พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบค่ารายปีและเครื่องจักรในโรงงาน
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของโจทก์โดยเทียบกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และของบริษัท ป. มาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีในปีพิพาทนี้ด้วยนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ.และบริษัท ป. อยู่ติดถนนใหญ่ทำเลและการคมนาคมสะดวกกว่าโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ แม้ค่ารายปีของโจทก์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดจะต่ำกว่าค่ารายปีของบริษัท บ. ก็ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบว่าค่ารายปีของโจทก์เป็นค่ารายปีที่สมควรหรือไม่
แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติ ไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็นค่ารายปีที่สมควรกว่า
แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็นชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์
แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติ ไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็นค่ารายปีที่สมควรกว่า
แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็นชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบค่ารายปี, การลดหย่อนเครื่องจักร, และความชอบด้วยกฎหมาย
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของโจทก์โดยเทียบกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และของบริษัท ป.มาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีในปีพิพาทนี้ด้วยนั้นเมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และบริษัท ป. อยู่ติดถนนใหญ่ทำเลและการคมนาคมสะดวกกว่าโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ แม้ค่ารายปีของโจทก์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดจะต่ำกว่าค่ารายปีของบริษัท บ.ก็ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบว่าค่ารายปีของโจทก์เป็นค่ารายปีที่สมควรหรือไม่ แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่ เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่ จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็น ค่ารายปีที่สมควรกว่า แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็น ชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือน และที่ดินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3954/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างต่อลูกจ้างผู้กระทำละเมิด
แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อนก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อน คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1คดีนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1สามารถต่อสู้คดีได้เต็มที่ รวมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียก อ.เข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยที่ 1ก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ การที่โจทก์ไม่ขอให้ศาลหมายเรียก อ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมและไม่ฎีกาก็เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ขอให้ศาลหมายเรียก อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมและยื่นฎีกาเองทั้ง ๆ ที่ตนมีสิทธิกระทำได้ จะถือว่าโจทก์กระทำโดยไม่ชอบหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อ พ. และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายไปแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนรถยนต์ที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้ซื้อรถยนต์ได้รับความเสียหายจากข้อมูลเท็จในทะเบียน
แม้ทะเบียนรถยนต์มิได้เป็นหลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ในตัวรถยนต์แต่ก็เป็นเอกสารราชการสำคัญ และเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะยังประโยชน์ให้สามารถใช้สอยรถยนต์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่รับจดทะเบียนรถยนต์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อรับจดทะเบียนรถยนต์โดยไม่ถูกต้อง ทำให้โจทก์ซึ่งซื้อรถยนต์ต่อมาโดยหลงเชื่อในสิทธิของผู้มีชื่อที่ปรากฏในทะเบียนรถยนต์ต้องได้รับความเสียหาย การรับจดทะเบียนรถยนต์ที่ไม่ถูกต้องจึงเป็นเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดข้อผิดหลง และความเสียหายดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3571/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินโดยนิติบุคคล และความผูกพันของกรรมการต่อการกระทำของบริษัท
