พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6578/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าจ้างและหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีนายจ้างชำระภาษีแทนลูกจ้าง
ภาษีเงินได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่ส่วนราชการเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายและเป็นการจ่ายให้แทนโจทก์ มิได้จ่ายให้แก่โจทก์ จึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่เงินที่จำเลยและโจทก์ตกลงจ่ายให้แก่กันเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง จึงไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดเป็นหน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน และมาตรา 50 ทวิ กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษีให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อค่าจ้างและเงินภาษีที่จำเลยยอมชำระแทนโจทก์เป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) จำเลยจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราว และมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วให้แก่โจทก์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดเป็นหน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน และมาตรา 50 ทวิ กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษีให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อค่าจ้างและเงินภาษีที่จำเลยยอมชำระแทนโจทก์เป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) จำเลยจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราว และมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13853/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการและผู้ชำระบัญชีในหนี้ภาษี และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากร
ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย เมื่อมีประเด็นดังกล่าวตามคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 การที่ศาลภาษีอากรกลางไม่ส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยจึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ยกเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นกล่าวอ้างก่อนศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษา ถือว่าจำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์
หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเป็นเอกสารมหาชน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าแท้จริงและถูกต้อง จำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นผู้ชำระบัญชีเนื่องจากถูกปลอมลายมือชื่อ จำเลยที่ 2 มีหน้าที่นำสืบ เมื่อจำเลยที่ 2 นำสืบเพียงแต่เบิกความลอยๆ จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษี กลับไม่กันเงินที่จะนำไปชำระหนี้ภาษี ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีและเงินเพิ่ม แต่เงินเพิ่มมิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระ และไม่เกินกว่าเงินสดคงเหลือที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ในวันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชี จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2547 จึงมีอายุความสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้นำส่งภาษี ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) ภริยาจำเลยที่ 2 รับหนังสือในวันที่ 31 มีนาคม 2549 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นกำหนด 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าภาษีและเงินเพิ่มไปชำระ อายุความจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องวันที่ 14 มีนาคม 2551 จึงยังไม่พ้นกำหนดสองปี นอกจากนี้ ยังถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาละเมิดด้วย ซึ่งได้ความว่า การดำเนินคดีรายจำเลยที่ 2 นั้น นิติกรประจำสรรพากรภาค 3 จัดทำบันทึกข้อความรวบรวมข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเสนอสรรพากรภาค 3 ที่ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งได้ลงนามในบันทึกข้อความเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 กรณีต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อีกทั้งไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด ซึ่งคือวันที่ครบกำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าภาษีไปชำระ คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ใช่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจการพิจารณาคดีของศาล เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้กล่าวอ้างปัญหานี้ในระหว่างพิจารณาของศาลภาษีอากร อีกทั้งมิได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเป็นเอกสารมหาชน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าแท้จริงและถูกต้อง จำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นผู้ชำระบัญชีเนื่องจากถูกปลอมลายมือชื่อ จำเลยที่ 2 มีหน้าที่นำสืบ เมื่อจำเลยที่ 2 นำสืบเพียงแต่เบิกความลอยๆ จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษี กลับไม่กันเงินที่จะนำไปชำระหนี้ภาษี ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีและเงินเพิ่ม แต่เงินเพิ่มมิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระ และไม่เกินกว่าเงินสดคงเหลือที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ในวันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชี จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2547 จึงมีอายุความสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้นำส่งภาษี ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) ภริยาจำเลยที่ 2 รับหนังสือในวันที่ 31 มีนาคม 2549 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นกำหนด 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าภาษีและเงินเพิ่มไปชำระ อายุความจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องวันที่ 14 มีนาคม 2551 จึงยังไม่พ้นกำหนดสองปี นอกจากนี้ ยังถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาละเมิดด้วย ซึ่งได้ความว่า การดำเนินคดีรายจำเลยที่ 2 นั้น นิติกรประจำสรรพากรภาค 3 จัดทำบันทึกข้อความรวบรวมข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเสนอสรรพากรภาค 3 ที่ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งได้ลงนามในบันทึกข้อความเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 กรณีต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อีกทั้งไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด ซึ่งคือวันที่ครบกำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าภาษีไปชำระ คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ใช่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจการพิจารณาคดีของศาล เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้กล่าวอ้างปัญหานี้ในระหว่างพิจารณาของศาลภาษีอากร อีกทั้งมิได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อ vs. ภาระภาษีของผู้ขาย
