พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้เข้าทำงาน/ได้เงินเดือนขึ้นระหว่างปี ต้องคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริง
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50(1) สำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปี หรือได้รับเงินเดือนขึ้นระหว่างปีนั้น ให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปี เป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ หากมีการจ่ายเงินโบนัสก็จะนำเงินโบนัสรวมกับเงินเดือนที่จ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีด้วย แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้: อายุความ, การประเมิน, การยึดทรัพย์, และเงินเพิ่ม กรณีมิได้ยื่นรายการ
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องแล้วว่ามีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นรวมอยู่ในเงินได้สุทธิที่เจ้าพนักงานประเมิน ของจำเลยประเมินเรียกเก็บจากโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 47 แต่ละข้อมีจำนวนเท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะหนังสือแจ้งการประเมินของจำเลยก็มิได้แยกประเภทเงินได้ให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่สามารถจะบรรยายฟ้องได้ถูกต้อง
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์ขึ้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณภาษีเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องคำนึงถึงว่าเงินได้สุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ, 43, 44, 45, 46 และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42 (4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่น พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจาคค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษี พ.ศ.2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์ขึ้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณภาษีเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องคำนึงถึงว่าเงินได้สุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ, 43, 44, 45, 46 และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42 (4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่น พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจาคค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษี พ.ศ.2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 แล้วก่อนประเมิน ครั้นคดีขึ้นสู่ศาลโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานไม่ถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบหักล้างการประเมิน ถ้ารายใดโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าการประเมินนั้นถูกต้อง
เมื่อได้มีการเรียกพยานหลักฐานต่าง ๆ มาพิจารณาในชั้นไต่สวนแล้วก็ถือว่าได้มีการไต่สวนโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกผู้ใดมาสอบถามหรือไม่และสอบถามอย่างไร เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ ไม่มีผลทำให้การไต่สวนเสียไป
แม้ตามเอกสารของบริษัทแสดงว่าบริษัทจ่ายเงินค่าพาหนะแก่โจทก์ในการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อดูงาน แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จ่ายประสงค์จะจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อดูงานจริง ๆ หากแต่เป็นการจ่ายเป็นค่าตอบแทนในฐานะโจทก์เป็นประธานกรรมการบริษํทแล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) แต่ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2)
สิทธิการเช่าตึกคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ที่โจทก์ได้มาโดยไม่ได้จ่ายค่าทดแทนถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินได้จากการอื่นซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ละเลยไม่เสียภาษีเงินได้ จึงสมควรที่จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ที่โจทก์อ้างว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ดังกล่าว แต่เป็นเพราะโจทก์มีภารกิจหน้าที่การงานมากเรื่องภาษีอากรโจทก์ไม่ได้ทำเอง โจทก์ไม่มีความรู้ว่าต้องเสียภาษีอะไรเท่าใด คนของโจทก์จัดทำมาให้เสร็จ ทั้งขณะนั้นโจทก์กำลังประสบกับความทุกข์อย่างหนักตามที่ยกขึ้นกล่าวก็ไม่ใช่เหตุผลในกฎหมายอันทำให้โจทก์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
เมื่อได้มีการเรียกพยานหลักฐานต่าง ๆ มาพิจารณาในชั้นไต่สวนแล้วก็ถือว่าได้มีการไต่สวนโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกผู้ใดมาสอบถามหรือไม่และสอบถามอย่างไร เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ ไม่มีผลทำให้การไต่สวนเสียไป
แม้ตามเอกสารของบริษัทแสดงว่าบริษัทจ่ายเงินค่าพาหนะแก่โจทก์ในการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อดูงาน แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จ่ายประสงค์จะจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อดูงานจริง ๆ หากแต่เป็นการจ่ายเป็นค่าตอบแทนในฐานะโจทก์เป็นประธานกรรมการบริษํทแล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) แต่ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2)
