คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 311

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ แม้มีคำสั่งงดบังคับคดีไว้ก่อน
จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชำระเงินมัดจำค่าที่ดินแก่จำเลย แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าคดีแพ่งซึ่งผู้ร้องฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะเหตุเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นอีกคดีหนึ่งจะถึงที่สุด ศาลมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตามขอ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคท้าย แต่คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยจึงมีสิทธิเข้าจัดการกับสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อผู้ร้องดังกล่าวได้ตามมาตรา 310 ทวิ ประกอบด้วยมาตรา 311 แม้ผู้ร้องจะได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งซึ่งมีมูลมาจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรายเดียวกัน และสามารถนำหนี้ทั้งสองคดีมาหักกลบลบกันได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยได้เพราะมาตรา 311 วรรคสาม บัญญัติว่า คำสั่งอายัดนั้น อาจออกให้ได้ไม่ว่าหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้งหรือมีข้อจำกัดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการอายัดทรัพย์สินจากบุคคลภายนอก และหน้าที่ของศาลในการพิจารณาคำร้อง
ภายใต้บังคับบทบัญญัติ แห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดีฯ เมื่อศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวาง ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจรวบรวมเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอายัดเงินเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 278 และมาตรา 282 (3) หรือในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะกำหนดไว้ในหมายบังคับคดีระบุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดอายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้ตามมาตรา 311 วรรคสอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินค่าเช่าที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิจะได้รับจากผู้คัดค้านไปยังผู้คัดค้าน จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการได้ ทั้งนี้ไม่ว่าหนี้ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะมีข้อโต้แย้ง ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใด ส่วนผู้คัดค้านมีสิทธิปฏิเสธหรือโต้แย้งได้โดยการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 312 วรรคหนึ่ง ถ้าคำสั่งอายัดไม่มีการคัดค้านหรือศาลมีคำสั่งรับรองตามวรรคหนึ่งแล้วผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่ผู้คัดค้านและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าผู้คัดค้านเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามมาตรา 312 วรรคสอง มิใช่หน้าที่ของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกกรรมการบริษัทผู้คัดค้านมาไต่สวนและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินค่าเช่าที่อายัดไปยังเจ้าพนักงานบังคดีหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินค่าเช่าที่อายัดและศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จำนวนเงินที่ให้ผู้คัดค้านส่งเงินที่อายัดไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดสิทธิเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระ: เจ้าหนี้ใช้สิทธิบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกได้
สิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เป็นสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ เมื่อบริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ ว. ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดทรัพย์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องมีสิทธิเพิกถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยจะได้รับจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ท. จำกัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2542 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ท. จำกัด โอนสินทรัพย์และหนี้สินรวมทั้งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. จำกัด (มหาชน) และวันเดียวกันบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. จำกัด (มหาชน) โอนสินทรัพย์และหนี้สินรวมทั้งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง โดยการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างดังกล่าวนับแต่วันที่ 24 เมษายน 2540 และผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างดังกล่าวนับแต่วันที่ 29 เมษายน 2542 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องนั้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2542 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่ผู้ร้องได้ไปซึ่งสิทธิเรียกร้องนั้น และจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว การอายัดดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ ประกอบมาตรา 311 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นอายัดเงินตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ ผู้ร้องมิใช่บุคคลภายนอกที่เป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องจึงไม่จำต้องคัดค้านคำสั่งอายัดก่อนการกีฬาแห่งประเทศไทยส่งเงินไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง บทบัญญัติดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่ผู้ร้อง
การอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 ประกอบมาตรา 296 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีข้อจำกัดตามกฎหมายสหกรณ์
แม้พระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง จะกำหนดว่าในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้นก็ตาม แต่เงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องได้ชำระให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้น ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ ซึ่งตามระเบียบของผู้ร้องก็ระบุว่า จำเลยที่ 1 จะโอนหรือถอนคืนค่าหุ้นบางส่วนหรือทั้งหมดในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิกไม่ได้ สิทธิของจำเลยที่ 1 ในการถอนคืนเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงมีเงื่อนไข ซึ่งการชำระเงินค่าหุ้นคืนของผู้ร้องก็มีเงื่อนไขในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตามเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 ทวิ ประกอบด้วยมาตรา 311 วรรคสอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้ง ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใดและได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอนหรือไม่ก็ตาม ในเมื่อสิทธิเรียกร้องนั้นไม่อยู่ในข้อยกเว้นในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 แต่จะกำหนดในคำสั่งอายัดให้เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขแห่งหนี้นั้นหาได้ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อจำเลยที่ 1พ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแล้ว จึงหามีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องไม่ ทั้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดียังสอดคล้องกับเงื่อนไขแห่งหนี้ที่ผู้ร้องต้องชำระแก่จำเลยที่ 1กรณีจึงไม่เป็นคำสั่งอายัดที่ขัดต่อพระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองประโยชน์โจทก์ก่อนบังคับคดี: การไม่อนุญาตคืนเงินจำเลย
ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับใน 30 วันเจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม2540 จำเลยจึงมีเวลาที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเป็นเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีการปิดคำบังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คืนเงินให้จำเลยในวันที่ 9 มิถุนายน 2540ยังไม่พ้นระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับ อีกทั้งศาลชั้นต้นยังมิได้ออกหมายบังคับคดี คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเกี่ยวกับคำขออายัดเงินของโจทก์ได้ และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าวศาลชั้นต้นได้ฟังคำแถลงของโจทก์เกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่แสดงว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่คืนเงินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ผู้ขอเพื่อความสะดวกในการที่จะบังคับตามคำพิพากษา จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบและถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมอายัดทรัพย์สิน: แม้บัญชีไม่ใช่ของจำเลย ผู้ขออายัดต้องชำระค่าธรรมเนียมเมื่อถอนอายัด
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดจะไปถึงธนาคารโจทก์ได้ทราบว่าเงินฝากนั้นไม่ใช่ของจำเลยเนื่องจากมีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลยโจทก์จึงให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อนโจทก์ยื่นคำร้องถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้วและไม่ปรากฎว่าขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้นธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดถือว่าได้มีการอายัดไว้โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา311เมื่อโจทก์ถอนการอายัดโจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง5ข้อ4ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหากโจทก์ไม่ชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมอายัดทรัพย์สิน - แม้จะถอนอายัดก่อนถึงมือธนาคาร แต่เมื่อมีการอายัดตามกฎหมายแล้ว ผู้ขออายัดต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดจะไปถึงธนาคาร โจทก์ได้ทราบว่าเงินฝากนั้นไม่ใช่ของจำเลยเนื่องจากมีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลยโจทก์จึงให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อน โจทก์ยื่นคำร้องถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้ว และไม่ปรากฎว่าขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้นธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดถือว่าได้มีการอายัดไว้โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 เมื่อโจทก์ถอนการอายัดโจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากโจทก์ไม่ชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์สินผิดพลาด ผู้ขออายัดต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม แม้บัญชีไม่ใช่ของจำเลย
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดไปยังธนาคารแล้ว แม้ก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดดังกล่าวจะไปถึงธนาคาร โจทก์ทราบว่าเงินฝากที่โจทก์ขออายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลย แต่มีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลย โจทก์จึงขอให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อนโดยโจทก์จะไประงับการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำร้องและฎีกาก็ตาม แต่ก็ปรากฎตามคำร้องของโจทก์เองว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้ว ทั้งตามคำร้องของโจทก์ก็ไม่ปรากฎว่า ขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้น ธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดเสียก่อนที่หนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปถึงธนาคาร จึงเป็นการกล่าวอ้างนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้อง ไม่อาจรับฟังได้ กรณีต้องถือว่าได้มีการอายัดโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 311 เมื่อโจทก์ถอนการอายัดจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ตามตาราง 5(4) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่ปรากฎว่าบัญชีเงินฝากที่อายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลยและธนาคารมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายหลังที่ได้รับหนังสืออายัดแล้ว โจทก์จะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่ หากโจทก์ผู้ขออายัดไม่ชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมการอายัดทรัพย์สิน: การอายัดถูกต้องแม้ชื่อผู้ฝากผิดพลาด โจทก์ต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดไปยังธนาคารแล้วแม้ก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดดังกล่าวจะไปถึงธนาคารโจทก์ทราบว่าเงินฝากที่โจทก์ขออายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลยแต่มีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลยโจทก์จึงขอให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อนโดยโจทก์จะไประงับการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำร้องและฎีกาก็ตามแต่ก็ปรากฎตามคำร้องของโจทก์เองว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้วทั้งตามคำร้องของโจทก์ก็ไม่ปรากฎว่าขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้นธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดเสียก่อนที่หนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปถึงธนาคารจึงเป็นการกล่าวอ้างนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้องไม่อาจรับฟังได้กรณีต้องถือว่าได้มีการอายัดโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา311เมื่อโจทก์ถอนการอายัดจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง5(4)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่ปรากฎว่าบัญชีเงินฝากที่อายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลยและธนาคารมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายหลังที่ได้รับหนังสืออายัดแล้วโจทก์จะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่หากโจทก์ผู้ขออายัดไม่ชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295ตรี
of 8