พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจากการขนส่งสินค้า: เริ่มนับเมื่อส่งมอบสินค้าแล้วเสร็จ, ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
การที่จำเลยที่1ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่บริษัทก.เป็นเพียงหลักฐานเพื่อให้บริษัทดังกล่าวนำไปขอรับสินค้าจากเรือได้เท่านั้นแต่ถ้ายังมิได้มีการขนถ่ายสินค้าก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทก. แล้วเพราะสินค้ายังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่1เมื่อเริ่มมีการขนถ่ายสินค้าในวันที่4มิถุนายน2533ก็ต้องถือว่าจำเลยที่1เริ่มส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทก. แต่เมื่อการขนถ่ายสินค้าไม่แล้วเสร็จในวันนั้นและได้มีการขนถ่ายสินค้าต่อมาทุกวันจนแล้วเสร็จในวันที่9เดือนเดียวกันก็ต้องถือว่าจำเลยที่1ได้ทยอยส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าวตลอดมาจนส่งมอบเสร็จสิ้นในวันที่9มิถุนายน2533การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624จึงต้องนับตั้งแต่วันที่ส่งมอบสินค้าแล้วเสร็จคือวันที่9มิถุนายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่5มิถุนายน2534ยังไม่พ้นกำหนด1ปีนับแต่วันส่งมอบสินค้าจึงไม่ขาดอายุความ ใบตราส่งมีเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ผู้ขนส่งไว้แต่เมื่อทางนำสืบของจำเลยที่1ไม่ปรากฎว่าผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยในการจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งสินค้าตกลงโดยชัดแจ้งให้จำเลยที่1จำกัดความรับผิดดังกล่าวข้อจำกัดความรับผิดจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า, ข้อจำกัดความรับผิด, และหน้าที่นำสืบของจำเลย
จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่ 1 แล่นมาตามถนน พอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขา ถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขา รถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวน จำเลยที่ 2 จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตน แต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้ จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไป ดังนี้ เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหาย จึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามป.พ.พ. มาตรา 616
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ต้นทุนของสินค้ามีราคาเพียงกล่องละ444.88 บาท ราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไร ค่าขนส่ง และค่าภาษีอากร เมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ 516 บาท โจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่ 1 ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัย แม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ตามแบบพิมพ์ ยพ.6 ก.เลขที่ 465217ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2529 ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1ไว้ไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่า หากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริง ค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัท อ.ก็ไม่ควรเกินกว่า 100,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ตามข้อตกลงของจำเลยที่ 1 ในการรับส่งสินค้า จำเลยที่ 1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน 300,000 บาท หากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ แต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว คือไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า 300,000 บาท หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน 300,000 บาท ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลย ผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อน การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรก จึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเอง ศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้ โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล จึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ต้นทุนของสินค้ามีราคาเพียงกล่องละ444.88 บาท ราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไร ค่าขนส่ง และค่าภาษีอากร เมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ 516 บาท โจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่ 1 ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัย แม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ตามแบบพิมพ์ ยพ.6 ก.เลขที่ 465217ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2529 ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1ไว้ไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่า หากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริง ค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัท อ.ก็ไม่ควรเกินกว่า 100,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ตามข้อตกลงของจำเลยที่ 1 ในการรับส่งสินค้า จำเลยที่ 1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน 300,000 บาท หากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ แต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว คือไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า 300,000 บาท หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน 300,000 บาท ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลย ผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อน การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรก จึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเอง ศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้ โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล จึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า ความเสียหายจากเหตุสุดวิสัย และประเด็นการกำหนดหน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง
จำเลยที่2ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่1แล่นมาตามถนนพอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขาถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขารถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวนจำเลยที่2จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตนแต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไปดังนี้เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหายจึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยที่1ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 จำเลยที่1ฎีกาว่าต้นทุนของสินค้าที่ราคาเพียงกล่องละ444.88บาทราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไรค่าขนส่งและค่าภาษีอากรเมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ516บาทโจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่1ปัญหาข้อนี้จำเลยที่1มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยแม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่1ฎีกาว่าตามแบบพิมพ์ยพ.6ก.เลขที่465217ลงวันที่4ธันวาคม2529ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ไว้ไม่เกิน100,000บาทจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่1ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่าหากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริงค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัทอ.ก็ไม่ควรเกินกว่า100,000บาทส่วนจำเลยที่2ให้การต่อสู้ว่าตามข้อตกลงของจำเลยที่1ในการรับส่งสินค้าจำเลยที่1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน300,000บาทหากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่1ทราบแต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวคือไม่แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า300,000บาทหากฟังว่าจำเลยที่2ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน300,000บาทดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกขึ้นต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลยผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อนการที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรกจึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลังไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเองศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา27วรรคสองดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า8วันนับแต่วันทราบคำสั่งศาลจึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย รวมถึงข้อยกเว้นจำกัดความรับผิดที่มิชอบ
แม้บริษัท ม.ผู้รับตราส่งในต่างประเทศได้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาตามสัญญารับขนให้ผู้ส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแต่บริษัท ม.ไม่ได้รับสินค้าพิพาทจากโจทก์จึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระให้โจทก์และไม่มีส่วนได้เสียสำหรับสินค้าที่สูญหายเพราะไม่ใช่เจ้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งย่อมได้รับความเสียหายจึงมีอำนาจฟ้องเรียกราคาสินค้าพิพาทจากผู้ขนส่งได้ ในการออกใบตราส่งแม้ไม่มีชื่อจำเลยเป็นผู้ขนส่งแต่จำเลยเป็นผู้ออกในนามของบริษัท ฟ.ผู้ขนส่งแสดงว่าจำเลยในฐานะตัวแทนของบริษัท ฟ.ตัวการได้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับโจทก์เมื่อสินค้าพิพาทเกิดสูญหายที่ปลายทางในระหว่างอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ฟ.ผู้ขนส่งจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญาขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนนั้นโดยลำพังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824และมาตรา616 ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดในใบตราส่งจำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นเองฝ่ายเดียวโดยพิมพ์ไว้ด้านหลังใบตราส่งเป็นภาษาอังกฤษตัวอักษรมีขนาดเล็กมากจนยากที่จะอ่านได้ไม่มีช่องสำหรับให้ผู้ใดลงชื่อและไม่มีคำแปลภาษาไทยแม้ อ.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์จะมีความรู้ภาษาอังกฤษแต่ก็มิได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งและยังทักท้วงไว้ด้วยข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625เมื่อสินค้าพิพาทเกิดสูญหายในระหว่างอยู่ในความครอบครองของผู้ขนส่งจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชดใช้ราคาสินค้าพิพาทตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าหรือใบแสดงราคาสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา620 จำเลยฎีกาในประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยให้แก่โจทก์หรือไม่เมื่อประเด็นข้อนี้โจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต้องกันกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของโจทก์นำสินค้าไปเอาประกันภัยโจทก์มิได้ฎีกาหรือแก้ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาข้อวินิจฉัยของศาลล่างดังกล่าวจึงเป็นผลดีแก่จำเลยแล้วไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย, ของมีค่า, และข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยความรับผิดของผู้ขนส่ง
ได้ความแต่เพียงว่าระหว่างขนส่ง คนขับรถบรรทุกของจำเลยขับไปใกล้ถึงปลายทางได้เกิดเพลิงไหม้ตรงกลางคันรถใต้ผ้าใบคลุมสินค้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ปรากฏว่าเหตุเพลิงไหม้นั้นไม่อาจป้องกันได้เพราะเหตุใด และคนขับรถผู้ต้องประสบเหตุนั้นได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร ยังถือไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัย ลวดเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องซักผ้าเป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วไป มิใช่ของมีค่าที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ประทวนสินค้า หรืออัญมณี ผู้ส่งสินค้าจึงไม่จำเป็นต้องบอกราคาในขณะส่งมอบแก่ผู้ขนส่ง ใบกำกับสินค้าที่จำเลยออกให้โจทก์มีข้อจำกัดความรับผิดว่าจำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เกิน 500 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงลายมือชื่อยินยอมรับรู้ในข้อจำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่ง, การยกเว้นความรับผิด, และค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้า
