พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5383/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีงดเว้นยึดทรัพย์สินที่มีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของ และขอความคุ้มครองจากค่าสินไหมทดแทน
ที่ดินมีโฉนดที่มีชื่อบุคคลภายนอกเป็นเจ้าของอยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดเว้นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น และร้องขอต่อศาลให้กำหนดการอย่างใด ๆ เพึ่อมิให้ตนต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2146/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน การบังคับคดี และข้อตกลงเพิ่มเติม
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความเพียงว่า จำเลยยอมชำระหนี้จากกองมรดกของผู้ตายให้โจทก์ ถ้าผิดนัดให้โจทก์ยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องและทรัพย์สินอื่นของผู้ตายขายทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้โจทก์จนครบเท่านั้น จำเลยจะฎีกาว่า หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์แล้ว โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบจำนวนหาได้ไม่ เพราะเป็นข้อตกลงที่มิได้มีในสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าหุ้นสหกรณ์: สิทธิเรียกร้องของสมาชิก vs. อำนาจบังคับคดีเจ้าหนี้
ระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นระเบียบบริหารงานภายในระหว่างสมาชิกเอง ตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ฯ มาตรา 4 ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกเช่นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมีอำนาจอายัดเงินค่าหุ้นในสหกรณ์ของจำเลย การไต่สวนคำร้อง (ในชั้นบังคับคดี) เป็นดุลพินิจของศาลว่าคำร้องฉบับใดมีความจำเป็นจะต้องไต่สวนพยานหลักฐานของผู้ร้องหรือไม่ หากศาลเห็นว่าแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของผู้ร้อง ตามคำร้อง ก็ไม่เป็นเหตุที่ผู้ร้องจะยกขึ้นมากล่าวอ้างได้ ศาลจึงไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์สิน: ผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์และการคุ้มครองผู้ขายเมื่อราคาต่ำกว่าที่ควร
จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยอ้างว่าราคาต่ำและยื่นคำร้องขอให้งดการดำเนินการเกี่ยวกับการขายทอดตลาดศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งให้งดการดำเนินการเกี่ยวกับการขายทอดตลาดให้ยกคำร้อง จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยในราคาต่ำมาก ทำให้จำเลยเสียหายและเสียเปรียบซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่ง หากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ทำการขายทอดตลาดใหม่ แต่ผู้ซื้อได้โอนทรัพย์ไปให้บุคคลอื่นเสียก่อนจะทำให้ไม่สามารถขายทอดตลาดได้ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวและให้ศาลชั้นต้นขายทอดตลาดใหม่ กรณีก็ไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพราะผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและผู้รับโอนทรัพย์ต่อจากนั้นก็คงไม่ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งให้งดการดำเนินการเกี่ยวกับการขายทอดตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำธุรกรรมหลังมีคำพิพากษาเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี: การกระทำที่เป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลย ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องคดีนี้และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี หลังจากนั้นประมาณ6 เดือน ผู้ร้องและจำเลยจดทะเบียนหย่ากันโดยตกลงให้ทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสตกได้แก่ผู้ร้องฝ่ายเดียว เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยร่วมกันทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้จำเลยถูกยึดทรัพย์มาเพื่อการบังคับคดีเป็นการกระทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบโจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทมาดำเนินการบังคับคดีเอาชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัคคีภัยทำให้สัญญาเช่าระงับ: การพิจารณาความเสียหายของอัคคีภัยต่อการสิ้นสุดสัญญาเช่า
บันทึกการหักหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้เป็นสัญญาชำระะหนี้โดยการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะนิติกรรมที่จะต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 เมื่อมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ การโอนจึงถือว่าไม่บริบูรณ์ กรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทยังเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงนำยึดห้องแถวพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์เพื่อชำระหนี้ ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย จึงจะสมบูรณ์
บันทึกการหักหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้เป็นสัญญาชำระหนี้ โดยการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะนิติกรรมที่จะต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299เมื่อมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ การโอนจึงถือว่าไม่บริบูรณ์ กรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทยังเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงนำยึดห้องแถวพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดกกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิของผู้เยาว์ในการร้องคัดค้านการยึด
จำเลยแต่งงานกับนาง น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ทายาท ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ น. ในคดีเดิมโจทก์ไม่ได้ฟ้อง น. เป็นจำเลย หากแต่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมรดกของ น. แม้คำพิพากษาในคดีเดิมจะฟังว่า น. กู้เงินโจทก์ไปจริงก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ น. เป็นจำเลย การที่โจทก์นำยึดที่พิพาทซึ่งมารดาของ น. ยกให้ น. ก่อนแต่งงานกับจำเลย โดยมีชื่อ น. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของผู้อื่นมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น. เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น. ยังมีชีวิตอยู่ น. จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น.เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส. เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายและมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น. ก่อน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น. เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น. ยังมีชีวิตอยู่ น. จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น.เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส. เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายและมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น. ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และสิทธิในการร้องขัดทรัพย์ของทายาท
จำเลยแต่งงานกับนาง น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ทายาท ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ น. ในคดีเดิมโจทก์ไม่ได้ฟ้อง น.เป็นจำเลย หากแต่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมรดกของ น. แม้คำพิพากษาในคดีเดิมจะฟังว่า น.กู้เงินโจทก์ไปจริงก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ น.เป็นจำเลย การที่โจทก์นำยึดที่พิพาทซึ่งมารดาของ น.ยกให้ น.ก่อนแต่งงานกับจำเลย โดยมีชื่อ น.เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของผู้อื่นมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น.เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น.ยังมีชีวิตอยู่ น.จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538 เมื่อ น.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น. เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส.จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้าย และมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น.ก่อน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น.เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น.ยังมีชีวิตอยู่ น.จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538 เมื่อ น.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น. เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส.จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้าย และมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น.ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากสินสมรสหลังบอกล้างสัญญาค้ำประกัน: ต้องแยกสินสมรsk่อนยึด
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นสามีได้บอกล้างสัญญาค้ำประกันซึ่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาทำไว้กับโจทก์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สัญญาค้ำประกันนั้นในส่วนที่ผูกพันสินบริคณห์ตกเป็นโมฆะ แต่ยังสมบูรณ์อยู่เฉพาะในส่วนที่ผูกพันสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โจทก์จะต้องบังคับชำระเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2ไม่มีหรือมีไม่พอ และโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้เอาจากส่วนของจำเลยที่ 2 ในสินบริคณห์ โจทก์ต้องร้องต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องเสียก่อนแล้วจึงนำยึดส่วนของจำเลยที่ 2 เพื่อชำระหนี้โจทก์จะนำยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ได้