คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 563

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ต่างกันระหว่างการไม่ส่งมอบทรัพย์คืนกับทรัพย์เสียหาย
การที่โจทก์ฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขาดเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันผู้เช่าซื้อคือจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนให้แก่เจ้าของคือโจทก์ในสภาพเรียบร้อยโดยพลัน หากส่งมอบคืนไม่ได้หรือคืนในสภาพเรียบร้อยไม่ได้ต้องชดใช้ราคาทรัพย์สินเท่าราคาค่าเช่าซื้อ ซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท หาใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีที่ทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหาย เพราะการที่จำเลยที่ 1ใช้โดยไม่ชอบ ซึ่งมีอายุความ 6 เดือนตามมาตรา 563 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, อายุความ, ดอกเบี้ย: ประเด็นการคำนวณราคารถยนต์, การคิดดอกเบี้ย และอายุความที่เกี่ยวข้อง
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แต่ผิดสัญญา โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อออกประมูลขายไปตามใบเสร็จรับเงินซึ่งระบุว่า ค่าประมูลรถยนต์ 365,000 บาทภาษีมูลค่าเพิ่ม 25,550 บาท ยอดรวม 390,550 บาท เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ตามฟ้องกันเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2533 ก่อนที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ซึ่งเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้บังคับ การที่โจทก์ได้รับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 25,550 บาท จากผู้ซื้อนำไปจ่ายให้แก่รัฐ เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเท่านั้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 25,550 บาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่ประมูลขายได้
ข้อสัญญาที่ว่า ผู้เช่าซื้อต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่จะต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญานั้น ข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญา เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30 มิใช่อายุความหกเดือนตามมาตรา 563
ราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ ค่าติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์ มิใช่เงินอื่นใดที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, เบี้ยปรับ, อายุความ, ดอกเบี้ย - การกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสมและอายุความ
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แต่ผิดสัญญาโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อออกประมูลขายไปตามใบเสร็จรับเงินซึ่งระบุว่าค่าประมูลรถยนต์365,000บาทภาษีมูลค่าเพิ่ม25,550บาทยอมรวม390,550บาทเมื่อปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่1ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ตามฟ้องกันเมื่อวันที่14กันยายน2533ก่อนที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534ซึ่งเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้บังคับการที่โจทก์ได้รับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม25,550บาทจากผู้ซื้อนำไปจ่ายให้แก่รัฐเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเท่านั้นภาษีมูลค่าเพิ่ม25,550บาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่ประมูลขายได้ ข้อสัญญาที่ว่าผู้เช่าซื้อต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่จะต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญานั้นข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้แทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญาเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับและในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา190/30มิใช่อายุความหกเดือนตามมาตรา563 ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ค่าติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์มิใช่เงินอื่นใดที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8365/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, และอายุความของหนี้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ ดังนี้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ เมื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา..." ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30มิใช่อายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8365/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องราคาทรัพย์สินเช่าซื้อ และค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 กล่าวคือให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ ดังนี้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ เมื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา ตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา"ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องร้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190/30 มิใช่อายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการขายรถเช่าซื้อได้ราคาต่ำกว่าสัญญา ไม่ขาดอายุความ และโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง
สัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งที่กำหนดให้คู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ซึ่งจะต้องปฎิบัติต่อกันหากฝ่ายใดปฎิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายฝ่ายที่ปฎิบัติผิดสัญญาจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การผิดสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคหนึ่งดังนั้นแม้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จะไม่มีข้อสัญญาที่กำหนดว่าหากนำรถที่เช่าซื้อออกขายไม่ได้ราคาเท่ากับราคาค่าเช่าซื้อผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดก็ตามแต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุให้จำเลยที่1ต้องรับผิดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายต่างๆเมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วยการที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อและนำเงินที่ได้มารวมกับค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่1ชำระให้โจทก์แล้วก็ยังต่ำกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่กำหนดไว้ตามสัญญาเช่าซื้อย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าโจทก์ได้รับความเสียหายฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงได้รับและกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าภายในกำหนด6เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563หมายถึงการฟ้องคดีในกรณีที่ผู้เช่าปฎิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไปเช่นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายแต่คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทและนำเงินไปรวมกับค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วยังได้เงินต่ำกว่าค่าเช่าซื้อตามสัญญาซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164เดิมที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้คดีจึงไม่ขาดอายุความ ที่จำเลยที่2ฎีกาว่าโจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1เมื่อจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่2มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและการบังคับสิทธิเรียกร้องนอกเหนืออายุความที่กำหนด
สัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งที่กำหนดให้คู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติต่อกัน หากฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย ฝ่ายที่ปฏิบัติผิดสัญญาจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การผิดสัญญานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง ดังนั้นแม้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่มีข้อสัญญาที่กำหนดว่า หากนำรถที่เช่าซื้อออกขายไม่ได้ราคาเท่ากับราคาค่าเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดก็ตามแต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายต่าง ๆ เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วย การที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อและนำเงินที่ได้มารวมกับค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์แล้ว ก็ยังต่ำกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่กำหนดไว้ตามสัญญาเช่าซื้อ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงได้รับและกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าภายในกำหนด6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 หมายถึงการฟ้องคดีในกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไป เช่นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลาย แต่คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทและนำเงินไปรวมกับค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วยังได้เงินต่ำกว่าค่าเช่าซื้อตามสัญญา ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม ที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5932/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสัญญากู้ยืมเงิน การรับรองลายมือชื่อ และผลต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารท้ายฟ้องจำนวน 20,200 บาท จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญากู้เป็นเอกสารปลอมเป็นประเด็นสำคัญ โดยอ้างเหตุว่าที่เป็นเอกสารปลอมเนื่องจากโจทก์ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ฝ่ายเดียว แม้จำเลยจะอ้างในคำให้การด้วยว่าจำเลยไม่เคยกู้เงินจากโจทก์ตามฟ้องก็ตาม แต่จำเลยก็หาได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทั้งที่เป็นข้อสาระสำคัญที่จำเลยอาจยกขึ้นปฏิเสธในคำให้การได้ จึงเท่ากับจำเลยอ้างเหตุตั้งประเด็นไว้เฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นบางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม และที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระเงินกู้ตามสัญญาโดยมีการเวนคืนเอกสารแล้วนั้น จำเลยก็ให้การว่า วันดังกล่าวจำเลยไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ หาได้ให้การเป็นประเด็นว่า มีการกู้เงินและชำระเงินกู้คืนแล้วไม่ จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบเช่นเดียวกัน
การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน 20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมและเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง, การหักเงินค่าตัวถังออกจากค่าเสียหาย, และอายุความการเรียกร้องราคารถ
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ฟ้องเรียกราคารถที่ยังขาดอยู่และค่าขาดประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถอยู่ในระหว่างผิดสัญญา อันเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระ แม้ค่าเสียหายกับค่าเช่าซื้อตามงวดจะมีจำนวนเงินใกล้เคียงกัน ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอำพรางเจตนาที่จะเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นการอำพรางเจตนาที่แท้จริงที่จะเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขอให้นำราคาตัวถังและดั๊มของจำเลยที่ 1ราคาประมาณ 150,000 บาท มาหักออกจากค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อีก โดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ศาลชั้นต้นนำราคาตัวถังและดั๊มของจำเลยที่ 1 มาหักออกจากค่าเสียหายของโจทก์นั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง เป็นการอุทธรณ์ขึ้นมาลอย ๆ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจวินิจฉัยให้ได้ และที่ต่อมาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มาก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคารถที่ยังขาดอยู่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีทุนทรัพย์เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และประเด็นฟ้องเรียกค่าเสียหาย/เช่าซื้อไม่ถือว่าเป็นการอำพราง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ฟ้องเรียกราคารถที่ยังขาดอยู่และค่าขาดประโยชน์จากการที่จำเลยที่1ยังคงครอบครอบรถอยู่ในระหว่างผิดสัญญาอันเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระแม้ค่าเสียหายกับค่าเช่าซื้อตามงวดจะมีจำนวนเงินใกล้เคียงกันก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอำพรางเจตนาที่จะเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นการอำพรางเจตนาที่แท้จริงที่จะเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระนั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248 จำเลยที่1อุทธรณ์ขอให้นำราคาตัวถังและดั๊มของจำเลยที่1ราคาประมาณ150,000บาทมาหักออกจากค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่1จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อีกโดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าที่ศาลชั้นต้นนำราคาตัวถังและดั๊มของจำเลยที่1มาหักออกจากค่าเสียหายของโจทก์นั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างเป็นการอุทธรณ์ขึ้นมาลอยๆจึงเป็นอุทธรณ์ที่ ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่1ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจวินิจฉัยให้ได้และที่ต่อมาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่1ในข้อนี้มาก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่1มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคารถที่ยังขาดอยู่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30หาใช่มีอายุความ6เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 7