คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดตามประกาศบริษัท และการแก้ไขข้อบังคับที่ไม่เป็นโทษ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัทส.ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้นกำหนดห้ามลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงานนายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้วแต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องกำหนดห้ามลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันถึงขั้นชกต่อยตบตีทำร้ายร่างกายกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างไม่ดังนั้นประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตามเพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานได้กำหนดถึงข้อบังคับดังกล่าวว่าอาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอนั้นหมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้างเมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้ายร. ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา56วรรคสองการกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องกรณีจึงมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8133-8135/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงานที่ไม่ครบถ้วน การไม่รับฟังพยานหลักฐานสำคัญ ทำให้คำพิพากษาศาลแรงงานไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันอ้างคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยเอกสารและม้วนวีดีโอเทปของสำนวนคดีหมายเลขแดงที่1248-1256/2538ของศาลแรงงานกลางเป็นพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยในคดีนี้แต่คำพิพากษาของศาลแรงงานได้หยิบยกเฉพาะคำเบิกความของพยานโจทก์พยานจำเลยและเอกสารในสำนวนคดีหมายเลขแดงที่1248-1256/2538ขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทั้งสามไม่ได้กระทำผิดดังที่จำเลยกล่าวอ้างโดยมิได้หยิบยกม้วนวีดีโอนเทปซึ่งเป็นวัตถุพยานในสำนวนคดีหมายเลขแดงที่1248-1256/2538ที่โจทก์ทั้งสามและจำเลยอ้างเป็นพยานขึ้นมาวินิจฉัยด้วยทั้งไม่ปรากฏว่าม้วนวีดีโอเทปที่โจทก์ทั้งสามและจำเลยได้อ้างเป็นพยานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่ต้องห้ามหรือรับฟังไม่ได้โดยประการอื่นหรือว่าพยานหลักฐานเท่าที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมาแล้วนั้นเป็นการเพียงพอให้ฟังเป็นยุติแล้วแต่อย่างใดคำวินิจฉัยของศาลแรงงานจึงเป็นการไม่ชอบด้วยการพิจารณาว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานชอบที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงใหม่โดยรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยอ้างให้ครบถ้วนแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6684/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการไต่สวนสัญญาจำนำประกันหนี้ ศาลต้องไต่สวนสืบพยานให้ครบถ้วนก่อนมีคำสั่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนการบังคับคดี เพิกถอนการยึด และมีคำสั่งให้ปล่อยเงินที่ยึดจำนวน 2,400,200 บาท กับขอให้ไต่สวนข้อโต้แย้งและการปฏิเสธส่งเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้องซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเงินฝากประจำศาลแพ่งสั่งอายัดชั่วคราวไว้ และบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าว จำเลยได้จำนำประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้อง และจำเลยมีหนังสือยินยอมให้หักเงินในบัญชีชำระหนี้ผู้ร้องได้ ดังนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินฝากคืนจากผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดอันเป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแรงงานออกหมายบังคับคดีและดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ผู้ร้องเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลแรงงานจะต้องไต่สวนตามที่เห็นสมควรแล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้น แต่ในการไต่สวนศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว และผู้ร้องส่งอ้างเอกสารเป็นพยานแล้วศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้นำสืบพยานบุคคลประกอบว่าการจำนำตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวของจำเลยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอย่างไร ผู้ร้องจึงไม่ยอมส่งเงินตามที่ศาลสั่งอายัด สำหรับฝ่ายโจทก์ซึ่งคัดค้านเข้ามา ก็ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามว่ายอมรับข้อเท็จจริงข้อไหนอย่างไร ที่ผู้ร้องอ้างมาบ้าง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้มาจากการสอบถามกับเอกสารที่ผู้ร้องส่งอ้างเป็นพยานก็ดีและข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานก็ดี ยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลฎีกาในปัญหาว่าที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินอายัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 311ประกอบด้วยมาตรา 312 วรรคหนึ่ง เพราะจะต้องไต่สวนและเห็นว่าเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริงก่อนมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินตามที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไปหรือไม่ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนี้ที่เรียกร้องไม่มีอยู่จริง การออกหมายบังคับเอาแก่ผู้ร้องต่อมาจะเป็นการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นอันผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้ยกหมายบังคับคดีเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคแรก และวรรคสามประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงของคดีแรงงานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา56 ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานทำการพิจารณาสืบพยานในข้อที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำประกันหนี้ต่าง ๆ ที่จำเลยมีกับผู้ร้อง ตลอดถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำนำระหว่างผู้ร้องกับจำเลย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6684/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจากคำสั่งอายัดทรัพย์สิน จำเป็นต้องไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องสัญญาจำนำและสิทธิเรียกร้องอย่างละเอียดก่อน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนการบังคับคดีเพิกถอนการยึด และมีคำสั่งให้ปล่อยเงินที่ยึดจำนวน2,400,200 บาท กับขอให้ไต่สวนข้อโต้แย้งและการปฏิเสธส่งเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้องซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเงินฝากประจำศาลแพ่งสั่งอายัดชั่วคราวไว้ และบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าว จำเลยได้จำนำประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้อง และจำเลยมีหนังสือยินยอมให้หักเงินในบัญชีชำระหนี้ผู้ร้องได้ ดังนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินฝากคืนจากผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดอันเป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแรงงานออกหมายบังคับคดีและดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ผู้ร้องเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลแรงงานจะต้องไต่สวนตามที่เห็นสมควรแล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้นแต่ในการไต่สวนศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว และผู้ร้องส่งอ้างเอกสารเป็นพยานแล้วศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และมีคำสั่งยกคำร้องของ ผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้นำสืบพยานบุคคลประกอบว่าการจำนำตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวของจำเลยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอย่างไร ผู้ร้องจึงไม่ยอมส่งเงินตามที่ศาลสั่งอายัด สำหรับฝ่ายโจทก์ซึ่งคัดค้านเข้ามาก็ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามว่ายอมรับข้อเท็จจริงข้อไหนอย่างไร ที่ผู้ร้องอ้างมาบ้าง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้มาจากการสอบถามกับเอกสารที่ผู้ร้องส่งอ้าง เป็นพยานก็ดีและข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานก็ดี ยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลฎีกาในปัญหาว่าที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินอายัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 ประกอบด้วยมาตรา 312 วรรคหนึ่ง เพราะจะต้องไต่สวนและ เห็นว่าเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริงก่อนมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินตามที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไปหรือไม่ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนี้ที่เรียกร้องไม่มีอยู่จริง การออกหมายบังคับเอาแก่ผู้ร้องต่อมาจะเป็นการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นอันผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้ยก หมายบังคับคดีเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคแรกและวรรคสาม ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 หรือไม่ซึ่งศาลฎีกาไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงของคดีแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 56 ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานทำการพิจารณาสืบพยานในข้อที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำประกันหนี้ต่าง ๆ ที่จำเลยมีกับผู้ร้อง ตลอดถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำนำระหว่างผู้ร้องกับจำเลย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: คำวินิจฉัยศาลแรงงานขัดแย้งกัน ศาลฎีกาย้อนสำนวน
ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 2 ข้อ คือ ข้อ 1.โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ข้อ 2. โจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยหรือไม่โดยประเด็นข้อพิพาทที่ 1. ศาลแรงงานวินิจฉัยตอนต้นว่า โจทก์ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว แต่คำวินิจฉัยในตอนต่อมาที่ว่า การขัดคำสั่งของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณนั้น เป็นการฟังว่าโจทก์ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลแรงงานในประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 ดังกล่าวเป็นการฟังข้อเท็จจริงเป็นสองอย่างขัดแย้งกัน ศาลฎีกาจึงไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อกฎหมายของจำเลย เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเสียเองได้จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31, 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเนื่องจากคำวินิจฉัยขัดแย้งกันในประเด็นการฝ่าฝืนคำสั่ง และส่งให้พิจารณาใหม่
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาท ข้อ 1 ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหรือไม่แล้วได้วินิจฉัยในตอนต้นว่า โจทก์ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วแต่วินิจฉัยในตอนต่อมาว่าการขัดคำสั่งของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณเป็นการฟังว่าโจทก์ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของจำเลย คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการฟังข้อเท็จจริงเป็นสองอย่างขัดแย้งกัน จึงไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ศาลฎีกาจะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อกฎหมายเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานกลางฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายจึงชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การตีความผลของการจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง และขอบเขตของสิทธิประโยชน์เดิม
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 1.1 มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับเงินค่าจ้าง โดยอ้างว่ามีประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งได้แยกจ่ายค่าจ้างกับค่าครองชีพออกจากกันมาโดยตลอด และการจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายทุกครั้งซึ่งตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯก็ให้ปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงนี้และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนแล้วให้เป็นไปในอัตราและระบบเดิม อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ถึงการแปลความหมายของข้อความ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่าจำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือนส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือนหลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803-807/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จ: ศาลต้องอาศัยข้อเท็จจริงในสำนวน และสืบพยานเพิ่มเติมหากข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเฉพาะส่วนที่ขาดว่าจำเลยจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ไม่ครบเพราะไม่นำค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายให้มารวมเป็นฐานคำนวณบำเหน็จด้วย ขอให้จ่ายบำเหน็จส่วนที่ขาดตามจำนวนที่เรียกร้องดังนี้ เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้วจึงไม่เคลือบคลุม
ในสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณบำเหน็จเมื่อจำเลยไม่นำมารวมคำนวณจำเลยจึงจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ขาดไปเท่ากับค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับแต่ละเดือนคูณด้วยจำนวนปีที่โจทก์ทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243(2)ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803-807/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จต้องใช้ข้อมูลในสำนวน ศาลมิอาจวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน
จำเลยได้จ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์รับไปแล้วบางส่วน ซึ่งเป็นการจ่ายตามข้อบังคับของจำเลยที่มีอยู่ และจำเลยทราบถึงข้อบังคับดังกล่าวดีแล้ว เพียงแต่จำเลยไม่นำค่าครองชีพมารวมคำนวณบำเหน็จให้โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเฉพาะส่วนที่ขาดโดยตามฟ้องได้ระบุจำนวนค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือน และจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายขาดไป เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับในส่วนนี้พอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม ในสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณบำเหน็จ เมื่อจำเลยไม่นำมารวมคำนวณจำเลยจึงจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ขาดไปเท่ากับค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับแต่ละเดือนคูณด้วยจำนวนปีที่โจทก์ทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปว่า ตามข้อบังคับของจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จว่าอย่างไร และโจทก์จะได้รับบำเหน็จเพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803-807/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จจากข้อบังคับภายในองค์กร และการพิจารณาค่าครองชีพ
จำเลยได้ จ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์รับไปแล้วบางส่วน ซึ่ง เป็นการจ่ายตาม ข้อบังคับของจำเลยที่มีอยู่ และจำเลยทราบถึง ข้อบังคับดังกล่าวดี แล้ว เพียงแต่ จำเลยไม่นำค่าครองชีพมารวมคำนวณบำเหน็จให้โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยจ่ายบำเหน็จ เฉพาะ ส่วนที่ขาดโดย ตาม ฟ้องได้ ระบุจำนวนค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนและจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายขาดไป เป็นการบรรยายโดย แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับในส่วนนี้พอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม ในสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้อง นำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณบำเหน็จ เมื่อจำเลยไม่นำมารวมคำนวณจำเลยจึงจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ขาดไปเท่ากับค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับแต่ละเดือน คูณด้วย จำนวนปีที่โจทก์ทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดย อาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปว่า ตาม ข้อบังคับของจำเลยได้ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จว่าอย่างไร และโจทก์จะได้รับบำเหน็จเพียงใด.
of 11