คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 76

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโอนหุ้นที่ผิดกฎหมายธนาคารพาณิชย์ ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าหุ้นขาดผลบังคับใช้
บริษัทโจทก์และบริษัทจำเลยที่ 1 ต่างรู้เห็นร่วมกันให้บริษัทจำเลยที่ 1ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ มีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทโจทก์เป็นจำนวนเกินกว่าที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์บัญญัติไว้ อันเป็นความผิดทางอาญา ย่อมได้ชื่อว่าต่างไม่สุจริตด้วยกัน เพราะร่วมกันก่อให้เกิดความผิดทางอาญาขึ้น บริษัทโจทก์จะยกสิทธิอันไม่สุจริตซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วยกันมาเรียกร้องเงินค่าหุ้นของบริษัทโจทก์ซึ่งยังไม่ได้รับชำระจากบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่สุจริตด้วยกันหาได้ไม่เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดด้วย กรณีดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องเรียกเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระอันเกิดจากการร่วมกันใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการผู้ทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทโจทก์ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 มาใช้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการสงเคราะห์ที่จัดตั้งขึ้น แม้จะมิได้มีวัตถุประสงค์ในการค้า
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้น อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้น เพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหาก มิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อหนี้สินของกิจการสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ใช้เงินงบประมาณ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค.ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของ ร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการช่วยเหลือข้าราชการ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า ส่วนร้านค้าขององค์การสงเคราะห์ ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการ และจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่งผู้จัดการ แต่มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และเป็นกิจการต่างหาก มิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อร้านค้า อ.ส.ค.มิใช่ราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของร้านค้า อ.ส.ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือข้าราชการ แต่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า ส่วนร้านค้าขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการ และจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่งผู้จัดการ แต่มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อร้านค้า อ.ส.ค. มิใช่ราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของร้านค้า อ.ส.ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมเปลี่ยนแปลงสิทธิสัญญาเช่าและการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ ให้โจทก์เช่าห้องในโรงแรมจำเลยตามสัญญากำหนดว่าโจทก์จะต้องเสนอแบบแปลนการตบแต่งห้องให้จำเลยอนุญาตและทำตามที่จำเลยอนุมัติ หาไม่ให้จำเลยเลิกสัญญาและริบเงินประกันการเช่าได้ แม้จะปรากฏว่าโจทก์เข้าไปจัดการตบแต่งห้อง โดยไม่ได้เสนอแบบแปลนต่อจำเลยเสียก่อน แต่การที่จำเลยมอบกุญแจห้องให้โจทก์เข้าไปตบแต่งห้องและมีคนของจำเลยเข้าไปบงการดูแลในการตบแต่งทั้งจำเลยก็กระทำกิจการอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ปล่อยให้โจทก์ตบแต่งห้องได้ โดยไม่คัดค้านประการใด พฤติการณ์แวดล้อมดังนี้เป็นปริยายว่าจำเลยได้อนุญาตให้โจทก์เข้าตบแต่งห้องเช่าได้ โดยไม่ต้องยื่นแบบแปลนแล้ว จำเลยจะกลับมาอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญา ไม่เสนอแบบแปลนก่อนตบแต่งหาได้ไม่
จำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาให้เช่าและเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจนโจทก์ต้องมาฟ้องเรียกเงินประกันการเช่าคืนและเรียกค่าเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมเลิกการเช่ากับจำเลยแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินประกันการเช่าที่จะได้คืนจากจำเลยนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินนั้นไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อโจทก์ขอเพียงนับตั้งแต่วันที่จำเลยบอกเลิกสัญญาศาลย่อมพิพากษาให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าเสียหายโจทก์เรียกได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด เมื่อไม่ปรากฏวันผิดนัดแน่นอนศาลย่อมคิดให้นับแต่วันฟ้อง
กรรมการทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่ต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมเปลี่ยนแปลงสิทธิในสัญญาเช่า และการผิดสัญญาทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ ให้โจทก์เช่าห้องในโรงแรมจำเลยตามสัญญากำหนดว่าโจทก์จะต้องเสนอแบบแปลนการตบแต่งห้องให้จำเลยอนุญาตและทำตามที่จำเลยอนุมัติ หาไม่ให้จำเลยเลิกสัญญาและริบเงินประกันการเช่าได้ แม้จะปรากฏว่าโจทก์เข้าไปจัดการตบแต่งห้อง โดยไม่ได้เสนอแบบแปลนต่อจำเลยเสียก่อน แต่การที่จำเลยมอบกุญแจห้องให้โจทก์เข้าไปตบแต่งห้องและมีคนของจำเลยเข้าไปบงการดูแลในการตบแต่ง ทั้งจำเลยก็กระทำกิจการอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ปล่อยให้โจทก์ตบแต่งห้องได้ โดยไม่คัดค้านประการใด พฤติการณ์แวดล้อมดังนี้เป็นปริยายว่าจำเลยได้อนุญาตให้โจทก์เข้าตบแต่งห้องเช่าได้ โดยไม่ต้องยื่นแบบแปลนแล้ว จำเลยจะกลับมาอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญา ไม่เสนอแบบแปลนก่อนตบแต่งหาได้ไม่
จำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาให้เช่าและเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจนโจทก์ต้องมาฟ้องเรียกเงินประกันการเช่าคืนและเรียกค่าเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมเลิกการเช่ากับจำเลยแล้ว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินประกันการเช่าที่จะได้คืนจากจำเลยนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินนั้นไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อโจทก์ขอเพียงนับตั้งแต่วันที่จำเลยบอกเลิกสัญญา ศาลย่อมพิพากษาให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าเสียหายโจทก์เรียกได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด เมื่อไม่ปรากฏวันผิดนัดแน่นอน ศาลย่อมคิดให้นับแต่วันฟ้อง
กรรมการทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล ไม่ต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ร่วมกิจการต่อการละเมิดของลูกจ้าง: กรณีแบ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจ
จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3. จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์. และนำเข้าเดินร่วมทางกับบริษัทจำเลยที่ 2. บริษัทจำเลยที่ 2 นำรถเข้าร่วมเดินกับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานทาง โดยจำเลยที่ 1,2 และ 3 แบ่งผลประโยชน์กัน. จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 และถือได้ว่าเป็นกิจการของจำเลยที่ 2 ด้วย. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 4 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและผู้ร่วมกิจการในกรณีละเมิดจากลูกจ้าง
จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์ และนำเข้าเดินร่วมทางกับบริษัทจำเลยที่ 2 บริษัทจำเลยที่ 2 นำรถเข้าร่วมเดินกับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานทาง โดยจำเลยที่ 1, 2 และ 3 แบ่งผลประโยชน์กัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 และถือได้ว่าเป็นกิจการของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 4 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของกิจการร่วมค้าจากการละเมิดของลูกจ้าง
จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์และนำเข้าเดินร่วมทางกับบริษัทจำเลยที่ 2 บริษัทจำเลยที่ 2 นำรถเข้าร่วมเดินกับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานทาง โดยจำเลยที่ 1, 2 และ 3 แบ่งผลประโยชน์กัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 และถือได้ว่าเป็นกิจการของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 4 ด้วย
of 26