คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 76

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกรรมการผู้จัดการจากการลงนามในใบสั่งซื้อแทนบริษัท และการจำกัดขอบเขตค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมี ส. เป็นกรรมการผู้จัดการ การที่ ส. สั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แม้จะลงลายมือชื่อในใบสั่งซื้อเพียงผู้เดียว ก็ถือได้ว่า ส. ทำการแทนจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดชอบตามใบสั่งซื้อดังกล่าว จำเลยสั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แล้วต่อมาเป็นฝ่ายผิดสัญญาเงินกำไรที่โจทก์จะได้รับจึงเป็นค่าเสียหายตามปกติอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ชดใช้ให้โจทก์ ส่วนค่าจ้างทำแม่พิมพ์กรอบรูปนั้น โจทก์มีข้อตกลงกับ ท. ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้ทำกรอบรูปเพื่อขายให้จำเลยว่า หากมีการส่งมอบกรอบรูปให้จำเลยเรียบร้อยค่าจ้างแม่พิมพ์ ท. จะเป็นผู้ออก แต่หากผิดสัญญาโจทก์ต้องรับผิดชอบเองเช่นนี้ แม้ค่าจ้างทำแม่พิมพ์จะเป็นค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยผิดสัญญา แต่ก็เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่สามารถคาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นได้ก่อนล่วงหน้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งซื้อสินค้าโดยกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำกัด ถือเป็นการกระทำแทนบริษัท และขอบเขตความรับผิดชอบต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมี ส. เป็นกรรมการผู้จัดการการที่ ส. สั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แม้จะลงลายมือชื่อในใบสั่งซื้อเพียงผู้เดียว ก็ถือได้ว่า ส. ทำการแทนจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชอบตามใบสั่งซื้อดังกล่าว จำเลยสั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แล้วผิดสัญญา เงินกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายกรอบรูปย่อมเป็นค่าเสียหายตามปกติอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ให้โจทก์ ส่วนค่าจ้างทำแม่พิมพ์กรอบรูปนั้น โจทก์มีข้อตกลงกับ ท.ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้ทำกรอบรูปเพื่อขายให้จำเลยว่า หากมีการส่งมอบกรอบรูปให้จำเลยเรียบร้อยค่าจ้างแม่พิมพ์ ท. จะเป็นผู้ออก แต่หากผิดสัญญาโจทก์ต้องรับผิดชอบเอง เช่นนี้ แม้ค่าจ้างทำแม่พิมพ์จะเป็นค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยผิดสัญญา แต่ก็เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่สามารถคาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นได้ก่อนล่วงหน้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการออกโฉนดที่ดินทับเขตที่หลวง เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดร่วม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์กำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันใน ปี พ.ศ. 2467และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาระบุแนวเขตที่ดินไว้แล้ว มีผลเป็นกฎหมายที่บุคคลทุกคนรวมทั้งกรมที่ดินและกระทรวงมหาดไทยจำเลยทั้งสองจะต้องรับรู้ว่าที่ดินในบริเวณดังกล่าวเป็นที่หลวงไม่อาจออกโฉนด ให้บุคคลใดได้ แม้ขณะออกโฉนด ที่ดินพิพาท ยังมิได้มีการลงแนวเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในระวางแผนที่เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ยังมิได้มีคำขอให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 26(พ.ศ. 2516)แต่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพิ่งจะออกมาใช้บังคับในภายหลังจำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสาม สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ขอรังวัดสอบเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวันและได้มีการดำเนินการรังวัดสอบเขตที่ดินตามคำขอ แม้การรังวัดสอบเขตและการลงแนวเขตในระวางแผนที่จะแล้วเสร็จภายหลังมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสาม แต่เจ้าพนักงานที่ดินของจำเลยที่ 1ผู้ทำการจดทะเบียนย่อมต้องทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในระหว่างดำเนินการรังวัดสอบเขต ควรระงับการโอนไว้ก่อน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินพิพาททับเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามเนื่องจากทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับประโยชน์จากที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการออกโฉนดที่ดินทับเขตที่หลวง เจ้าพนักงานประมาทเลินเล่อ ผู้บังคับบัญชารับผิดร่วม
ที่ดินพิพาทได้มีการจัดทำระวางแผนที่ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2454ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จะมีพระบรมราชโองการกำหนดเขตที่ดินดังกล่าวให้เป็นเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในปี พ.ศ. 2467 พระบรมราชโองการดังกล่าวเป็นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั้งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตที่ดินทั้งสี่ด้านไว้โดยละเอียด จึงมีผลเป็นกฎหมายที่บุคคลทุกคนรวมทั้งจำเลยทั้งสองจะต้องรับรู้ว่าที่ดินในบริเวณดังกล่าวเป็นที่หลวง แม้ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินพิพาท ยังมิได้มีการลงแนวเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในระวางแผนที่ เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษายังมิได้มีคำขอให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 26(พ.ศ. 2516) แต่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพิ่งจะออกมาใช้บังคับในภายหลัง จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ นอกจากนี้ขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสามเมื่อปี พ.ศ. 2510 ที่ดินพิพาทอยู่ในระหว่างรังวัดสอบเขตตามคำขอของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องทราบดีและควรระงับการโอนไว้ก่อน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินพิพาททับเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวันและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม เนื่องจากทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับประโยชน์จากที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการออกโฉนดที่ดินทับเขตที่หลวง เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ผู้บังคับบัญชารับผิดร่วม
