พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์โดยใช้กำลังและความร่วมมือ จำเลยมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
รถคู่กรณีทั้งสองคันจอดติดสัญญาณไฟจราจรสีแดง แต่จำเลยที่ 1กลับขับรถชนท้ายรถผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายลงจากรถมาเจรจา ต่อมาผู้เสียหายเผลอ จำเลยที่ 2 ขึ้นรถของผู้เสียหายจะขับหลบหนีไป เมื่อผู้เสียหายได้ร้องห้าม กลับขับรถพุ่งเข้าใส่ผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งให้จำเลยที่ 2นำรถของผู้เสียหายไป เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถของผู้เสียหายได้ห่างจากที่เกิดเหตุหลายร้อยเมตร จึงเป็นการเอาทรัพย์ไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้มือตีแขนและคอของผู้เสียหายขณะผู้เสียหายพยายามจะหยุดรถที่จำเลยที่ 1 ขับตามจำเลยที่ 2ไป เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อให้ความสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 3 นั่งรถมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตั้งแต่ต้น ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 อยู่ด้วยตลอดเวลา แสดงว่าจำเลยที่ 3 ทราบการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาโดยตลอด และหลังเกิดเหตุก็หลบหนีไปด้วยกันเชื่อว่ามีการวางแผนร่วมกันมาก่อน และเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับพวก จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 3 นั่งรถมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตั้งแต่ต้น ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 อยู่ด้วยตลอดเวลา แสดงว่าจำเลยที่ 3 ทราบการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาโดยตลอด และหลังเกิดเหตุก็หลบหนีไปด้วยกันเชื่อว่ามีการวางแผนร่วมกันมาก่อน และเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับพวก จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หลักฐานการใช้ยาไดอาซีแพมเป็นเหตุปล้นทรัพย์: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ยาไดอาซีแพม ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภทที่ 4ปลอมปนใส่ในเครื่องดื่มนมเปรี้ยวยี่ห้อยาคูลท์ให้ผู้เสียหายกับ ซ. ดื่มเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหมดสติอยู่ในภาวะขัดขืนไม่ได้ แล้วพวกของจำเลยได้เอาสร้อยพลอย91 เส้น ของผู้เสียหายไป แม้จะตรวจพบยาไดอาซีแพมในขวดเครื่องดื่มนมเปรี้ยวก็ตาม แต่หลังเกิดเหตุ 3 ชั่วโมง ได้ตรวจปัสสาวะของผู้เสียหายกับ ซ. ไม่พบยานอนหลับซึ่งเป็นยาระงับประสาทกลุ่มเบนโซไดอะซีฟิน หรือกลุ่มยากระตุ้นประสาทหรือระงับประสาทอื่น ๆ แสดงว่าขณะเกิดเหตุบุคคลทั้งสองมิได้ดื่มเครื่องดื่มนมเปรี้ยวยี่ห้อยาคูลท์ที่มียาไดอาซีแพมปลอมปนเพราะยาไดอาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์อย่างหนึ่งในกลุ่มของเบนโซไดอะซีฟิน หากอยู่ในร่างกายมนุษย์แล้วจะมีตัวยาซึมอยู่ในร่างกายประมาณ 3 ถึง 4 วัน และสามารถตรวจสอบปัสสาวะได้ ประกอบกับโจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายกับ ซ. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริง คงมีเฉพาะคำให้การชั้นสอบสวนของบุคคลทั้งสองและคำให้การรับสารภาพของจำเลยทั้งสองในชั้นจับกุมเท่านั้น พยานโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย ไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8946/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการปล้นทรัพย์ – อายุความความผิดฐานทำร้ายร่างกาย – ศาลยกฟ้อง
การที่พวกของจำเลยได้กระชากสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ไปในระหว่างที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง เป็นเจตนาทุจริตของพวกจำเลยที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำร้ายเฉพาะหน้าจำเลยอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยจำเลยไม่คาดคิดมาก่อน และไม่ทราบว่าพวกของจำเลยมีอาวุธมีดที่ใช้ฟันผู้เสียหายที่ 2 ติดตัวมาด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นในการกระทำของพวกจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ร่วมมีเจตนาทุจริตกับพวกจำเลยด้วย จำเลยไม่ต้องรับผลในการกระทำของพวกจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 โดยบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยกับพวกใช้กำลังชกต่อยผู้เสียหายทั้งสอง แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แต่เนื่องจากความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าไม่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันกระทำผิด คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อคดีนี้จำเลยกระทำผิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 โดยบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยกับพวกใช้กำลังชกต่อยผู้เสียหายทั้งสอง แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แต่เนื่องจากความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าไม่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันกระทำผิด คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อคดีนี้จำเลยกระทำผิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ในเวลากลางคืนและพยานหลักฐานที่ไม่ชัดเจนเพียงพอต่อการลงโทษ
