คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบและประเมินภาษี แม้จะเคยตรวจสอบแล้ว และการประเมินภาษีจากเอกสารที่ไม่สมบูรณ์
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 ถึง 2519 สรรพากรจังหวัดขอนแก่นได้เคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มเติมมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อในระยะเวลา 5 ปี เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขตครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่น ตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ครบถ้วน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2517ถึง 2519 เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ย่อมมีอำนาจแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มได้ โดยอาศัยอำนาจตามป.รัษฎากร มาตรา 19,20 โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างให้ลูกจ้างโจทก์โดยมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินที่จ่ายโดยโจทก์ยินยอมและไม่ปรากฏว่าการคำนวณตามที่โจทก์ยินยอม โจทก์ต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเกินกว่าความเป็นจริงตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีดังกล่าวไม่ถูกต้องย่อมไม่ได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่าย: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าลูกจ้างไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี หากพิสูจน์ไม่ได้ ต้องรับผิดชำระภาษี
โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้จ่ายค่าจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างโดยมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเอกสารที่เป็นหลักฐานการจ่ายค่าแรงงาน ไม่ปรากฏสถานภาพของลูกจ้างโจทก์ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ โจทก์จะถือว่าลูกจ้างที่มีรายได้จากโจทก์มีรายได้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ จึงไม่จำต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมไม่ถูกต้องเพราะการที่จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ต้องดู จากรายได้ทั้งหมดของลูกจ้างแต่ละคนเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำมาพิสูจน์ให้เห็นว่าลูกจ้างโจทก์มีเงินได้อยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า กรณีการก่อสร้างและขายอสังหาริมทรัพย์ การหักค่าใช้จ่าย และการตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเอง หากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 50,52 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามมาตรา 19 แล้ว แม้ตามหมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วัน และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพัง โดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการเหมาค่าแรงก่อสร้าง และการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเองหากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 5052 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษี ถูกต้องตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว หมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วันตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 โจทก์มีสิทธิไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้น และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการเหมาค่าแรงก่อสร้างและประเด็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเอง ส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเองหากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 50 52 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษี ถูกต้องตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
หมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วันตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 โจทก์มีสิทธิไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้น และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย: การส่งหนังสือแจ้งประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตามมาตรา 30
โจทก์จ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โดยไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยจึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยนำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่ชอบ
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นทุกประการ
พิพากษายืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิชอบ และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
ในการจ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว. แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตาม ป. รัษฎากรมาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 5 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่ง พ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359 ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1นำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ จ. 1 ได้จึงไม่มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงาน แต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ.
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
ในการจ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยที่ 2 จึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณ ที่จ่าย พร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัทว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืนไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า"เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัทว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 5 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้าซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359 ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้ และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญาตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยหาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงาน แต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรงโจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและการส่งหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นแบบ อ.1 เพื่อขอความเห็นชอบ
โจทก์จ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โดยไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยจึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยนำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่ชอบ สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความประสงค์ริบมัดจำตามสัญญา ไม่เป็นละเมิด และไม่ต้องชดใช้ดอกเบี้ย
โจทก์ต้องชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างชำระทั้งหมดให้แก่จำเลยโดยมิได้หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรเพราะจำเลยแจ้งให้โจทก์นำไปชำระมิฉะนั้นจะริบมัดจำตามสัญญา การที่จำเลยแจ้งว่าจะใช้สิทธิริบมัดจำตามสัญญา แม้จะเป็นการขู่เข็ญก็เป็นเรื่องที่จำเลยชอบที่จะทำได้ ไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ต่อพนักงานที่ดินเมื่อทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปก่อน แล้วมาขอรับค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวคืนจากจำเลย
of 5