ที่ดินพิพาทได้มีการจัดทำระวางแผนที่ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2454 ก่อนที่พระบาทสมเด็จ-พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จะมีพระบรมราชโองการกำหนดเขตที่ดินดังกล่าวให้เป็นเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในปี พ.ศ.2467 พระบรมราชโองการดังกล่าวเป็นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตที่ดินทั้งสี่ด้านไว้โดยละเอียด จึงมีผลเป็นกฎหมายที่บุคคลทุกคนรวมทั้งจำเลยทั้งสองจะต้องรับรู้ว่าที่ดินในบริเวณดังกล่าวเป็นที่หลวง แม้ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินพิพาท ยังมิได้มีการลงแนวเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในระวางแผนที่ เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษายังมิได้มีคำขอให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ.2516) แต่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพิ่งจะออกมาใช้บังคับในภายหลัง จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ นอกจากนี้ขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสามเมื่อปี พ.ศ.2510 ที่ดินพิพาทอยู่ในระหว่างรังวัดสอบเขตตามคำขอของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องทราบดีและควรระงับการโอนไว้ก่อน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินพิพาททับเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวันและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม เนื่องจากทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับประโยชน์จากที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการละเมิด: ศาลยืนตามค่าซ่อมจริง แม้จำเลยเสนอรถทดแทน และฟ้องไม่ขาดอายุความเมื่อโจทก์ทราบการละเมิดภายใน 1 ปี
โจทก์นำสืบฟังได้ว่า ต้องเสียค่าซ่อมรถจักรยานยนต์เป็นเงิน41,600 บาท ค่าซ่อมดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ตามกฎหมาย จำเลยจะขอศาลบังคับให้โจทก์รับรถจักรยานยนต์คันอื่นแทนหากโจทก์ไม่ยอมรับ ให้รับชำระราคารถจักรยานยนต์ที่จำเลยหามาแทนโดยโจทก์ไม่ยินยอมไม่ได้ เพราะกฎหมายมิได้ให้สิทธิผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดกระทำได้เช่นนั้น ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์คืออธิบดีหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมโจทก์เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกเสนอความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2528 เห็นชอบตามที่เสนอว่าคนขับรถของจำเลยกระทำละเมิด ไม่ปรากฏว่าอธิบดีหรือรองอธิบดีกรมโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนหน้านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยตั้งแต่วันนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529ยังไม่พ้น 1 ปี จึงยังไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการละเมิด: ศาลยืนตามค่าซ่อมจริง, ผู้ละเมิดเสนอรถทดแทนไม่ได้, ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์นำสืบฟังได้ว่า ต้องเสียค่าซ่อมรถจักรยานยนต์เป็นเงิน 41,600 บาทค่าซ่อมดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ตามกฎหมาย จำเลยจะขอศาลบังคับให้โจทก์รับรถจักรยานยนต์คันอื่นแทน หากโจทก์ไม่ยอมรับ ให้รับชำระราคารถจักรยานยนต์ที่จำเลยหามาแทนโดยโจทก์ไม่ยินยอมไม่ได้ เพราะกฎหมายมิได้ให้สิทธิผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดกระทำได้เช่นนั้น
ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์คืออธิบดีหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมโจทก์เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกเสนอความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 4 มีนาคม2528 เห็นชอบตามที่เสนอว่าคนขับรถของจำเลยกระทำละเมิด ไม่ปรากฏว่าอธิบดีหรือรองอธิบดีกรมโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนหน้านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยตั้งแต่วันนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ยังไม่พ้น 1 ปีจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีละเลยตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการ ทำให้เกิดการทุจริโอเกิดขึ้น
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลอันเป็นส่วนราชการ ทราบรายงานสรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับผู้รับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม2527 ถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันนั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8มีนาคม 2528 ยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลา 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความ อ.นำเอกสารที่ทำปลอมขึ้นเสนอต่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ผ่านจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามระเบียบ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ประมาทเลินเล่อมิได้ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จ่ายเงินยืม-ทดรองราชการแก่ อ. ทั้งที่อ. มิได้เสนอผ่านขั้นตอนตามระเบียบ นอกจากนี้ยังมิได้เรียกหนังสือมอบฉันทะจาก อ. และมิได้ดำเนินการทวงถามเงินยืมคืนจากผู้ยืม เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับจากวันรับเงินอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ อ. สามารถกระทำการทุจริตได้การที่ อ. กระทำการทุจริตได้ จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว จำเลยที่ 3 ที่ 4 มีหน้าที่ชดใช้เงินแก่โจทก์ หากโจทก์จะได้รับชำระหนี้จาก อ.และฉ.ในคดีที่โจทก์ฟ้องอ.และฉ.ให้รับผิดต่อโจทก์ อันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะอาจไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงหาซ้ำซ้อนกับคดีดังกล่าวไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5454/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระเบียบภายในหน่วยงานราชการไม่อาจใช้ต่อสู้บุคคลภายนอกที่ไม่ทราบได้
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำซื้อสินค้าจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของเรือนจำแล้วมิได้จัดให้มีการตั้งบัญชีเจ้าหนี้ไว้ตามระเบียบปฏิบัติราชการของกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 2ที่วางไว้เพื่อให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกและไม่ทราบถึงระเบียบดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5454/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน่วยราชการต้องรับผิดค่าสินค้า แม้มิได้ตั้งบัญชีเจ้าหนี้ หากซื้อสินค้าไปใช้ในกิจการ
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำซื้อสินค้าจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของเรือนจำแล้วมิได้จัดให้มีการตั้งบัญชีเจ้าหนี้ไว้ตามระเบียบปฏิบัติราชการของกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 2 ที่วางไว้เพื่อให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกและไม่ทราบถึงระเบียบดังกล่าวได้.
of 26