จำเลยขนส่งกระจกให้โจทก์ ใบสั่งจ่ายรถยนต์เงินสดของจำเลยแม้จะมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้แต่ก็หาใช่ใบรับใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ในทำนองนั้น ซึ่งจำเลยออกให้โจทก์และโจทก์ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิด กระจกลามิเนทของโจทก์เพียงแต่เป็นทรัพย์สินที่แตกหักได้ง่าย ไม่ใช่ของมีค่าตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 620 การที่กระจกซึ่งจำเลยขนส่งแตกหักเสียหายนั้น ค่าจ้างในการจัดหากระจกมาติดตั้งชั่วคราวที่อาคารศูนย์การค้าของโจทก์หาใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนี้ล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ส่วนค่าใช้จ่ายในการออกของและค่าภาษีอากรขาเข้าสำหรับกระจกดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรง จำเลยต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อหลังใบตราส่งถือเป็นการตกลงยกเว้น/จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
การที่ผู้ส่งสินค้าลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญไว้ในใบตราส่งด้านหลังซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขและความรับผิดไว้ นอกจากจะเป็นการโอนสิทธิตราสารให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว ยังถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดแล้วหากเกิดความเสียหายขึ้นแก่สินค้า ผู้รับขนย่อมต้องรับผิดตามเงื่อนไขที่จำกัดความรับผิดไว้เท่านั้น โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่อาจฟ้องจำเลยผู้รับขนให้รับผิดตามมูลค่าของความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและหุ้นส่วนจากการสูญหายของสินค้าในการขนส่งระหว่างประเทศ
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์รับจัางขนส่งสินค้าโดยทางบกและทางน้ำ ผู้ตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้บรรทุกสินค้าจากโกดังสินค้าของผู้ตราส่งไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย และชำระเงินค่าจ้างขนส่งให้จำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการรับขนของเพื่อบำเหน็จในทางการค้าปกติของตน ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท น.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัท ล.ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัท ล.ผู้ตราส่งแทนบริษัท น.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท ล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัท ท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัท ท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัท น.และห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัท ท.เพื่อให้บริษัท ท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้า มิใช่บริษัท ล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ
เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัท ท.ผู้รับตราส่งบริษัท ส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัท ล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น สัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด
ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท น.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัท ล.ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัท ล.ผู้ตราส่งแทนบริษัท น.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท ล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัท ท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัท ท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัท น.และห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัท ท.เพื่อให้บริษัท ท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้า มิใช่บริษัท ล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ
เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัท ท.ผู้รับตราส่งบริษัท ส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัท ล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น สัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด
ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและหุ้นส่วนจากการสูญหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดในสัญญาขนส่ง
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์รับจ้างขนส่งสินค้าโดยทางบกและทางน้ำ ผู้ตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้บรรทุกสินค้าจากโกดังสินค้าของผู้ตราส่งไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย และชำระเงินค่าจ้างขนส่งให้จำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการรับขนของเพื่อบำเหน็จในทางการค้าปกติของตน ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัทน.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัทล. ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัทล.ผู้ตราส่งแทนบริษัทน.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัทท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัทท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัทท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัทน.และห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัทท.เพื่อให้บริษัทท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้ามิใช่บริษัทล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัทท.ผู้รับตราส่งบริษัทส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัทท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัทล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้นสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้รับขน การรับฟังพยาน และข้อต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย
ผู้ส่งสินค้ามิได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความผิดตามประกาศที่ผู้รับขนปิดไว้ที่ที่ทำการของผู้รับขน ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้รับขนจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 พยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีแม้ไม่ส่งสำเนาต่อศาลก่อนวันสืบพยานสามวัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คำให้การของจำเลยเพียงแต่ปฏิเสธจำนวนค่าเสียหายตามฟ้องเท่านั้น ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งให้จำเลยไปร่วมตรวจสอบเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดหรือรับผิดน้อยลง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น