การที่พนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ไปเข้าฝากในบัญชีเงินฝากที่มีชื่อจำเลยที่ 2 ม. และ ก. เป็นเจ้าของบัญชีนั้น แม้จะไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่ก็เป็นการกระทำโดยจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ และกรรมการคนอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 2ได้เปิดบัญชีเงินฝาก แทนจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการภายในของจำเลยที่ 1 ไม่จำต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้ว จึงมีหน้าที่คืนเงินให้โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อแก้ตัวให้หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ได้ การที่โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 เดือน แล้วรับเช็คมาเป็นการชำระหนี้คืนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสมุดคู่ฝากและจำเลยที่ 1 รับเช็คจากโจทก์แล้วนำไปฝากเข้าบัญชีของธนาคารพาณิชย์เอง โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีเงินฝาก จึงไม่ใช่เป็นการฝากเงินในกิจการของธนาคารพาณิชย์ แต่เป็นการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาหรือเพื่อเคหะตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยตรง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงผูกพันจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดส่วนตัวในการเวนคืนที่ดิน หากดำเนินการตามหน้าที่ในนามจำเลยที่ 1 และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยค่าทดแทน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กระทำการกำหนดค่าทดแทนที่ดินในนามจำเลยที่ 1โดยไม่ปรากฏว่ากระทำไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง แม้ลูกจ้างจะออกนอกเส้นทางปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไปเบิกน้ำมันตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ในระหว่างนั้นได้ขับรถไปเพื่อซื้อยาให้คนงานของจำเลยที่ 2 จึงเกิดเหตุเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ที่ 1 กำลังขับอยู่ ดังนี้แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถไปถึงยังสถานที่ที่เบิกน้ำมันแล้วจึงออกไปซื้อยาภายนอกสถานที่ดังกล่าว อันเป็นการผิดระเบียบของจำเลยที่ 2 และระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้กลับไปยังที่ทำการเดิมของจำเลยที่ 2 ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่การงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การทราบถึงความรับผิดของผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
การที่โจทก์ได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยบางรายการให้ชัดเจน แสดงว่าโจทก์ได้ทราบรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแล้วว่าจำเลยเป็นผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้จะไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอธิบดีโจทก์ได้ลงนามรับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อใด ก็ฟังได้ว่าต้องเป็นช่วงเวลาก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่จะอ้างว่ายังไม่รู้ตัวผู้รับผิด มิฉะนั้นอายุความ 1 ปีที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะขยายออกไปเรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การทราบตัวผู้รับผิดจากการสอบสวนภายใน
การที่โจทก์ได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยบางรายการให้ชัดเจน แสดงว่าโจทก์ได้ทราบรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งแล้วว่าจำเลยเป็นผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้จะไม่ปรากฏแน่ชัดว่าอธิบดีโจทก์ได้ลงนามรับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อใด ก็ฟังได้ว่าต้องเป็นช่วงเวลาก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่มีคำสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่จะอ้างว่ายังไม่รู้ตัวผู้รับผิด มิฉะนั้นอายุความ 1 ปีที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะขยายออกไปเรื่อย ๆแล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนประทานบัตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษี และการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อความจริง
อธิบดีกรมโจทก์เป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนประทานบัตร เป็น ทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2526 ซึ่ง เป็นเหตุที่จะขอเพิกถอนการโอนได้ การนับระยะเวลา ที่ จะ ใช้ สิทธิเรียกร้องขอให้เพิกถอนการโอนจึงต้องนับแต่วันดังกล่าว แม้ เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จะขอให้ เพิกถอน การ โอนเกินกำหนด 1 ปี แต่บุคคลดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ไม่ได้ ช. เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ดำเนินการในการทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรที่พิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมา ช. จะ ต้องรู้ดีว่ามีรายได้จากการประกอบการนั้นเท่าใดและจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเท่าใด การที่จำเลยที่ 1 ชำระภาษีในบางปีไม่ครบถ้วนหรือไม่ชำระเลย ช. ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินการแทนจะต้องทราบและรู้ดีว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้ภาษีอากรหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากประทานบัตร ที่ พิพาท ในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ การที่ ช. รับโอนประทานบัตร ที่พิพาทโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าวนับได้ว่าเป็นการรับโอน โดย รู้ เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เสียเปรียบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับโอนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น ทายาท ของ ช.รับโอนประทานบัตรที่พิพาทมาในฐานะที่เป็นมรดกจึง ไม่มี สิทธิ ดีกว่าช. ซึ่งเป็นเจ้ามรดก และไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะ ที่ เป็นบุคคลภายนอกได้ แต่กลับมีหน้าที่ในฐานะทายาทที่จะ ต้อง โอน กลับคืนไปตามหน้าที่ที่เจ้ามรดกมีอยู่.