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และการขายทอดตลาดนั้น จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทอดตลาด จำเลยจึงมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายทอดตลาดดังกล่าว ส่วนผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้ออยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลย จึงเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (6) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง ดังนั้น เงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไป จึงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ ไม่ใช่เป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่จะนำไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างหาก ไม่ใช่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อ เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่างๆ" ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินจึงไม่หมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้พึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนแล้ว ย่อมมีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ภายในกำหนดตามที่ระบุไว้ และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างหาก ไม่ใช่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อ เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่างๆ" ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินจึงไม่หมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้พึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนแล้ว ย่อมมีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ภายในกำหนดตามที่ระบุไว้ และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5338/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีจากการขายทอดตลาด: เจ้าของทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษี แม้เงินจากการขายจะนำไปชำระหนี้
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาเต็มจำนวนตามราคาขายทอดตลาดโดยยังมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย เท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้มอบเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปด้วย ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิขอรับเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้คืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อนำส่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่อไป
ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าว แม้เงินดังกล่าวจะต้องถูกนำไปชำระหนี้ก็เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้อันเป็นประโยชน์แก่จำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีโดยการให้ผู้ซื้อทรัพย์หัก ณ ที่จ่ายและนำส่งต่อไป
การคืนเงินค่าภาษีมีคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 169/2546 กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์มีสิทธิขอรับคืนภาษีเงินได้ซึ่งต้องจ่ายไปในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยจะต้องไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ไปดำเนินการ ซึ่งในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โฆษณาคำสั่งดังกล่าวข้างต้นลงในประกาศขายทอดตลาดด้วย จึงถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาด
ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าว แม้เงินดังกล่าวจะต้องถูกนำไปชำระหนี้ก็เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้อันเป็นประโยชน์แก่จำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีโดยการให้ผู้ซื้อทรัพย์หัก ณ ที่จ่ายและนำส่งต่อไป
การคืนเงินค่าภาษีมีคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 169/2546 กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์มีสิทธิขอรับคืนภาษีเงินได้ซึ่งต้องจ่ายไปในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยจะต้องไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ไปดำเนินการ ซึ่งในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โฆษณาคำสั่งดังกล่าวข้างต้นลงในประกาศขายทอดตลาดด้วย จึงถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีเงินได้ที่ทดรองจ่ายแทนลูกจ้างที่ลาออก และสิทธิในการเรียกคืนจากลูกจ้าง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงานไว้โดยเฉพาะที่จะเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบและรับฟังพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าจะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ แม้โจทก์จะส่งสัญญาจ้างซึ่งเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีประกอบคำเบิกความพยานบุคคลของโจทก์โดยไม่ยื่นต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันสืบพยาน เพิ่งส่งประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลของโจทก์ในวันสืบพยาน ศาลแรงงานภาค 9 ก็มีอำนาจสั่งรับสัญญาจ้างไว้ และรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีจากการขายทอดตลาดทรัพย์บังคับคดี: ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนภาษีที่ทดรองจ่ายได้
ในการรับจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ ประมวลรัษฎากร มาตรา 50 (5) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ให้หักภาษีเงินได้ไว้และมาตรา 52 วรรคสอง ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนและห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้รับเงินภาษีที่นำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้จ่ายเงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมาจากจำเลย จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ดังกล่าวซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) และ 50 (5) ก่อนที่จะจ่ายให้โจทก์รับไปเมื่อผู้ซื้อทรัพย์ไปขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาด แต่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าว ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะเรียกคืนเงินภาษีที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442-5468/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากการจ่ายเงินบำเหน็จเกินสิทธิ และการหักภาษี ณ ที่จ่าย