เหตุเกิดในเวลากลางคืน คนร้ายอยู่รวมกลุ่มจำนวนมากถึง 5 คน ซึ่งพยานทั้งสองไม่เคยเห็นหน้าคนร้ายมาก่อน แม้จะมีแสงสว่างจากไฟฟ้าชนิดโคมกลมที่มีแสงสีขาวคล้ายแสงจากหลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์ก็ตาม แต่โคมไฟดังกล่าวอยู่เยื้องไปด้านหลังและด้านข้างของกลุ่มคนร้าย ทั้งเหตุการณ์ขณะที่กลุ่มคนร้ายอยู่บริเวณขอบสระน้ำก็อยู่ในสภาวะของการใช้ขวดสุรากับไม้ขว้างปาซึ่งพยานทั้งสองต้องคอยหลบหลีกอาวุธดังกล่าวและขณะที่กลุ่มคนร้ายตามลงไปทำร้ายผู้เสียหายในสระน้ำแล้วจับหน้าผู้เสียหายกดน้ำจนผู้เสียหายดิ้นนั้น ก็เป็นเวลาที่สั้นและอยู่ในสภาวะชุลมุนและน่าตกใจกลัว ย่อมทำให้โอกาสและความสามารถของพยานทั้งสองที่จะสังเกตและจดจำหน้าคนร้ายทั้ง 5 คน ได้อย่างแม่นยำน่าจะเป็นไปได้น้อยมาก ประกอบกับพยานทั้งสองไม่ได้แจ้งลักษณะรูปพรรณของคนร้ายให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบหลังเกิดเหตุแต่อย่างใดและผู้เสียหายชี้ตัว ป. ที่ถูกจับในคืนเกิดเหตุก็โดยอาศัยเสื้อผ้า ป. ที่เปียกน้ำ นอกจากนี้การที่ร้อยตำรวจเอก ส. เบิกความว่าผู้เสียหายดูรูปถ่ายจำเลยกับ จ. แล้วยืนยันว่าเป็นคนร้าย แต่ผู้เสียหายไม่ได้เบิกความถึงเลยว่าได้ดูรูปถ่ายจำเลย พยานโจทก์จึงไม่สอดคล้องต้องกัน ส่วนการที่พยานทั้งสองชี้ตัวและชี้รูปถ่ายจำเลยได้ถูกต้องภายหลังจำเลยถูกจับเป็นเวลานานถึง 9 เดือน หลังเกิดเหตุก็น่าระแวงสงสัยเช่นกันว่าพยานทั้งสองจะจำหน้าจำเลยได้แม่นยำจริงหรือไม่ ดังนั้น การจับและกล่าวหาจำเลยจึงสืบเนื่องมาจากคำซัดทอดของ ป. ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะข้อเท็จจริงรับฟังยุติแล้วว่าจำเลยมิได้เป็นคนร้ายปล้นทรัพย์ โจทก์คงมีเพียงพยานบอกเล่าคือสำเนาบันทึกการจับกุม บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหาย แต่พยานดังกล่าวได้มาโดยไม่ชอบ เพราะเจ้าพนักงานตำรวจนำกระดาษเปล่ามาให้จำเลยเซ็น พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหายหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร แม้ไม่ได้ฟ้อง แต่ศาลลงโทษได้ หากข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องเพียงเล็กน้อย
อ. กับพวกบังคับให้ผู้เสียหายถอดทรัพย์สินต่าง ๆ ให้โดยพวกคนร้ายจับผู้เสียหายไว้ อ. บอกผู้เสียหายว่า ลูกพี่ใหญ่ของตนมาแล้ว จากนั้นประมาณ 10 นาที จำเลยขับรถจักรยานยนต์ มาที่เกิดเหตุ พูดคุยกับ อ. อ. เล่าเรื่องให้จำเลยฟังจำเลยถามผู้เสียหายว่าบ้านอยู่ที่ไหน จำเลยเอาทรัพย์สิน ของผู้เสียหายไป และมอบแหวนของผู้เสียหายให้ อ. สวมไว้ แล้วจำเลยขับรถออกไป จึงไม่แจ้งชัดว่าจำเลยสมคบกับอ. และพวกวางแผนเพื่อตระเตรียมการมาเพื่อปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย กับจำเลยมาที่เกิดเหตุหลังจากการปล้นทรัพย์สำเร็จและขาดตอนไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยร่วมกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันถึงถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมปล้นทรัพย์ แต่การที่ จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยมีความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ แต่กรณีถือได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แต่มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสารสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำเลยร่วมกระทำความผิดอาญาอาศัยพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายและท่าทางประกอบคำรับสารภาพ
ที่เหตุเกิดเป็นทางสัญจรและเป็นถนนสายหลักสายสำคัญ จึงน่าเชื่อว่าเวลา 1 นาฬิกา ยังมีรถแล่นอยู่และต้อง เปิดไฟสว่างแล่นสวนกันไปมา เชื่อว่าผู้เสียหายกับ ส. ต้องเห็นและจำคนร้ายได้ถนัดโดยเฉพาะคนร้ายที่ไม่ได้ สวมหมวกนิรภัย นอกจากนี้หลังเกิดเหตุผู้เสียหายกับ ส. ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบถึงลักษณะของคนร้าย เมื่อจับคนร้ายได้ผู้เสียหายกับ ส. ไปดูตัวและยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ใช้มีดฟันสายรัดกระเป๋าเสื้อผ้า กับจำเลยที่ 3 เป็นคนร้ายที่ใช้ไขควงจี้คุมผู้เสียหายกับ ส. ทั้งจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนและนำชี้ ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ แม้จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่า คำให้การรับสารภาพเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจข่มขู่และ ทำร้ายก็ตาม แต่ได้ความว่าในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การรับสารภาพ ส่วนผู้ต้องหาอื่นอีก 4 คน ให้การปฏิเสธ ถ้ามีการข่ม ขู่หรือทำร้ายจริงเหตุใดเจ้าพนักงานตำรวจ จึงบังคับแต่เพียงจำเลยที่ 3 ไม่บังคับบุคคลที่ให้การปฏิเสธ ดังกล่าวให้ให้การรับสารภาพด้วย พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำความผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันปล้นทรัพย์: พยานหลักฐานยืนยันตัวผู้กระทำผิดจากคำเบิกความผู้เสียหายและการชี้ตัว
ขณะเกิดเหตุในบ้าน มีไฟนีออนเปิดสว่างอยู่ 6 ดวง ผู้เสียหายทั้งแปด และ ม. ก็อยู่ที่บ้านเห็นจำเลยที่ 1 กับพวกอีกคนหนึ่งถืออาวุธปืนสั้นเข้ามาในบ้านโดยมีพวก อีก 2 คน อยู่นอกบ้าน บังคับเอาทรัพย์จากผู้เสียหายทั้งแปดไป เชื่อว่าเป็นความจริง เพราะพยานแต่ละคนมีโอกาสเห็น จำเลยที่ 1 เป็นเวลานาน เมื่อจับจำเลยที่ 1 ได้ และจัดให้มีการชี้ตัวคนร้ายพยานทั้งหมดดังกล่าว ก็ชี้ได้ถูกต้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายคนหนึ่งที่ ร่วมปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปติดตาม เอาโทรทัศน์ กบไฟฟ้า และสร้อยคอทองคำ ของผู้เสียหาย จากผู้รับของดังกล่าวมาเป็นของกลาง นอกจากนั้นยังให้การ รับสารภาพในชั้นสอบสวน อันสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายจริง เมื่อพยานโจทก์ทุกคนไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 1 มาก่อน เชื่อว่าทุกคนได้เบิกความตามสัตย์จริงหาได้แกล้งกล่าวหา จำเลยที่ 1 ไม่ พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายร่วมปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในฐานตัวการ ผู้สนับสนุน และการปรับบทลงโทษในความผิดพยายามปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คน ตาม ป.อ.มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คนลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวกภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ.มาตรา 340 ตรี ด้วยมิได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คน ตาม ป.อ.มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คนลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวกภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ.มาตรา 340 ตรี ด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามปล้นทรัพย์, สนับสนุนความผิด, มีอาวุธปืน, วิทยุคมนาคม, และบทลงโทษ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายาม ปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86 และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวก ภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐาน พยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจรต้องมีทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด หากไม่มีทรัพย์ที่ได้มาโดยตรงจากความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ไม่ถือว่ามีความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานปล้นทรัพย์หรือรับของโจรเงินตราต่างประเทศของผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์และรูปคดีมีความสงสัยตามสมควรว่าธนบัตรเงินตราต่างประเทศที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดจากจำเลยที่ 1 เป็นของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายปล้นไปหรือไม่จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 1 ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานรับของโจร ส่วนทรัพย์ของกลางตามฟ้องที่เจ้าพนักงานตำรวจยึด มาจากจำเลยที่ 2 เมื่อไม่มีเงินตราต่างประเทศของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายปล้นไปรวมอยู่ด้วย ทรัพย์ของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้โจทก์จะฎีกาว่า ของกลางเหล่านั้นอันได้แก่ สร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท จำนวน 1 เส้นพร้อมพระเครื่องเลี่ยมทองคำจำนวน 1 องค์ เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 นำเงินที่ได้รับจากส่วนแบ่งปล้นทรัพย์รายนี้ไปซื้อมา ส่วนธนบัตรสกุลเงินบาทก็เป็นเงินส่วนแบ่งที่จำเลยที่ 2 ได้รับมาและยังคงเหลืออยู่ก็ตามแต่ของกลางดังกล่าวเมื่อมิใช่ทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จึงไม่มีทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร จำเลยที่ 2ย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจรเช่นกัน