คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 50

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมเลิกสัญญากับหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย: เงินที่จ่ายตามสัญญานี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
เงินที่จำเลยตกลงชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นการตกลงที่จะชำระเต็มจำนวนตามสัญญาที่ทำไว้ต่อศาล แม้ตามสัญญาบริการระหว่างโจทก์จำเลยที่ใช้บังคับในระหว่างที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ใช้เป็นฐานแห่งการชำระเงินในคดีนี้ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ภาษีเงินได้และภาษีอื่นที่โจทก์พึงจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับค่าตอบแทน จำเลยจะเป็นผู้จ่ายแทนในนามของโจทก์ทั้งสิ้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไป จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้ว จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามข้อสัญญาอีกต่อไปและเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเงินได้อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานและเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)แห่ง ป.รัษฎากร จำเลยผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50ประกอบมาตรา 3 จตุทศ แห่ง ป.รัษฎากร แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหากโจทก์เห็นว่าโจทก์เสียภาษีน้อยกว่าที่จำเลยหักไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการแก่กรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องการคืนภาษีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีจากการแยกสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ สัญญาต่างประเทศ สถานประกอบการถาวร
แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์จะได้ลงนามในสัญญาซึ่งทำไว้แต่เพียงฉบับเดียว และในสัญญาจะระบุจำนวนเงินที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องชำระแก่โจทก์ไว้เพียงจำนวนเดียว ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจ้างโจทก์ทำของ คือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์โดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่ เพราะนิติกรรมสองฝ่ายหรือสัญญานั้นเกิดขึ้นได้จากการกระทำด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำเสนอ อีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำสนองรับที่ถูกต้องตรงกัน ดังนั้น หากคู่สัญญาแสดงเจตนาทำเอกเทศสัญญาสองลักษณะต่างกัน แม้จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ย่อมกระทำได้ ไม่มีกฎหมายห้าม คดีนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญากับโจทก์ 2 ลักษณะเอกเทศสัญญา คือ สัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ กับสัญญาจ้างทำของ ก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ ดังที่มีข้อความระบุไว้ใน ManagementProposal Section 1 Contract 2 Agreement for Sale,Installationand Construction (สัญญาซื้อขาย ติดตั้ง และก่อสร้าง) ตามเอกสารหมาย จ.6หน้า 120 ว่า " บันทึกและตกลงข้อเสนอของเบลส์ (โจทก์) ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการจัดหาเครื่องมือและวัตถุดิบและการบริการติดตั้งจะเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากกันในสัญญาระหว่าง TOT (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) กับเบลส์ นอกจากนี้ใน Record of Negotiation นั้น Summary of Cost ตามเอกสารหมายจ.2 หน้า 209 ยังได้แบ่งมูลค่าของสัญญาออกเป็น Main Stems และ OptionalStems โดยแยกรายละเอียดลงไว้เป็นแต่ละรายการด้วยว่าค่าอะไร จำนวนเท่าใดต้องจ่ายด้วยเงินตราสกุลใดไว้ด้วย เอกสารหมาย จ.2 และ จ.6 นี้ เป็นเอกสารที่ระบุไว้ในสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ข้อ โอ และข้อ ไอ ซึ่งข้อ 1 ของสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ระบุว่า เป็นเอกสารประกอบสัญญาที่ก่อให้เกิดและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ฉะนั้นจึงต้องตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาจากถ้อยคำสำนวนที่ได้เขียนลงไว้ในเอกสารประกอบสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว ให้เป็นผลบังคับได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญาซื้อขาย คือขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ กับสัญญาจ้างทำของ คือก่อสร้าง ติดตั้งเครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ แยกต่างหากจากกันเป็น 2 ลักษณะเอกเทศสัญญา และแยกราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายออกต่างหากจากสินจ้าง หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ขณะโจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้นโจทก์ยังไม่มีสถานธุรกิจประจำซึ่งโจทก์ใช้ประกอบธุรกิจการขายตั้งอยู่ในประเทศไทยจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยในขณะทำสัญญาขายเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าสัญญาจ้างทำของ คือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ เป็นโครงการที่โจทก์ต้องเข้ามาดำเนินการมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน จึงถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อ 5.2 (ซ) แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนนั้น ความตกลงในข้อดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า กรณีที่โจทก์ไม่มีสถานประกอบการถาวรตามความตกลงข้อ 5.1 แต่มีสถานที่ตั้งโครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบดำรงอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 6 เดือน ก็ให้ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยสำหรับธุรกิจตามสัญญาจ้างทำของนั้นเท่านั้น หาได้มีความหมายว่า สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการถาวรของโจทก์สำหรับธุรกิจตามสัญญาซื้อขาย เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ไปด้วยไม่ ฉะนั้นกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ผู้ขายอยู่ต่างประเทศซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ. ผู้ซื้อส่งเงินไปชำระแก่ผู้ขาย ณต่างประเทศและรับผิดชำระอากรขาเข้าเอง อันเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจ้างทำของ จึงถือไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โจทก์เป็นวิสาหกิจซึ่งดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยมจึงอยู่ภายใต้อำนาจการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยม ตามบังคับข้อ 7.1 แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยม เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 เมื่อปรากฏว่า รายรับจำนวน 41,026,412.58 บาท ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นรายรับค่าขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 32,473,226.58 บาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งไปชำระแก่โจทก์ที่สำนักงานใหญ่ประเทศเบลเยี่ยมโดยตรง ส่วนอีกจำนวน 8,553,186 บาท นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นค่าก่อสร้าง ค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้า แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เชื่อข้ออ้างของโจทก์เฉพาะเงินจำนวนหลัง เพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ ดังนี้จึงฟังได้ว่าเงินรายรับจำนวน32,473,226.58 บาท เป็นรายรับตามสัญญาซื้อขาย เจ้าพนักงานประเมินจึงนำมารวมเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่กำไรจากกิจการที่โจทก์ได้รับผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย เจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของเงินจำนวน 8,553,186 บาท อันเป็นเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้ารวมอยู่ด้วยเท่านั้น คำนวณแล้วเป็นค่าภาษีจำนวน 427,659.30 บาท เมื่อหักค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 410,264.17 บาทออกให้แล้ว โจทก์คงต้องรับผิดในค่าภาษีรายการนี้เพียงจำนวน 17,395.13 บาทส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับ จำนวน 149,023,234.30 บาทและ 272,231,011.52 บาท นั้น โจทก์ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีรายรับของสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย จึงต้องฟังว่าเป็นรายรับของสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 ตามป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) จึงชอบแล้ว
ภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 นั้น เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากฐานเงินได้ 41,026,412.58 บาท ซึ่งรวมเอารายรับตามสัญญาซื้อขายจำนวน32,473,226.58 บาท ที่ได้รับยกเว้นภาษีเข้าไปด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ต้องประเมินจากยอดรายรับตามสัญญาจ้างทำของจำนวน 8,553,186 บาท เท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 เพียงจำนวน 106,908.16 บาท ส่วนภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527นั้น เนื่องจากไม่ปรากฏว่า ยอดรายรับในปีดังกล่าวมีรายรับตามสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
การที่ลูกจ้างของโจทก์ที่เป็นชาวเบลเยี่ยมเข้ามาทำงานในประเทศไทยถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมแล้ว ยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ณ ที่จ่าย และนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลยอีก สถานประกอบการถาวรในประเทศไทย จึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมกรณีจึงหาใช่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ลูกจ้างไม่
โจทก์ประกอบการค้ารับจ้างทำของโดยมีรายรับในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 สำหรับเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2525 จำนวนเพียง8,553,186 บาท แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าไว้ จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับค่าภาษีการค้า 2 เท่า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (2) กับค่าปรับภาษีบำรุงเทศบาลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีเงินได้: เช็คของขวัญ, เงินซื้อหุ้น, และเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงิน การพิจารณาแหล่งที่มาและภาระภาษี
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้น แม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา 19,20,23,24 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน 15,000,000 บาท ให้ ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่น แล้ว ด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่าง ๆ ต่อมา ด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48 บาท ซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน 1,301,946.48 บาท น่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทก์ก็อ้างว่า ด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เมื่อ ด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีก ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 6,42(14) และ 56 วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี 2533 จำนวน 46 ฉบับรวมเป็นเงิน 83,102,500 บาท นั้น โจทก์นำสืบว่าบริษัท ส. จำกัด มอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดิน โดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้ แม้บริษัท ส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง 85,000,000 บาทเศษ ดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัท ส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับ โดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การซื้อขายหุ้น, การรับเช็คของขวัญ, และการหาผลประโยชน์จากตั๋วสัญญาใช้เงิน การประเมินและพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา49แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้นแม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา49แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา19,20,23,24แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน15,000,000บาทให้ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่นแล้วด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่างๆต่อมาด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48บาทซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน1,301,946.48บาทน่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินและโจทก์ก็อ้างว่าด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา50ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษีณที่จ่ายไว้เมื่อด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีกตามประมวลรัษฎากรมาตรา6,42(14)และ56วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี2533จำนวน46ฉบับรวมเป็นเงิน83,102,500บาทนั้นโจทก์นำสืบว่าบริษัทส. จำกัดมอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดินโดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้แม้บริษัทส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง85,000,000บาทเศษดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัทส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับโดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9909/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล การผลิต การหักภาษี ณ ที่จ่าย และเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
ค่าพาหนะที่โจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฎิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ เป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ย่อมไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งจึงต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 54ทั้งเจ้าพนักงานของจำเลยก็ได้ยอมให้ใช้ค่าพาหนะเหมาจ่ายเฉพาะส่วนที่ไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 42(2)ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์และพนักงานของโจทก์อยู่แล้ว ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 กำหนดให้เบิกเงินชดเชยการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้กิโลเมตรละ 90 สตางค์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2526 เป็นต้นไป จึงต้องเป็นไปตามนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินยกเว้นให้หลังวันที่ 7 พฤศจิกายน2526 และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นด้วยกับการประเมินจึงมิชอบ การที่โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายส่งพนักงานของโจทก์ไปดูงานต่างประเทศก็ต่อเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานให้แก่โจทก์ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ และต้องทำงานอยู่กับโจทก์นานและมี ความประพฤติดีด้วย ซึ่งมิใช่การให้ไปศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการแต่อย่างใด จึงหาใช่รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42(11) ไม่ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการที่ตนเองทำงานให้แก่โจทก์ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่ง การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในเรื่องนี้ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น ปัญหาต่อไปมีว่า การจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2526 ไม่ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526)เพียงแต่ปฎิบัติตามที่มาตรา 65 ทวิ (9) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16)พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ก็ถือได้ว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้และโจทก์ได้ปฎิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับการชำระหนี้แล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ การจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีที่อยู่ในบังคับของมาตรา 65 ทวิ(9) ที่แก้ไขใหม่และกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่1 มกราคม 2526 ต้องมีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวโดยครบถ้วนถูกต้อง การที่บริษัท อ. ซื้อที่ดินให้โจทก์เช่ามาก็เพื่อผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ใช้ตั้งสำนักงานทั้งตามสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 30 ปี ยังบังคับให้บริษัทดังกล่าวต้องจำหน่ายจ่ายที่ดินให้แก่โจทก์หรือบุคคลภายนอกที่โจทก์ระบุอีกด้วย สัญญาเช่าดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่าปกติธรรมดาทางธุรกิจโดยทั่วไปไม่ เมื่อโจทก์นำเงินจำนวนยี่สิบแปดล้านบาท มาให้บริษัท อ. นำไปชำระค่าที่ดินที่เช่าดังกล่าว แม้จะระบุในสัญญาเช่าว่าเป็นเงินประกันการเช่า ก็ถือได้ว่าโจทก์นำเงินจำนวนยี่สิบแปดล้านบาทมาให้บริษัทดังกล่าวกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย การที่เจ้าพนักงานประเมินรายได้จากดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอันเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว เทปกาวม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามาตัดแบ่งนั้นไม่มีชื่อหรือเครื่องหมายการค้าปรากฎอยู่ เมื่อโจทก์นำมาตัดแบ่งกรอใส่แกนเป็นม้วนเล็กตามขนาดที่ต้องการโดยที่แกนปรากฎเครื่องหมายการค้าพิมพ์อยู่ แล้วใส่ลงถุงพลาสติกและบรรจุกล่องซึ่งมีคำว่า 3M พิมพ์ไว้ด้านข้างของกล่องนั้น เป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้า เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามคำนิยามของคำว่า "ผลิต"ตามมาตรา 77 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2525 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นของบริษัทแม่ของโจทก์ในต่างประเทศหรือโจทก์จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำดังกล่าวมิใช่การผลิตแต่อย่างใด กระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามามีเครื่องหมายการค้า 3M ปรากฎอยู่ชัดด้านหลังของกระดาษทรายโจทก์นำกระดาษทรายม้วนใหญ่มาตัดแบ่งเป็นหน้าแคบ ๆ แต่ยาวตามขนาดที่ลูกค้าสั่ง และถ้าลูกค้าขอให้นำส่วนที่ตัดแบ่งแล้วมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำปลายส่วนที่ตัดแบ่งแล้วนั้นมาประกบเชื่อมติดกันด้วยกาวในลักษณะสายพาน โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากลูกค้า หากลูกค้าไม่ได้สั่งให้นำกระดาษทรายแต่ละแผ่นมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำกระดาษทรายที่ตัดแบ่งแล้วม้วนและห่อด้วยกระดาษนำบรรจุในกล่องกระดาษที่มีคำว่า 3M ปรากฎอยู่ด้านข้างตัวกล่องนั้นการกระทำดังกล่าวหาใช่เป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าไม่ เพราะเครื่องหมายการค้า3M นั้น มีปรากฏอยู่แล้วเดินในกระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามา ทั้งการตัดแบ่งออกเป็นแผ่นยาวและบางครั้งมีการเชื่อมต่อระหว่างแผ่นตามคำสั่งของลูกค้าเพื่อประโยชน์ที่ลูกค้าจะนำไปใช้ได้ ก็เป็นกรณีที่โจทก์นำมาแบ่งขายในสภาพเช่นเดิมและได้ขายสินค้านี้ในรูปรอยตราเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 โจทก์จึงมิใช่ผู้ผลิตไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9639/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
เงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน จำเลยทั้งสองผู้ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินภาษีที่หักไว้ ณ ที่จ่ายคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนค้าขาออกย่อมผูกพันนิติบุคคล แม้กรรมการจะอ้างว่าเกินวัตถุประสงค์
แม้วัตถุประสงค์ของโจทก์จะระบุเพียงว่า ทำการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด โดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์ทำการสั่งเข้าและส่งออกข้าวโพดก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐาน ข้าวโพด ณ สำนักงานมาตรฐานสินค้ากระทรวงพาณิชย์หลายครั้งย่อมฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวโพดแล้ว ส่วนที่โจทก์อ้างว่ากรรมการของโจทก์ไปจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวโพดเป็นการนอกเหนือวัตถุประสงค์ของโจทก์ไม่มีผลผูกพันโจทก์นั้น เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคล กิจการของโจทก์ต้องดำเนินการโดยกรรมการของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่ากรรมการของโจทก์ไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ เพียงแต่อ้างว่ากรรมการของโจทก์ทำการนอกเหนือวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงต้องฟังว่ากรรมการของโจทก์มีอำนาจทำการแทนโจทก์โดยชอบโจทก์จะอ้างว่ากรรมการของโจทก์ไปจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวโพดนอกเหนือวัตถุประสงค์ไม่มีผลผูกพันโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย: การประเมินค่าประโยชน์ที่ได้รับจากนายจ้าง และการคำนวณเงินเพิ่ม
ค่าจ้างคนทำสวน ค่าซักล้างทำความสะอาดพรม ค่าซักผ้าม่านค่าทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ค่าผงคลอรีน สำหรับใส่สระว่ายน้ำค่าผงซักฟอก ค่ากำจัดปลวก ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อบำรุงรักษาทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นประโยชน์ที่เกิดแก่ตัวทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่ประโยชน์ที่พนักงานของโจทก์ได้รับโดยตรงที่โจทก์จะต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่ายนำส่งแก่จำเลยไม่ ตามรายการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานโจทก์ที่เจ้าพนักงานประเมินแสดงไว้ได้คำนวณโดยรวมเอาประโยชน์จากที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มจากการได้ใช้ไฟฟ้าแก๊ส และน้ำประปาทั้งหมดไว้ในรายได้ของพนักงานโจทก์แต่ละคนแล้วจึงคำนวณภาษี หลังจากนั้นได้นำค่าภาษีที่ พนักงานโจทก์แต่ละคนได้ชำระไว้แล้วหักออก เหลือเท่าใดถือเป็นจำนวนภาษีที่พนักงานโจทก์ชำระขาด และคำนวณเงินเพิ่มจากยอดเงินดังกล่าว ดังนี้ เห็นได้ว่ายอดเงินค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาที่พนักงานของโจทก์นำไปแสดงเป็นเงินได้บางส่วนและได้ชำระภาษีไว้แล้วนั้น เจ้าพนักงานประเมินได้คิดคำนวณหักให้ถูกต้องแล้ว ไม่ได้คิดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าการประเมินค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมในการที่พนักงานโจทก์ร่วมประชุมของจำเลยไม่ถูกต้อง ทำให้การคำนวณภาษีผิดพลาดในจำนวนเท่าใดควรแก้ไขให้ลดลงเหลือเท่าใด ค่าสมาชิกสโมสรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของพนักงาน ข้อตกลงการจ้างก็เพียงแต่โจทก์ตกลงว่าจะจ่ายค่าสมาชิกสโมสรให้แก่พนักงานดังกล่าวเท่านั้น เป็นการให้ประโยชน์แก่พนักงาน โดยตรง หาใช่โจทก์มีข้อบังคับว่าพนักงานตำแหน่งใดจะต้อง เป็นสมาชิกสโมสรใดเพื่อกระทำกิจกรรมใดในสโมสรให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ไม่ ตามทางนำสืบก็ไม่ปรากฏว่า การที่พนักงานของโจทก์เป็นสมาชิกสโมสรก่อประโยชน์โดยตรงแก่โจทก์อย่างไรจึงเป็นประโยชน์ส่วนตัวของพนักงาน ค่าสมาชิกสโมสรที่โจทก์จ่ายแทนให้แก่พนักงานจึงเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มถือเป็นเงินได้ของพนักงาน ค่าบังกะโลพัทยาเกิดจากการที่โจทก์จัดสวัสดิการบังกะโลที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ได้ใช้พักผ่อนในวันหยุดดังนี้ค่าจ้างในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบังกะโลนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้ได้รับ ส่วนค่าไม้กวาดและผงซักฟอกอันเป็น ของใช้ที่นำมาใช้ในการรักษาความสะอาดบังกะโลนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวทรัพย์ คือ บังกะโล หาใช่ประโยชน์โดยตรงที่พนักงานโจทก์ได้รับไม่ จึงไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มอีก ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ได้กำหนดชนิดของเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกออกจากกัน ฉะนั้นในกรณีที่พนักงานโจทก์ได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าแก๊สที่พนักงานโจทก์ได้ใช้สิ้นเปลืองไปนั้น ประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา และแก๊ส ที่โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินให้นี้ เป็นประโยชน์ชนิดหนึ่งต่างจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์จัดให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าถือว่าค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำประปาเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้นมิใช่กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน จำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีภายหลัง 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการไว้แล้วจึงกระทำได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พ้นกำหนด5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการไว้จึงเป็นการไม่ชอบมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนเนื่องจากพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการ ทั้งมิได้อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยขาดอายุความแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและทำการประเมินเพราะพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการแล้วหรือไม่ และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เงินเพิ่มตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้เป็นอัตราแน่นอนมิได้ยกเว้นให้ อาจงดเก็บเสียได้ ส่วนกรณีที่จะลดเงินเพิ่มได้จะต้องเป็นกรณีตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27(1)(2) บัญญัติไว้คือ ถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่ง ได้นำเงินมาชำระโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 5แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น หรือถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือแล้วแต่ได้นำเงินมาชำระภายในสิบวันนับแต่วันได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้นข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมาย ได้บัญญัติไว้ดังกล่าว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ประโยชน์ที่ได้รับจากการจ้างงาน, ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สิน, และการประเมินภาษีเกินกำหนด
ค่าจ้างคนทำสวน ค่าซักล้างทำความสะอาดพรม ค่าซักผ้าม่านค่าทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ค่าผงคลอรีนสำหรับใส่สระว่ายน้ำ ค่าผงซักฟอกค่ากำจัดปลวก ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อบำรุงรักษาทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นประโยชน์ที่เกิดแก่ตัวทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่ประโยชน์ที่พนักงานของโจทก์ได้รับโดยตรงที่โจทก์จะต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่ายนำส่งแก่จำเลยไม่
ตามรายการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานโจทก์ที่เจ้าพนักงานประเมินแสดงไว้ได้คำนวณโดยรวมเอาประโยชน์จากที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มจากการได้ใช้ไฟฟ้า แก๊ส และน้ำประปาทั้งหมดไว้ในรายได้ของพนักงานโจทก์แต่ละคนแล้วจึงคำนวณภาษี หลังจากนั้นได้นำค่าภาษีที่พนักงานโจทก์แต่ละคนได้ชำระไว้แล้วหักออก เหลือเท่าใดถือเป็นจำนวนภาษีที่พนักงานโจทก์ชำระขาด และคำนวณเงินเพิ่มจากยอดเงินดังกล่าว ดังนี้ เห็นได้ว่ายอดเงินค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาที่พนักงานของโจทก์นำไปแสดงเป็นเงินได้บางส่วนและได้ชำระภาษีไว้แล้วนั้น เจ้าพนักงานประเมินได้คิดคำนวณหักให้ถูกต้องแล้ว ไม่ได้คิดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ว่าการประเมินค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมในการที่พนักงานโจทก์ร่วมประชุมของจำเลยไม่ถูกต้อง ทำให้การคำนวณภาษีผิดพลาดในจำนวนเท่าใด ควรแก้ไขให้ลดลงเหลือเท่าใด
ค่าสมาชิกสโมสรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของพนักงาน ข้อตกลงการจ้างก็เพียงแต่โจทก์ตกลงว่าจะจ่ายค่าสมาชิกสโมสรให้แก่พนักงานดังกล่าวเท่านั้น เป็นการให้ประโยชน์แก่พนักงานโดยตรง หาใช่โจทก์มีข้อบังคับว่าพนักงานตำแหน่งใดจะต้องเป็นสมาชิกสโมสรใดเพื่อกระทำกิจกรรมใดในสโมสรให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ไม่ ตามทางนำสืบก็ไม่ปรากฏว่า การที่พนักงานของโจทก์เป็นสมาชิกสโมสรก่อประโยชน์โดยตรงแก่โจทก์อย่างไร จึงเป็นประโยชน์ส่วนตัวของพนักงาน ค่าสมาชิกสโมสรที่โจทก์จ่ายแทนให้แก่พนักงานจึงเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มถือเป็นเงินได้ของพนักงาน
ค่าบังกะโลพัทยาเกิดจากการที่โจทก์จัดสวัสดิการบังกะโลที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ได้ใช้พักผ่อนในวันหยุด ดังนี้ค่าจ้างในการดูแลรักษาและทำความสะอาดบังกะโลนั้นผู้รับจ้างเป็นผู้ได้รับ ส่วนค่าไม้กวาดและผงซักฟอกอันเป็นของใช้ที่นำมาใช้ในการรักษาทำความสะอาดบังกะโลนั้นก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวทรัพย์ คือ บังกะโล หาใช่ประโยชน์โดยตรงที่พนักงานโจทก์ได้รับไม่ จึงไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเพิ่มอีก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) ได้กำหนดชนิดของเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกออกจากกัน ฉะนั้นในกรณีที่พนักงานโจทก์ได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า และโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าแก๊สที่พนักงานโจทก์ได้ใช้สิ้นเปลืองไปนั้น ประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา และแก๊ส ที่โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินให้นี้ เป็นประโยชน์ชนิดหนึ่งต่างจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์จัดให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า ถือว่าค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำประปาเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานแยกจากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่โจทก์ให้อยู่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้นมิใช่กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน จำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้กำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีภายหลัง 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการไว้แล้วจึงกระทำได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการไว้จึงเป็นการไม่ชอบ มิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนเนื่องจากพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการ ทั้งมิได้อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยขาดอายุความแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและทำการประเมินเพราะพ้นกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการแล้วหรือไม่ และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เงินเพิ่มตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้เป็นอัตราแน่นอนมิได้ยกเว้นให้ อาจงดเก็บเสียได้ ส่วนกรณีที่จะลดเงินเพิ่มได้จะต้องเป็นกรณีตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27 (1) (2) บัญญัติไว้คือ ถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้นำเงินมาชำระโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 5 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น หรือถ้าผู้ต้องเสียหรือนำส่งได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือแล้วแต่ได้นำเงินมาชำระภายในสิบวันนับแต่วันได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน ก็ให้เสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ดังกล่าว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีอากร: การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล, ค่าใช้จ่ายต้องห้าม, เงินเพิ่ม, และการพิสูจน์หลักฐานทางบัญชี
ในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นชอบด้วยนั้น อาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรที่กล่าวมาแล้วก็จะไร้ผล คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล และคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลซึ่งยังไม่ถึงที่สุด กรมสรรพากรจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ที่กำหนดให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี ในการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบภายในกำหนดเวลาเท่าใด และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ดังนั้น แม้จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบเกิน 5 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินก็ไม่ทำให้การประเมินที่ผ่านมาแล้วเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ในการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ได้แบ่งจ่ายให้แก่ผู้อื่นตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าผู้มีเงินได้ค่าลิขสิทธิ์จริงคือผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนผู้ที่มารับเงินเพียงแต่เป็นบุคคลที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายจึงถือได้ว่าเป็นเงินได้ที่โจทก์จ่ายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว โจทก์ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเหมือนเช่นจ่ายเงินได้ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว ไม่ชอบที่โจทก์จะคำนวณหักภาษีณ ที่จ่ายหลังจากแบ่งค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายแล้วซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไม่ครบถ้วน ทั้งนี้เพราะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นถ้ามีเงินได้มากขึ้นก็จะต้องเสียภาษีในอัตราเพิ่มมากขึ้น แม้โจทก์จะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่กฎหมายกำหนดให้โจทก์ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีณ ที่จ่าย และนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อโจทก์หักและนำส่งไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์ก็ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ขาดตามมาตรา 54 ค่าซื้อเครื่องถ่ายเอกสารตามหลักฐานปรากฏว่าโรงพิมพ์ ก.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้ซื้อ จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (13) ค่ากระเช้าดอกไม้ ค่าช่วยงานแต่งงาน ค่าช่วยงานบวชนาค และค่าช่วยงานศพ ล้วนมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา และเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ในทางการงานหรือสังคมของตนเอง และมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรงจึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) รายจ่ายค่าซ่อมรถซึ่งโจทก์ไม่มีหลักฐานว่าเป็นค่าซ่อมรถของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) ค่ารับรองและค่าพาหนะซึ่งล้วนแต่เป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินยิ่งกว่าประโยชน์ทางการค้าของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (3) ค่าขนส่ง ค่านายหน้า และค่าจ้างทำของ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (18) ค่าซ่อมแซมพื้นห้องที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์ได้ซ่อมแซมพื้นห้องของโจทก์จริง จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงภาษีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ผ่อนผันลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์แล้ว คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมายจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะงดเงินเพิ่มให้โจทก์
of 11