คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 563

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: แยกพิจารณาตามลักษณะการผิดสัญญาของผู้เช่า
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 หมายถึงกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไปแต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทกับค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทได้ไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์บังคับสิทธิเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่า: ป.พ.พ. มาตรา 563 กับข้อผิดหน้าที่ทั่วไปของผู้เช่า
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าภายในกำหนด6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 หมายถึงกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไป แต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทกับค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทได้ไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์บังคับสิทธิเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมประทานบัตร, อายุความ, ดอกเบี้ย: อำนาจฟ้อง, กฎกระทรวงบังคับใช้, และข้อยกเว้นอายุความ
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้
ตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บ ปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้
จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2
เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าธรรมเนียมประทานบัตร, การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียม, และอายุความหนี้เงิน
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้ จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ทดรองจ่าย กรณีเช่าทรัพย์สิน ไม่ใช่สัญญาเช่า
ตามสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่า และจำเลยผู้เช่าตกลงกันให้จำเลยผู้เช่าเป็นผู้ชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ใช้ประจำอยู่กับอาคารที่เช่า เมื่อจำเลยผู้เช่าไม่ชำระ และโจทก์ได้ชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ดังกล่าวไป การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินคืนแก่โจทก์ มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าอันมีอายุความหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่)และเมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไปถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปีคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิทธิเก็บค่ารักษาความสะอาด: อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563
ตามสัญญาเช่าสิทธิเพื่อเก็บค่ารักษาความสะอาดพิพาทจำเลยมีสิทธิเก็บค่ารักษาความสะอาดจากพ่อค้าและแม่ค้าซึ่งเป็นผู้เช่าแผงในบริเวณที่ดินของโจทก์ในกำหนด 1 ปี เป็นการที่จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินภายในระยะเวลาอันมีจำกัด โดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์เป็นรายเดือนเป็นการตอบแทน ถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537ประกอบมาตรา 99 เดิม แล้ว โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับตามสัญญาเช่าทรัพย์สิน ต้องอยู่ในอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4232/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายเครื่องวิทยุ: ไม่ใช่คดีเช่า แต่เป็นค่าเสียหายจากเหตุอื่น
โจทก์จำเลยทำสัญญาการเช่าใช้บริการวิทยุคมนาคมความถี่สูงมากโดยจำเลยผู้เช่าเป็นผู้จัดซื้อเครื่องวิทยุคมนาคมมาใช้เองแต่เครื่องวิทยุคมนาคมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้ให้เช่าทันทีจำเลยนำเครื่องไปติดตั้งผิดสถานที่จึงถูกเจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีในที่สุดศาลยึดเครื่องวิทยุคมนาคมของโจทก์และโจทก์ได้รับคืนจากศาลและฟ้องเรียกค่าเครื่องวิทยุคมนาคมเสียหายและค่าอุปกรณ์สูญหายจากจำเลย ดังนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นไปตามสัญญา เมื่อตามข้อสัญญาและตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งนำมาระบุไว้ในสัญญาด้วยนั้น ค่าเช่า หมายความว่า ค่าเช่าเครื่องและค่าใช้บริการรวมกัน การคิดค่าเช่าใช้แยกได้เป็น 2 ส่วนคือค่าเช่าเครื่องส่วนหนึ่งและค่าใช้บริการอีกส่วนหนึ่ง การที่ในสัญญาคิดค่าเช่าใช้บริการจากจำเลยเพียงเดือนละ 1,000 บาทเนื่องจากจำเลยเป็นผู้นำเครื่องวิทยุและอุปกรณ์มาใช้เองจึงเป็นการคิดเฉพาะค่าใช้บริการมิได้คิดค่าเช่าเครื่องด้วย การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายของเครื่องวิทยุคมนาคมจึงมิใช่คดีอันผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าซึ่งจะต้องใช้อายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4232/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายเครื่องวิทยุ: สัญญาเช่าบริการแยกค่าเช่าเครื่องและค่าใช้บริการ อายุความตามมาตรา 563 มิได้ใช้
จำเลยทำสัญญาเช่าบริการวิทยุคมนาคมความถี่สูงมากจากโจทก์โดยตามระเบียบของโจทก์แยกการคิดค่าเช่าออกเป็น 2 ส่วน คือค่าเช่าเครื่องกับค่าใช้บริการกรณีตามสัญญาเช่าพิพาทเป็นการคิดเฉพาะค่าใช้บริการเพราะจำเลยจัดหาเครื่องวิทยุมาเองการที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายของเครื่องวิทยุซึ่งตกเป็นของโจทก์ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา จึงมิใช่คดีอันผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อผู้ให้เช่าจากความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดจากการประพฤติผิดสัญญาเช่า และอายุความฟ้องร้อง
เมื่อกรณีเป็นเรื่องจำเลยในฐานะผู้เช่าต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่า อันเนื่องมาจากจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า การที่โจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าเป็นเรื่องละเมิดและว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ก็หาอาจนำกฎหมายเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีได้ไม่อายุความที่โจทก์จะฟ้องคดีจึงมีกำหนด 6 เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์ที่เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากสัญญาเช่า: ข้อพิพาทเรื่องผิดสัญญาเช่าหรือละเมิด และผลเรื่องอายุความ
คดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้ว จากพยานหลักฐานในสำนวน ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาได้ความว่า ความเสียหายของห้องสุขาทั้ง 8 รายการ เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่จำเลยได้เช่าห้องสุขาซึ่งอยู่ภายในบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารของโจทก์ และความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการที่จำเลยในฐานะผู้เช่าซึ่งมีหน้าที่จะต้องดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาเช่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่จำเลยในฐานะผู้เช่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่า อันเนื่องมาจากจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า หาใช่เป็นเรื่องละเมิดไม่ แม้การที่จำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอาจจะเป็นผิดสัญญาและเป็นเรื่องละเมิดได้ในขณะเดียวกันก็ตามแต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างไรแล้ว เพียงแต่การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยบรรยายว่าเป็นเรื่องละเมิดและในฟ้องบางตอนจะใช้คำว่า จำเลยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ก็ไม่อาจจะนำบทกฎหมายในเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเป็นเรื่องอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
of 7