซึ่งมีโจทก์นั่งมาข้างหน้าด้วย ฝากระโปรงครอบเครื่องยนต์หน้ารถคันจำเลยที่ 1 ขับได้หลุดไปปะทะกระจกหน้ารถคันที่โจทก์นั่ง แตกทะลุไปถูกหน้าโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสเหตุฝากระโปรงครอบเครื่องยนต์หน้ารถหลุดออกไป ก็เพราะสปริงขอเกาะฝากระโปรงอ่อนและเบ้าที่รองรับโคนขอรั้งสึก ทำให้เบ้าหลวม เนื่องจากใช้มานานจึงเกิดการเสื่อมสภาพ เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถไปด้วยความเร็ว 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนพื้นถนนราดยางที่ไม่เรียบและมีลมพัดแรง จึงเกิดความสั่นสะเทือนอย่างแรง ทำให้ขอรั้งหลุดออกลมเข้าไปในฝากระโปรงหน้ารถเมื่อถูกลมแรง ๆ จึงหลุดออกไปจากตัวรถ ซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องระมัดระวังตรวจตราทำให้อยู่ในสภาพดีเสียก่อนนำไปใช้ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแต่หาได้จัดการอย่างใดไม่ ดังนี้เหตุนี้เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเพราะไม่ใช่กระโปรงหน้ารถอยู่ในสภาพแข็งแรงเรียบร้อยตามสภาพแล้ว เกิดจากภัยนอกอำนาจซึ่งไม่อาจรู้และป้องกันได้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารและไปรษณีย์ต่อการจ่าย/ส่ง ตั๋วแลกเงินที่ถูกแก้ไขและสูญหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลย 5 โดยระบุตำแหน่งหน้าที่การงานมาด้วย ให้รับผิดต่อโจทก์ในการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการฟ้องให้รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว ที่โจทก์กล่าวถึงตำแหน่งหน้าที่การงานของจำเลยมาด้วยนั้นก็เพื่อให้นายจ้างและกรมเจ้าสังกัดของจำเลยต้องร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลย
โจทก์ขอซื้อตั๋วแลกเงิน 3 ฉบับจากธนาคารออมสิน สาขาปทุมวัน ซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่ 1 ส่งไปให้ ท. ที่จังหวัดสตูลโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแต่หายไป โจทก์ได้แจ้งความต่อตำรวจและขออายัดเงินที่ธนาคารออมสิน สาขาปทุมวัน แต่ปรากฏว่ามีผู้ขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว 2 ฉบับ โดยไปรับเงินจากธนาคารออมสิน สาขาศรีราชาและสาขาหนองมน ก่อนโจทก์แจ้งอายัดตั๋วแลกเงินที่มีผู้รับเงินไปแล้วนั้นมีรอยต่อเติมชื่อและนามสกุลของ ท. ในช่องจ่ายซึ่งมองเห็นได้ชัดทั้งสีหมึกและรอยต่อเติมตัวอักษร การจ่ายเงินของผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาศรีราชาและสาขาหนองมน จึงเป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่อในฐานะที่มีหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ผู้จัดการสาขาธนาคารออมสินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินไปจึงต้องรับผิด และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมด้วย
โจทก์ส่งตั๋วแลกเงินพร้อมกับจดหมายไปให้ ท. โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แต่มิได้แจ้งการส่งตั๋วแลกเงินให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายไปรษณีย์ทราบ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่รับผิดชอบแต่เฉพาะไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ส่งไปหายเท่านั้น ซึ่งตามระเบียบกรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ฉบับละ 40 บาท แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าไปรษณีย์ภัณฑ์ที่สูญหาย หากแต่เรียกร้องเงินตามตั๋วแลกเงินที่สูญหายไป ซึ่งจำเลยที่ 5 ไม่มีหน้าที่จะต้องรู้และรับผิดในวัตถุอันมีค่าที่บรรจุอยู่ในไปรษณีย์ภัณฑ์นั้น การที่ตั๋วแลกเงินของโจทก์สูญหายไป เป็นความเสียหายที่จำเลยที่ 5 ไม่สามารถจะคาดเห็นได้จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิด อันเป็นผลถึงกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 4 ด้วย
คำบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ขอซื้อตั๋วแลกเงิน 3 ฉบับจากธนาคารออมสิน สาขาปทุมวัน ซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่ 1 ส่งไปให้ ท. ที่จังหวัดสตูลโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแต่หายไป โจทก์ได้แจ้งความต่อตำรวจและขออายัดเงินที่ธนาคารออมสิน สาขาปทุมวัน แต่ปรากฏว่ามีผู้ขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว 2 ฉบับ โดยไปรับเงินจากธนาคารออมสิน สาขาศรีราชาและสาขาหนองมน ก่อนโจทก์แจ้งอายัดตั๋วแลกเงินที่มีผู้รับเงินไปแล้วนั้นมีรอยต่อเติมชื่อและนามสกุลของ ท. ในช่องจ่ายซึ่งมองเห็นได้ชัดทั้งสีหมึกและรอยต่อเติมตัวอักษร การจ่ายเงินของผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาศรีราชาและสาขาหนองมน จึงเป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่อในฐานะที่มีหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ผู้จัดการสาขาธนาคารออมสินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินไปจึงต้องรับผิด และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมด้วย