สิทธิการเช่าตึกคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ที่โจทก์ได้มาโดยไม่ได้จ่ายค่าทดแทนถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินได้จากการอื่นซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ละเลยไม่เสียภาษีเงินได้ จึงสมควรที่จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ที่โจทก์อ้างว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ดังกล่าว แต่เป็นเพราะโจทก์มีภารกิจหน้าที่การงานมากเรื่องภาษีอากรโจทก์ไม่ได้ทำเอง โจทก์ไม่มีความรู้ว่าต้องเสียภาษีอะไรเท่าใด คนของโจทก์จัดทำมาให้เสร็จ ทั้งขณะนั้นโจทก์กำลังประสบกับความทุกข์อย่างหนักตามที่ยกขึ้นกล่าวก็ไม่ใช่เหตุผลในกฎหมายอันทำให้โจทก์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการออกหุ้นเพื่อแลกกับสิทธิบัตร: การพิจารณาเงินได้พึงประเมินและหน้าที่เสียภาษี
เมื่อโจทก์ถือว่าคำสั่งเดิมของเจ้าพนักงานประเมินที่ได้นำส่งภาษีเงินได้เป็นคำสั่งถึงบริษัทที่มีชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์ ก็ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะออกคำสั่งฉบับใหม่ระบุชื่อโจทก์เสียให้ถูกต้อง โดยยกเลิกคำสั่งฉบับเดิมที่ระบุชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์นั้นเสีย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินกระทำเช่นนั้น
การที่โจทก์ออกหุ้นให้บริษัท ฟ. เป็นไปตามข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. คือเพื่อตอบแทนที่บริษัท ฟ. ได้ให้ข้อสนเทศและบริการแก่โจทก์ โจทก์ต้องจัดสรรหุ้นให้แก่บริษัท ฟ. เป็นหุ้นที่ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ภาษีที่จะต้องเสีย โจทก์รับเป็นผู้เสียเองโดยตรง ดังนี้ บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ คือสิทธิบัตรในการผลิตยางซึ่งบริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสหรัฐอเมริกา อันเป็นสิทธิที่โจทก์ยอมรับนับถือ โดยยอมจ่ายค่าตอบแทนสิทธิเช่นว่านี้เป็นหุ้น จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แม้จะเป็นหุ้นไม่ใช่ตัวเงิน หุ้นนั้นก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เมื่อเป็นเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีเงินได้พึงประเมินนำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายเงินได้พึงประเมินไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินจริง ๆ เพราะคำนวณค่าหุ้นออกมาได้แน่นอนแล้วว่า เป็นเงินจำนวนเท่าใด ย่อมคิดหักเป็นภาษีออกมาได้ มิฉะนั้นแล้วอาจมีการหลีกเลี่ยงภาษี คือแทนที่จะจ่ายเป็นตัวเงิน ก็จ่ายเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเสีย
เจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งใหม่ที่ กค. 0804/334 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2508 ถึงโจทก์ แจ้งยกเลิกคำสั่งเดิมและสั่งให้โจทก์นำเงินภาษีเงินได้ไปชำระ หาใช่เป็นการประเมินภาษีไม่ หากเป็นการแจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินค่าภาษีไปชำระ เท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเอง คำสั่งเช่นว่านี้มิได้ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
การที่โจทก์ออกหุ้นให้บริษัท ฟ. เป็นไปตามข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. คือเพื่อตอบแทนที่บริษัท ฟ. ได้ให้ข้อสนเทศและบริการแก่โจทก์ โจทก์ต้องจัดสรรหุ้นให้แก่บริษัท ฟ. เป็นหุ้นที่ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ภาษีที่จะต้องเสีย โจทก์รับเป็นผู้เสียเองโดยตรง ดังนี้ บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ คือสิทธิบัตรในการผลิตยางซึ่งบริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสหรัฐอเมริกา อันเป็นสิทธิที่โจทก์ยอมรับนับถือ โดยยอมจ่ายค่าตอบแทนสิทธิเช่นว่านี้เป็นหุ้น จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แม้จะเป็นหุ้นไม่ใช่ตัวเงิน หุ้นนั้นก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เมื่อเป็นเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีเงินได้พึงประเมินนำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายเงินได้พึงประเมินไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินจริง ๆ เพราะคำนวณค่าหุ้นออกมาได้แน่นอนแล้วว่า เป็นเงินจำนวนเท่าใด ย่อมคิดหักเป็นภาษีออกมาได้ มิฉะนั้นแล้วอาจมีการหลีกเลี่ยงภาษี คือแทนที่จะจ่ายเป็นตัวเงิน ก็จ่ายเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเสีย
เจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งใหม่ที่ กค. 0804/334 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2508 ถึงโจทก์ แจ้งยกเลิกคำสั่งเดิมและสั่งให้โจทก์นำเงินภาษีเงินได้ไปชำระ หาใช่เป็นการประเมินภาษีไม่ หากเป็นการแจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินค่าภาษีไปชำระ เท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเอง คำสั่งเช่นว่านี้มิได้ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้: หน้าที่การพิสูจน์ของโจทก์, เงินได้พึงประเมิน, และข้อยกเว้นภาษี
โจทก์บรรยายฟ้อง ความว่า หนังสือแจ้งภาษีเงินได้ตามเอกสารหมายเลข 1 ถึง 5 ท้ายฟ้อง ไม่ถูกต้องตรงกับความจริง เพราะมีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปะปนอยู่ โจทก์ได้อ้างประมวลรัษฎากร มาตรา 42 ถึงมาตรา 47 และอ้างรายการประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ (ก) ถึง (ฌ) แม้โจทก์จะมิได้กล่าวว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นประเภทใด มีจำนวนเท่าใด ก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 2 แล้ว การนำสืบของโจทก์ไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ซึ่งถูกเรียกเก็บภาษีเงินได้เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เพราะจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยประเมินมานั้นมิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือแม้เป็นเงินได้พึงประเมินก็ได้รับยกเว้นภาษี ดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องพิสูจน์ว่า เงินจำนวนนั้น ๆ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะเหตุใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง โจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เงินจำนวนนั้น ๆ มิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีนั่นเอง
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่เรียกกันว่าค่าพาหนะ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบว่าเงินนี้เข้าลักษณะเงินค่าพาหนะตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (1) หาใช่หน้าที่จำเลยที่จะต้องนำสืบไม่
เงินที่โจทก์ได้รับในชื่อค่าพาหนะจำนวน 295,500 บาท โดยจำนวน วิธีการจ่ายและพฤติการณ์ที่แท้จริง มีลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 หาเข้าลักษณะค่าพาหนะซึ่งโจทก์ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของโจทก์และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นตามมาตรา 42 (1) ไม่ ฉะนั้น เงินจำนวน 295,500 บาทนี้ จำเลยจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของโจทก์
โจทก์ได้หุ้นซึ่งเรียกกันว่าหุ้นฟรีรวมเป็นเงิน 341,250 บาทมา เพราะโจทก์ทำงานให้ ส. ส. จึงให้หุ้นตอบแทน เห็นได้ว่าโจทก์ได้หุ้นมาเป็นประโยชน์ตอบแทนกับการที่โจทก์ได้ทำงานให้แก่ผู้ให้ ประโยชน์นั้นมีมูลค่าเป็นเงิน จึงถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาตามความในมาตรา 40 (2) (8) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ว่าโจทก์ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาของผู้ให้หุ้นแก่โจทก์ไม่ กรณีหุ้นที่เรียกว่าหุ้นฟรีจึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (10)
โจทก์ได้รับเช็คมาโดยตรงจากบริษัท ส. มิใช่บริษัท ส.จ่ายให้บุคคลอื่นแล้วบุคคลนั้นมอบให้โจทก์อีกต่อหนึ่งเพื่อให้โจทก์ทำธุระแทน เงิน 150,000 บาทตามเช็คจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
การที่พ่อค้าให้เงินจำนวนมากแก่ข้าราชการ แม้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ จะถือว่าเป็นการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้หรือไม่นั้น กรณีอย่างนี้ยากที่จะถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวได้ การณ์ย่อมแล้วแต่คติร่วมกันของฝ่ายผู้ให้และผู้รับ ฉะนั้น เช็ค 4 ฉบับ จำนวนเงิน 70,000 บาทที่โจทก์ได้รับเป็นของขวัญในวันขึ้นปีใหม่จากบริษัท ส. ก. จึงเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เพราะเป็๋นเงินที่ได้จากการให้โดยเสน่หาตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (10)
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการและพยานมาให้การไต่สวน ในเมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินในอันที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะไต่สวนหรือไม่ หาได้บัญญัติบังคับเจ้าพนักงานประเมินให้จำต้องกระทำไม่
เช็คฝากธนาคารซึ่งบริษัท ก.สั่งจ่ายให้โจทก์ ที่จำเลยนำไปคำนวณภาษีเงินได้นั้น เป็นเงินทดรองจากเงินส่วนตัวของโจทก์เองที่โจทก์ได้รับคืนมา หาใช่เงินได้พึงประเมินไม่
โจทก์ซึ่งถูกเรียกเก็บภาษีเงินได้เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เพราะจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยประเมินมานั้นมิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือแม้เป็นเงินได้พึงประเมินก็ได้รับยกเว้นภาษี ดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องพิสูจน์ว่า เงินจำนวนนั้น ๆ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะเหตุใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง โจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เงินจำนวนนั้น ๆ มิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีนั่นเอง
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่เรียกกันว่าค่าพาหนะ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบว่าเงินนี้เข้าลักษณะเงินค่าพาหนะตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (1) หาใช่หน้าที่จำเลยที่จะต้องนำสืบไม่
เงินที่โจทก์ได้รับในชื่อค่าพาหนะจำนวน 295,500 บาท โดยจำนวน วิธีการจ่ายและพฤติการณ์ที่แท้จริง มีลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 หาเข้าลักษณะค่าพาหนะซึ่งโจทก์ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของโจทก์และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นตามมาตรา 42 (1) ไม่ ฉะนั้น เงินจำนวน 295,500 บาทนี้ จำเลยจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของโจทก์
โจทก์ได้หุ้นซึ่งเรียกกันว่าหุ้นฟรีรวมเป็นเงิน 341,250 บาทมา เพราะโจทก์ทำงานให้ ส. ส. จึงให้หุ้นตอบแทน เห็นได้ว่าโจทก์ได้หุ้นมาเป็นประโยชน์ตอบแทนกับการที่โจทก์ได้ทำงานให้แก่ผู้ให้ ประโยชน์นั้นมีมูลค่าเป็นเงิน จึงถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาตามความในมาตรา 40 (2) (8) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ว่าโจทก์ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาของผู้ให้หุ้นแก่โจทก์ไม่ กรณีหุ้นที่เรียกว่าหุ้นฟรีจึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (10)
โจทก์ได้รับเช็คมาโดยตรงจากบริษัท ส. มิใช่บริษัท ส.จ่ายให้บุคคลอื่นแล้วบุคคลนั้นมอบให้โจทก์อีกต่อหนึ่งเพื่อให้โจทก์ทำธุระแทน เงิน 150,000 บาทตามเช็คจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
การที่พ่อค้าให้เงินจำนวนมากแก่ข้าราชการ แม้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ จะถือว่าเป็นการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้หรือไม่นั้น กรณีอย่างนี้ยากที่จะถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวได้ การณ์ย่อมแล้วแต่คติร่วมกันของฝ่ายผู้ให้และผู้รับ ฉะนั้น เช็ค 4 ฉบับ จำนวนเงิน 70,000 บาทที่โจทก์ได้รับเป็นของขวัญในวันขึ้นปีใหม่จากบริษัท ส. ก. จึงเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เพราะเป็๋นเงินที่ได้จากการให้โดยเสน่หาตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (10)
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการและพยานมาให้การไต่สวน ในเมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินในอันที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะไต่สวนหรือไม่ หาได้บัญญัติบังคับเจ้าพนักงานประเมินให้จำต้องกระทำไม่
เช็คฝากธนาคารซึ่งบริษัท ก.สั่งจ่ายให้โจทก์ ที่จำเลยนำไปคำนวณภาษีเงินได้นั้น เป็นเงินทดรองจากเงินส่วนตัวของโจทก์เองที่โจทก์ได้รับคืนมา หาใช่เงินได้พึงประเมินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้: การพิสูจน์ภาระหน้าที่ของผู้เสียภาษี และการรับรองความถูกต้องของรายการเงินได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความว่า หนังสือแจ้งภาษีเงินได้ตามเอกสารหมายเลข 1 ถึง 5 ท้ายฟ้อง ไม่ถูกต้องตรงกับความจริง เพราะมีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปนอยู่โจทก์ได้อ้างประมวลรัษฎากร มาตรา 42 ถึงมาตรา 47 และอ้างรายการประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ (ก) ถึง (ณ) แม้โจทก์จะมิได้กล่าวว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นประเภทใด มีจำนวนเท่าใด ก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วการนำสืบของโจทก์ไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ซึ่งถูกเรียกเก็บภาษีเงินได้เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เพราะจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยประเมินมานั้นมิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือแม้เป็นเงินได้พึงประเมินก็ได้รับยกเว้นภาษีดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องพิสูจน์ว่า เงินจำนวนนั้น ๆได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะเหตุใด กล่างอีกนัยหนึ่ง โจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เงินจำนวนนั้น ๆ มิใช่เงินได้พึงประเมินหรือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีนั่นเอง
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่เรียกกันว่าค่าพาหนะ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบว่าเงินนี้เข้าลักษณะเงินค่าพาหนะตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) หาใช่หน้าที่จำเลยนที่จะต้องนำสืบไม่
เงินที่โจทก์ได้รับในชื่อค่าพาหนะจำนวน 295,500 บาท โดยจำนวน วิธีการจ่ายและพฤติการณ์ที่แท้จริง มีลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 หาเข้าลักษณะค่าพาหนะซึ่งโจทก์ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของโจทก์และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นตามมาตรา 42(1) ไม่ ฉะนั้น เงินจำนวน 295,500บาทนี้ จำเลยจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของโจทก์
โจทก์ได้หุ้นซึ่งเรียกกันว่าหุ้นฟรีรวมเป็นเงิน 341,250 บาทมาเพราะโจทก์ทำงานให้ ส.ส. จึงให้หุ้นตอบแทน เห็นได้ว่าโจทก์ได้หุ้นมาเป็นประโยชน์ตอบแทนกับการที่โจทก์ได้ทำงานให้แก่ผู้ให้ ประโยชน์นั้นมีมูลค่าเป็นเงิน จึงถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาตามความในมาตรา 40(2)(8) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ว่าโจทก์ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาของผู้ให้หุ้นแก่โจทก์ไม่ กรณีหุ้นที่เรียกว่าหุ้นฟรีจึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(10)
โจทก์ได้รับเช็คมาโดยตรงจากบริษัท ส.มิใช่บริษัทส. จ่ายให้บุคคลอื่นแล้วบุคคลนั้นมอบให้โจทก์อีกต่อหนึ่งเพื่อให้โจทก์ทำธุระแทนเงิน 150,000 บาทตามเช็คจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)แห่งประมวลรัษฎากร
การที่พ่อค้าให้เงินจำนวนมากแก่ข้าราชการ แม้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่จะถือว่าเป็นการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้หรือไม่นั้น กรณีอย่างนี้ยากที่จะถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวได้ การณ์ย่อมแล้วแต่คติร่วมกันของฝ่ายผู้ให้และผู้รับ ฉะนั้นเช็ค 4 ฉบับ จำนวนเงิน 70,000 บาทที่โจทก์ได้รับเป็นของขวัญในวันขึ้นปีใหม่จากบริษัท ส.ก. จึงเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เพราะเป็นเงินที่ได้จากการให้โดยเสน่หาตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(10)
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการและพยานมาให้การไต่สวน ในเมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินในอันที่จะใช้ดุลพินิจว่สมควรจะไต่สวนหรือไม่หาได้บัญญัติบังคับเจ้าพนักงานประเมินให้จำต้องกระทำได้
เช็คฝากธนาคารซึ่งบริษัท ก. สั่งจ่ายให้โจทก์ ที่จำเลยนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นั้น เป็นเงินทดรองจากเงินส่วนตัวของโจทก์เองที่โจทก์ได้รับคืนมา หาใช่เงินได้พึงประเมินไม่
โจทก์ซึ่งถูกเรียกเก็บภาษีเงินได้เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เพราะจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยประเมินมานั้นมิใช่เงินได้พึงประเมิน หรือแม้เป็นเงินได้พึงประเมินก็ได้รับยกเว้นภาษีดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างจะต้องพิสูจน์ว่า เงินจำนวนนั้น ๆได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เพราะเหตุใด กล่างอีกนัยหนึ่ง โจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เงินจำนวนนั้น ๆ มิใช่เงินได้พึงประเมินหรือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีนั่นเอง
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินที่เรียกกันว่าค่าพาหนะ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบว่าเงินนี้เข้าลักษณะเงินค่าพาหนะตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) หาใช่หน้าที่จำเลยนที่จะต้องนำสืบไม่
เงินที่โจทก์ได้รับในชื่อค่าพาหนะจำนวน 295,500 บาท โดยจำนวน วิธีการจ่ายและพฤติการณ์ที่แท้จริง มีลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 หาเข้าลักษณะค่าพาหนะซึ่งโจทก์ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของโจทก์และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นตามมาตรา 42(1) ไม่ ฉะนั้น เงินจำนวน 295,500บาทนี้ จำเลยจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของโจทก์
โจทก์ได้หุ้นซึ่งเรียกกันว่าหุ้นฟรีรวมเป็นเงิน 341,250 บาทมาเพราะโจทก์ทำงานให้ ส.ส. จึงให้หุ้นตอบแทน เห็นได้ว่าโจทก์ได้หุ้นมาเป็นประโยชน์ตอบแทนกับการที่โจทก์ได้ทำงานให้แก่ผู้ให้ ประโยชน์นั้นมีมูลค่าเป็นเงิน จึงถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาตามความในมาตรา 40(2)(8) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ว่าโจทก์ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาของผู้ให้หุ้นแก่โจทก์ไม่ กรณีหุ้นที่เรียกว่าหุ้นฟรีจึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(10)
โจทก์ได้รับเช็คมาโดยตรงจากบริษัท ส.มิใช่บริษัทส. จ่ายให้บุคคลอื่นแล้วบุคคลนั้นมอบให้โจทก์อีกต่อหนึ่งเพื่อให้โจทก์ทำธุระแทนเงิน 150,000 บาทตามเช็คจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)แห่งประมวลรัษฎากร
การที่พ่อค้าให้เงินจำนวนมากแก่ข้าราชการ แม้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่จะถือว่าเป็นการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้หรือไม่นั้น กรณีอย่างนี้ยากที่จะถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวได้ การณ์ย่อมแล้วแต่คติร่วมกันของฝ่ายผู้ให้และผู้รับ ฉะนั้นเช็ค 4 ฉบับ จำนวนเงิน 70,000 บาทที่โจทก์ได้รับเป็นของขวัญในวันขึ้นปีใหม่จากบริษัท ส.ก. จึงเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เพราะเป็นเงินที่ได้จากการให้โดยเสน่หาตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(10)
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการและพยานมาให้การไต่สวน ในเมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินในอันที่จะใช้ดุลพินิจว่สมควรจะไต่สวนหรือไม่หาได้บัญญัติบังคับเจ้าพนักงานประเมินให้จำต้องกระทำได้
เช็คฝากธนาคารซึ่งบริษัท ก. สั่งจ่ายให้โจทก์ ที่จำเลยนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้นั้น เป็นเงินทดรองจากเงินส่วนตัวของโจทก์เองที่โจทก์ได้รับคืนมา หาใช่เงินได้พึงประเมินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีคำนวณภาษีเงินได้ที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 การนำเงินภาษีที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้างมารวมเป็นเงินได้พึงประเมิน
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้มีเงินได้ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ที่จะต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และจะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง ส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514 นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกัน เพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า "คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ" และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน (หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้) เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 (1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้น จะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรค 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2518)
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง ส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514 นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกัน เพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า "คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ" และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน (หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้) เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 (1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้น จะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรค 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีคำนวณภาษีเงินได้ที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 และการใช้ดุลยพินิจของศาล
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้มีเงินได้ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ที่จะต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และจะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้องส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกันเพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า"คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ " และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างผู้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน(หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้)เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้นจะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรคสาม วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2518)
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้องส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกันเพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า"คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ " และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างผู้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน(หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้)เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้นจะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรคสาม วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ให้เช่าทรัพย์สินมีหน้าที่เสียภาษีจากค่าเช่า แม้จะโอนค่าเช่าให้ผู้อื่น
ตามบทบัญญัติประมวลรัษฎากร ผู้ใดให้เช่าทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ได้ค่าเช่ามา ผู้นั้นจึงเป็นผู้ต้องเสียภาษีเงินได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและผู้ให้เช่าเครื่องเรือน ค่าเช่าที่ได้มาย่อมเป็นเงินได้ การที่โจทก์จำหน่ายเงินได้นี้โดยยกให้บุคคลอื่นหรือใช้จ่ายในเหตุอื่นก็ตาม โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในเงินค่าเช่าเครื่องเรือนนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ให้เช่าทรัพย์สินมีหน้าที่เสียภาษีจากค่าเช่า แม้จะมอบค่าเช่าให้ผู้อื่น
ตามบทบัญญัติประมวลรัษฎากร ผู้ใดให้เช่าทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ได้ค่าเช่ามาผู้นั้นจึงเป็นผู้ต้องเสียภาษีเงินได้ ฉะนั้นเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของ และผู้ให้เช่าเครื่องเรือนค่าเช่าที่ได้มาย่อมเป็นเงินได้ การที่โจทก์จำหน่ายเงินได้นี้โดยยกให้บุคคลอื่นหรือใช้จ่ายในเหตุอื่นก็ตาม โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในเงินค่าเช่าเครื่องเรือนนั้นไม่