คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 340

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยถูกตัดสินลดโทษจากปล้นทรัพย์เป็นทำร้ายร่างกาย เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส
ตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์มีความเห็นว่าบาดแผลของผู้เสียหายต้องใช้เวลารักษาเกินกว่า 21 วัน แต่ผู้เสียหายเบิกความเพียงว่า บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับจากการถูกทำร้ายต้องใช้เวลารักษา 21 วัน จึงหายเป็นปกติ โดยมิได้เบิกความให้เห็นว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อย่างไร ลำพังกระดูกโหนกแก้มขวาหักจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายสาหัส ส่วนบาดแผลของผู้เสียหายที่ต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วัน เป็นเรื่องการรักษาบาดแผลให้หายเป็นปกติเท่านั้น ย่อมรับฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายจนต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อันจะถือว่าเป็นอันตรายสาหัส ตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 297 (8) คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 295 แม้ปัญหาข้อนี้จะยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ และฎีกาของจำเลยข้อนี้ต้องห้ามตามกฎหมายเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และได้ความว่าผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส แต่จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พยานหลักฐานของโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะร่วมกับพวกเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปด้วยหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83
แม้คดีนี้จะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ซ้ำกับความผิดฐานปล้นทรัพย์ในคดีก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) แต่ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อน จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ตามที่โจทก์ฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิ่มโทษตามมาตรา 92 มาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ไม่ได้ร่วมกันปล้นทรัพย์ ศาลพิพากษาลงโทษฐานทำร้ายร่างกายและเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์มีความเห็นว่าบาดแผลของผู้เสียหายต้องใช้เวลารักษาเกินกว่า 21 วัน แต่ผู้เสียหายเบิกความเพียงว่าบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับจากการถูกทำร้ายต้องใช้เวลารักษา 21 วัน จึงหายเป็นปกติโดยมิได้เบิกความให้เห็นว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อย่างไร ลำพังกระดูกโหนกแก้มขวาหัก จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายสาหัส ส่วนบาดแผลของผู้เสียหายที่ต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วัน เป็นเรื่องการรักษาบาดแผลให้หายเป็นปกติเท่านั้น ย่อมรับฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายจนต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อันจะถือว่าเป็นอันตรายสาหัส ตามความของ ป.อ. มาตรา 297 (8) คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 295 แม้ปัญหาข้อนี้จะยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะจำเลยิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ และฎีกาของจำเลยข้อนี้ต้องห้ามตามกฎหมายเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และได้ความว่าผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส แต่จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พยานหลักฐานของโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะร่วมกับพวกเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปด้วยหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83
แม้คดีนี้จะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ซ้ำกับความผิดฐานปล้นทรัพย์ในคดีก่อนตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) แต่ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อน จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ตามที่โจทก์ฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิ่มโทษตามมาตรา 92 มาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9251/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์และปล้นทรัพย์: การกระทำต่อเนื่องจากลักทรัพย์ไปสู่การใช้กำลังข่มขู่เพื่อเอาทรัพย์สิน
จำเลยกับพวกอีก 5 คน มีเจตนาที่จะเอาเครื่องเชื่อมโลหะและเครื่องปั๊มลมซึ่งจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไปเพื่อเป็นประโยชน์ของตน โดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอม เมื่อจำเลยกับพวกขนเครื่องเชื่อมโลหะและเครื่องปั๊มลมขึ้นบนรถยนต์กระบะ ถือได้ว่าการลักทรัพย์สำเร็จอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ในเวลาต่อเนื่องกัน บ.เจ้าของรวมคนหนึ่งที่รู้เห็นการกระทำของจำเลยกับพวก ได้เข้าขัดขวางโดยขึ้นไปบนรถยนต์กระบะเพื่อเอาเครื่องปั๊มลมกลับคืน จึงถูกจำเลยผลักและพวกของจำเลยใช้เสียมตีที่ศีรษะเป็นเหตุให้ บ.หมดสติไป การที่จำเลยกับพวกอีก 5 คนร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย บ.ขณะที่การลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอน ย่อมถือได้ว่าเป็นการชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์ด้วยการใช้สารทำให้มึนเมาทำให้เหยื่อไม่สามารถขัดขืนได้