โจทก์ส่งตั๋วแลกเงินพร้อมกับจดหมายไปให้ ท. โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แต่มิได้แจ้งการส่งตั๋วแลกเงินให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายไปรษณีย์ทราบ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่รับผิดชอบแต่เฉพาะไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ส่งไปหายเท่านั้น ซึ่งตามระเบียบกรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ฉบับละ 40 บาท แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าไปรษณีย์ภัณฑ์ที่สูญหาย หากแต่เรียกร้องเงินตามตั๋วแลกเงินที่สูญหายไป ซึ่งจำเลยที่ 5 ไม่มีหน้าที่จะต้องรู้และรับผิดในวัตถุอันมีค่าที่บรรจุอยู่ในไปรษณีย์ภัณฑ์นั้น การที่ตั๋วแลกเงินของโจทก์สูญหายไป เป็นความเสียหายที่จำเลยที่ 5 ไม่สามารถจะคาดเห็นได้จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิด อันเป็นผลถึงกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 4 ด้วย
คำบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารและไปรษณีย์ต่อการจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินที่ถูกแก้ไข และความประมาทเลินเล่อในการดูแลส่งมอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลย 5 โดยระบุตำแหน่งหน้าที่การงานมาด้วย ให้รับผิดต่อโจทก์ในการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการฟ้องให้รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว ที่โจทก์กล่าวถึงตำแหน่งหน้าที่การงานของจำเลยมาด้วยนั้นก็เพื่อให้นายจ้างและกรมเจ้าสังกัดของจำเลยต้องร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลย
โจทก์ขอซื้อตั๋วแลกเงิน 3 ฉบับจากธนาคารออมสิน สาขาปทุมวันซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่ 1 ส่งไปให้ ท. ที่จังหวัดสตูลโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแต่หายไป โจทก์ได้แจ้งความต่อตำรวจและขออายัดเงินที่ธนาคารออมสิน สาขาปทุมวัน แต่ปรากฏว่ามีผู้ขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว 2 ฉบับ โดยไปรับเงินจากธนาคารออมสิน สาขาศรีราชาและสาขาหนองมน ก่อนโจทก์แจ้งอายัดตั๋วแลกเงินที่มีผู้รับเงินไปแล้วนั้นมีรอยต่อเติมชื่อและนามสกุลของ ท. ในช่องจ่ายซึ่งมองเห็นได้ชัดทั้งสีหมึกและรอยต่อเติมตัวอักษร การจ่ายเงินของผู้จัดการธนาคารออมสินสาขาศรีราชาและสาขาหนองมน จึงเป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่อในฐานะที่มีหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการจ่ายเงินจำเลยที่ 2ผู้จัดการสาขาธนาคารออมสินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินไปจึงต้องรับผิด และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมด้วย
โจทก์ส่งตั๋วแลกเงินพร้อมกับจดหมายไปให้ ท. โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แต่มิได้แจ้งการส่งตั๋วแลกเงินให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายไปรษณีย์ทราบ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่รับผิดชอบแต่เฉพาะไปรษณียภัณฑ์ที่ส่งไปหายเท่านั้น ซึ่งตามระเบียบกรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ฉบับละ 40 บาท แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าไปรษณียภัณฑ์ที่สูญหาย หากแต่เรียกร้องเงินตามตั๋วแลกเงินที่สูญหายไปซึ่งจำเลยที่ 5 ไม่มีหน้าที่จะต้องรู้และรับผิดในวัตถุอันมีค่าที่บรรจุอยู่ในไปรษณียภัณฑ์นั้น การที่ตั๋วแลกเงินของโจทก์สูญหายไป เป็นความเสียหายที่จำเลยที่ 5 ไม่สามารถจะคาดเห็นได้จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดอันเป็นผลถึงกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 4 ด้วย
คำบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ขอซื้อตั๋วแลกเงิน 3 ฉบับจากธนาคารออมสิน สาขาปทุมวันซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่ 1 ส่งไปให้ ท. ที่จังหวัดสตูลโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแต่หายไป โจทก์ได้แจ้งความต่อตำรวจและขออายัดเงินที่ธนาคารออมสิน สาขาปทุมวัน แต่ปรากฏว่ามีผู้ขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว 2 ฉบับ โดยไปรับเงินจากธนาคารออมสิน สาขาศรีราชาและสาขาหนองมน ก่อนโจทก์แจ้งอายัดตั๋วแลกเงินที่มีผู้รับเงินไปแล้วนั้นมีรอยต่อเติมชื่อและนามสกุลของ ท. ในช่องจ่ายซึ่งมองเห็นได้ชัดทั้งสีหมึกและรอยต่อเติมตัวอักษร การจ่ายเงินของผู้จัดการธนาคารออมสินสาขาศรีราชาและสาขาหนองมน จึงเป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่อในฐานะที่มีหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการจ่ายเงินจำเลยที่ 2ผู้จัดการสาขาธนาคารออมสินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินไปจึงต้องรับผิด และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมด้วย
