พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกรรมการลูกจ้าง: การฟ้องแทนคณะกรรมการลูกจ้างต้องมีมอบอำนาจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในนามคณะกรรมการลูกจ้าง เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการลูกจ้างซึ่งมิใช่นิติบุคคลหาได้มอบอำนาจหรือแต่งตั้งให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีไม่ ดังนี้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อตกลงและจำนวนที่กฎหมายกำหนด โดยเขตพื้นที่ต้องสอดคล้องกับหน่วยงานหรือสาขา
คำว่า "สถานประกอบกิจการ" ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมายความถึงสถานประกอบกิจการทั้งหมดที่เป็นของนายจ้างคนเดียวกันมิได้หมายความถึงแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละโรงงานที่แยกออกไป ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งจึงมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการนั้นเว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะก็ได้ แต่การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้าง และจำนวนคณะกรรมการลูกจ้างแต่ละจังหวัด จะต้องถือเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละจังหวัดที่หน่วยงานหรือสาขาซึ่งลูกจ้างประจำทำงานอยู่เป็นเกณฑ์
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อตกลงและกฎหมายกำหนด หากไม่ถูกต้อง คณะกรรมการนั้นไม่มีสิทธิ
คำว่า 'สถานประกอบกิจการ' ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมายความถึงสถานประกอบกิจการทั้งหมดที่เป็นของนายจ้างคนเดียวกันมิได้หมายความถึงแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละโรงงานที่แยกออกไป ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งจึงมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการนั้นเว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะก็ได้ แต่การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้าง และจำนวนคณะกรรมการลูกจ้างแต่ละจังหวัด จะต้องถือเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละจังหวัดที่หน่วยงานหรือสาขาซึ่งลูกจ้างประจำทำงานอยู่เป็นเกณฑ์
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการร้องต่อศาลแรงงานตามมาตรา 50 วรรคสอง ต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการลูกจ้างเท่านั้น
กรณีที่สหภาพแรงงานจะมีสิทธิร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายจ้างจะทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเดือดร้อนเกินสมควรหรือไม่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสองนั้น จะต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับการประชุมหารือระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 วรรคแรก เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องของสหภาพแรงงานเป็นกรณีที่กล่าวหาว่านายจ้างแกล้งกล่าวหาลูกจ้างในข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริงโดยไม่เกี่ยวกับการประชุมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีที่จะร้องต่อศาลแรงงานตามมาตรา 50 วรรคสอง และจะอาศัยมาตรา 50 วรรคสองในฐานะบทบัญญัติใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะนำมาปรับแก่คดีก็ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการร้องขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยกรณีลูกจ้างได้รับความไม่เป็นธรรม ต้องเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
กรณีที่สหภาพแรงงานจะมีสิทธิร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายจ้างจะทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเดือดร้อนเกินสมควรหรือไม่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสองนั้น จะต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับการประชุมหารือระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 วรรคแรก เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องของสหภาพแรงงานเป็นกรณีที่กล่าวหาว่านายจ้างแกล้งกล่าวหาลูกจ้างในข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริงโดยไม่เกี่ยวกับการประชุมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีที่จะร้องต่อศาลแรงงานตามมาตรา 50 วรรคสอง และจะอาศัยมาตรา 50 วรรคสองในฐานะบทบัญญัติใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะนำมาปรับแก่คดีก็ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบตามกฎหมาย จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการประชุมหารือ
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์กับพวกมิได้เป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายเพราะผู้สมัครและผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจังหวัดขอนแก่นด้วย มิได้เป็นการเลือกตั้งโดยลูกจ้างทั้งหมดของจำเลยในจังหวัดขอนแก่นจำนวนกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งมีมากกว่าที่กฎหมายกำหนดและหน่วยงานที่โจทก์กับพวกจัดให้มีการเลือกตั้งเป็นเพียงกองกองหนึ่งของจำเลยเท่านั้น การเลือกตั้งจึงไม่ชอบโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยจัดให้มีการประชุมดังนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์กับพวกขอให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นซึ่งจำเลยก็ยินยอม แต่วันเลือกตั้งโจทก์กระทำผิดข้อตกลงโดยมีพนักงานจากจังหวัดอื่นร่วมทำการเลือกตั้งและพนักงานในจังหวัดขอนแก่นอีกจำนวนหนึ่งไม่รู้เห็นด้วย นับว่าเป็นการไม่ชอบเป็นเหตุผลเพียงพอที่ฝ่ายจำเลยจะปฏิเสธไม่จัดให้มีการประชุมหารือระหว่างพวกโจทก์กับจำเลยนั้นเป็นการที่มิได้วินิจฉัยตามประเด็นที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คณะกรรมการลูกจ้าง: การเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กฎหมายแรงงาน
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์กับพวกมิได้เป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายเพราะ ผู้สมัครและผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจังหวัดขอนแก่นด้วย มิได้เป็นการเลือกตั้งโดยลูกจ้างทั้งหมดของจำเลยในจังหวัดขอนแก่นจำนวนกรรมการที่ได้รับเลือกตั้ง มีมากกว่าที่กฎหมายกำหนด และหน่วยงานที่โจทก์กับพวกจัดให้มีการเลือกตั้งเป็นเพียงกองกองหนึ่งของจำเลยเท่านั้นการเลือกตั้ง จึงไม่ชอบโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยจัดให้มีการประชุมดังนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์กับพวกขอให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งจำเลยก็ยินยอมแต่วันเลือกตั้งโจทก์กระทำผิดข้อตกลง โดยมีพนักงานจากจังหวัดอื่นร่วมทำการเลือกตั้งและพนักงานในจังหวัดขอนแก่นอีกจำนวนหนึ่งไม่รู้เห็นด้วยนับว่าเป็นการไม่ชอบเป็นเหตุผลเพียงพอที่ฝ่ายจำเลยจะปฏิเสธไม่จัดให้มีการประชุมหารือ ระหว่างพวกโจทก์กับจำเลยนั้นเป็นการที่มิได้วินิจฉัยตามประเด็นที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้