พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องเรียกค่าเช่า: เลือกใช้บทบัญญัติทั่วไป (มาตรา 166) เมื่อมีบทบัญญัติเฉพาะเจาะจง (มาตรา 563) แล้ว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 อยู่ในลักษณะ 6เรื่องอายุความในบรรพ 1 อันว่าด้วยหลักทั่วไป. ซึ่งระบุไว้ชัดถึงการฟ้องเรียกค่าเช่าทรัพย์สินค้างส่ง. ส่วนมาตรา 563 เป็นบทบัญญัติอยู่ในหมวด 3 เรื่องหน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าในลักษณะเช่าทรัพย์แห่งบรรพ 3 อันว่าด้วยเอกเทศสัญญา. ข้อความที่ว่าผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น. ย่อมหมายถึงการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้เช่าโดยทั่วไป. เมื่อมาตรา 166 ซึ่งเป็นบททั่วไปได้บัญญัติถึงเรื่องค่าเช่าค้างส่งไว้ชัดแจ้งโดยเฉพาะ จึงต้องยกมาใช้ปรับแก่คดี. แม้มาตรา 563 จะอยู่ในลักษณะเช่าทรัพย์ ก็หาได้ลบล้างมาตรา 166 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการยินยอมให้ผู้อื่นบุกรุก และอายุความค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายข้อเรียกร้องมาในฟ้อง ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิจะอ้างได้ตามกฎหมาย ในคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาโดยบรรยายข้อเท็จจริงเข้ามาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น โดยละเอียดพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้ดี ฟ้องของโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาท โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปีขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1 (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาท โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปีขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1 (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากละเมิดและการหมดอายุความค่าเสียหายจากการยินยอมให้ผู้อื่นบุกรุก
โจทก์บรรยายข้อเรียกร้องมาในฟ้อง ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์ โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิจะอ้างได้ตามกฎหมายในคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา โดยบรรยายข้อเท็จจริงเข้ามาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยละเอียดพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้ดี ฟ้องของโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาทโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1(อ้างฎีกาที่ 1273/2501)
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาทโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1(อ้างฎีกาที่ 1273/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าและค่าเสียหาย: การส่งคืนทรัพย์สินที่แท้จริงเป็นจุดเริ่มต้น
ป.ม.แพ่งฯมาตรา 563 ที่ให้นับอายุความแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่านั้น หมายถึงการส่งคืนอย่างแท้จริง ถ้าผู้เช่าส่งคืน แต่ผู้ให้เช่าไม่รับโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันชอบ ก็อาจถือว่าเป็นการส่งคืนแล้วได้แต่ผู้เช่าเพียงแต่มีหนังสือขอส่งคืน ผู้ให้เช่ายังขัดข้องและผู้เช่าก็ยังคงครอบครองดูแลทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมาเพิ่งจะส่งมอบแก่ผู้ให้เช่าในภายหลัง เช่นนี้ ต้องถือว่ามีการส่งคืนกันในภายหลังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเช่า: การส่งคืนทรัพย์สินที่แท้จริงและการส่งคืนตามหนังสือ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 ที่ให้นับอายุความแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่านั้น หมายถึงการส่งคืนอย่างแท้จริง ถ้าผู้เช่าส่งคืน แต่ผู้ให้เช่าไม่รับโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันชอบ ก็อาจถือว่าเป็นการส่งคืนแล้วได้ แต่ถ้าผู้เช่าเพียงแต่มีหนังสือขอส่งคืนผู้ให้เช่ายังขัดข้องและผู้เช่าก็ยังคงครอบครองดูแลทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมาเพิ่งจะส่งมอบแก่ผู้ให้เช่าในภายหลัง เช่นนี้ ต้องถือว่ามีการส่งคืนกันในภายหลังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่า vs. ค่าเสียหายจากสัญญาเช่า และการเกิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ใช่ 6 เดือนตามมาตรา 563แต่อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่ามีกำหนด 6 เดือนตามมาตรา 563
เอกสารมีใจความว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหาย 6,500 บาทจากจำเลย จำเลยให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจและตีราคาเจ้าหน้าที่ของจำเลยตีราคาค่าเสียหายสูงกว่าที่โจทก์ขอคณะกรรมการของจำเลยจึงประชุมตกลงให้ค่าเสียหายโจทก์ดังโจทก์ขอแต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อคณะกรรมการได้ตกลงเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยได้ทำคำสนองรับไปยังโจทก์ ฉะนั้นจึงยังไม่เกิดสัญญาขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่มีทางจะถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 ได้
เอกสารมีใจความว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหาย 6,500 บาทจากจำเลย จำเลยให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจและตีราคาเจ้าหน้าที่ของจำเลยตีราคาค่าเสียหายสูงกว่าที่โจทก์ขอคณะกรรมการของจำเลยจึงประชุมตกลงให้ค่าเสียหายโจทก์ดังโจทก์ขอแต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อคณะกรรมการได้ตกลงเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยได้ทำคำสนองรับไปยังโจทก์ ฉะนั้นจึงยังไม่เกิดสัญญาขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่มีทางจะถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายจากการเช่า: การนับอายุความใหม่เมื่อมีการรับสภาพหนี้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น จะต้องฟ้องภายในกำหนด 6 เดือนและแม้จะมีการรับสภาพหนี้กันซึ่งทำให้อายุความสดุดหยุดลง ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 172 ก็ตาม แต่เมื่อเริ่มนับใหม่ตามมาตรา 181 ก็ต้องถือว่าอายุความเดิมเป็นแต่ตั้งต้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเช่า: การรับสภาพหนี้และการนับอายุความใหม่
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นจะต้องฟ้องภายในกำหนด 6 เดือน และแม้จะมีการรับสภาพหนี้กันซึ่งทำให้อายุความสดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ก็ตามแต่เมื่อเริ่มนับใหม่ตามมาตรา 181 ก็ต้องถืออายุความเดิมเป็นแต่ตั้งต้นนับใหม่