โจทก์ส่งตั๋วแลกเงินพร้อมกับจดหมายไปให้ ท. โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แต่มิได้แจ้งการส่งตั๋วแลกเงินให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายไปรษณีย์ทราบ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่รับผิดชอบแต่เฉพาะไปรษณียภัณฑ์ที่ส่งไปหายเท่านั้น ซึ่งตามระเบียบกรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ฉบับละ 40 บาท แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าไปรษณียภัณฑ์ที่สูญหาย หากแต่เรียกร้องเงินตามตั๋วแลกเงินที่สูญหายไปซึ่งจำเลยที่ 5 ไม่มีหน้าที่จะต้องรู้และรับผิดในวัตถุอันมีค่าที่บรรจุอยู่ในไปรษณียภัณฑ์นั้น การที่ตั๋วแลกเงินของโจทก์สูญหายไป เป็นความเสียหายที่จำเลยที่ 5 ไม่สามารถจะคาดเห็นได้จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดอันเป็นผลถึงกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 4 ด้วย
คำบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรมไปรษณีย์โทรเลขต่อความเสียหายจากรถรับส่งข้าราชการ แม้เป็นการให้บริการนอกเวลา
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2ในตำแหน่งบุรุษไปรษณีย์ มีหน้าที่ขับรถรับส่งไปรษณียภัณฑ์และรับส่งเงิน จำเลยที่ 2 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2รับส่งข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขนอกเวลาปฏิบัติงานปกติของทางราชการตามมติของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เห็นว่า เป็นประโยชน์ในการที่ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขจะไม่ต้องมาปฏิบัติราชการสาย ทั้งอำนวยความสะดวกสบายและประหยัดแก่ข้าราชการ อันเป็นการให้สวัสดิการแก่ข้าราชการ และเป็นประโยชน์แก่ราชการของจำเลยที่ 2 ด้วย.ถือว่าจำเลยที่ 1 ทำงานตามทางการที่จำเลยที่ 2 จ้าง แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับค่าจ้างพิเศษอีกเป็นรายเดือนเป็นค่าทำงานล่วงเวลาโดยจ่ายจากเงินค่าโดยสารซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เรียกเก็บจากข้าราชการที่โดยสารรถยนต์นั้นก็หาเป็นเหตุให้การกระทำของจำเลยที่ 1 มิใช่ราชการของจำเลยที่ 2 ไม่
เมื่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2ลงมติให้จัดรถรับส่งข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นสวัสดิการเพื่อประโยชน์ที่ข้าราชการจะได้มาปฏิบัติราชการทันเวลา อันเป็นประโยชน์แก่ราชการของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็อนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำรถของจำเลยที่ 2 ไปบริการได้ตามที่ที่ประชุมลงมติการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติงานในราชการของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัด หาอยู่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 ไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถนั้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
เมื่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2ลงมติให้จัดรถรับส่งข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นสวัสดิการเพื่อประโยชน์ที่ข้าราชการจะได้มาปฏิบัติราชการทันเวลา อันเป็นประโยชน์แก่ราชการของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็อนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำรถของจำเลยที่ 2 ไปบริการได้ตามที่ที่ประชุมลงมติการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติงานในราชการของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัด หาอยู่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 ไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถนั้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อการกระทำของลูกจ้างในการปฏิบัติงานตามมติของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2ในตำแหน่งบุรุษไปรษณีย์ มีหน้าที่ขับรถรับส่งไปรษณีย์ภัณฑ์และรับส่งเงิน จำเลยที่ 2 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 รับส่งข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขนอกเวลาปฏิบัติงานปกติของทางราชการตามมติของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เห็นว่า เป็นประโยชน์ในการที่ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขจะไม่ต้องมาปฏิบัติราชการสาย ทั้งอำนวยความสะดวกสบายและประหยัดแก่ข้าราชการ อันเป็นการให้สวัสดิการแก่ข้าราชการ และเป็นประโยชน์แก่ราชการของจำเลยที่ 2 ด้วย.ถือว่าจำเลยที่ 1 ทำงานตามทางการที่จำเลยที่ 2 จ้าง แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับค่าจ้างพิเศษอีกเป็นรายเดือนเป็นค่าทำงานล่วงเวลาโดยจ่ายจากเงินค่าโดยสารซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เรียกเก็บจากข้าราชการที่โดยสารรถยนต์นั้น ก็หาเป็นเหตุให้การกระทำของจำเลยที่ 1 มิใช่ราชการของจำเลยที่ 2 ไม่
เมื่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2ลงมติให้จัดรถรับส่งข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นสวัสดิการเพื่อประโยชน์ที่ข้าราชการจะได้มาปฏิบัติราชการทันเวลา อันเป็นประโยชน์แก่ราชการของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็อนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำรถของจำเลยที่ 2 ไปบริการได้ตามที่ที่ประชุมลงมติการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติงานในราชการของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัด หาอยู่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 ไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถนั้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
เมื่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2ลงมติให้จัดรถรับส่งข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นสวัสดิการเพื่อประโยชน์ที่ข้าราชการจะได้มาปฏิบัติราชการทันเวลา อันเป็นประโยชน์แก่ราชการของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็อนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำรถของจำเลยที่ 2 ไปบริการได้ตามที่ที่ประชุมลงมติการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติงานในราชการของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัด หาอยู่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 ไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถนั้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกระทรวงมหาดไทยกำหนดจ่ายเงินชดเชยจากการเลิกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติและบทนิยามค่าจ้าง
กรมแรงงานจำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย อันความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนคืออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง เมื่ออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับลูกจ้างเกี่ยวด้วยเงินชดเชยซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ หาจำต้องฟ้องอธิบดีกรมแรงงานในฐานะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ได้ออกคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนับว่าเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งที่จำเลยทั้งสองออกมาบังคับแก่โจทก์ตกเป็นโมฆะ มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 และไม่ใช่กรณีละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯ ข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514 มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น 'ค่าจ้าง' ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯ ข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514 มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น 'ค่าจ้าง' ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชยจากการเลิกจ้าง: อำนาจของกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดตามประกาศคณะปฏิวัติ และการบังคับใช้ตามกฎหมายแรงงาน
กรมแรงงานจำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอันความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนคืออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง เมื่ออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับลูกจ้างเกี่ยวด้วยเงินชดเชยซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ หาจำต้องฟ้องอธิบดีกรมแรงงานในฐานะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ได้ออกคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนับว่าเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งที่จำเลยทั้งสองออกมาบังคับแก่โจทก์ตกเป็นโมฆะ มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 และไม่ใช่กรณีละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น "ค่าจ้าง" ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น "ค่าจ้าง" ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการค้าที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือข้าราชการ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาล มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า ส่วนร้านค้าขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขหรือ อ.ส.ค. ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการ และจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค.ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลขและประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. แต่ร้านค้า อ.ส.ค.มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อร้านค้า อ.ส.ค. มิใช่ราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของร้านค้า อ.ส.ค. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 28/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้ากองที่ออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงระเบียบการจ่ายเงิน ทำให้เกิดความเสียหายต่อธนาคาร
ธนาคารออมสินโจทก์ได้ออกคำสั่งวางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนเงินของนักเรียนผู้ฝากเงินนอกสถานที่ไว้ว่า เวลาจะถอนนักเรียนต้องมอบฉันทะให้อาจารย์ผู้ปกครองเป็นผู้ขอถอนให้โดยลงชื่อในใบมอบฉันทะ แล้วมอบให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารนำมาเบิกเงินที่ธนาคารเมื่อตรวจสอบกับบัญชีเงินฝากมียอดเงินถูกต้อง ก็ให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารเซ็นรับเงินไปตามที่ขอถอน แล้วนำใบถอนเงินกลับไปให้ผู้รับมอบฉันทะเซ็นชื่อในช่องผู้รับเงินในใบถอน แล้วจึงมอบเงินให้ จำเลยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองส่งเสริมการออมทรัพย์ของธนาคารออมสินโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว และได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวมาหลายปี แต่ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งใหม่โดยมิชอบด้วยระเบียบแบบแผนแก่พนักงานในบังคับบัญชาของจำเลย เปลี่ยนแปลงทางปฏิบัติตามคำสั่งเดิมที่วางไว้ว่า เมื่อมีการถอนเงินก็ให้มอบฉันทะให้พนักงานธนาคารมาถอนแล้ว พนักงานผู้มาถอนก็รับเงินของผู้ฝากไปมอบให้แก่ผู้ถอนนอกสถานที่ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ทำให้ปราศจากหลักฐานในการตรวจสอบว่าพนักงานจ่ายเงินให้แก่ตัวผู้ถอนหรือไม่ และเป็นเหตุให้พนักงานใต้บังคับบัญชาของจำเลยซึ่งได้รับมอบฉันทะจากนักเรียนให้มาถอนเงินแทนได้รับเงินแล้วไม่นำไปมอบให้แก่นักเรียนผู้มอบฉันทะ ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นผู้ออกคำสั่งย่อมต้องรับผิดในฐานะที่จำเลยเป็นผู้ประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารออมสินโจทก์ เมื่อผู้ฝากเงินยังไม่ได้รับเงินไป เพราะความผิดของพนักงานธนาคารซึ่งจำเลยต้องร่วมรับผิดชอบด้วย โดยธนาคารออมสินโจทก์ต้องรับสำรองจ่ายให้แก่ผู้ฝากไป ธนาคารออมสินโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญาจากการถือหุ้นเกินสัดส่วนในธนาคารพาณิชย์ ทำให้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นตกไป
บริษัทโจทก์และบริษัทจำเลยที่ 1 ต่างรู้เห็นร่วมกันให้บริษัทจำเลยที่ 1ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ มีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทโจทก์เป็นจำนวนเกินกว่าที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์บัญญัติไว้ อันเป็นความผิดทางอาญา ย่อมได้ชื่อว่าต่างไม่สุจริตด้วยกัน เพราะร่วมกันก่อให้เกิดความผิดทางอาญาขึ้น บริษัทโจทก์จะยกสิทธิอันไม่สุจริต ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วยกันมาเรียกร้องเงินค่าหุ้นของบริษัทโจทก์ซึ่งยังไม่ได้รับชำระจากบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่สุจริตด้วยกันหาได้ไม่เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดด้วย กรณีดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องเรียกเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระอันเกิดจากการร่วมกันใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการผู้ทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทโจทก์ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 มาใช้หาได้ไม่