คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 183

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,529 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้พิจารณาประเด็นค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายเดินทางใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดีต่อศาลโดยจะชำระค่าทนายความให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขประการที่ 2 คือสร้างตึกฟรี แต่ไม่ให้ค่าเสียหายให้ร้อยละ 10 ตามสำเนาเงื่อนไขเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำนวนร้อยละดังกล่าวเป็นการคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันซึ่งเมื่อคำนวณจากทุนทรัพย์แล้วเป็นเงินจำนวน 800,000 บาท จำเลยชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียง 150,000 บาท ยังค้างชำระจำนวน 650,000 บาทขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระจำนวน 650,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์คิดคำนวณค่าจ้างว่าความมาถูกต้องหรือไม่ อย่างไร เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และจำเลยเองก็เข้าใจข้อหาโจทก์ดีสามารถต่อสู้คดีโจทก์ได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลแต่ละนัดเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นัดละ 2,500 บาท รวม 54 เดือน คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายรวม 135,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเฉพาะที่เรียกค่าจ้างว่าความ มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เคลือบคลุม เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้อง: ค่าทนายและค่าเดินทาง, ประเด็นข้อพิพาทที่จำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดีต่อศาลโดยจะชำระค่าทนายความให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขประการที่ 2 คือสร้างตึกฟรี แต่ไม่ให้ค่าเสียหายให้ร้อยละ 10 ตามสำเนาเงื่อนไขเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำนวนร้อยละดังกล่าวเป็นการคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันซึ่งเมื่อคำนวณจากทุนทรัพย์แล้วเป็นเงินจำนวน 800,000 บาท จำเลยชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียง 150,000 บาท ยังค้างชำระจำนวน 650,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระจำนวน 650,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์คิดคำนวณค่าจ้างว่าความมาถูกต้องหรือไม่ อย่างไร เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และจำเลยเองก็เข้าใจข้อหาโจทก์ดี สามารถต่อสู้คดีโจทก์ได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลแต่ละนัดเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นัดละ 2,500 บาท รวม 54 เดือนคิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายรวม 135,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเฉพาะที่เรียกค่าจ้างว่าความ มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เคลือบคลุม เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นเจ้าของที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากศาลล่างวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและคำให้การ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ที่พิพาท ขอให้ขับไล่จำเลยจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยได้หักร้างถางพงแล้วเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ซึ่งแสดงว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้น คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท การแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 รวมทั้งไม่มีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ขาดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้วพิพากษายกฟ้องจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 และ 183 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและการแย่งการครอบครอง ศาลวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ที่พิพาท ขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยได้หักร้างถางพงแล้วเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ซึ่งแสดงว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้น คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท การแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นเมื่อจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 รวมทั้งไม่มีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์ขาดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้วพิพากษายกฟ้องจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 และ 183 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาผลกำไรที่สูญเสียไป ไม่ใช่ราคาขายรวมต้นทุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการทำซ้ำ โฆษณาและนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายทางการค้า จึงเท่ากับโจทก์อ้างว่า การกระทำของจำเลยซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นประกอบด้วยการทำซ้ำและการนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่เพียงในปัญหาว่าการกระทำซ้ำของจำเลยต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่ จึงยังไม่ถูกต้อง ต้องวินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งเทปเพลงของกลางทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการค้าหรือไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิครอบครอง แม้ครอบครองก่อนประกาศเป็นเขตป่าสงวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตป่า ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 239 (พ.ศ. 2510) ออกตามความใน พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ทับที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ แม้ว่าโจทก์หรือบิดาโจทก์ได้ครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับที่ 239 ดังกล่าว จะได้ประกาศให้ที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาท เมื่อได้มีกฎกระทรวงประกาศกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ โจทก์หรือบิดาโจทก์จึงหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ และแม้โจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาทได้ แต่การได้รับอนุญาตดังกล่าวก็มีผลให้โจทก์หรือบิดาโจทก์เท่านั้นที่มีสิทธิดังกล่าวในที่ดินพิพาทและโจทก์หรือบิดาโจทก์ก็ไม่อาจนำไปให้บุคคลอื่นเช่าได้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวไปให้จำเลยเช่าได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่า จำเลยได้ให้การไว้ชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็น ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการครอบครองของจำเลยมิได้อาศัยสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน – การซื้อขาย – ทางจำเป็น – ทรัพยสิทธิไม่บริบูรณ์ – ผลกระทบต่อผู้ซื้อ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางออกสู่ทางหลวงได้ตลอดไปแต่ไม่มีการจดทะเบียนข้อตกลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการที่โจทก์ได้มาโดยนิติกรรมซึ่งทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางในที่ดินที่ไม่จดทะเบียน vs. กรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อรายใหม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางออกสู่ทางหลวงได้ตลอดไปแต่ไม่มีการจดทะเบียนข้อตกลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการที่โจทก์ได้มาโดยนิติกรรมซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา1299 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรกจึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ, ความรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียม
แม้อาคารสินธร ชั้นที่ 8 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทจำเลยเป็นที่ตั้งของบริษัทอื่นด้วย ใช้ประตูเข้าเดียวกัน เข้าประตูไปแล้วจะมีเคาน์เตอร์ตั้งอยู่ หากมีการส่งเอกสารมาถึงจำเลยและบริษัทอื่น พนักงานที่เคาน์เตอร์จะรับไว้แล้วนำไปให้บริษัทที่เกี่ยวข้องก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมาย ณ ห้องเลขที่ 130 ถึง 132 ชั้นที่ 8 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว การที่พนักงานเคาน์เตอร์ไม่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยเป็นเรื่องการจัดการภายในของจำเลยเอง จำเลยจะยกเป็นข้ออ้างว่าไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การหาได้ไม่ ถือว่าจำเลยจงใจไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทจึงคงมีตามประเด็นตามคำฟ้อง จำเลยไม่มีสิทธิอ้างข้อเท็จจริงเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่ มีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์เพื่อหักล้างพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้น ฎีกาของจำเลยเมื่อไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เบี้ยปรับที่ศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดความรับผิดเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา การที่ศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน ศาลมีอำนาจตาม พ.ร.บ.แรงงาน ไม่ต้องผูกพันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องการชี้สองสถานและการคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมาอนุโลมใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
ในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงรวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
of 253