คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 40

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชอบค่าภาษีตามสัญญาเช่า: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่ระบุในสัญญา
จำเลยได้ลงทุนก่อสร้างโรงแรมแล้วยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยมีสิทธิเช่าโรงแรมที่ก่อสร้างเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมเป็นเวลา 16 ปี 6 เดือน และตลอดเวลาการเช่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือน ภาษีการค้าหรือภาษีอื่นใด และภาษีส่วนที่ทางราชการประเมินสูงกว่าที่ปรากฏในสัญญาเช่า การที่จำเลยยกกรรมสิทธิ์ในที่ก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินนี้ กรมสรรพากรถือว่าเป็นรายได้พึงประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงที่จะต้องเสียภาษี เมื่อพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาแล้ว ถ้าเจ้าของที่ดินมีเจตนาให้จำเลยชำระภาษีส่วนนี้แทนด้วยก็ควรจะต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งเพราะภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า ยังระบุไว้ได้ หรือมิฉะนั้นระบุว่าภาษีใด ๆ ก็เพียงพอแล้วไม่ต้องระบุรายละเอียดว่าเป็นภาษีในกรณีใดบ้างอย่างเช่นที่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่า ทำให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่ามิได้หมายความรวมถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนนี้แทนเจ้าของที่ดิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของเจ้าของที่ดินย่อมไม่มีสิทธิยกเอาเหตุนี้มาบอกเลิกสัญญาเช่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จากเงินบำเหน็จและบำนาญเมื่อออกจากงาน: เงินบำเหน็จหักค่าใช้จ่ายได้
ตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อออกจากงานมีอยู่ 2 ลักษณะ คือเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และเงินได้จ่ายในลักษณะเป็นบำเหน็จจำนวนหนึ่งและมีลักษณะเป็นบำนาญอีกจำนวนหนึ่งซึ่งกรณีที่นายจ้างจ่ายในลักษณะหลังนี้ เงินบำนาญเท่านั้นที่จะหักค่าใช้จ่ายตามบทบัญญัติมาตรานี้ไม่ได้ และตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา 4 ให้คำจำกัดความคำว่า บำเหน็จว่าเป็นเงินตอบแทนความชอบ ฯลฯ ซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว ส่วนบำนาญหมายความว่าเป็นเงินตอบแทน ฯลฯซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่านอกจากนายจ้างของโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จให้โจทก์แล้ว นายจ้างยังได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนภายหลังโจทก์ออกจากเงินอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญด้วยฉะนั้นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดซึ่งรวมถึงเงินบำเหน็จด้วย จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ชอบที่โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามที่มาตรา 42 ทวิ วรรคสาม บัญญัติไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองและสัญญากู้เงินที่สมคบกันแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
สัญญาจำนองและสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์ กับ พ. เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะโจทก์และ พ. สมคบกันแสดงเจตนาลวง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ แม้โจทก์จะมีชื่อ ในสัญญาจำนองในฐานะผู้รับจำนอง ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเงินได้ประเภทดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากเงินที่ได้รับเมื่อออกจากงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกรมสรรพากร โดยพิจารณาเงินได้ทั้งหมด ไม่เฉพาะเงินเดือน
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน มีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้างแตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องเป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงาน ที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) คำว่า เงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายและเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมด มิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก: จดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องส่งออกจริง และการประเมินภาษีซ้ำซ้อน
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.728/2522 ข้อ 1(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งที่ ท.872/2523 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.75 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จายในแต่ละครั้ง เฉพาะผู้จ่ายเงินและสำหรับการซื้อยางแผ่นหรือยางชนิดอื่น เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก ฯลฯ คำว่า "ผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก" มีความหมายเพียงว่าเป็นผู้ซื้อที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น หาจำต้องเป็นผู้ส่งออกตามความเป็นจริงไม่ และการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ต้องกระทำขณะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า หาใช่กระทำขณะส่งออกไม่เพราะไม่ว่าผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกจะได้ส่งออกสินค้าที่ซื้อมาหรือไม่ ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งอยู่แล้ว
