พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,529 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำให้การขัดแย้งเดิม ไม่สร้างประเด็นใหม่ ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยไม่เคยขายให้โจทก์แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำให้การจำเลยในตอนหลังจึงขัดกับคำให้การตอนแรกเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดเป็นประเด็นไว้ก็ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงและการฟ้องเกิน 1 ปี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ด. บิดาจำเลย ต่อมาก่อน ด. จะถึงแก่ความตาย ด. ได้ขายให้โจทก์โดยการส่งมอบ โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตลอดมา จึงได้สิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ด. ไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อทำกินต่างดอกเบี้ย มิได้ครอบครองเพื่อตน หลังจาก ด. ถึงแก่ความตายโจทก์จำเลยฟ้องร้องกันเป็นคดีอาญาและต่างฝ่ายต่างถอนฟ้องไปแล้วจำเลยได้กลับเข้าครอบครองที่ดินพิพาท เพราะเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้นไม่เคยตกเป็นของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจมีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7411/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: การยอมรับอำนาจศาลโดยปริยายและการล่วงเลยเวลาโต้แย้ง
ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะพิจารณาพิพากษาหรือไม่ จำเลยให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ แต่ในชั้นชี้สองสถานศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้ง เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยก็มิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้งอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล จึงถือว่าล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหาตามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละข้อต่อสู้ในคดีครอบครองปรปักษ์ ผลต่อประเด็นข้อพิพาทและการพิจารณาของศาล
แม้คำให้การของจำเลยที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองและไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี ไม่มีอำนาจฟ้อง จะเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะขัดกับคำให้การในตอนแรกที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จึงไม่ทำให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ แต่ก็ต้องถือว่าคำให้การของจำเลยดังกล่าวมีอยู่หรือจำเลยได้ให้การไว้ ต่อมาในวันชี้สองสถานจำเลยได้แถลงขอสละข้อต่อสู้ที่ว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงต้องถือว่าคำให้การหรือข้อต่อสู้ของจำเลยในเรื่องดังกล่าวมิได้มีอยู่อีกต่อไป และประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยเป็นอันยุติ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ทำให้คำให้การของจำเลยที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ถูกแย่งการครอบครองและไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ และพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นดังกล่าวโดยไม่กำหนดข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทหลังสละข้อต่อสู้: ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามประเด็นเดิม
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ถูกแย่งการครอบครองและไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนภายใน 1 ปี จะขัดกับคำให้การในตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาจากผู้มีชื่อ ก็ต้องถือว่าคำให้การดังกล่าวมีอยู่ แต่ต่อมาในชั้นชี้สองสถานจำเลยขอสละข้อต่อสู้ที่ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่เสียแล้ว จึงต้องถือว่าคำให้การในเรื่องดังกล่าวมิได้มีอยู่อีกต่อไป ดังนี้ประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยเป็นอันยุติ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ทำให้คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและไม่ได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ และพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นดังกล่าว โดยไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงถูกต้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว กลับไปวินิจฉัยประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยซึ่งยุติไปแล้ว จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528-6531/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 บุกรุกเข้าไปในที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์และปลูกบ้านอยู่อาศัย ขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดิน ที่ปลูกบ้านของจำเลยแต่ละคนเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ละคนโดยการครอบครองปรปักษ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกเข้าไปสร้างบ้านแยกต่างหากจากกันตามที่จำเลยแต่ละคนโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสี่ขนย้ายบ้านเรือน ทรัพย์สิน และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดือนละ 300 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะขนย้ายดังกล่าวเสร็จสิ้น จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้ยกฟ้อง เมื่อทุนทรัพย์ตามฎีกาของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกินจำนวน 200,000 บาท แม้จำเลยทั้งสี่จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ก็ห้ามมิให้จำเลยแต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 มีจำนวนเพียง 44,000 บาท ไม่เกินจำนวน 50,000 บาท ห้ามมิให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3 ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยทั้งสี่ฎีกาในข้อกฎหมายว่า จำเลยทั้งสี่ให้การโดยชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดในคำให้การเพราะจำเลยทั้งสี่สามารถสืบเหตุแห่งการได้มาโดยไม่สุจริตของโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ คำให้การของจำเลยทั้งสี่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินในส่วนพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี จำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และจำเลยทั้งสี่ไม่อาจฎีกาโต้แย้งการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ แม้จะวินิจฉัยฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ให้ ก็ไม่มีผลทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่พิพาทและศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงในข้อดังกล่าวตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา แม้จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
นอกจากจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะแล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังระบุไว้ในแผนผังท้ายคำให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เท่ากับจำเลยทั้งสี่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ เพราะถ้าที่ดินส่วนที่พิพาทเป็นที่สาธารณะจำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่ได้ เพราะจำเลย ทั้งสี่ไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 ประกอบกับทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับว่า บ้านของจำเลยทั้งสี่อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์จริง และเจ้าหน้าที่ได้ทำแผนที่วิวาทและคำนวณเนื้อที่และตำแหน่งที่ตั้งบ้านถูกต้องตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่นำชี้จริง เช่นนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสี่ยกประเด็นนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คดีทั้งสี่สำนวนมีทุนทรัพย์พิพาทกันในแต่ละสำนวนแยกต่างหากจากกันได้ ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดแต่ละสำนวนเกินกว่าอัตราขั้นสูง ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. จึงไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็น สมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 มีจำนวนเพียง 44,000 บาท ไม่เกินจำนวน 50,000 บาท ห้ามมิให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3 ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยทั้งสี่ฎีกาในข้อกฎหมายว่า จำเลยทั้งสี่ให้การโดยชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดในคำให้การเพราะจำเลยทั้งสี่สามารถสืบเหตุแห่งการได้มาโดยไม่สุจริตของโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ คำให้การของจำเลยทั้งสี่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินในส่วนพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี จำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และจำเลยทั้งสี่ไม่อาจฎีกาโต้แย้งการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ แม้จะวินิจฉัยฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ให้ ก็ไม่มีผลทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่พิพาทและศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงในข้อดังกล่าวตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา แม้จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
นอกจากจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะแล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังระบุไว้ในแผนผังท้ายคำให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เท่ากับจำเลยทั้งสี่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ เพราะถ้าที่ดินส่วนที่พิพาทเป็นที่สาธารณะจำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่ได้ เพราะจำเลย ทั้งสี่ไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 ประกอบกับทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับว่า บ้านของจำเลยทั้งสี่อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์จริง และเจ้าหน้าที่ได้ทำแผนที่วิวาทและคำนวณเนื้อที่และตำแหน่งที่ตั้งบ้านถูกต้องตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่นำชี้จริง เช่นนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสี่ยกประเด็นนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คดีทั้งสี่สำนวนมีทุนทรัพย์พิพาทกันในแต่ละสำนวนแยกต่างหากจากกันได้ ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดแต่ละสำนวนเกินกว่าอัตราขั้นสูง ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. จึงไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็น สมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จากการกระทำโดยปราศจากอำนาจ และการแก้ไขดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
เมื่อศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าการโฆษณาในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ฉบับหน้าเหลืองภาษาอังกฤษเป็นการโฆษณาของบริษัทอื่นไม่ใช่ของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กระทำไปโดยปราศจากอำนาจ และจำเลยที่ 1 ไม่ให้สัตยาบัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีไว้ตั้งแต่แรกว่าไม่เคยมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ผลแห่งการวินิจฉัยดังกล่าวทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 มูลความแห่งคดีจึงมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ อันจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) มาใช้บังคับจึงนำเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ให้การต่อสู้ไว้มิได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2537 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จึงเป็นการพิพากษากำหนดดอกเบี้ยให้เกินไปกว่า ที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2537 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จึงเป็นการพิพากษากำหนดดอกเบี้ยให้เกินไปกว่า ที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: การแยกคดีอาญาและแพ่งจากคดีเดิมไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
แม้ปัญหาว่าการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการฟ้องซ้ำหรือไม่ จำเลยได้ขอสละข้อต่อสู้ดังกล่าวไปแล้วก็ตาม แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คดีก่อน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา ต่อมาศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญา โจทก์จึงถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญานั้นยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง การยื่นฟ้องคดีส่วนแพ่งดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นเพียงการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คดีก่อน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา ต่อมาศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญา โจทก์จึงถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญานั้นยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง การยื่นฟ้องคดีส่วนแพ่งดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นเพียงการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำให้การเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ โจทก์ขอรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน จำเลยคัดค้าน ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดสอบเขตและห้ามเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จากนั้นได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา เท่ากับจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ จากเจ้าของเดิม แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า หากฟังได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนานกว่า 10 แล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งตอนแรกซึ่งอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของจำเลยเพราะซื้อมา รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครองครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้นอกศาลของผู้ค้ำประกันและการยกฟ้องคดี การไต่สวนข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท
จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งหกเสร็จสิ้น ในวันนัดอ่าน คำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ไม่คัดค้าน แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แถลงคัดค้านว่าทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียเปรียบและยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกันในวงเงิน 400,000 บาท หากจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ชำระเงินให้โจทก์ 10,000,000 บาท จริง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมพ้นความรับผิดไปด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลและเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาให้ศาลไต่สวนเพื่อวินิจฉัยยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ไม่ได้ ทั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามคำคัดค้านของจำเลยที 2 และที่ 3 แล้ว ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว