พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,529 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043-3044/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การนำมาตรา 180 ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาและให้การด้วยวาจาศาลแรงงานตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ นัดสืบพยานจำเลย การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยาน ดังกล่าว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ก่อนวันนัดสืบพยานจำเลยไม่น้อยกว่า 7 วัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยื่น คำร้องขอแก้ไขคำให้การได้
ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาและให้การด้วยวาจาศาลแรงงานตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ นัดสืบพยานจำเลย การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยาน ดังกล่าว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ก่อนวันนัดสืบพยานจำเลยไม่น้อยกว่า 7 วัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยื่น คำร้องขอแก้ไขคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โอนโดยส่งมอบ สิทธิของผู้ทรงเช็ค การพิสูจน์ความสุจริต
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือโจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาทไว้ในครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็ค ตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท จำเลยผู้ลงลายมือชื่อในเช็คจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ตาม มาตรา 900 เช็คพิพาทสูญหายไปขณะเก็บไว้ในลิ้นชักหน้ารถยนต์ขณะนำรถยนต์ไปจอดที่บริเวณตลาดอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม2539 นั้น จำเลยก็มิได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและขออายัดเช็คพิพาทไว้โดยทันทีในวันนั้น กลับได้ความว่าจำเลยเพิ่งจะไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและขออายัดเช็คพิพาทที่ธนาคารในวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดการใช้เงินวันที่ 29 มกราคม2539 ทั้ง ๆ ที่วันเกิดเหตุที่จำเลยอ้างว่าเช็คพิพาทสูญหายไปนั้นจำเลยอยู่ที่อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นที่ตั้งของธนาคารตามเช็คพิพาทอยู่แล้ว จำเลยน่าจะแจ้งความและขออายัดเช็คเสียเลยในวันเกิดเหตุเพราะนอกจากเช็คพิพาทจะสูญหายไปแล้วยังมีเช็คอีกฉบับหนึ่งตามที่จำเลยอ้างซึ่งถึงกำหนดการใช้เงินแล้วสูญหายไปในคราวเดียวกันนั้นด้วย เพื่อธนาคารจะได้ระงับการจ่ายเงินตามเช็คที่ถึงกำหนดดังกล่าวได้ทันทีจำเลยจะได้ไม่เสียหาย แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลหนองโสน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ตำบลเดียวกันกับภูมิลำเนาของโจทก์และคนละจังหวัดกับที่เกิดเหตุที่อ้างว่าเช็คหาย กลับเพิ่งแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและขออายัดเช็คที่หายเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2539 ตามเอกสารหมาย ล.1 และ ล.2 อันเป็นพิรุธและเมื่อพิจารณาคำเบิกความของนายวิชัย การสุจริตสมุห์บัญชีธนาคารตามเช็คพิพาทพยานโจทก์ประกอบรายการบัญชีกระแสรายวันของจำเลยตามเอกสารหมาย ป.จ.3(ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี) ปรากฏว่าก่อนวันที่ 29 มกราคม 2539 ซึ่งเป็นวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดการใช้เงินจำเลยไม่มีเงินอยู่ในบัญชี โดยในวันที่ 29 มกราคม 2539นั้นเองจำเลยนำเงินเข้าบัญชีเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คพิพาทคือ 65,000 บาทแล้วจำเลยก็สั่งอายัดเช็คพิพาทต่อธนาคาร ครั้นวันรุ่งขึ้นจำเลยก็ถอนเงินออกจากบัญชีจำนวน 50,000 บาท วันถัดไปจำเลยก็ถอนเงินออกจากบัญชีอีก 15,000 บาทจนไม่มีเงินอยู่ในบัญชีของจำเลยเลย เสมือนเป็นการเตรียมการล่วงหน้าโดยการนำเงินเข้าบัญชีในวันเช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินเพื่อเป็นหลักฐานในการต่อสู้ว่ามีเงินในบัญชีพอจะจ่ายตามเช็คพิพาทได้และขออายัดเช็คพิพาทในวันนั้นแล้วก็ถอนเงินออกจากบัญชีหมดในสองวันต่อมา เจือสมกับทางนำสืบของโจทก์ที่ว่านางอนงค์นำเช็คพิพาทมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ซึ่งจำเลยก็ทราบว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คก่อนเช็คถึงกำหนดใช้เงินนางอนงค์แจ้งให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2539 เพราะจำเลยนำเงินเข้าบัญชีไม่ทันครั้นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่า มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่าเช็คหาย ตามเอกสารหมาย ป.จ.1 และป.จ.2 (ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี) ข้อนำสืบต่อสู้คดีของจำเลยเป็นพิรุธย่อมไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งได้รับประโยชน์จาก ป.พ.พ. มาตรา900 และมาตรา 904 ที่บัญญัติรับรองได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คให้แก่กันผู้ถือเช็คไว้ในครอบครองก็เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แล้ว และแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่ารับเช็คพิพาทมาจากจำเลย แต่โจทก์นำสืบว่ารับเช็คพิพาทมาจาก อ.ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์รับฟังไม่ได้ เพราะแม้โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าโจทก์รับเช็คพิพาทมาอย่างไร ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบเสียไป
โจทก์รับเช็คพิพาทมาโดยมิได้ให้ อ.ผู้โอนสลักหลังก็เนื่องจากเช็คพิพาทเป็นเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ซึ่งย่อมโอนไปเพียงส่งมอบให้แก่กัน การที่อ.จะไม่ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทหรือไม่ได้เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้นำสืบถึงเหตุแห่งความไม่สุจริตของโจทก์ดังกล่าวนั้น ยังไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือซึ่งสามารถโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คพิพาทเท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยว่าการโอนเช็คพิพาทดังกล่าวมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ดังนั้นหนี้ระหว่างจำเลยกับ อ.จะเป็นหนี้อะไรย่อมไม่เป็นสาระในการวินิจฉัยคดีนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คให้แก่กันผู้ถือเช็คไว้ในครอบครองก็เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แล้ว และแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่ารับเช็คพิพาทมาจากจำเลย แต่โจทก์นำสืบว่ารับเช็คพิพาทมาจาก อ.ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์รับฟังไม่ได้ เพราะแม้โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าโจทก์รับเช็คพิพาทมาอย่างไร ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบเสียไป
โจทก์รับเช็คพิพาทมาโดยมิได้ให้ อ.ผู้โอนสลักหลังก็เนื่องจากเช็คพิพาทเป็นเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ซึ่งย่อมโอนไปเพียงส่งมอบให้แก่กัน การที่อ.จะไม่ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทหรือไม่ได้เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้นำสืบถึงเหตุแห่งความไม่สุจริตของโจทก์ดังกล่าวนั้น ยังไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือซึ่งสามารถโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คพิพาทเท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยว่าการโอนเช็คพิพาทดังกล่าวมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ดังนั้นหนี้ระหว่างจำเลยกับ อ.จะเป็นหนี้อะไรย่อมไม่เป็นสาระในการวินิจฉัยคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ: สิทธิผู้ทรงเช็คจากการโอนโดยส่งมอบ แม้รับจากผู้อื่น
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาทไว้ใน ครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท จำเลยผู้ลงลายมือชื่อในเช็คจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตามมาตรา 900
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คให้แก่กันผู้ถือเช็คไว้ในครอบครองก็เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 แล้ว และแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่ารับเช็คพิพาทมาจากจำเลย แต่โจทก์นำสืบว่ารับ เช็คพิพาทมาจาก อ. ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์รับฟังไม่ได้ เพราะแม้ โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าโจทก์รับเช็คพิพาทมาอย่างไร ก็ไม่ทำให้สิทธิ ของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบเสียไป
โจทก์รับเช็คพิพาทมาโดยมิได้ให้ อ. ผู้โอนสลักหลังก็เนื่องจากเช็คพิพาทเป็นเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ซึ่งย่อมโอนไปเพียงส่งมอบให้แก่กัน การที่ อ. จะไม่ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทหรือไม่ได้เข้า เบิกความเป็นพยานโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้นำสืบถึงเหตุแห่งความไม่สุจริต ของโจทก์ดังกล่าวนั้น ยังไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือซึ่งสามารถโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คพิพาทเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยว่าการโอน เช็คพิพาทดังกล่าวมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ดังนั้นหนี้ระหว่างจำเลยกับ อ. จะเป็นหนี้อะไรย่อมไม่เป็นสาระในการวินิจฉัย
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คให้แก่กันผู้ถือเช็คไว้ในครอบครองก็เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 แล้ว และแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่ารับเช็คพิพาทมาจากจำเลย แต่โจทก์นำสืบว่ารับ เช็คพิพาทมาจาก อ. ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์รับฟังไม่ได้ เพราะแม้ โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าโจทก์รับเช็คพิพาทมาอย่างไร ก็ไม่ทำให้สิทธิ ของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบเสียไป
โจทก์รับเช็คพิพาทมาโดยมิได้ให้ อ. ผู้โอนสลักหลังก็เนื่องจากเช็คพิพาทเป็นเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ซึ่งย่อมโอนไปเพียงส่งมอบให้แก่กัน การที่ อ. จะไม่ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทหรือไม่ได้เข้า เบิกความเป็นพยานโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้นำสืบถึงเหตุแห่งความไม่สุจริต ของโจทก์ดังกล่าวนั้น ยังไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือซึ่งสามารถโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คพิพาทเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยว่าการโอน เช็คพิพาทดังกล่าวมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ดังนั้นหนี้ระหว่างจำเลยกับ อ. จะเป็นหนี้อะไรย่อมไม่เป็นสาระในการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776-1777/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบ แต่ความผิดไม่ร้ายแรงเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 โดยไม่ได้กระทำความผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1จ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เนื่องจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ทุจริตต่อหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ในกรณีร้ายแรง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ศาลแรงงานได้กำหนดให้คู่ความนำพยานเข้าสืบตามคำฟ้องและคำให้การ แม้ศาลแรงงานจะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ และเสียหายเพียงใด แต่หากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาคดีศาลแรงงานเห็นว่ากรณีที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 นั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมทั้งกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49
