คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 625

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7164/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ กรณีสินค้าสูญหายระหว่างอยู่ในคลังสินค้า และการจำกัดความรับผิด
ข้อเท็จจริงได้ความตามสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) ซึ่งเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศในคดีนี้ว่า สัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้ขายได้จัดส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง โดยมีจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับผิดชอบในการขนส่งสินค้าของผู้ขายเพื่อให้ถึงมือผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางอากาศจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดูแลมิให้สินค้าที่ขนส่งสูญหายในระหว่างการขนส่งจนกว่าจะถึงมือผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง ตราบใดที่ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับสินค้านั้นไว้ สินค้านั้นก็ยังไม่พ้นความดูแลหรือความรับผิดชอบของผู้ขนส่ง แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า เหตุแห่งการสูญหายของสินค้าพิพาทเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กรณีก็ถือว่าเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งหรือระหว่างที่สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของผู้ขนส่งเนื่องจากในระหว่างนั้นผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งยังมิได้รับสินค้าที่ผู้รับขนส่งสินค้าขนส่งมา จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ร่วมรับขนส่งยังมิได้รับสินค้าที่ผู้รับขนส่งสินค้าขนส่งมา จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ร่วมรับขนส่งสินค้าดังกล่าวจึงต้องร่วมรับผิดต่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง
นอกจากนี้ในสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ไม่ปรากฏว่าผู้ส่งหรือตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเรื่องเงื่อนไขความรับผิด ที่ระบุไว้ที่ด้านหลังใบตราส่งเพียงจำนวน 20 ดอลลาร์สหัรัฐต่อสินค้าสูญหาย 1 กิโลกรัม คงมีเพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ชื่อผู้ส่งสินค้าไว้เท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในช่อง "Other Charges" ของสำเนาใบตราส่งดังกล่าวมีตัวอักษรและตัวเลขไว้ว่า Secu/c 102, 22 อันมีความหมายว่า ผู้ส่งได้จ่ายเงินเพิ่มเป็นค่าประกันในการดูแลรักษาสินค้าไว้แล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงในเรื่องเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วยโดยชัดแจ้ง ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศ: การตกลงของผู้ส่งและผลผูกพันตามใบรับขน
เมื่อพิจารณาใบรับขนทางอากาศด้านหน้า ช่องที่ 9 มีผู้ลงลายมือชื่อใต้ข้อความตัวพิมพ์ที่มีข้อความชัดเจนว่า ผู้ส่งตกลงตามเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศด้านหลังและช่องที่ 3 มีข้อความว่า สินค้าจำนวน 1 กล่อง น้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ช่องให้สำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการศุลกากร (TOTAL VALUE FOR CUSTOMS) ซึ่งจะต้องใช้ในการคำนวณภาษีศุลกากร มีข้อความว่า "โปรดดูใบกำกับสินค้า" ส่วนช่องสำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง (TOTAL DECLARED VALUE FOR CARRIAGE) ระบุตัวเลข 100 โดยไม่แสดงหน่วยเงินแต่อย่างใด พฤติการณ์ที่ผู้ส่งระบุเพียงตัวเลข 100 น่าเชื่อว่า ผู้ส่งทราบดีว่าจำเลยที่ 2 อนุญาตให้ผู้ส่งสำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งสำหรับสินค้าในหีบห่อไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐและจะจำกัดความรับผิดไว้ในกรณีนี้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการขนส่ง 1 ครั้ง หรือ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่าการที่ผู้ส่งกรอกข้อความเช่นนั้น จึงน่าจะเป็นการกรอกรายละเอียดเพื่อให้ผู้ขนส่งคิดค่าระวางขนส่งตามน้ำหนักของสินค้า เพราะหากแจ้งราคามูลค่าสินค้าที่แท้จริงจะต้องเสียค่าธรรมเสียมการขนส่งเพิ่ม และถึงแม้จะเป็นกรณีส่งสินค้าที่มีราคาสูง ผู้ขนส่งก็อนุญาตให้สำแดงราคาไม่เกิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ และจำกัดความรับผิดไม่เกินมูลค่าที่สำแดง ผู้ส่งน่าจะทราบเงื่อนไขดังกล่าวจึงได้เอาประกันเพื่อความเสี่ยงภัยสูญหาย เสียหายของสินค้าไว้กับโจทก์เต็มมูลค่าของสินค้า จึงเชื่อว่าบริษัท ซ. ผู้ส่งสินค้ารู้และตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามที่ระบุไว้ในด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ดังนั้น ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ส่งสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีของสูญหาย และการจำกัดความรับผิดที่ไม่เป็นผลผูกพัน
เมื่อสินค้าที่ขนส่งเป็นของมีค่า และโจทก์ผู้ส่งได้บอกสภาพแห่งของว่าเป็นนาฬิกาและบอกราคาของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งแล้ว จำเลยก็ต้องใช้ความระมัดระวังดูแลสินค้าเป็นพิเศษในการขนส่ง เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าซึ่งเป็นราคาที่บอกแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616, 620 และโจทก์ไม่ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยตามข้อความที่ปรากฏด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 625 โจทก์จึงไม่จำต้องเลือกชำระค่าบริการเพิ่มแทนการยอมรับการจำกัดความรับผิดของจำเลย ทั้งการที่โจทก์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มจะถือว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วย และอาศัยเป็นพฤติการณ์ในการลดค่าเสียหายของโจทก์หาได้ไม่ จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าที่ขนส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหาย กรณีสินค้ามีค่า และการจำกัดความรับผิด
สินค้าที่ขนส่งเป็นของมีค่า และโจทก์ผู้ส่งได้บอกสภาพแห่งของว่าเป็นนาฬิกาและบอกราคาของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งแล้ว จำเลยจึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลสินค้าเป็นพิเศษในการขนส่ง เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าซึ่งเป็นราคาที่บอกแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 616, 620 ทั้งโจทก์ไม่ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยตามข้อความที่ปรากฏด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 625 โจทก์จึงไม่จำต้องเพิ่มส่วนความรับผิดของจำเลยโดยเลือกชำระค่าบริการเพิ่มแทนการยอมรับการจำกัดความรับผิด อีกทั้งการที่โจทก์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มจะถือว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยและอาศัยเป็นพฤติการณ์ในการลดค่าเสียหายของโจทก์หาได้ไม่ จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดขอใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าที่ขนส่งตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5136/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางอากาศ: การไม่แจ้งราคาสินค้าถือเป็นการยอมรับเงื่อนไขจำกัดความรับผิด
การรับขนของทางอากาศเป็นการขนส่งประเภทหนึ่ง จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 625 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 625 บัญญัติว่า "ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นก็ดี ซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้น ถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ท่านว่าความนั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น" ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งจะต้องรับผิดเพียงใด จึงต้องวินิจฉัยตามบทกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการขนส่งสินค้าตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น บริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพัน ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน ส่วนผู้รับตราส่งแม้ไม่ได้แสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 แต่เมื่อสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นตกไปได้แก่ผู้รับตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627 ดังนั้น ข้อตกลงการจำกัดความรับผิดดังกล่าวนอกจากใช้ยัน บริษัท ฮ. ผู้ส่งได้แล้วยังใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งได้ด้วย
จำเลยทั้งสองต่างเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศและต่างยอมผูกพันตนตามข้อกำหนดของสมาคมดังกล่าวเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิด กล่าวคือ ในเรื่องความรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งจะมีข้อกำหนดให้บรรดาสมาชิกปฏิบัติไปในทางเดียวกัน คือ หากไม่แจ้งราคาสินค้าและไม่ชำระค่าระวางตามราคาสินค้าที่แจ้งแล้วเกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อสินค้าดังกล่าวซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ ความรับผิดชอบจะถูกจำกัดไว้เพียงไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม โดยคำนวณจากน้ำหนักสุทธิของสินค้าที่สูญหาย การขนส่งที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.4 นั้น จึงอยู่ภายใต้การจำกัดความรับผิดดังกล่าว เมื่อผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง ทำให้ผู้ส่งสินค้าไม่ต้องเสียค่าระวางพาหนะเพิ่มเท่ากับเป็นการเลือกที่จะยอมรับการจำกัดความรับผิดที่ระบุอยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศนั้นเอง จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง เป็นเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม การจัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองยอมรับกันรับฟังเป็นยุติได้ว่าเลนส์แว่นตาพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างที่เลนส์แว่นตาพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเลนส์แว่นตาพิพาทไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเพื่อการสูญหายของเลนส์แว่นตาพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบเลนส์แว่นตาพิพาทคืนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง: สัญญาขนส่งระหว่างประเทศ, การยอมรับเงื่อนไข, การรับช่วงสิทธิประกันภัย
บริษัท ก. โดยบริษัท พ. ได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับจำเลยทั้งสอง ซึ่งมีข้อความกำหนดว่า เป็นการเข้าทำสัญญาตามเงื่อนไขด้านหลังของใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศ และเงื่อนไขดังกล่าวกำหนดไว้ในข้อความจำกัดความรับผิดว่าความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง เสียหาย ล่าช้า... ถูกจำกัดตามใบตราส่ง คือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อการขนส่ง หรือ 9.07 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ปอนด์ (20 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม) ที่ใบกำกับสินค้าระบุราคาสินค้าว่ามีมูลค่า 5,080 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ในช่องมูลค่าการขนส่ง (Total Declared Value For Carriage) ระบุไว้เพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่าการขนส่งรายพิพาทนี้บริษัท ก. เจ้าของสินค้าได้มอบหมายให้บริษัท พ. เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งแทน โดยมีพนักงานของบริษัทดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ส่ง ทั้งได้ความว่า มีประเพณีเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศกำหนดไว้เช่นนั้น บริษัท ก. ได้ใช้บริการของจำเลยทั้งสองมาหลายครั้งจึงฟังได้ว่า บริษัท ก. ผู้ตราส่งยอมรับข้อตกลงตามเงื่อนไขข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 แล้ว จำเลยทั้งสองย่อมรับผิดต่อบริษัท ก. เป็นจำนวน 100 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาจึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดเพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐ เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดในสัญญารับขนทางอากาศ: การตกลงไม่แสดงมูลค่าสินค้าถือเป็นการยอมรับข้อจำกัด
ด้านหลังใบรับขนทางอากาศมีข้อความระบุจำนวนจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม ทั้งด้านหน้าใบรับขนทางอากาศก็ยังทำช่องการแสดงมูลค่าสำหรับการขนส่งไว้เพื่อให้มีการกรอกข้อความได้ ซึ่งก็ปรากฏว่ามีข้อความกรอกไว้เป็นภาษาอังกฤษว่า N.V.D. หรือ non value declare หมายความว่า ผู้ส่งสินค้าเลือกที่จะไม่แสดงมูลค่าเพื่อการขนส่ง ซึ่งเท่ากับยอมรับในจำนวนจำกัดความรับผิดดังกล่าว ประกอบกับการที่บริษัท อ. เป็นตัวแทนผู้ส่งสินค้าและเป็นตัวแทนออกใบรับขนทางอากาศเอกสารหมาย ล. 1 โดยมีข้อความดังกล่าวอยู่และอยู่ในความรู้เห็นเป็นอย่างดีของบริษัทนี้ ย่อมแสดงว่าบริษัทดังกล่าวกระทำการในฐานะตัวแทนผู้ส่งสินค้าได้ตกลงในเรื่องจำนวนจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่อยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศเอกสารหมาย ล. 1 โดยชัดแจ้ง ซึ่งมีผลผูกพันบริษัท ม. ผู้ส่งสินค้า จึงถือได้ว่าผู้ส่งสินค้าได้ตกลงในจำนวนจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งโดยชัดแจ้งแล้วเช่นกัน ข้อจำกัดความรับผิดอันเป็นข้อตกลงในสัญญารับขนทางอากาศรายนี้ย่อมมีผลผูกพันโดยสมบูรณ์ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามข้อจำกัดความรับผิดนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของขนส่งกับผู้ส่งมีผลผูกพันผู้รับประกันภัยที่รับช่วงสิทธิ
บริษัท ส. ผู้ส่งกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 มีผลให้บริษัท ส. ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ส. ไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัท ส. แต่หาอาจก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส. มาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งและการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
เมื่อบริษัท ส. และบริษัท ว. ผู้ส่ง กับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ได้ตกลงกันชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 และมีผลให้บริษัททั้งสองไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ แม้โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัททั้งสองไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัททั้งสอง แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัททั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง และเหตุสุดวิสัยของผู้ขับขี่ ทำให้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหาย
การที่บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่ง กับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งได้ตกลงกันชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดของ จำเลยที่ 2 ที่ไม่รับประกันความเสียหายของสินค้าที่ส่งข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 และมีผลให้บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่งไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้เอา ประกันภัยเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัททั้งสองไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัททั้งสอง แต่หาอาจก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัททั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกกระจกที่โจทก์รับประกันภัยความเสียหายไว้จากบริษัทผู้ส่งมาถึงที่เกิดเหตุ มีรถยนต์บรรทุกกระบะพ่วงขับแซงรถของจำเลยที่ 1 ขึ้นไปแต่แซงยังไม่พ้น แล้วหักหัวรถตัดหน้ารถจำเลยที่ 1 กะทันหัน จำเลยที่ 1 จึงหักหัวรถหลบไปทางซ้าย แต่หักมากไม่ได้เพราะติดราวสะพาน แล้วจำเลยที่ 1 หักหัวรถมา ทางขวาเข้าช่องทางปกติ เชือกซึ่งยึดกระจกที่บรรทุกมาขาด ทำให้กระจกไปตีกระบะด้านซ้ายหักกระจกแตกเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 8