พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก แต่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นว่านี้มีอำนาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" จากบทบัญญัติดังกล่าวยังมีกำหนดเงื่อนเวลาไว้ด้วย ตามมาตรา 290 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่อายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้"
คดีนี้โจทก์ชนะคดีและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ได้ เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัดไปยังศาลแพ่งนั้น เป็นเงินที่บุคคลภายนอกนำส่งไว้เนื่องจากมีคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาอันเป็นวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ประกอบมาตรา 266 มิใช่ทรัพย์ที่ถูกอายัดไว้จากการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้อยู่ในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัด การอายัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีต่อมหาวิทยาลัย อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั่นเอง ส่วนศาลแพ่งนั้นเป็นเพียงสถานที่ที่เก็บรักษาทรัพย์ที่ขออายัดไว้เท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามที่อายัดไว้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2541 ซึ่งถือได้ว่ามีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2542 จึงล่วงระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องจึงไม่สามารถร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากจำนวนเงินดังกล่าวได้
คดีนี้โจทก์ชนะคดีและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ได้ เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัดไปยังศาลแพ่งนั้น เป็นเงินที่บุคคลภายนอกนำส่งไว้เนื่องจากมีคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาอันเป็นวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ประกอบมาตรา 266 มิใช่ทรัพย์ที่ถูกอายัดไว้จากการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้อยู่ในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัด การอายัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีต่อมหาวิทยาลัย อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั่นเอง ส่วนศาลแพ่งนั้นเป็นเพียงสถานที่ที่เก็บรักษาทรัพย์ที่ขออายัดไว้เท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามที่อายัดไว้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2541 ซึ่งถือได้ว่ามีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2542 จึงล่วงระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องจึงไม่สามารถร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากจำนวนเงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6793/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: ธนาคารมีหน้าที่ชำระเงินตามเงื่อนไข แม้ไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรง
ธนาคารผู้ร้องไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 แต่การที่โจทก์จำเป็นต้องขอให้ผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ก็เพื่อให้ผู้ร้องที่เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือในฐานะการเงินเข้ารับภาระในการจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตอันมีผลให้ผู้ขายคือจำเลยที่ 4 มั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอนเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิต กล่าวคือ เมื่อมีการเสนอเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น หากผู้ร้องไม่ชำระเงินโดยปราศจากเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นที่ยอมรับได้ในวงการค้าระหว่างประเทศก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในวงการค้าระหว่างประเทศของผู้ร้อง และมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการในการออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของผู้ร้องและลูกค้าที่ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศในภายหน้าด้วยเหตุนี้การที่ศาลจะออกคำสั่งอายัด ห้ามผู้ร้องชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4 ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4 ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4 ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6793/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: ธนาคารมีหน้าที่จ่ายเงินตามเงื่อนไข แม้โจทก์มีข้อพิพาทกับผู้ขาย ศาลมิอาจอายัดการจ่ายเงิน
ธนาคารผู้ร้องไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 แต่การที่โจทก์จำเป็นต้องขอให้ผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ก็เพื่อให้ผู้ร้องที่เป็นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือในฐานะการเงินเข้ารับภาระในการจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตอันมีผลให้ผู้ขายคือจำเลยที่ 4 มั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอน เมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตกล่าวคือ เมื่อมีการเสนอเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น หากผู้ร้องไม่ชำระเงินโดยปราศจากเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นที่ยอมรับได้ในวงการค้าระหว่างประเทศก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในวงการค้าระหว่างประเทศของผู้ร้อง และมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการในการออกเลตเตอร์ออฟเครดิตของผู้ร้องและลูกค้าที่ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศในภายหน้าด้วยเหตุนี้การที่ศาลจะออกคำสั่งอายัดห้ามผู้ร้องชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทย ไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การที่โจทก์ขอให้ธนาคารผู้ร้องออกเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลยที่ 4ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแต่แรกจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 4ยักย้ายนำทรัพย์สินของตนจากประเทศไทย ไปยังประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5955/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งศาลชั้นต้นและอายุความค่าซ่อม
