พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายเลือกตั้งต้องมีหลักฐานประกอบ การไม่ปฏิบัติตามถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 บัญญัติเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งไว้ในส่วนที่ 6 ตั้งแต่มาตรา 40 ถึงมาตรา 43 โดยมาตรา 40 บัญญัติว่า การใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนนี้ มาตรา 41 บัญญัติห้ามมิให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใช้จ่ายในการเลือกตั้งเกินจำนวนค่าใช้จ่ายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด มาตรา 42 บัญญัติให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองแต่งตั้งสมุห์บัญชีเลือกตั้งเพื่อจัดทำและรับรองความถูกต้องของบัญชีรายรับและรายจ่าย ส่วนมาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายในกำหนดเก้าสิบวันหลังจากวันประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละคนหรือพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำขึ้น และผู้สมัครหรือหัวหน้าพรรคการเมืองแล้วแต่กรณีได้รับรองความถูกต้อง บัญชีรายรับและรายจ่ายอย่างน้อยต้องประกอบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ได้จ่ายไปแล้วและที่ยังค้างชำระ รวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะควบคุมไม่ให้ผู้สมัครใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินไปกว่าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และเมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งก็จะตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของผู้สมัครแต่ละคนตามรายงานการรับจ่ายเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ผู้สมัครยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง การควบคุมและตรวจสอบการใช้เงินของผู้สมัครดังกล่าว ก็เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เพราะกฎหมายไม่ประสงค์ให้ผู้สมัครที่มีเงินมากได้เปรียบผู้สมัครที่มีเงินน้อยในการหาเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น ในการยื่นรายงานการรับจ่ายเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้สมัครต้องยื่นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบด้วย ทั้งนี้เพราะหากยอมให้ผู้สมัครระบุแต่จำนวนรายรับและรายจ่ายในบัญชีได้โดยไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องประกอบ ย่อมเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ไม่สุจริตระบุจำนวนรายรับและรายจ่ายไม่ตรงตามความเป็นจริงโดยไม่อาจตรวจสอบได้ อันจะส่งผลให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามรายงานการรับจ่ายเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้งเอกสารหมาย จ.12 (หรือ จ.14) ของจำเลยที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2544 (หรือวันที่ 4 พฤษภาคม 2544) คงระบุแต่เพียงว่ามีค่าใช้จ่าย 9 รายการ โดยจำเลยไม่มีหลักฐานประกอบรายการการจ่ายเงินตามรายการต่าง ๆ ดังกล่าว การยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายของจำเลยจึงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ จึงเป็นการเจตนาฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง แม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีฐานะเป็นพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่มีประกาศแยกมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การที่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าว กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง จึงหามีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นสุดลงตามไปด้วยไม่ อีกทั้งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ข้อ 4 ยังได้บัญญัติด้วยว่า "ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย" อันเป็นการรับรองให้กฎหมายทั้งปวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครองยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไม่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับใดออกมาบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง แม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีฐานะเป็นพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่มีประกาศแยกมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การที่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าว กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง จึงหามีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นสุดลงตามไปด้วยไม่ อีกทั้งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ข้อ 4 ยังได้บัญญัติด้วยว่า "ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย" อันเป็นการรับรองให้กฎหมายทั้งปวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครองยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไม่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับใดออกมาบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายเลือกตั้ง: การมอบหมายอำนาจ กกต.จังหวัด และการตีความประกาศ กกต.
จำเลยยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 24 กรุงเทพมหานคร เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้ง จำเลยซึ่งเป็นผู้สมัครแต่ไม่ได้รับเลือกมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายของผู้สมัคร โดยต้องทำตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ และตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครภายในกำหนด 90 วัน หลังจากวันประกาศผลการเลือกตั้ง คือวันที่ 23 เมษายน 2544 จำเลยอ้างว่า ไปยื่นเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2544 แต่เจ้าหนี้ที่ไม่รับเอกสารอ้างว่าจำเลยไม่ได้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร จำเลยก็มิได้ดำเนินการแก้ไขหรือขอให้เจ้าหน้าที่รับเอกสารไว้ก่อนแล้วจะดำเนินการแก้ไขในภายหลัง แต่จำเลยกลับไปยื่นใหม่อีกเป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2544 เจ้าหน้าที่ก็ไม่รับเช่นเดิมซึ่งจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งหรือให้เจ้าหน้าที่บันทึกเหตุผลที่ไม่รับเอกสารของจำเลยดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ไปดำเนินการยื่นเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งแล้ว การที่จำเลยไปยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 นั้น เมื่อนับจากวันที่ 23 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ผู้สมัครต้องยื่นเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ก็เป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายไป 3 วัน แม้เจ้าหน้าที่ลงวันรับหนังสือไว้เก็เป็นการปฏิบัติตามระเบียบงานสารบรรณเท่านั้น หาใช่เป็นการผ่อนผันให้แก่จำเลยแต่อย่างใดไม่ และคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครปฏิเสธไม่รับเอกสารของจำเลย เพราะไม่เป็นไปตามกฎหมายและประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่ยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำขึ้นและจำเลยได้รับรองความถูกต้องภายในกำหนด 90 วัน หลังจากประกาศผลการเลือกตั้งอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 43 วรรคหนึ่ง และมาตรา 104 วรรคหนึ่ง
ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้ง ข้อ 20 กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตแต่ละคนยื่นรายงานการรับจ่ายเงินและบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำตามข้อ 19 รวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภายใน 90 วันนับจากวันประกาศผลการเลือกตั้ง และลงนามโดยประธานกรรมการการเลือกตั้ง แม้ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ จะบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำขึ้นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ตาม แต่ข้อความตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อ 20 ดังกล่าวพอแปลได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายให้คณะกรรมการการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทำการแทน จึงกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งยื่นต่อคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้ ดังนี้ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อ 20 จึงหาได้ขัดต่อบทบัญญัติตามมาตรา 43 แต่อย่างใดไม่
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ มาตรา 10 (2) ได้บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 42 ได้บัญญัติให้ผู้สมัครแต่งตั้งบุคคลเป็นสมุห์บัญชีเลือกตั้งเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของผู้สมัคร โดยการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อพิจารณาประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้งซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 (2) และ 42 แล้ว ข้อความในประกาศดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีรายรับและรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมืองซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งอ้างมา ทั้งยังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเช่นนี้ ประกาศดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่นได้ แม้ประกาศดังกล่าวไม่ได้อ้างมาตรา 43 ไว้ด้วยก็ตาม แต่ตามข้อ 20 ของประกาศฉบับนี้ได้ระบุให้ผู้สมัครต้องยื่นรายงานการรับจ่ายเงินและบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีจัดทำรวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภายใน 90 วัน นับจากวันประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งข้อความดังกล่าวมีเนื้อหาสาระทำนองเดียวกับมาตรา 43 ดังนี้ แม้ประกาศดังกล่าวจะไม่ได้อ้างมาตรา 43 ไว้ก็ตาม ก็หาได้ทำให้ประกาศดังกล่าวไม่ชอบ
ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้ง ข้อ 20 กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตแต่ละคนยื่นรายงานการรับจ่ายเงินและบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำตามข้อ 19 รวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภายใน 90 วันนับจากวันประกาศผลการเลือกตั้ง และลงนามโดยประธานกรรมการการเลือกตั้ง แม้ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ จะบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำขึ้นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ตาม แต่ข้อความตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อ 20 ดังกล่าวพอแปลได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายให้คณะกรรมการการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทำการแทน จึงกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งยื่นต่อคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้ ดังนี้ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อ 20 จึงหาได้ขัดต่อบทบัญญัติตามมาตรา 43 แต่อย่างใดไม่
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ มาตรา 10 (2) ได้บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 42 ได้บัญญัติให้ผู้สมัครแต่งตั้งบุคคลเป็นสมุห์บัญชีเลือกตั้งเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของผู้สมัคร โดยการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อพิจารณาประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้งซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 (2) และ 42 แล้ว ข้อความในประกาศดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีรายรับและรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมืองซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งอ้างมา ทั้งยังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเช่นนี้ ประกาศดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่นได้ แม้ประกาศดังกล่าวไม่ได้อ้างมาตรา 43 ไว้ด้วยก็ตาม แต่ตามข้อ 20 ของประกาศฉบับนี้ได้ระบุให้ผู้สมัครต้องยื่นรายงานการรับจ่ายเงินและบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีจัดทำรวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดภายใน 90 วัน นับจากวันประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งข้อความดังกล่าวมีเนื้อหาสาระทำนองเดียวกับมาตรา 43 ดังนี้ แม้ประกาศดังกล่าวจะไม่ได้อ้างมาตรา 43 ไว้ก็ตาม ก็หาได้ทำให้ประกาศดังกล่าวไม่ชอบ