พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินเลยคำฟ้องและอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาเหตุรอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถโดยสารประจำทางมาถึงบริเวณสี่แยกถนนมิตรภาพตัดกับถนนแจ้งสนิท จำเลยควรใช้ความระมัดระวังโดยลดความเร็วของรถลงเพื่อความปลอดภัยและหยุดรถเพื่อให้รถในช่องทางที่ได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวแล่นผ่านไป แต่จำเลยไม่ใช้ความระมัดระวังขับรถผ่านสี่แยกด้วยความเร็วสูงและฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดง เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่ ถ. ขับผ่านสี่แยกดังกล่าวขณะได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียว แม้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดง แต่จำเลยขับรถโดยสารแล่นเข้าไปในสี่แยกที่เกิดเหตุด้วยความเร็วโดยมิได้ลดความเร็วลง เป็นการขาดความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์อันเป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้เกิดเฉี่ยวชนกับรถยนต์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำโดยประมาทตามที่กล่าวไว้ในคำฟ้องแล้ว ศาลชั้นต้นจึงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 และ ป.อ. มาตรา 300 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 55, 76 และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายจราจรทางบก ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ป.อ. มาตรา 55 และ 76 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจเป็นเรื่องๆไป แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี หาได้เป็นบทบังคับให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย หรือลงโทษจำคุกจำเลยให้น้อยลงอีก หรือยกโทษจำคุก หรือปรับจำเลยแต่อย่างเดียวทุกกรณีเสมอไปไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันและเครื่องหมายห้ามเลี้ยวขวา จำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง, 22 (1), 152 ด้วย แม้โจทก์จะขอมาท้ายฟ้องให้ลงโทษตามมาตรา 152 โดยไม่ได้อ้างมาตรา 21, 22 มาด้วยศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลล่างทั้งสองยังมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันและเครื่องหมายห้ามเลี้ยวขวา จำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง, 22 (1), 152 ด้วย แม้โจทก์จะขอมาท้ายฟ้องให้ลงโทษตามมาตรา 152 โดยไม่ได้อ้างมาตรา 21, 22 มาด้วยศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลล่างทั้งสองยังมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาทขับรถจนผู้อื่นถึงแก่ความตาย และการไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ศาลฎีกาแก้ไขโทษและวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความเร็ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทโดยขับด้วยความเร็วสูงเกินสมควรจนไม่สามารถหยุดหรือลดความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะหลบหลีกไม่ชนรถคันอื่นหรือสิ่งอื่นใดที่กีดขวางอยู่ข้างหน้าได้ทัน โดยมิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่า จำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทาง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 67, 152 ตามคำขอท้ายฟ้องได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5439/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุรถไถ: การติดไฟแสงแดงและปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
จำเลยขับรถไถในทางเวลากลางคืนมีหน้าที่ต้องเปิดไฟแสงแดงที่ท้ายรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เมื่อท้ายรถไถที่จำเลยขับมีผานไถและจานไถบรรทุกอยู่ยื่นออกนอกตัวรถไปด้านท้ายประมาณ 2 เมตรจำเลยมีหน้าที่ต้องใช้โคมไฟแสงแดงติดไว้ที่ปลายสุดของผานไถและเปิดไว้ด้วย แต่เมื่อจำเลยเปิดไฟท้ายและไฟส่องผานไถซึ่งเป็นไฟสปอตไลท์ขนาดใหญ่ สามารถส่องกระจายแสงได้กว้างและเห็นได้ในระยะไกล และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยยกผานไถไว้ในระดับที่บดบังไฟท้าย ไฟส่องผานไถและแผ่นวงกลมสีแดงสะท้อนแสงจนไม่สามารถมองเห็นรถไถได้จากระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร แม้จำเลยจะไม่ติดโคมไฟแสงแดงไว้ที่ปลายสุดของผานไถ ก็ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงให้รถยนต์ที่ผู้ตายขับตามหลังชนถูกผานรถไถที่จำเลยขับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีเหลืองอำพันมีความผิดเช่นเดียวกับสีแดง ศาลวินิจฉัยได้แม้ฟ้องระบุเป็นสีแดง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยขับรถโดยประมาทด้วยความเร็วสูงและฝ่าฝืนสัญญาณไฟสีแดง แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันไปโดยไม่หยุดที่หลังเส้นให้รถหยุด ศาลย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยลงโทษจำเลยได้ทั้งนี้เพราะการขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรดังกล่าว เป็นบทบัญญัติที่อยู่ในมาตราเดียวกันคือมาตรา 22,152 เมื่อฝ่าฝืนก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันจึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงทำให้เกิดอุบัติเหตุและผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตาม ถนนพหลโยธิน จากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึง สี่แยกพหลโยธินตัด กับ ถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดง เข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึง กลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่ง แล่นมาด้วยความเร็วจาก ถนนรัชดาภิเษก ด้าน ถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งหน้าไปตาม ถนนรัชดาภิเษก เข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรใน ถนนรัชดาภิเษก ด้าน ที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2ขับรถด้วย ความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุและมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยกเกษตร มุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษกสัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดงเข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึงกลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วจากถนนรัชดาภิเษกด้านถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าไปตามถนนรัชดาภิเษกเข้าไปในสี่แยกรถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักกลบเฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรในถนนรัชดาภิเษกด้านที่มาจากลาดพร้าวและชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300,390 และมีความผิดตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21,22,43,152,157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดงเข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึงกลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วจากถนนรัชดาภิเษกด้านถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าไปตามถนนรัชดาภิเษกเข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรในถนนรัชดาภิเษกด้านที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถเสียบนถนน การแสดงเครื่องหมายเตือน และความรับผิดในคดีประมาท
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสินค้าล้อบรรทุกหินมาเต็มคันรถ คลัตช์รถเสียจะต้องจอดรถ แม้ถนนบริเวณนั้นมีไหล่ทางแต่ปรากฏว่าไหล่ทางกว้างเพียง 1.40 เมตร หากจอดรถบนไหล่ทางไหล่ทางอาจทรุดได้ จึงเป็นกรณีจำเป็นที่จำเลยต้องจอดรถในทางเดินรถจำเลยจอดรถไว้บนถนนด้านซ้าย ล้อรถด้านซ้ายอยู่บนขอบผิวจราจรพอดีผิวจราจรถนนกว้าง 6 เมตรตัวรถกว้าง 2.40 เมตร ทางด้านขวาของรถยังมีผิวจราจรเหลืออีก 3.60 เมตร เห็นว่าจำเลยได้จอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา56 แล้ว แต่การที่จำเลยได้นำก้อนหินและกิ่งไม้มาวางไว้ด้านหลังรถและเมื่อถึงเวลากลางคืนจำเลยได้เปิดไฟหรี่หน้ารถและไฟท้ายรถไว้ มิใช่เป็นการแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะที่ระบุในข้อ 1 (1) และเงื่อนไขในข้อ 2 ข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 จำเลยต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 56 อันมีบทลงโทษตามมาตรา 152
ขณะเกิดเหตุจำเลยเปิดไฟไว้ท้ายรถ 3 ดวง สว่างมากมองเห็นได้ในระยะ 100 เมตร ย่อมทำให้ผู้ขับรถมาทางด้านหลังสามารถมองเห็นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยจอดไว้ในระยะห่างเพียงพอที่ผู้นั้นจะหยุดรถหรือหลบหลีกไปได้แล้ว เป็นการ ป้องกันมิให้เกิดอันตรายขึ้นแก่บุคคลอื่นได้ไม่น้อยกว่าการแสดงเครื่องหมายตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 ทั้งไม่ปรากฏว่าปกติในกรณีนี้ผู้ขับรถจะแสดงกันแต่เครื่องหมายตามลักษณะและเงื่อนไขในกฎกระทรวงเท่านั้น ถือว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์แล้ว การที่มีคนขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนรถยนต์บรรทุกที่จำเลยจอดไว้ เป็นเหตุให้คนขับและคนซ้อนท้ายถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดจากการละเว้นการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291
ขณะเกิดเหตุจำเลยเปิดไฟไว้ท้ายรถ 3 ดวง สว่างมากมองเห็นได้ในระยะ 100 เมตร ย่อมทำให้ผู้ขับรถมาทางด้านหลังสามารถมองเห็นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยจอดไว้ในระยะห่างเพียงพอที่ผู้นั้นจะหยุดรถหรือหลบหลีกไปได้แล้ว เป็นการ ป้องกันมิให้เกิดอันตรายขึ้นแก่บุคคลอื่นได้ไม่น้อยกว่าการแสดงเครื่องหมายตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 ทั้งไม่ปรากฏว่าปกติในกรณีนี้ผู้ขับรถจะแสดงกันแต่เครื่องหมายตามลักษณะและเงื่อนไขในกฎกระทรวงเท่านั้น ถือว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์แล้ว การที่มีคนขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนรถยนต์บรรทุกที่จำเลยจอดไว้ เป็นเหตุให้คนขับและคนซ้อนท้ายถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดจากการละเว้นการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถเสียบนทางเดินรถและความรับผิดต่อการชน การแสดงเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยทางถนน
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสินค้าล้อบรรทุกหินมาเต็มคันรถ คลัตช์รถเสียจะต้องจอดรถแม้ถนนบริเวณนั้นมีไหล่ทางแต่ปรากฏว่าไหล่ทางกว้างเพียง 1.40 เมตร หากจอดรถบนไหล่ทางไหล่ทางอาจทรุดได้ จึงเป็นกรณีจำเป็นที่จำเลยต้องจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจอดรถไว้บนถนนด้านซ้าย ล้อรถด้านซ้ายอยู่บนขอบผิวจราจรพอดีผิวจราจรถนนกว้าง 6 เมตรตัวรถกว้าง 2.40 เมตร ทางด้านขวาของรถยังมีผิวจราจรเหลืออีก 3.60 เมตร เห็นว่าจำเลยได้จอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา56 แล้ว แต่การที่จำเลยได้นำก้อนหินและกิ่งไม้มาวางไว้ด้านหลังรถและเมื่อถึงเวลากลางคืนจำเลยได้เปิดไฟหรี่หน้ารถและไฟท้ายรถไว้ มิใช่เป็นการแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะที่ระบุในข้อ 1(1) และเงื่อนไขในข้อ 2 ข้อ 5แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 5(พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 จำเลยต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 56 อันมีบทลงโทษตามมาตรา 152 ขณะเกิดเหตุจำเลยเปิดไฟไว้ท้ายรถ 3 ดวง สว่างมากมองเห็นได้ในระยะ 100 เมตร ย่อมทำให้ผู้ขับรถมาทางด้านหลังสามารถมองเห็นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยจอดไว้ในระยะห่างเพียงพอที่ผู้นั้นจะหยุดรถหรือหลบหลีกไปได้แล้ว เป็นการ ป้องกันมิให้เกิดอันตรายขึ้นแก่บุคคลอื่นได้ไม่น้อยกว่าการแสดงเครื่องหมายตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ทั้งไม่ปรากฏว่าปกติในกรณีนี้ผู้ขับรถจะแสดงกันแต่เครื่องหมายตามลักษณะและเงื่อนไขในกฎกระทรวงเท่านั้น ถือว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์แล้ว การที่มีคนขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนรถยนต์บรรทุกที่จำเลยจอดไว้ เป็นเหตุให้คนขับและคนซ้อนท้ายถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดจากการละเว้นการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291