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ว่าจ้างโจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ให้ซ่อมเครื่องปั๊มของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดต่อโจทก์ ส่วนที่คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดกันอันจะทำให้ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์จะบังคับจำเลยคนใด ทั้งต่อมาโจทก์ได้ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องเป็นจำเลยทั้งสามซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคำสั่งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในข้อนี้ให้เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่าจะชำระเงินค่าซ่อมกันเมื่อมีการวางบิลแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมของโจทก์จึงเกิดขึ้นนับแต่วันวางบิล อายุความต้องเริ่มนับแต่วันวางบิล ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) หาใช่นับแต่วันที่ลงในใบส่งของอันเป็นวันรับมอบการที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ไม่ เมื่อนับแต่วันวางบิลถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในข้อนี้ให้เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่าจะชำระเงินค่าซ่อมกันเมื่อมีการวางบิลแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมของโจทก์จึงเกิดขึ้นนับแต่วันวางบิล อายุความต้องเริ่มนับแต่วันวางบิล ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) หาใช่นับแต่วันที่ลงในใบส่งของอันเป็นวันรับมอบการที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ไม่ เมื่อนับแต่วันวางบิลถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ไม่ชอบ, การถอนฟ้องที่ไม่สุจริต, และการประนีประนอมยอมความที่เป็นการเอาเปรียบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2531 ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนคำร้องทั้งสองฉบับของโจทก์ในวันดังกล่าว แต่มีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องทั้งสองฉบับให้แก่จำเลยทั้งสี่ และนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 18ตุลาคม 2531 การที่ศาลชั้นต้นให้นัดไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์หลังวันยื่นคำร้องถึง 8 วัน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาเป็นการด่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องโจทก์อย่างวิธีธรรมดา ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดแจ้งการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1และออกใบหุ้นพร้อมกับใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่ตามคำร้องที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษากลับเป็นเรื่องโจทก์ต้องการใช้สิทธิเข้าไปดูแลครอบงำการจัดการและเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อจะได้ดำเนินการบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อไปชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคำฟ้อง โจทก์ไม่อาจร้องขอให้คุ้มครองดังกล่าวได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาใช้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 และในวันเดียวกันกรรมการชุดใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ร่วมประชุมแต่งตั้งได้ยื่นคำร้องขอถอนทนายจำเลยที่ 1 ที่กรรมการชุดเดิมได้ตั้งไว้ หลังจากนั้นโจทก์กับทนายคนใหม่ของจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปโดยไม่สุจริตและกระทำเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดีแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งจำเลยดังกล่าวต่างให้การต่อสู้อยู่ว่า หุ้นตามฟ้องมิใช่ของโจทก์ทั้งยังคัดค้านคำร้องขอถอนฟ้องด้วย ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แล้วพิพากษาคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี และผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลัง จะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267วรรคสอง ที่บัญญัติว่า คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาถูกยกเลิกโดยศาลอุทธรณ์ ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาลชั้นต้นในกรณีฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาต จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินเช่นกัน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของ จำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นเสีย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และการเรียกร้องค่าเสียหายจากกระบวนการชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งเป็นฟ้องซ้ำกับคดีอื่นเป็นฎีกาข้อที่โจทก์มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246, และ 247 ฎีกาของโจทก์ที่ว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะมิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อดังกล่าวไว้ แต่ข้อฎีกานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ปัญหาว่าที่พิพาทโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครอง โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ในขณะจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายที่ขาดกำไรสุทธิจากการทำเหมืองแร่ในที่พิพาท ทั้งสิทธิทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทางราชการจำเลยยังไม่มีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะเข้าทำเหมืองแร่ในที่พิพาทการที่โจทก์ไปร้องคัดค้านการขอออกประทานบัตรของจำเลย ฟ้องคดีนี้และนำสำเนาคำฟ้องไปยื่นร้องคัดค้านต่อกรมทรัพยากรธรณีจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยซึ่งยังไม่มีอยู่ในขณะฟ้องแย้งฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นฟ้องที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่แก้ไขขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงาน และทำให้ที่ดินมีสภาพเหมือนเดิมและให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000 บาท นับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้น แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาทตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน2521 จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งและได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อวันที่13 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในที่พิพาทในขณะที่ขอแก้ไขฟ้องแย้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในที่พิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยแล้ว ทั้งการที่จำเลยแก้ไขฟ้องแย้งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนดังกล่าว แต่ที่จำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ15,000 บาท นั้น ปรากฏว่า มูลหนี้ตามฟ้องแย้งของจำเลยเกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จะฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำนวณจากจำนวนข้อหา, การร้องเรียนต่อผู้ว่าจ้างชอบธรรม, เบิกความไม่เป็นเท็จ ไม่เป็นการละเมิด
ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่อง ค่าขึ้นศาล ไม่ได้บัญญัติว่าคดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาข้อหาหนึ่ง และฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดอีกข้อหาหนึ่ง เป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 2 ข้อหาและแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้ง 2 ข้อหา
ปัญหาว่าการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ และตามสัญญาโจทก์มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 ได้ แต่โจทก์ไม่ได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 สิทธิตามสัญญาจึงเป็นอันระงับสิ้นไปนั้นเมื่อเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลล่างจะต้องวินิจฉัยและประเด็นดังกล่าวไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่โจทก์อ้างว่าถูกยึดและอายัดทรัพย์ในคดีแพ่งเนื่องจากการเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยทั้งสองร้องเรียนโจทก์ต่อส.ผู้ว่าจ้างโจทก์เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และจำเลยทั้งสองสมคบกับ ย.หน่วงเหนี่ยวการทำงานของโจทก์ ทำให้โจทก์ทำงานไม่ทันตามกำหนดเวลาจนถูกส.บอกเลิกสัญญานั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ และจำเลยที่ 2ได้เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายลิฟต์เรียบร้อยแล้ว และโจทก์ได้รับเงินจาก ส.ในงานส่วนติดตั้งลิฟต์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงได้ร้องเรียนต่อ ส. ส.ได้เรียกโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปไกล่เกลี่ย โจทก์ตกลงจ่ายงินค่าลิฟต์ให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ในที่สุดก็ไม่จ่าย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนโจทก์ต่อ ส. จึงเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่จะกระทำได้โดยชอบธรรม หาเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ไม่ และการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ไปตามที่จำเลยที่ 2 รู้เห็นและเข้าใจ และหาเป็นความเท็จไม่ ส่วนคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ที่แม้เป็นการเบิกความลอย ๆ ไม่ยืนยันว่าเป็นผู้รู้เห็นในเรื่องการขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้าง แต่โจทก์ก็นำสืบรับว่าโจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้างจริง สำหรับในเรื่องเสนอขายเครื่องมือเครื่องจักร แก่ธนาคาร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 อาจเข้าใจเอาเองเพราะเป็นข้อที่ทราบกันทั่วไป คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาข้อหาหนึ่ง และฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดอีกข้อหาหนึ่ง เป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 2 ข้อหาและแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้ง 2 ข้อหา
ปัญหาว่าการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ และตามสัญญาโจทก์มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 ได้ แต่โจทก์ไม่ได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 สิทธิตามสัญญาจึงเป็นอันระงับสิ้นไปนั้นเมื่อเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลล่างจะต้องวินิจฉัยและประเด็นดังกล่าวไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่โจทก์อ้างว่าถูกยึดและอายัดทรัพย์ในคดีแพ่งเนื่องจากการเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยทั้งสองร้องเรียนโจทก์ต่อส.ผู้ว่าจ้างโจทก์เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และจำเลยทั้งสองสมคบกับ ย.หน่วงเหนี่ยวการทำงานของโจทก์ ทำให้โจทก์ทำงานไม่ทันตามกำหนดเวลาจนถูกส.บอกเลิกสัญญานั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ และจำเลยที่ 2ได้เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายลิฟต์เรียบร้อยแล้ว และโจทก์ได้รับเงินจาก ส.ในงานส่วนติดตั้งลิฟต์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงได้ร้องเรียนต่อ ส. ส.ได้เรียกโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปไกล่เกลี่ย โจทก์ตกลงจ่ายงินค่าลิฟต์ให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ในที่สุดก็ไม่จ่าย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนโจทก์ต่อ ส. จึงเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่จะกระทำได้โดยชอบธรรม หาเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ไม่ และการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ไปตามที่จำเลยที่ 2 รู้เห็นและเข้าใจ และหาเป็นความเท็จไม่ ส่วนคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ที่แม้เป็นการเบิกความลอย ๆ ไม่ยืนยันว่าเป็นผู้รู้เห็นในเรื่องการขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้าง แต่โจทก์ก็นำสืบรับว่าโจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้างจริง สำหรับในเรื่องเสนอขายเครื่องมือเครื่องจักร แก่ธนาคาร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 อาจเข้าใจเอาเองเพราะเป็นข้อที่ทราบกันทั่วไป คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5997/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นที่พิพาทในคดีนั้นๆ โดยเฉพาะ
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา โดยมีคำขอในเหตุฉุกเฉินตาม ป.วิ.พ. มาตรา254,266 จะต้องเป็นการขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ผู้ร้องยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีอ้างว่าผู้ร้องมิใช่บริวารของจำเลย ซึ่งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดเพียงว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่ามีสิทธิครอบครองเหนือที่พิพาทด้วยนั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะไปว่ากล่าวเอากับโจทก์ต่างหากจากคดีนี้ จึงไม่มีเหตุที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ในชั้นนี้ได้.