พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีประเด็นสัญญาจ้างและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ค่าเสียหายตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงานการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่าพนักงานทดลองงานและคำว่าพนักงานสัญญาจ้างในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่มิใช่เป็นการทดลองงานเป็นการวินิจฉัยคดีตรงตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่แล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นลูกจ้าง: พิจารณาปัจจัยหลายด้านเพื่อวินิจฉัยสัญญาจ้างแรงงาน
การวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงหลายอย่างประกอบกัน เช่น ใครเป็นผู้ตกลง รับโจทก์เข้าทำงานในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องพิจารณาว่าผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานนั้น เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือไม่ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้นทำในนามนิติบุคคลหรือในฐานะส่วนตัว งานที่ทำนั้นเป็นของใคร การทำงานของโจทก์มีอิสระหรือต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร ใครเป็นผู้จ่ายเงินแก่โจทก์ อะไรบ้าง จำนวนแน่นอนหรือไม่กำหนดจ่ายเมื่อใด และจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานหรือเพื่อตอบแทนผลสำเร็จของงาน
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเป็นลูกจ้างต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงหลายด้านประกอบกัน
การวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงหลายอย่างประกอบกัน เช่น ใครเป็นผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องพิจารณาว่าผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานนั้น เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือไม่ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้นทำในนามนิติบุคคลหรือในฐานะส่วนตัว งานที่ทำนั้นเป็นของใคร การทำงานของโจทก์มีอิสระหรือต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร ใครเป็นผู้จ่ายเงินแก่โจทก์ อะไรบ้าง จำนวนแน่นอนหรือไม่ กำหนดจ่ายเมื่อใด และจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานหรือเพื่อตอบแทนผลสำเร็จของงาน
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อพิสูจน์การจ่ายเงินและตรวจสอบความชัดเจนของอุทธรณ์
ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้รับเงินเดือน48,400 บาท ค่ารับรอง-ของขวัญ 5,000 บาท และค่าตอบแทนอื่น ๆ30,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินค่ารับรอง-ของขวัญและเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ ให้แก่โจทก์ด้วยเหตุใด เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ จึงไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ว่า ค่ารับรองของขวัญและค่าตอบแทนอื่น ๆ ดังกล่าวเป็น ค่าจ้างหรือไม่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานพิจารณา และวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อน ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลย เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิด จากการถูกบุคคลอื่น ดูหมิ่นเหยียดหยาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและ เสียประวัติการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายส่วนที่ ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้น จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหาย จากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้อง อย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการกำหนดค่าเสียหาย ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้รับเงินเดือน48,400 บาท ค่ารับรอง-ของขวัญ 5,000 บาท และค่าตอบแทนอื่น ๆ 30,000 บาทแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินค่ารับรอง-ของขวัญ และเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ ให้แก่โจทก์ด้วยเหตุใด เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ จึงไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ว่า ค่ารับรองของขวัญและค่าตอบแทนอื่น ๆ ดังกล่าวเป็นค่าจ้างหรือไม่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานพิจารณาและวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อน
ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิดจากการถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเหยียดหยาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและเสียประวัติการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายส่วนที่ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้นจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิดจากการถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเหยียดหยาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและเสียประวัติการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายส่วนที่ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้นจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างผสม, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งในคดีแรงงาน
ข้อเท็จจริงในสำนวนในชั้นฎีกามีเพียงว่า โจทก์ได้รับเงินเดือน48,400 บาท ค่ารับรอง-ของขวัญ 5,000 บาท และค่าตอบแทนอื่น ๆ30,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินค่ารับรอง-ของขวัญ และเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ ให้แก่โจทก์ด้วยเหตุใด เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ว่าค่ารับรองของขวัญและค่าตอบแทนอื่น ๆ ดังกล่าวเป็นค่าจ้างหรือไม่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานพิจารณาและวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อน
ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิดจากการถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเหยียดหยามเสื่อมเสียชื่อเสียงและเสียประวัติการทำงานการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ค่าเสียหายส่วนที่ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้น จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่า ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31
ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิดจากการถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเหยียดหยามเสื่อมเสียชื่อเสียงและเสียประวัติการทำงานการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ค่าเสียหายส่วนที่ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้น จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่า ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยต้องนำสืบพยานหลักฐาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่า วันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากจำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้อำนาจนาย ส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาตัดสินคดี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย
ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้อำนาจนาย ส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาตัดสินคดี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อนและผลของการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีแรงงาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จาก จำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้ อำนาจนายส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัย คำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏ ในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริง นอกสำนวนมาตัดสินคดี เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏ เพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงาน ฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานที่ไม่เปิดเผยก่อนสืบพยาน และการให้เหตุผลที่ไม่ชัดเจนในการวินิจฉัยคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของ จำเลยที่สะสมไว้ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า เงินกองทุนเลี้ยงชีพที่โจทก์ฟ้อง จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ ครบถ้วนแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้จ่าย เงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพ ในส่วนของจำเลยอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ ของจำเลย ย่อมเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงาน และให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าว ข้างต้นใหม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินโบนัสจากจำเลยในปี 2540 ส่วนที่ขาดอีก ครึ่งหนึ่งของเงินโบนัสคิดเท่าเงินเดือนของโจทก์จำนวน 2.65 เดือน เป็นเงิน 40,582 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยการปลดออกจากงานฐานทุจริต ต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิ เรียกเงินโบนัสจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทต้อง วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสเนื่องจากโจทก์ถูกปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ การที่ ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 จึงทำงานไม่ครบปีหรือตามเกณฑ์ ที่จำเลยกำหนด โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสครึ่งปีหลัง ของปี 2540 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ เป็นการมิชอบ ศาลแรงงานจำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็น ดังกล่าวข้างต้นใหม่เช่นเดียวกัน ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง ที่สมบูรณ์ การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งให้กระทำได้ภายในระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนด ตามที่เห็นสมควร แม้คดีนี้จำเลยสืบพยานบุคคลปาก อ. โดยยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้วและศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การ ของอ.ที่เบิกความถึงเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งศาลแรงงานได้รับเอกสารดังกล่าวที่จำเลยอ้างส่งศาล และหมายเอกสาร ดังกล่าวไว้แล้วระบุเอกสารให้แยกเก็บ โดยจำเลยนำสืบพยาน เอกสารดังกล่าวโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยาน ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม แต่การที่ศาลแรงงานรับเอกสาร ดังกล่าวไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษา แสดงว่า ศาลแรงงานเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟัง เอกสารหมาย ล.7 โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณา คดีแรงงานโดยเฉพาะ เช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.7 จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สิน ของลูกค้าจำเลย โจทก์ได้เรียกและรับเงินจากลูกค้า โดยไม่มีสิทธิ การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่หาประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่นอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลย อย่างร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ ย่อมเห็นได้ว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยกล่าวอ้างสาเหตุว่าโจทก์กระทำการเรียกและรับเงินจากลูกค้าโดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง ถือได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งได้อ้างสาเหตุแห่งการเลิกจ้างครบถ้วนแล้ว ส่วนการที่ โจทก์เรียกเงินจากลูกค้ารายใด โจทก์รับเงินอย่างใด จำนวน กี่ราย เป็นรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณา คำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงไม่เป็นคำให้การที่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับเงินกองทุนเลี้ยงชีพและโบนัส จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นตามที่จำเลยให้การไว้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยที่สะสมไว้ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าเงินกองทุนเลี้ยงชีพที่โจทก์ฟ้อง จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้จ่ายเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลย อันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การของจำเลย ย่อมเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงาน และให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าว ข้างต้นใหม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินโบนัสจากจำเลยในปี 2540ส่วนที่ขาดอีกครึ่งหนึ่งของเงินโบนัสคิดเท่าเงินเดือนของโจทก์จำนวน 2.65 เดือน เป็นเงิน 40,582 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยการ ปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการเลิกจ้าง ที่เป็นธรรมแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินโบนัสจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิ ได้รับเงินโบนัสเนื่องจากโจทก์ถูกปลดออกจากงานฐานทุจริต ต่อ หน้าที่หรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 จึงทำงานไม่ครบปีหรือตามเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงิน โบนัสครึ่งปีหลังของปี 2540 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ตามคำให้การ เป็นการมิชอบ ศาลแรงงานจำต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่เช่นเดียวกัน ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้กระทำได้ภายในระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนดตามที่เห็นสมควร แม้คดีนี้จำเลยสืบพยานบุคคลปาก อ.โดยยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของ อ.ที่เบิกความถึงเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งศาลแรงงานได้รับเอกสารดังกล่าวที่จำเลยอ้างส่งศาลและหมายเอกสารดังกล่าวไว้แล้วระบุเอกสารให้แยกเก็บ โดยจำเลยนำสืบพยานเอกสารดังกล่าว โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม แต่การที่ศาลแรงงานรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย ล.7 และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษา แสดงว่า ศาลแรงงานเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่ จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล.7 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะการที่ศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.7 จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สิน ของลูกค้าจำเลย โจทก์ได้เรียกและรับเงินจากลูกค้าโดย ไม่มีสิทธิ การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่หาประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่น อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่ง ของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ จะเห็นได้ว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ โดยกล่าวอ้างสาเหตุว่าโจทก์กระทำการเรียกและรับเงิน จากลูกค้าโดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรงถือได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งว่า จำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งได้อ้างสาเหตุ แห่งการเลิกจ้างครบถ้วนแล้ว ส่วนการที่โจทก์เรียกเงิน จากลูกค้ารายใด โจทก์รับเงินอย่างใด จำนวนกี่ราย เป็นรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณา คำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย