คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 625

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนทางทะเลต่างประเทศ: การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อมูลคดีเกิดในไทย และข้อยกเว้นความรับผิด
สัญญารับขนทำในต่างประเทศระหว่างผู้ส่งและจำเลยผู้ขนส่งซึ่งต่างก็มิใช่บุคคลสัญชาติไทย เมื่อสินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่ง และผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วแต่ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนสูญหาย ทั้งผู้ซื้อและจำเลยเป็นนิติบุคคลที่มีสาขาในประเทศไทย มูลคดีจึงเกิดในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย กรณีไม่มีปัญหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่าผู้ส่งได้ทำความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิด ข้อความจำกัดความรับผิดด้านหลังใบตราส่งจึงใช้ยันผู้ส่งผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงต้องชัดเจนและมีผลผูกพันตามกฎหมายไทย
มูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย ไม่อาจนำ พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา มาใช้บังคับเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5)แห่ง พระราชบัญญัติ รับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่ อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: การยกเว้นความรับผิดต้องชัดเจนและมีผลผูกพัน
มูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย ไม่อาจนำพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเลค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้บังคับเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่ง และบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: การแสดงเจตนาชัดแจ้งของผู้ส่งสินค้า
เมื่อสินค้าพิพาทส่งมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งปรากฏว่าหีบห่อชำรุดเสียหาย 2 หีบ สินค้าสูญหายไป 9 รายการ เช่นนี้มูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายไทย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่า รับขนของทางทะเล ให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่เลย จึงจำเป็นต้องนำบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5) แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ด้านหลังใบตราส่งเป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กมากจนยากที่จะอ่านได้ ไม่มีช่องสำหรับให้ผู้ใดลงชื่อ แม้ผู้ส่งสินค้าจะลงชื่อไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว แต่ก็ลงชื่อด้วยตัวอักษรโตกว่าข้อกำหนดต่าง ๆ มากทั้งลงชื่อทับข้อกำหนดต่าง ๆ ด้วยน่าจะเป็นการลงชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารมากกว่า ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ส่งและผู้รับตราส่งซึ่งรับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่งด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง, สลักหลังใบตราส่ง, สินค้าสูญหาย, รับช่วงสิทธิ, กฎหมายไทยบังคับ
จำเลยให้การเพียงว่าการที่ผู้ส่งเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งออกใบตราส่งให้กับยึดถือใบตราส่งนั้นไว้เป็นหลักฐานโดยไม่คัดค้านและนำใบตราส่งนั้นมาแสดงต่อธนาคารเพื่อรับเงินค่าสินค้า เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่า ผู้ส่งยอมรับรู้ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ระบุไว้หลังใบตราส่งฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบว่า ผู้ส่งยังได้ลงนามในข้อตกลงต่างหากยอมรับไว้ล่วงหน้าถึงบรรดาข้อจำกัดความรับผิดต่าง ๆที่จำเลยระบุไว้ในใบตราส่งในขณะรับขน จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
การที่ผู้ส่งลงนามและประทับตรากับแจ้งภูมิลำเนาไว้หลังใบตราส่งนั้นเป็นการสลักหลังใบตราส่งเมื่อได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคารแล้วเพื่อส่งให้แก่ผู้สั่งซื้อสินค้าและให้ผู้สั่งซื้อสินค้าชำระเงินผ่านธนาคารก่อนที่จะไปรับสินค้าและจัดส่งใบตราส่งคืนจำเลยผู้รับขนเพื่อปล่อยสินค้าต่อไป จึงมิใช่กรณีที่ผู้ส่งตกลงลงนามยอมรับเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าไว้หลังใบตราส่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625
คำว่า 'ของมีค่าอย่างอื่น ๆ ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 หมายถึงสิ่งของมีค่าทำนองเดียวกับของตามที่ระบุไว้ในตอนต้นของมาตรานี้สินค้าทังสเตนคาร์ไบด์ไม่เป็นสิ่งของมีค่าพิเศษในลักษณะดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าซึ่งหากจำเลยผู้ขนส่งมิได้รับบอกราคาของไว้ในขณะส่งมอบแก่ตนแล้ว จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 357/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้า การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง และการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการสูญหายของสินค้า
จำเลยให้การเพียงว่าการที่ผู้ส่งเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งออกใบตราส่งให้กับยึดถือใบตราส่งนั้นไว้เป็นหลักฐานโดยไม่คัดค้านและนำใบตราส่งนั้นมาแสดงต่อธนาคารเพื่อรับเงินค่าสินค้า เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่า ผู้ส่งยอมรับรู้ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ระบุไว้หลังใบตราส่งฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบว่า ผู้ส่งยังได้ลงนามในข้อตกลงต่างหากยอมรับไว้ล่วงหน้าถึงบรรดาข้อจำกัดความรับผิดต่าง ๆที่จำเลยระบุไว้ในใบตราส่งในขณะรับขน จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
การที่ผู้ส่งลงนามและประทับตรากับแจ้งภูมิลำเนาไว้หลังใบตราส่งนั้นเป็นการสลักหลังใบตราส่งเมื่อได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคารแล้วเพื่อส่งให้แก่ผู้สั่งซื้อสินค้าและให้ผู้สั่งซื้อสินค้าชำระเงินผ่านธนาคารก่อนที่จะไปรับสินค้าและจัดส่งใบตราส่งคืนจำเลยผู้รับขนเพื่อปล่อยสินค้าต่อไป จึงมิใช่กรณีที่ผู้ส่งตกลงลงนามยอมรับเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าไว้หลังใบตราส่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625
คำว่า 'ของมีค่าอย่างอื่น ๆ ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 หมายถึงสิ่งของมีค่าทำนองเดียวกับของตามที่ระบุไว้ในตอนต้นของมาตรานี้สินค้าทังสเตนคาร์ไบด์ไม่เป็นสิ่งของมีค่าพิเศษในลักษณะดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าซึ่งหากจำเลยผู้ขนส่งมิได้รับบอกราคาของไว้ในขณะส่งมอบแก่ตนแล้ว จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิด.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่357/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ และข้อยกเว้นความรับผิด
ฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลรวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี เป็นคำฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว แม้จะมิได้ระบุชื่อตัวการและถิ่นที่อยู่มา หรือจำเลยร่วมกับผู้ใดทำการขนส่งหลายทอดหลายต่อก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไปไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศขนสินค้าของบริษัท ส. จากผู้รับขนหลายคนหลายทอดหลายต่อ แต่ทางนำสืบของโจทก์ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยรับขนในฐานะตัวการจากต้นทางส่งปลายทางทอดเดียว เมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาในการขนส่งสินค้ากับบริษัท ส.อันจะต้องรับผิดต่อบริษัทส.ในการที่สินค้าที่รับขนสูญหายระหว่างการขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 อยู่แล้ว แม้ตามฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยเป็นตัวแทนขนสินค้าหลายทอดหลายต่อ แต่ตามมาตรา 617,618 ก็บัญญัติให้จำเลยต้องรับผิดในการสูญหายแห่งสินค้าในระหว่างการขนส่งอยู่นั่นเอง แม้จะฟังข้อเท็จจริงไปในทางใด ก็หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเกี่ยวกับการนี้ไม่ ยังไม่พอให้ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องการสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนก่อนส่งมอบว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนของทางทะเลของประเทศใดมาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616,625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ โดยตามมาตรา 616 กำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการสูญหายแห่งของที่เขามอบหมายแก่ตนระหว่างการขนส่ง อันหมายถึงว่าต้องรับใช้เต็มราคาแห่งของที่สูญหายและมาตรา 625 บัญญัติให้ข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามใบตราส่งเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดนั้น
ในใบตราส่งได้ระบุเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งไว้ การที่บริษัท ส.เซ็นชื่อรับสินค้าไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการที่บริษัท ส.ยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิด หากแต่เป็นการเซ็นรับสินค้าที่จำเลยขนส่งมา จึงฟังว่าข้อจำกัดความรับผิดที่ฝ่ายจำเลยกำหนดขึ้นเองเป็นโมฆะเพราะบริษัท ส.มิได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ และข้อยกเว้นความรับผิดเป็นโมฆะ
ฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลรวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี เป็นคำฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว แม้จะมิได้ระบุชื่อตัวการและถิ่นที่อยู่มา หรือจำเลยร่วมกับผู้ใดทำการขนส่งหลายทอดหลายต่อก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไป ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศขนสินค้าของบริษัท ส. จากผู้รับขนหลายคนหลายทอดหลายต่อ แต่ทางนำสืบของโจทก์ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยรับขนในฐานะตัวการจากต้นทางส่งปลายทางทอดเดียว เมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาในการขนส่งสินค้ากับบริษัท ส. อันจะต้องรับผิดต่อบริษัท ส.ในการที่สินค้าที่รับขนสูญหายระหว่างการขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 อยู่แล้ว แม้ตามฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยเป็นตัวแทนขนสินค้าหลายทอดหลายต่อ แต่ตามมาตรา 617, 618 ก็บัญญัติให้จำเลยต้องรับผิดในการสูญหายแห่งสินค้าในระหว่างการขนส่งอยู่นั่นเอง แม้จะฟังข้อเท็จจริงไปในทางใด ก็หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเกี่ยวกับการนี้ไม่ ยังไม่พอให้ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องการสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนก่อนส่งมอบว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนของทางทะเลของประเทศใดมาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616, 625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ โดยตามมาตรา 616 กำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการสูญหายแห่งของที่เขามอบหมายแก่ตนระหว่างการขนส่ง อันหมายถึงว่าต้องรับใช้เต็มราคาแห่งของที่สูญหายและมาตรา 625 บัญญัติให้ข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามใบตราส่งเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดนั้น
ในใบตราส่งได้ระบุเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งไว้ การที่บริษัท ส.เซ็นชื่อรับสินค้าไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการที่บริษัท ส.ยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิด หากแต่เป็นการเซ็นรับสินค้าที่จำเลยขนส่งมา จึงฟังว่าข้อจำกัดความรับผิดที่ฝ่ายจำเลยกำหนดขึ้นเองเป็นโมฆะเพราะบริษัท ส.มิได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 616, 625 บังคับ
โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งของทางทะเลของประเทศใด มาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616 และ 625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าสูญหาย แม้มีข้อจำกัดความรับผิดในใบตราส่ง
ก่อนที่เรือบรรทุกสินค้าจะมาถึงประเทศไทย จำเลยได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่าทำการติดต่อกับกรมเจ้าท่า ติดต่อกรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ครั้นเมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยได้ติดต่อว่าจ้างขนถ่ายสินค้าลงจากเรือสินค้า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบว่าสินค้าได้มาถึงประเทศไทยแล้ว และรับใบตราส่งจากผู้ซื้อ แล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อเพื่อนำไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในกรณีที่จะมีการส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยเรือของบริษัทเจ้าของเรือ จำเลยจะเป็นผู้ออกใบตราส่งให้ โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับใบตราส่งของบริษัทดังกล่าว ในการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวนี้จำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากค่าระวางการดำเนินกิจการของจำเลยดังกล่าวแม้บางอย่างจะกระทำการแทนผู้ขนส่งต่างประเทศ แต่ก็เป็นการเข้าลักษณะร่วมกันทำการขนส่งกับผู้ขนส่งต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเรือ และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ซึ่งต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 618 ลักษณะ 8 เรื่องรับขนในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสาม
การที่ผู้ส่งสินค้ายอมรับใบตราส่งไปจากผู้ขนส่งนั้นจะถือว่า ผู้ส่งได้ตกลงด้วยชัดแจ้งกับข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบตราส่งไม่ได้ ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625.
of 8