คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 701

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามวงเงินกู้ที่ระบุในสัญญา แม้เจ้าหนี้ยินยอมให้กู้เกินวงเงิน
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกแม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท หรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกัน: การปิดอากรแสตมป์และผลของการไม่ฟ้องลูกหนี้ตามสัญญา
โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องเพียงคดีเดียว กิจการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ เช่น การแต่งทนาย ถอนฟ้อง ยอมความ อุทธรณ์ฎีกา รวมตลอดถึงการรับเงินในคดี ล้วนเป็นแต่กิจการเฉพาะคดีนั้นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป คงปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้น การค้ำประกันยังไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจและหนังสือรับสภาพหนี้ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ การค้ำประกันไม่ระงับแม้เจ้าหนี้ไม่ฟ้องตามกำหนด
โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องเพียงคดีเดียว กิจการต่างๆ ที่ระบุไว้ เช่น การแต่งทนาย ถอนฟ้อง ยอมความ อุทธรณ์ฎีกา รวมตลอดถึงการรับเงินในคดี ล้วนแต่เป็นกิจการเฉพาะคดีนั้นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป คงปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้นการค้ำประกันยังไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - หน้าที่แจ้งการยึดทรัพย์ - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ไม่ได้กำหนดว่า เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อ หรือเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเลิกสัญญายึดทรัพย์ที่เช่าซื้อคืน.ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก่อน.ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ.
ฎีกาซึ่งมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใด เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อ: ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีหน้าที่แจ้งการยึดทรัพย์ให้ผู้ค้ำประกันทราบ หากสัญญาไม่มีข้อกำหนด
ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ไม่ได้กำหนดว่า เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อ หรือเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเลิกสัญญายึดทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนผู้ให้เช่าซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก่อนผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ
ฎีกาซึ่งมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใด เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเช่าซื้อ: ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีหน้าที่แจ้งผู้ค้ำประกันก่อนยึดทรัพย์ และผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นความรับผิด
ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ไม่ได้กำหนดว่า เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อ หรือเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเลิกสัญญายึดทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนผู้ให้เช่าซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก่อน ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ
ฎีกาซึ่งมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใด เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องค้ำประกันและการผ่อนเวลาชำระหนี้: สิทธิของเจ้าหนี้และการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
อย่างไรเรียกว่าผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ (เทียบฎีกาที่ 667/72,แลที่ 1148/73)
of 2