โจทก์ที่ 1 ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1อันเป็นความผิดเพียงเล็กน้อยยังไม่สมควรลงโทษเลิกจ้าง แต่จำเลยที่ 1กลับลงโทษเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้บันทึกบัตรลงเวลาทำงานโดยยังไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์ที่ 1 ไม่บันทึกบัตรลงเวลาทำงานเป็นการประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลว่าจะได้รับประโยชน์ในค่าจ้างหรือเงินพิเศษต่าง ๆ และได้รับการพิจารณาความดีความชอบจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำสืบข้อเท็จจริงให้ปรากฏในสำนวนว่าโจทก์ที่ 1 จะได้รับค่าจ้างและเงินพิเศษต่าง ๆ อะไร จำนวนเท่าใดและจำเลยที่ 1 จะพิจารณาให้ความดีความชอบอะไรแก่โจทก์ที่ 1 ทั้งศาลแรงงานก็มิได้ฟังข้อเท็จจริงดังที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1ข้อนี้เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดว่า หากสมาชิกกองทุนพ้นจากสมาชิกด้วยเหตุผลถูกไล่ออกหรือถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างเนื่องจากประพฤติผิดอย่างร้ายแรงขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 สมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำผิด ส่วนโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่ แต่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ในกรณีไม่ร้ายแรง ดังนี้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบจากจำเลยที่ 2
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 โดยไม่ได้กระทำความผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1จ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เนื่องจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ทุจริตต่อหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ในกรณีร้ายแรง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ศาลแรงงานได้กำหนดให้คู่ความนำพยานเข้าสืบตามคำฟ้องและคำให้การ แม้ศาลแรงงานจะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ และเสียหายเพียงใด แต่หากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาคดีศาลแรงงานเห็นว่ากรณีที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 นั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมทั้งกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49
โจทก์ที่ 1 ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1อันเป็นความผิดเพียงเล็กน้อยยังไม่สมควรลงโทษเลิกจ้าง แต่จำเลยที่ 1กลับลงโทษเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้บันทึกบัตรลงเวลาทำงานโดยยังไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์ที่ 1 ไม่บันทึกบัตรลงเวลาทำงานเป็นการประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลว่าจะได้รับประโยชน์ในค่าจ้างหรือเงินพิเศษต่าง ๆ และได้รับการพิจารณาความดีความชอบจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำสืบข้อเท็จจริงให้ปรากฏในสำนวนว่าโจทก์ที่ 1 จะได้รับค่าจ้างและเงินพิเศษต่าง ๆ อะไร จำนวนเท่าใดและจำเลยที่ 1 จะพิจารณาให้ความดีความชอบอะไรแก่โจทก์ที่ 1 ทั้งศาลแรงงานก็มิได้ฟังข้อเท็จจริงดังที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1ข้อนี้เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดว่า หากสมาชิกกองทุนพ้นจากสมาชิกด้วยเหตุผลถูกไล่ออกหรือถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างเนื่องจากประพฤติผิดอย่างร้ายแรงขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 สมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำผิด ส่วนโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่ แต่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ในกรณีไม่ร้ายแรง ดังนี้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบจากจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547-1548/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิการสืบพยานในคดีแรงงาน: ประเด็นการเลิกจ้างและความเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาท
คดีมีประเด็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ หรือโจทก์ไม่มาทำงานเองเพราะกลัวความผิดที่ยอมให้บุคคลภายนอกนำสิ่งของเข้ามาไว้ในที่ดินและอาคารของจำเลยที่ 1โดยพลการ ที่จำเลยที่ 5 จะนำ ย. มาสืบว่าโจทก์เป็นผู้นำ ภ. ซึ่งตามทางพิจารณาคือบุคคลภายนอกที่จำเลยทั้งห้าอ้างไว้ในคำให้การขนสิ่งของเข้ามาในที่ดินและอาคารของจำเลยที่ 1 โดยพลการ จึงเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จำเลยที่ 5 นำสืบได้แต่ที่จำเลยที่ 5 จะนำสืบ ย. ว่าโจทก์เก็บค่าไฟฟ้าจาก ย. แล้วไม่นำไปชำระจนถูกการไฟฟ้าฯ ตัดไฟฟ้าในโกดังของจำเลย กับที่จำเลยที่ 5 จะนำ ว. มาสืบว่าโจทก์เบิกความเท็จว่าเป็นผู้นำ ว. มาทำงานกับจำเลยนั้น ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีและไม่ใช่การนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างว่าคำเบิกความของโจทก์ไม่ควรเชื่อฟังอันเป็นการพิสูจน์ต่อพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 120 ที่ศาลแรงงานกลางไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำ ว. และ ย. มาสืบในข้อหลังจึงชอบแล้ว แต่ที่ไม่อนุญาตให้นำ ย. มาสืบข้อที่ว่าโจทก์เป็นผู้นำ ภ. ขนสิ่งของ เข้ามาในที่ดินและอาคารของจำเลยที่ 1 โดยพลการนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำทางภารจำยอมแม้ไม่จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาและตกทอดสู่ทายาทได้