จำเลยกับพวกนำธูปซึ่งมีส่วนผสมของสิ่งของบางอย่างที่ทำให้มึนเมาออกมาให้โจทก์ร่วมและ บ. ดม ทำให้โจทก์ร่วมเกิดอาการมึนศีรษะ เป็นเหตุให้อยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้แล้วจำเลยกับพวกอีก 2 คน ได้ลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมไป ถือได้ว่าเป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นไปเมื่อร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
อาการมึนศีรษะที่โจทก์ร่วมและ บ. ได้รับหลังจากดมธูปที่จำเลยกับพวกนำมาให้ดมจนจำเลยกับพวกบอกให้ทำอะไรก็ทำให้ทุกอย่าง ทั้งหลังเกิดเหตุโจทก์ร่วมและ บ. ก็ยังอาเจียนออกมาเป็นเลือดจนแพทย์ต้องฉีดยาให้นั้น ย่อมเป็นการบ่งชี้ชัดแจ้งแล้วว่าธูปนั้นมีสารพิษซึ่งเป็นโทษแก่ร่างกายและจิตใจ หากสูดดมแล้วจะทำให้เกิดอาการมึนเมาถึงขนาดตกอยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้ ดังนั้น โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่จำเป็นต้องนำพยานผู้ชำนาญการพิเศษมาสืบอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3378/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการปล้นทรัพย์: พยานหลักฐานจากคำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิดและการรับสารภาพของผู้ต้องหา
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยที่ 5 จัดหามีดของกลางมาใช้ปล้นทรัพย์แต่โจทก์มีคำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 4 ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 5เป็นผู้จัดหาอาวุธมีดมาใช้ในการปล้นทรัพย์ ซึ่งแม้คำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 4 จะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด แต่คำซัดทอดดังกล่าวมิได้เป็นเรื่องการปัดความผิดของจำเลยที่ 4 ไปยังผู้อื่น แต่เป็นการให้การถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 5 นั้นก็เป็นถ้อยคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง โดยให้การในรายละเอียดถึงเหตุการณ์การกระทำผิดตั้งแต่วางแผนกระทำผิดจนกระทั่งหลังกระทำผิดแล้วตกลงแบ่งปันทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด เชื่อว่าจำเลยที่ 5 ให้การตามความจริงด้วยความสมัครใจจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 ได้จัดหามีดมาใช้ในการปล้นทรัพย์คดีนี้อันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการกระทำความผิด จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์: ศาลแก้โทษจากปล้นทรัพย์เป็นทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์
จำเลยได้รับแจ้งจาก ห. ว่าผู้เสียหายล่อลวง ห. ไปที่บังกะโลเพื่อล่วงเกินทางเพศ จำเลยโกรธแค้นจึงวางแผนให้ ห. โทรศัพท์ไปหลอกผู้เสียหายให้ออกจากบ้านไปหา ห.ที่จุดเกิดเหตุเพื่อทำร้ายสั่งสอนเป็นการแก้แค้นแทน ห. เมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุจำเลยกับพวกที่รออยู่วิ่งเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายทันทีผู้เสียหายหลบหนีจำเลยกับพวกไล่ตามและจำเลยใช้มีดขู่เข็ญพาตัวผู้เสียหายไปแล้วพวกของจำเลยใช้ของแข็งตีศรีษะผู้เสียหายจนผู้เสียหายแกล้งทำเป็นหมดสติจากนั้นจำเลยกับพวกหนีไปโดยถือโอกาสเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปด้วยซึ่งการใช้มีดขู่เข็ญผู้เสียหายและการทำร้ายผู้เสียหายในตอนหลังเป็นเรื่องต่อเนื่องมาจากสาเหตุเดิมที่จำเลยโกรธแค้นผู้เสียหายหาใช่ว่าจะมีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้เสียหายมาแต่แรกไม่การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา296ไม่ได้คงลงโทษได้ตามมาตรา295เท่านั้นและจำเลยยังมีความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามมาตรา335(1)วรรคแรกด้วยแม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธตามมาตรา340วรรคสองเพียงกระทงเดียวศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นตามมาตรา295ประกอบด้วยมาตรา83กระทงหนึ่งและฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามมาตรา335(1)วรรคแรกอีกกระทงหนึ่งซึ่งมีโทษเบากว่าข้อหาฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192
ในชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ว่าหลังจากมีเรื่องชกต่อยกับผู้เสียหายเมื่อเวลา22.30น.แล้วจำเลยขับรถกลับบ้านและไม่ได้ออกไปไหนอีกซึ่งเหตุการณ์ตอนนี้สิ้นสุดลงแล้วจำเลยจะมาฎีกาโต้แย้งว่าคืนเกิดเหตุเวลา0.30น.จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยบันดาลโทสะเพราะผู้เสียหายเหยียดหยามศักดิ์ศรีจำเลยโดยพา ห. เข้าบังกะโลเพื่อข่มขืนกระทำชำเราหาได้ไม่เพราะไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีอาญา เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์แล้ว