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าการประเมินภาษีนั้นอ้างกฎหมายไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินย่อมสั่ง ยกเลิกการประเมินและทำการประเมินใหม่ได้ ไม่มีกฎหมายห้าม การประเมินครั้งหลังโดยยกเลิกการประเมินครั้งแรกมีผลให้โจทก์เสียภาษีเพียงครั้งเดียว หาใช่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก และการประเมินภาษีซ้ำซ้อน
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.728/2522 ข้อ 1(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งที่ ท.872/2523 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับ หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.75 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในแต่ละครั้งเฉพาะผู้จ่ายเงิน และสำหรับการซื้อยางแผ่นหรือยางชนิดอื่น เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก ฯลฯ คำว่า"ผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก" มีความหมายเพียงว่าเป็นผู้ซื้อที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น หาจำต้องเป็นผู้ส่งออกตามความเป็นจริงไม่ และการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นต้องกระทำขณะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า หาใช่กระทำขณะส่งออกไม่เพราะไม่ว่าผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกจะได้ส่งออกสินค้าที่ซื้อมาหรือไม่ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งอยู่แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์แล้วต่อมาเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าการประเมินภาษีนั้นอ้างกฎหมายไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมสั่งยกเลิกการประเมินและทำการประเมินใหม่ได้ ไม่มีกฎหมายห้าม การประเมินครั้งหลังโดยยกเลิกการประเมินครั้งแรกมีผลให้โจทก์เสียภาษีเพียงครั้งเดียวหาใช่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกเพื่อข้อยกเว้นภาษี หากไม่สามารถนำสืบได้ ถือเป็นเงินได้ต้องเสียภาษี
บิดาของโจทก์เช่าตึกแถวจากผู้ให้เช่า ต่อมาโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าต่อจากบิดาซึ่งถึงแก่กรรม แล้วโจทก์โอนสิทธิการเช่านี้ให้แก่ธนาคารโดยได้เงินตอบแทน 2,000,000 บาท ในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า สิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทนี้เป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์เมื่อโจทก์มิได้ระบุพยานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ซึ่งหมายความว่าโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ตามข้ออ้างที่ว่าสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์มรดก เช่นนี้ การโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทของโจทก์จึงฟังมิได้ว่าเป็นการโอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยทางมรดกและมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าตอบแทนจำนวน 2,000,000 บาท มาคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรถือเป็นการค้า ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพิ่งแบ่งที่ดินบางส่วนมาสร้างตึกแถวขึ้นภายหลัง เพื่อประสงค์จะขายตึกแถวพร้อมที่ดินโดยแบ่งเป็นคูหาตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่จึงเป็นตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นมาเพื่อขายหากำไรโดยเฉพาะเงินได้จากการขายตึกแถวเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) เพราะคำว่า 'การอื่น' นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 (8) นั้น หมายถึงเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40 (1)ถึง (7) ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไร ถือเป็นการค้า ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพิ่งแบ่งที่ดินบางส่วนมาสร้างตึกแถวขึ้นภายหลัง เพื่อประสงค์จะขายตึกแถวพร้อมที่ดินโดยแบ่งเป็นคูหาตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่จึงเป็นตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นมาเพื่อขายหากำไรโดยเฉพาะเงินได้จากการขายตึกแถวเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) เพราะคำว่า 'การอื่น' นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(8) นั้นหมายถึงเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1)ถึง (7) ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพิ่งแบ่งที่ดินบางส่วนมาสร้างตึกแถวขึ้นภายหลัง เพื่อประสงค์จะขายตึกแถวพร้อมที่ดินโดยแบ่งเป็นคูหา ตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่จึงเป็นตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นมาเพื่อขายหากำไรโดยเฉพาะ เงินได้จากการขายตึกแถวเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)เพราะคำว่า "การอื่น" นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(8) นั้นหมายถึงเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1) ถึง (7) ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)
of 9