คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 117

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินต้องปิดอากรแสตมป์ก่อนใช้เป็นหลักฐานในคดี หากไม่ปฏิบัติตาม สัญญาเป็นโมฆะ
หนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นการรวมหนี้ที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์หลายครั้งโดยผู้กู้และผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสัญญากู้ยืมเงิน เข้าลักษณะแห่งตราสารซึ่งต้องปิดอากรแสตป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร
การขออนุญาตนำตราสารไปปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำตราสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นจะชี้ขาดตัดสินคดี การที่โจทก์ขออนุญาตปิดอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้เงินในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ ศาลฎีกาไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4482/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์หลังมีคำพิพากษา ทำให้สัญญากู้ยืมใช้เป็นหลักฐานไม่ได้
การที่โจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินครบถ้วนแล้ว และ ป.รัษฎากร มาตรา 117 ให้ถือว่าเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ แต่การปิดแสตมป์นั้นโจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะนำสัญญากู้ยืมเงินมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด เมื่อโจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินไปปิดอากรแสตมป์หลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว สัญญากู้ยืมเงินย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7050/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้เงินที่ไม่ครบอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 24,000 บาท ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การปฏิเสธว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งหนังสือสัญญากู้เงินตามที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสาร ต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อยอดเงินตามหนังสือสัญญากู้เงินมีจำนวน 24,000 บาท จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 12 บาท แต่ในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท จึงปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 มีผลเท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
การขอปิดอากรแสตมป์เพิ่มในหนังสือสัญญากู้เงิน จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่นำเอกสารนั้นมาใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานก่อนศาลชั้นต้นตัดสิน เมื่อโจทก์กระทำหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินไม่สามารถใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีได้แล้ว แม้โจทก์ได้ขออนุญาตปิดอากรเพิ่มเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์ครบบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117 ก็ไม่ทำให้ผลเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีทรัพย์สินทางปัญญา: การบรรยายฟ้อง และหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำฟ้องในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 172 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ โจทก์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่จำต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 วรรคสอง ดังนี้หากโจทก์บรรยายฟ้องให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับก็เพียงพอที่จะให้ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว หากจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เข้าใจคำฟ้องในส่วนใด ศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดในส่วนนั้นให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ และจำเลยมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนคำฟ้องที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้ ตามข้อกำหนดดังกล่าวข้อ 6 วรรคสอง แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของ ข้อกำหนดดังกล่าวว่าประสงค์จะให้คู่ความแพ้ชนะกันในเนื้อหาแห่งคดี ไม่ถือเอาข้อบกพร่องในการบรรยายฟ้อง อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความมาเป็นข้อแพ้ชนะในคดี ดังนี้ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง แสดงว่าศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรกำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคล คนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบคนละ 30 บาท
โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายหรือ บ. ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของธนาคารโจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการดำเนินคดี แก้ต่างคดีของโจทก์ ฟ้องแย้ง ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความรวมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย ในศาลทั่วราชอาณาจักร ต่อบุคคล นิติบุคคล กลุ่มคณะบุคคลใด ๆ ที่ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ต่อโจทก์ และกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ถึง 8 โดยให้ผู้รับมอบอำนาจคนใด คนหนึ่งมีอำนาจกระทำการดังกล่าวแทนโจทก์ในนามโจทก์ได้ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้ต่างคนกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่ รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(ค) ท้าย ป.รัษฎากรดังกล่าว เมื่อตามหนังสือ มอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ 2 คน คนใดคนหนึ่งทำการฟ้องคดีแพ่งและกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท รวมจำนวน 60 บาท
โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์ได้ไป เสียอากรแสตมป์และเงินเพิ่มสำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 ก็ตาม แต่โจทก์ได้ดำเนินการดังกล่าวภายหลังจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาคดีไปแล้ว โจทก์มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์เสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำหนังสือ มอบอำนาจนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสี่ก็ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจจึงเป็น ตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 118 กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจ ส. ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ และการฟ้องซ้ำประเด็นที่ตัดสินแล้วในคดีอาญา
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 9
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ปิดแสตมป์ ไม่เป็นหลักฐานทางแพ่ง, รื้อฟ้องคดีซ้ำต้องห้าม
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่ สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาดโจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 118 กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิด ตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ยกฟ้องโจทก์เสียได้ เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับ ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน แก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อน มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับใน คดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์แต่เสียเงินเพิ่มแล้ว ถือใช้เป็นหลักฐานได้
โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจที่มิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ไปยื่นขอเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อจากนั้นย่อมเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะพิจารณาวินิจฉัย เมื่อโจทก์ได้เสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ถือได้ว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117 จึงใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ และถือได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ สามารถแก้ไขให้สมบูรณ์ได้โดยการชำระเงินอากรและเงินเพิ่มตามกฎหมาย ทำให้มีอำนาจฟ้อง
โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจที่มิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ไปยื่นขอเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อจากนั้นย่อมเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะพิจารณาวินิจฉัย เมื่อโจทก์ได้เสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ถือได้ว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 117 จึงใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ และถือได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่ชำระอากรแล้วรับฟังเป็นพยานได้ การอนุญาตชำระอากรระหว่างพิจารณาไม่เป็นเหตุฎีกา
ระหว่างพิจารณาโจทก์ส่งหนังสือค้ำประกันซึ่งติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนเป็นพยานแต่ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ได้นำไปดำเนินการเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรโดยชอบแล้วถือว่าหนังสือค้ำประกันเป็นตราสารที่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำเอกสารไปเสียภาษีอากรและเงินเพิ่มโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนเป็นการไม่ชอบ จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์ และไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์หลังมีคำพิพากษา ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานได้ตามกฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117 การขออนุญาตนำตราสารไปปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินไปเสียอากรและเงินเพิ่มภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
of 2