เมื่อความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตยังไม่ถึงที่สุดเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาก่อน หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ก็เป็นเพียงพิพากษาแก้บทลงโทษความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน โดยเห็นว่าการกระทำผิดของจำเลยฐานนี้ขาดอายุความแล้วจึงลงโทษจำเลยไม่ได้เท่านั้น ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตนั่นเอง ความผิดฐานนี้ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ซึ่งถึงที่สุดได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานผู้เห็นเหตุการณ์ โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและระยะเวลาในการเกิดเหตุ
แม้ขณะเกิดเหตุจะเป็นเวลาดึกสงัดและมีฝนตกพรำ ๆ แต่ที่เกิดเหตุอยู่บนถนนที่ใช้สำหรับสัญจร ตามสภาพย่อมเป็นที่โล่งผู้เสียหายที่ 2 สามารถเห็นจำเลยได้โดยอาศัยแสงสว่างจากไฟหน้ารถจักรยานยนต์ ทั้งในคืนเกิดเหตุมีแสงจันทร์มองเห็นได้ชัดในระยะเมตรเศษและผู้เสียหายที่ 2 มิได้ถูกบังคับให้นอนคว่ำหน้าคงอุ้มบุตรนั่งดูคนร้ายขณะปลดทรัพย์สินของผู้เสียหายทั้งสอง จากพฤติการณ์ของคนร้ายที่เข้ามาจับแฮนด์รถจักรยานยนต์ ใช้อาวุธปืนและมีดจี้ผู้เสียหายทั้งสองปลดเอาทรัพย์สินไป ทั้งใช้ผ้าขาวม้ามัดผู้เสียหายทั้งสองก่อนจะขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีไปคนร้ายต้องเข้ามาประชิดอยู่ใกล้ ๆ กับผู้เสียหายทั้งสองและใช้เวลานานพอสมควร โอกาสที่ผู้เสียหายที่ 2 จะเห็นและจำหน้าคนร้ายได้ย่อมมีมาก โดยเฉพาะผู้เสียหายที่ 2 รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงย่อมสามารถสังเกตและจดจำจำเลยได้โดยง่ายและแม่นยำแม้ว่าจำเลยจะสวมหมวกไหมพรมแบบไอ้โม่งชนิดที่เห็นตาก็ตาม แต่สภาพของหมวกดังกล่าวเมื่อมีช่องให้ตามองเห็น ย่อมทำให้มีช่องว่างให้เห็นหน้าบางส่วน ทั้งหลังเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 2 ก็บอกผู้เสียหายที่ 1 ทันทีว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมปล้นทรัพย์ จากนั้นยังไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟังอีกว่าคนร้ายคือจำเลย และในวันรุ่งขึ้นก็ไปร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยเป็นคนร้าย เมื่อจับจำเลยได้แล้วยังชี้ตัวยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมปล้นทรัพย์ เมื่อผู้เสียหายที่ 2รู้จักจำเลยเป็นอย่างดีโดยเป็นญาติกันและไม่ปรากฏว่าเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนย่อมไม่มีเหตุน่าระแวงสงสัยว่าจะมีเวลาคิดเสริมแต่งเรื่องขึ้นมาทันทีหลังเกิดเหตุเพียงเล็กน้อยว่าจำได้ว่าจำเลยเป็นคนร้าย ทั้งไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องเบิกความปรักปรำใส่ร้ายจำเลยซึ่งเป็นญาติกันโดยไม่มีมูลความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8760/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าสินไหมทดแทน เมื่อทรัพย์สินส่วนหนึ่งถูกส่งคืนแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอให้จำเลยคืนรถจักรยานยนต์และเสื้อยืดที่ถูกปล้นไปหรือใช้ราคาแทนแก่ผู้เสียหาย เมื่อได้ฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องจริงและได้ความว่าผู้เสียหายได้รับรถจักรยานยนต์ที่ถูกปล้นคืนไปแล้ว จำเลยจึงควรรับผิดคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เพียงเท่าที่ผู้เสียหายยังไม่ได้คืน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืนและการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ไม่ได้ใช้อาวุธปืน ศาลพิจารณาโทษฐานปล้นทรัพย์และหน่วงเหนี่ยวกักขัง
ป.อ. มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ส่วนจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 3 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผูกข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ และคดีได้ความว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้ว ระหว่างทางจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้เสียหายหยุดรถและเปลี่ยนไปนั่งตอนกลางเบาะ จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ขับรถต่อมาไม่ห่างจากจุดแรกเท่าใดนักแล้วเลี้ยวเข้าไปข้างทาง จำเลยทั้งสามได้นำผู้เสียหายลงจากรถยนต์ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดผู้เสียหายไขว้หลัง ใช้กระดาษกาวปิดปากและคุมตัวเข้าไปในป่า จำเลยที่ 3 ใช้เชือกมัดมือเท้าผู้เสียหายติดกับต้นไม้ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดลำตัวติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป จากนั้นพากันขับรถยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไปและให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง จึงหาใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่งต่างหากไม่ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายในระหว่างทำการปล้นทรัพย์ก็หาใช่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี , 83 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83
of 40