พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6613/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินมูลหนี้: ยึดทรัพย์เกินราคายังชอบได้ หากไม่พบทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีโดยหากเป็นหนี้เงิน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานำออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาชำระหนี้ได้ และการบังคับคดีนั้นต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 284 ด้วย ซึ่งมาตรา 284 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือศาลจะได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ห้ามไม่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี อนึ่ง ถ้าได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้ว ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินที่ยึดออกขายทอดตลาด หรือจำหน่ายด้วยวิธีอื่น" เห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายมาตรานี้ มีความหมายและเจตนารมณ์เพียงห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ แต่ไม่ได้มีความหมายหรือเจตนารมณ์ถึงขนาดห้ามยึดทรัพย์ใดๆ ที่มีมูลค่าสูงกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา การยึดทรัพย์ในการบังคับคดีเป็นการกระทำและการใช้ดุลพินิจร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งสำหรับในคดีนี้ เมื่อโจทก์ไม่สามารถสืบค้นและหาหลักฐานความเป็นเจ้าของทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ยกเว้นแต่ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด คือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งถึงวันที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินดังกล่าว เป็นเวลาเกือบจะครบกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการบังคับคดีแล้ว เช่นนี้ ถึงแม้ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดดังกล่าวจะมีมูลค่าสูงกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาอยู่มาก ก็ไม่ใช่ข้อห้ามถึงขนาดที่จะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดเพื่อการบังคับคดี โจทก์ย่อมใช้สิทธิที่มีอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271, 282 (1), 283 วรรคหนึ่ง และ 284 ด้วยการชี้หรือแจ้งยืนยันให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าว และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าวตามที่โจทก์ชี้ให้ยึด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10909/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้ ศาลต้องไต่สวนเพื่อให้ได้ความชัดเจนก่อนปลดเปลื้องความรับผิด
ขณะที่โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลย ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ที่ดินพิพาทมีชื่อ ก. เป็นเจ้าของ แต่การจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อ ก. เป็นการโอนให้ภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ การโอนดังกล่าวจึงอาจเป็นการโอนโดยมีเจตนาให้ที่ดินพิพาทพ้นจากการบังคับคดีอันจะทำให้โจทก์เสียเปรียบได้ เมื่อยังไม่แจ้งชัดว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอย่างแน่นอน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปลดเปลื้องความรับผิดโดยไม่ได้รับฟังว่าโจทก์จะคัดค้านหรือไม่ หรือเรียกโจทก์มาไต่สวนให้ได้ความชัดเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4483/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเรียกค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 154 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติตามวิธีการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีเงินพอที่จะเสียค่าใช้จ่ายนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินไม่เกินร้อยบาทได้โดยพลัน
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ชอบที่จะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้วางเงินอีกตามจำนวนที่เห็นสมควร แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าการวางเงินอีกนั้นไม่จำเป็นหรือมากไป ก็อาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดสองวันนับตั้งแต่ได้รับบอกกล่าว ขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินที่จะวางอีก หรือส่วนของจำนวนเงินซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมเสียแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นได้
ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกแห่งมาตรานี้โดยพลัน หรือไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวแล้วจนกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการบังคับคดี แม้ในวรรคแรกของมาตราดังกล่าวจะกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้วางเงินไม่เกินร้อยบาทแต่ในวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีให้วางเงินได้อีกตามจำนวนที่เห็นสมควร ซึ่งโดยสภาพหรือตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หากให้โจทก์วางเงินจำนวน 100 บาท ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในชั้นตั้งเรื่องยึดสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 1,500 บาท ตามคำสั่งของกรมบังคับคดีนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป ทั้งเงินที่วางดังกล่าวก็เป็นเพียงการทดรองค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีไว้ก่อน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ยึดไว้แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยคืนเงินทดรองค่าใช้จ่ายให้โจทก์ก่อนหักชำระหนี้อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่ต้องรับภาระเองอยู่แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้โจทก์ให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตั้งเรื่องยึดทรัพย์จำนวน 1,500 บาท แล้วจึงจะดำเนินการสั่งในคำขอยึดทรัพย์ต่อไป โจทก์ได้รับแจ้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาอันสมควรเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะงดปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะได้ยอมวางเงินเสียก่อนตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 154 วรรคสาม กรณีจึงมิใช่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้องทำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ตกอยู่ในความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ชอบที่จะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้วางเงินอีกตามจำนวนที่เห็นสมควร แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าการวางเงินอีกนั้นไม่จำเป็นหรือมากไป ก็อาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดสองวันนับตั้งแต่ได้รับบอกกล่าว ขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินที่จะวางอีก หรือส่วนของจำนวนเงินซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมเสียแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นได้
ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกแห่งมาตรานี้โดยพลัน หรือไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวแล้วจนกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการบังคับคดี แม้ในวรรคแรกของมาตราดังกล่าวจะกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้วางเงินไม่เกินร้อยบาทแต่ในวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีให้วางเงินได้อีกตามจำนวนที่เห็นสมควร ซึ่งโดยสภาพหรือตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หากให้โจทก์วางเงินจำนวน 100 บาท ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในชั้นตั้งเรื่องยึดสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 1,500 บาท ตามคำสั่งของกรมบังคับคดีนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป ทั้งเงินที่วางดังกล่าวก็เป็นเพียงการทดรองค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีไว้ก่อน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ยึดไว้แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยคืนเงินทดรองค่าใช้จ่ายให้โจทก์ก่อนหักชำระหนี้อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่ต้องรับภาระเองอยู่แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้โจทก์ให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตั้งเรื่องยึดทรัพย์จำนวน 1,500 บาท แล้วจึงจะดำเนินการสั่งในคำขอยึดทรัพย์ต่อไป โจทก์ได้รับแจ้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาอันสมควรเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะงดปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะได้ยอมวางเงินเสียก่อนตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 154 วรรคสาม กรณีจึงมิใช่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้องทำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ตกอยู่ในความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4483/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการเรียกค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ และผลของการไม่วางเงินค่าใช้จ่ายตามที่กำหนด
ป.วิ.พ. มาตรา 154 วรรคแรก กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการบังคับคดีไม่เกินร้อยบาท แต่ในวรรคสองให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งให้วางเงินได้อีกตามจำนวนที่เห็นสมควร ซึ่งโดยสภาพหรือตามภาวะเศรษฐกิจในขณะยื่นฟ้องหากให้โจทก์วางเงินจำนวน 100 บาท ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในชั้นตั้งเรื่องยึดสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 1,500 บาท ตามคำสั่งของกรมบังคับคดีถือได้ว่าเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป เมื่อโจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาอันสมควร เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะได้ยอมวางเงินเสียก่อนตามมาตรา 154 วรรคสาม กรณีมิใช่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้องทำตามมาตรา 283
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยักย้ายทรัพย์สิน: สิทธิในการยึดทรัพย์สินแม้มีการโอนหลังเกิดหนี้
ปัญหาว่านิติกรรมการยกให้ระหว่าง ธ. กับผู้คัดค้านมีผลสมบูรณ์แล้ว แม้จะกระทำขึ้นภายหลังเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบก็ตาม โจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสียก่อน จึงจะยึดทรัพย์บังคับคดีต่อไปได้นั้น จะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจยื่นคำร้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งข้อเท็จจริงที่นำมาสู่ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์ มิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามี แต่ได้โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง โจทก์หาจำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อนไม่ ทั้งการที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้ามาในคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์และข้อเถียงของผู้คัดค้านที่โต้แย้งกันนั้นได้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามี แต่ได้โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง โจทก์หาจำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อนไม่ ทั้งการที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้ามาในคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์และข้อเถียงของผู้คัดค้านที่โต้แย้งกันนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินที่โอนให้บุตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้ศาลสั่งยึดได้โดยไม่ต้องเพิกถอนนิติกรรมก่อน
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า กรณีของผู้คัดค้านเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินมาจากนิติกรรมที่ทำขึ้นภายหลังเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบ นิติกรรมการยกให้ระหว่าง ธ. กับผู้คัดค้านมีผลสมบูรณ์แล้ว โจทก์จึงต้องใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสียก่อนจึงจะยึดทรัพย์บังคับคดีต่อไปได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านในชั้นนี้ไปทีเดียว จึงเป็นการใช้สิทธิที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ปัญหาดังกล่าวจะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ปัญหาในเรื่องอำนาจยื่นคำร้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อเท็จจริงที่นำมาสู่ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์มิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามีแต่ได้โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. 283 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อน ทั้งการที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้ามาในคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์และข้อเถียงของผู้คัดค้านที่โต้แย้งกันนั้นได้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามีแต่ได้โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. 283 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อน ทั้งการที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้ามาในคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์และข้อเถียงของผู้คัดค้านที่โต้แย้งกันนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สิน การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่าโจทก์ต้องใช้สิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินระหว่าง ธ. กับผู้คัดค้านตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสียก่อน โจทก์จึงจะยึดที่ดินแปลงดังกล่าวบังคับคดีต่อไปได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีไปทีเดียว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านด้วยเหตุที่ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามี แต่ได้โอนให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง โจทก์หาจำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อนไม่
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามี แต่ได้โอนให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง โจทก์หาจำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินความจำเป็นและอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องคุ้มครองสิทธิทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินสองแปลงซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของ ส. และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ขายทอดตลาดแล้ว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีคำสั่งให้งดการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวจะต้องมีเหตุอ้างตามกฎหมายการที่จำเลยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำธนาคารท. ของ ส. เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้เสร็จสิ้นแทนการขายทอดตลาดที่ดิน แต่โจทก์ยังโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าโจทก์ไม่ยืนยันว่าเงินในบัญชีส่วนที่เหลือจากการอายัดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและโต้แย้งต่อศาลชั้นต้นว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก หากเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเงินตามคำขอของจำเลยโดยที่โจทก์ยังมีข้อโต้แย้งย่อมเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 283 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่ชอบ
คดีนี้คงเหลือหนี้ตามคำพิพากษา 6,833,057.50 บาทเศษ แต่ที่ดินทั้งสองแปลงที่ประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ 24,856,000 บาท หากขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการบังคับคดีเกินความจำเป็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 หรือหากได้เงินจากบัญชีเงินฝากมาชำระหนี้โจทก์จนครบก็ไม่ต้องขายทอดตลาดที่ดิน แต่การอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ส. ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติว่าการบังคับคดีโดยวิธีใดจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คดีนี้คงเหลือหนี้ตามคำพิพากษา 6,833,057.50 บาทเศษ แต่ที่ดินทั้งสองแปลงที่ประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ 24,856,000 บาท หากขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการบังคับคดีเกินความจำเป็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 หรือหากได้เงินจากบัญชีเงินฝากมาชำระหนี้โจทก์จนครบก็ไม่ต้องขายทอดตลาดที่ดิน แต่การอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ส. ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติว่าการบังคับคดีโดยวิธีใดจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินความจำเป็นและข้อโต้แย้งเรื่องที่มาของเงินชำระหนี้
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินสองแปลง ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของ ส. และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ขายทอดตลาดแล้ว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีคำสั่งให้งดการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวจะต้องมีเหตุอ้างตามกฎหมาย การที่จำเลยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำธนาคาร ท. ของ ส. เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้เสร็จสิ้นแทนการขายทอดตลาดที่ดิน แต่โจทก์ยังโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าโจทก์ไม่ยืนยันว่าเงินในบัญชีส่วนที่เหลือจากการอายัดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และโต้แย้งต่อศาลชั้นต้นว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก หากเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเงินตามคำขอของจำเลยโดยที่โจทก์ยังมีข้อโต้แย้งย่อมเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 283 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่ชอบ
คดีนี้คงเหลือหนี้ตามคำพิพากษา 6,833,057.50 บาทเศษ แต่ที่ดินทั้งสองแปลงที่ประกาศขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ 24,856,000 บาท หากขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการบังคับคดีเกินความจำเป็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 หรือหากได้เงินจากบัญชีเงินฝากมาชำระหนี้โจทก์จนครบก็ไม่ต้องขายทอดตลาดที่ดิน แต่การอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ส. ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติว่าการบังคับคดีโดยวิธีใดจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ชอบที่จะไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คดีนี้คงเหลือหนี้ตามคำพิพากษา 6,833,057.50 บาทเศษ แต่ที่ดินทั้งสองแปลงที่ประกาศขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ 24,856,000 บาท หากขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการบังคับคดีเกินความจำเป็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 หรือหากได้เงินจากบัญชีเงินฝากมาชำระหนี้โจทก์จนครบก็ไม่ต้องขายทอดตลาดที่ดิน แต่การอายัดเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ส. ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติว่าการบังคับคดีโดยวิธีใดจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ชอบที่จะไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่และอำนาจพิเศษของผู้ไม่เป็นบริวาร
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านซึ่งจำเลยเช่าไปจากโจทก์ อันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆออกจากอสังหาริมทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏในสำนวนว่าโจทก์ให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทในอัตราค่าเช่าเท่าใดคงได้ความว่า ผู้ร้องเสียค่าเช่าให้โจทก์ในอัตราเดือนละ120 บาท จึงฟังได้ว่าค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ก็ตามคดีนี้ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลอ้างว่ามิใช่บริวารของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) การที่คดีฟ้องขับไล่ระหว่างโจทก์ จำเลยในคดีเดิม จะมีการส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียก ไปยังภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องผิดพลาดหรือไม่ หาได้มีผล เกี่ยวข้องกับคดีของผู้ร้องไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจะร้องขอ ให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเดิมหาได้ไม่