คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบมัดจำและการไม่เป็นละเมิดจากการแจ้งการใช้สิทธิ แม้เป็นการขู่เข็ญ
การที่โจทก์ต้องชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างชำระทั้งหมดให้แก่จำเลยโดยมิได้หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรเพราะจำเลยแจ้งให้โจทก์นำไปชำระมิฉะนั้นจะริบมัดจำตามสัญญา การที่จำเลยแจ้งว่าจะใช้สิทธิริบมัดจำตามสัญญาแม้จะเป็นการขู่เข็ญก็เป็นเรื่องที่จำเลยชอบที่จะทำได้ไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ต่อพนักงานที่ดินเมื่อทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปก่อน แล้วมาขอรับค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวคืนจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี ณ ที่จ่าย: ต้องตรวจสอบเกณฑ์การเสียภาษีของผู้รับเงินก่อน
โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างโดยมิได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่าย แม้โจทก์จะเคยยินยอมชำระภาษี ณ ที่จ่าย เป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 3 ของค่าแรงงานที่จ่ายแต่ก็จะต้องให้ได้ความว่า ผู้มีเงินได้ที่รับเงินค่าแรงงานไปจากโจทก์นั้นมีเงินได้อยู่ในเกณฑ์จะต้องเสียภาษีเงินได้ด้วยอันจะทำให้โจทก์ต้องรับผิดเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้สำหรับจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายแห่งคดีได้ ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยยังมิได้สืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อนี้อันเป็นสาระสำคัญในประเด็นข้อกฎหมายแห่งคดีศาลฎีกาย่อมเห็นเป็นการสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานและพิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนแล้วจึงวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายแห่งคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย: จำเป็นต้องตรวจสอบสถานะผู้มีเงินได้ก่อนวินิจฉัย
โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างโดยมิได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ ณ ที่จ่าย แม้โจทก์จะเคยยินยอมชำระภาษี ณ ที่จ่าย เป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 3 ของค่าแรงงานที่จ่ายแต่ก็จะต้องให้ได้ความว่า ผู้มีเงินได้ที่รับเงินค่าแรงงานไปจากโจทก์นั้นมีเงินได้อยู่ในเกณฑ์จะต้องเสียภาษีเงินได้ด้วยอันจะทำให้โจทก์ต้องรับผิดเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้สำหรับจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายแห่งคดีได้ ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยยังมิได้สืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อนี้อันเป็นสาระสำคัญในประเด็นข้อกฎหมายแห่งคดีศาลฎีกาย่อมเห็นเป็นการสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานและพิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนแล้วจึงวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายแห่งคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายซ้ำซ้อนจากเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและขัดกฎหมาย
การหักภาษี ณ ที่จ่ายส่งอำเภอตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 50,52 นั้นย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าหมายถึงกรณีที่เงินได้นั้นยังไม่มีการหักภาษีไว้แต่เงินได้จากค่าชดเชยของคนงานรายนี้ได้มีการหักภาษีเงินได้ไว้ที่กระทรวงการคลังตั้งแต่ตอนที่เบิกเงินค่าชดเชยนั้นมาเพื่อจ่ายให้คนงานแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เลิกจ้างคนงานเหล่านั้นจะหักภาษีจากเงินได้รายนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งในตอนจ่าย ซึ่งถ้าหากทำเช่นนั้นก็จะกลายเป็นการหักภาษีจากผู้มีเงินได้ซ้ำสองหนจากรายได้ค่าชดเชยจำนวนเดียวกัน อันไม่เป็นธรรมแก่ผู้มีเงินได้ และไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำเช่นนั้นได้ดังนั้นการที่โจทก์ไม่หักภาษีเงินได้จากค่าชดเชยดังกล่าวส่งอำเภอจึงไม่มีเหตุที่จะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52 และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86 รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายน มิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระ เงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือน ๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6) ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10 ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่21 พฤศจิกายน 2521หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือนๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 130(6)ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, การประเมินภาษี, สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้, การเฉลี่ยทรัพย์
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84, 85 ทวิกำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินตาม มาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้วการประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการเฉลี่ยทรัพย์: การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีค้างชำระ
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84,85 ทวิ กำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินตามมาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้ว การประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้ว จึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัท และความรับผิดร่วมกับลูกจ้างในการชำระภาษีที่ไม่ได้หัก
เมื่อบริษัทโจทก์จ่ายเงินค่าจ้างรายเดือนให้แก่คนงาน อันเป็นเงินได้ พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) บริษัทโจทก์จึงมีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายค่าจ้าง ตามวิธีการในบทบัญญัติของมาตรา 50(1) โดยคำนวณภาษีจากจำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี หาจำต้องรอให้ครบรอบปีภาษีเพื่อให้มีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี และผู้มีเงินได้ ต้องยินยอมให้หักภาษีเสียก่อนไม่
บริษัทโจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แต่มิได้หักและนำส่งเงินภาษีนั้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 52 จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2515 ข้อ 10 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 52 เดิม เพิ่มความตอนท้ายว่า "ไม่ว่า ตนจะไดัหักภาษีไว้แล้วหรือไม่" ก็เพื่อให้ได้ความชัดเจนขึ้นเท่านั้น หาใช่มาตรา 52 เดิมมีความหมายว่า เมื่อบริษัทโจทก์ไม่ได้หักภาษีไว้ก็ไม่มีหน้าที่นำส่ง และเมื่อ ไม่ต้องนำส่งจึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ไม่
บริษัทโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 แต่มิได้หักภาษีและมิได้นำส่ง เงินภาษีนั้นตามมาตรา 52 บริษัทโจทก์จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ไม่ได้หักและนำส่ง ตามมาตรา 54 วรรคแรก และภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นประเภทภาษีอากรประเมิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดภาษีเงินได้นี้ ตามมาตรา 38 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีจาก โจทก์ได้ แม้จะยังไม่ได้ประเมินเรียกเก็บเอาแก่ลูกจ้างผู้มีเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีภาษี: ผู้จ่ายภาษีมีหน้าที่อุทธรณ์ก่อนฟ้อง หากไม่ทำ ไม่มีอำนาจฟ้อง
กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้หักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างหรือหัก และนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในภาษีเงินได้ที่ไม่ได้หักหรือนำส่งตามจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 วรรคแรก จึงถือได้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งตามมาตรา 30 เสียก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินเสียก่อนย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 5