ที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ก. และที่ดินของจำเลยไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ช. มารดาของโจทก์ ก. จำเลย และ ฉ. จึงได้ตกลงทำทางพิพาทเพื่อให้ครอบครัวของ ช. จำเลย และ ก. ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนร่วมกัน โดย ช. เป็นผู้ออกเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินให้แก่ ฉ. จำเลยได้ตกลงยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยด้วย และจำเลยได้ตกลงยินยอมให้ ช. มารดาของโจทก์ทำและใช้ทางพิพาทในส่วนที่ผ่านที่ดินของจำเลย สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แม้ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาและไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิเฉพาะตัวของช. โดยแท้ เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม สิทธินี้จึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิของ ช. โจทก์ย่อมอาศัยข้อตกลงดังกล่าวฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงได้
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำทางภาระจำยอม แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา และสิทธิสามารถตกทอดไปยังทายาทได้
ที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ก.และที่ดินของจำเลยไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ช.มารดาของโจทก์ ก.จำเลย และ ฉ.จึงได้ตกลงทำทางพิพาทเพื่อให้ครอบครัวของ ช.จำเลย และ ก.ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนร่วมกัน โดย ช.เป็นผู้ออกเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินให้แก่ ฉ. การที่ ช.ได้จ่ายเงินให้แก่ ฉ.เช่นนี้ทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยได้ตกลงยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยด้วย เพราะหากจำเลยไม่ยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยแล้วก็ไม่มีเหตุผลใดที่ ช.จะยินยอมจ่ายค่าตอบแทนการผ่านที่ดินให้แก่ ฉ.เนื่องจากข้อตกลงในหนังสือสัญญาจะเป็นประโยชน์แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยได้ตกลงยินยอมให้ ช.มารดาของโจทก์ทำและใช้ทางพิพาทในส่วนที่ผ่านที่ดินของจำเลย สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิเฉพาะตัวของ ช.โดยแท้ เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมสิทธินี้จึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิของ ช.ย่อมอาศัยข้อตกลงดังกล่าวฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องโดยชอบธรรม ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืน
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินซึ่งมีเขตติดต่อกับที่ดินของมารดาโจทก์ โดยจำเลยซื้อมาจากผู้อื่น ผู้ขายได้ชี้แนวเขตที่ดินตามแนวเขตเช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จำเลยครอบครองที่ดินตลอดมา ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทมาแต่ต้น มิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองศาลจึงจะยกปัญหาในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยเองตามที่จำเลยฎีกาหาได้ไม่ เพราะจะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับข้อที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนและไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนและไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องยาวนาน และการไม่มีอำนาจฟ้องคดีเนื่องจากเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินซึ่งมีเขตติดต่อกับที่ดินของมารดาโจทก์ โดยจำเลยซื้อมาจากผู้อื่น ผู้ขายได้ชี้แนวเขตที่ดินตามแนวเขตเช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จำเลยครอบครองที่ดินตลอดมา ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทมาแต่ต้น มิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ศาลจึงจะยกปัญหาในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยเองตามที่จำเลยฎีกาหาได้ไม่ เพราะจะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับข้อที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนและไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนและไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการฟ้องบังคับหนี้ การรับชำระหนี้แทน และผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องของผู้รับชำระหนี้
โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน และจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว โจทก์ที่ 1ให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามเช็คพิพาทเพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตามความประสงค์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแก่โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 314,315 และ 321 มูลหนี้จึงมีเฉพาะการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินเลือกใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1ทำไว้ต่อโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ 1ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทได้อีก เพราะไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 อีกต่อไป