จำเลยได้รับเงินบำเหน็จซึ่งโจทก์คำนวณจ่ายให้ตามระเบียบการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2536 แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดี ทำให้สิทธิของจำเลยที่จะได้รับเงินบำเหน็จต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ต้องคำนวณเงินบำเหน็จให้แก่จำเลยตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเงินบำเหน็จส่วนต่างที่โจทก์จ่ายเกินไปเพราะการคำนวณตามระเบียบเดิมที่จำเลยได้รับไปย่อมเป็นการได้ไปซึ่งทรัพย์เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 อายุความในการฟ้องเรียกให้คืนเงินบำเหน็จที่โจทก์จ่ายเกินไปและต้องคืนเป็นจำนวนเท่าใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องลาภมิควรได้ กรณีมิใช่จำเลยได้ยึดถือเงินบำเหน็จส่วนที่เกินไว้ โดยไม่มีสิทธิอันจะทำให้โจทก์สามารถติดตามเอาคืนได้ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการได้รับเงินบำเหน็จที่โจทก์ให้จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยป. รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดให้โจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร หากโจทก์หักและนำส่งภาษีเงินได้ไปเกินกว่าที่จำเลยผู้มีเงินได้ต้องชำระ จำเลยผู้มีเงินได้ก็มีสิทธิไปขอเงินส่วนที่จ่ายเกินไปคืนจากกรมสรรพากรได้ โจทก์ไม่มีสิทธิไปขอคืน จำเลยจึงต้องคืนเงินบำเหน็จส่วนที่รับไปเกินสิทธิให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจนำจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่โจทก์หักไว้ ณ ที่จ่ายมาหักออกได้
จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการได้รับเงินบำเหน็จที่โจทก์ให้จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยป. รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดให้โจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร หากโจทก์หักและนำส่งภาษีเงินได้ไปเกินกว่าที่จำเลยผู้มีเงินได้ต้องชำระ จำเลยผู้มีเงินได้ก็มีสิทธิไปขอเงินส่วนที่จ่ายเกินไปคืนจากกรมสรรพากรได้ โจทก์ไม่มีสิทธิไปขอคืน จำเลยจึงต้องคืนเงินบำเหน็จส่วนที่รับไปเกินสิทธิให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจนำจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่โจทก์หักไว้ ณ ที่จ่ายมาหักออกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4878/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ส่วนลดการค้าไม่ใช่ค่าจ้าง – ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และหักออกจากฐานภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ในการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดให้ทันทีและส่งมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้ลูกค้าไป ลูกค้าของโจทก์จะต้องชำระราคาตามเวลาที่โจทก์กำหนดมิใช่เมื่อขายสินค้าได้แล้ว ลักษณะการประกอบกิจการเช่นนี้จึงเป็นการซื้อขายตามธรรมดา ส่วนลดที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าขายปลีกจึงเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8) มิใช่เงินได้ที่ได้รับจากการรับทำงานให้โจทก์ตามมาตรา 40 (2) โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50
โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดในทันทีและออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) แห่ง ป. รัษฎากร โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าถูกต้องแล้ว
โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดในทันทีและออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) แห่ง ป. รัษฎากร โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและหัก ณ ที่จ่าย กรณีบริษัทต่างประเทศมีสำนักงานสาขาในไทย และบทบาทหน้าที่ของผู้ทำการแทน
ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นระบุว่า กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใด จะยังคงใช้บังคับในการเก็บภาษีอากรจากเงินได้ในรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ เว้นแต่ในกรณีที่บทของอนุสัญญานี้ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น การที่บริษัทดังกล่าวจะนำรายจ่ายค่ารับรองและเงินสำรองบำเหน็จพนักงานมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย บริษัทดังกล่าวจะต้องปฏิบัติไปตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ด้วย
ผู้เป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทยอยู่ในขอบข่ายที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย หากเข้าเงื่อนไขตามที่ ป. รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อความเสมอภาคในการเสียภาษีให้แก่รัฐบาลไทยเช่นเดียวกับกรณีที่บริษัทต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในลักษณะของสำนักงานสาขา ซึ่งหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีตามมาตรา 70 ทวิ ให้จัดเก็บจากจำนวนเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลต่างประเทศที่ได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย เมื่อการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างผู้ซื้อในประเทศไทยกับบริษัท ม. เป็นการทำสัญญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การที่โจทก์เข้าไปผูกพันกับบริษัท ม. ในการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทน โจทก์ย่อมรู้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และรายจ่ายของบริษัท ม. เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัท ม. อย่างมาก มิฉะนั้นโจทก์คงไม่เข้าไปผูกพันกับบริษัท ม. เช่นนั้น ดังนั้น การที่บริษัท ม. มีข้อตกลงให้ลูกค้าในประเทศไทยส่งเงิน หรือจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บริษัท ม. ด้วย วิธีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารพาณิชย์ชำระให้แก่บริษัท ม. โดยตรง หรือบริษัท ม. ไปเบิกเงินจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลประเทศญี่ปุ่นโดยตรง จึงเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการตามที่โจทก์ตกลงกับบริษัท ม. เท่านั้น โจทก์จะนำความแตกต่างเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินชำระค่าสินค้าหรือค่าจ้างเพียงเท่านี้ มาเป็นเหตุให้เกิดภาระภาษีที่แตกต่างกันหาได้ไม่ แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างให้แก่บริษัท ม. ซึ่งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยตรงก็ตาม ก็หามีผลผิดแผกแตกต่างไปจากการที่ลูกค้าส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อ แล้วโจทก์จึงส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างดังกล่าวไปให้บริษัท ม. อีกทอดหนึ่ง จึงต้องถือว่าโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 ทวิ (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย แม้ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จะแจ้งแก่โจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. แต่โจทก์ในฐานะสถานประกอบการถาวรของบริษัท ม. ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ามาควบคุมติดตั้งเครื่องจักรในโครงการต่าง ๆ ที่บริษัท ม. ได้รับอนุญาตให้ทำในประเทศไทย เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นผู้จ่ายเงินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 50 มิได้หักและนำส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินคือโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 โจทก์จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงย่อมมีอำนาจฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2548)
ผู้เป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทยอยู่ในขอบข่ายที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย หากเข้าเงื่อนไขตามที่ ป. รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อความเสมอภาคในการเสียภาษีให้แก่รัฐบาลไทยเช่นเดียวกับกรณีที่บริษัทต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในลักษณะของสำนักงานสาขา ซึ่งหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีตามมาตรา 70 ทวิ ให้จัดเก็บจากจำนวนเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลต่างประเทศที่ได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย เมื่อการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างผู้ซื้อในประเทศไทยกับบริษัท ม. เป็นการทำสัญญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การที่โจทก์เข้าไปผูกพันกับบริษัท ม. ในการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทน โจทก์ย่อมรู้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และรายจ่ายของบริษัท ม. เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัท ม. อย่างมาก มิฉะนั้นโจทก์คงไม่เข้าไปผูกพันกับบริษัท ม. เช่นนั้น ดังนั้น การที่บริษัท ม. มีข้อตกลงให้ลูกค้าในประเทศไทยส่งเงิน หรือจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บริษัท ม. ด้วย วิธีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารพาณิชย์ชำระให้แก่บริษัท ม. โดยตรง หรือบริษัท ม. ไปเบิกเงินจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลประเทศญี่ปุ่นโดยตรง จึงเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการตามที่โจทก์ตกลงกับบริษัท ม. เท่านั้น โจทก์จะนำความแตกต่างเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินชำระค่าสินค้าหรือค่าจ้างเพียงเท่านี้ มาเป็นเหตุให้เกิดภาระภาษีที่แตกต่างกันหาได้ไม่ แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างให้แก่บริษัท ม. ซึ่งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยตรงก็ตาม ก็หามีผลผิดแผกแตกต่างไปจากการที่ลูกค้าส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อ แล้วโจทก์จึงส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างดังกล่าวไปให้บริษัท ม. อีกทอดหนึ่ง จึงต้องถือว่าโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 ทวิ (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย แม้ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จะแจ้งแก่โจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. แต่โจทก์ในฐานะสถานประกอบการถาวรของบริษัท ม. ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ามาควบคุมติดตั้งเครื่องจักรในโครงการต่าง ๆ ที่บริษัท ม. ได้รับอนุญาตให้ทำในประเทศไทย เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นผู้จ่ายเงินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 50 มิได้หักและนำส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินคือโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 โจทก์จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงย่อมมีอำนาจฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681-1683/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. จ้างแรงงาน, การหักกลบลบหนี้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายกับค่าจ้างค้างจ่าย
สัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาที่จำเลยที่ ตกลงให้โจทก์ที่ 3 ดำเนินการเกี่ยวกับการดัดแปลงอพาร์ตเม้นต์เป็นโรงแรม จัดหาบุคลากรที่เหมาะสมมาทำงานที่โรงแรม และวางแผนการตลาดให้โรงแรมมีกำไร เป็นการทำการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ โดยจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายเงินค่าตอบแทนในผลสำเร็จของงานที่ทำเดือนละ 140,000 บาท แม้โจทก์ที่ 3 ได้เข้าทำงานทุกวันคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตั้งแต่เวลา 8.30 ถึง 17.00 นาฬิกาก็มิใช่เป็นการทำงานตามที่จำเลยที่ 1 กำหนด แต่เป็นการเข้าไปทำงานยังสถานที่ที่จำเลยที่ 1 จัดหาไว้ตามสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษา และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิใช่สัญญาจ้างแรงงานแต่เป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างผู้จ่ายค่าจ้างอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎษกร มาตรา 40 (1) ให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ของมาตรา 50 (1) แล้วนำส่งกรมสรรพากรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52 หากนายจ้างมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ หรือหักไม่ครบ หรือไม่นำส่งในจำนวนที่ถูกต้อง นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พร้อมดอกเบี้ยปรับและเงินเพิ่มร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้เมื่อจำเลยที่ 1 ได้จ่ายภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายย้อนหลังตามจำนวนที่ต้องจ่ายสำหรับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่จ้ายแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไปคืนจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ และสามารถหักจากค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อชำระค่าภาษีเงินได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (1)
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างผู้จ่ายค่าจ้างอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎษกร มาตรา 40 (1) ให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ของมาตรา 50 (1) แล้วนำส่งกรมสรรพากรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52 หากนายจ้างมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ หรือหักไม่ครบ หรือไม่นำส่งในจำนวนที่ถูกต้อง นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พร้อมดอกเบี้ยปรับและเงินเพิ่มร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้เมื่อจำเลยที่ 1 ได้จ่ายภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายย้อนหลังตามจำนวนที่ต้องจ่ายสำหรับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่จ้ายแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไปคืนจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ และสามารถหักจากค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อชำระค่าภาษีเงินได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (1)