คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 183

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,529 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครอง การยกให้ และอายุความฟ้องร้อง
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยยืนยันว่า เดิมที่ดินพิพาท เป็นของบิดามารดาของสามีจำเลย บุคคลดังกล่าวได้ยกให้แก่ จำเลยและสามีจำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา โดยจำเลย ไม่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่อาจมีประเด็น ข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเพราะการแย่ง การครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลย ครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดิน พิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้อง เอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง หรือไม่ หรือโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งที่ดินพิพาท หรือไม่ เพราะประเด็นนี้ขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยได้ให้การ และฟ้องแย้งไว้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับการยกให้ จากบิดามารดาของสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและการรื้อถอนอาคาร ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นหากไม่ได้กำหนดไว้
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและประเด็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลฎีกายกประเด็นสุจริตเนื่องจากไม่ได้กำหนดในชั้นชี้สองสถาน
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ทุนทรัพย์, อัตราค่าทนายความ, และการคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครอง ขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็น น.ส. 3 โจทก์ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธ์ในที่ดินพิพาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยบุกรุกมีเนื้อที่ 1 งาน 47 ตารางวา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายขอให้ทำแผนที่พิพาท ในการทำแผนที่พิพาทเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รังวัดโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นผู้นำชี้ และรับกันว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา จึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน ในเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นราคาในขณะที่ยื่นคำฟ้องเพียง 49,875 บาท คดีนี้จึงมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นเงินจำนวนดังกล่าว แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 55,125 บาท ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในคดีเพิ่มขึ้นได้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการกำหนดโดยผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัย ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. สองร้อยบาท แต่จำเลยเสียเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเท่านั้น
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับตัวทรัพย์ว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกหรือไม่ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าเงินค่าเสียหายที่จะได้รับจากบริษัทประกันภัย ไม่ใช่ทรัพย์มรดกจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะคุณสมบัติผู้จัดการมรดก ไม่ใช่ประเภททรัพย์สิน
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับตัวทรัพย์ว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกหรือไม่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าเงินค่าเสียหายที่จะได้รับจากบริษัทประกันภัยไม่ใช่ทรัพย์มรดก จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนทรัพย์สิน และเจตนาทุจริตเพื่อขอใบอนุญาต
ห. เป็นเจ้าของที่ดินสองแปลง แปลงแรกมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี เว้นแต่ตกทอดทางมรดกตาม ป. ที่ดิน มาตรา 31 ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงแรกให้จำเลย 20 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่ ถ. ภริยาของ ห. แปลงที่สองยกให้แก่จำเลย 4 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่ ถ. การที่ ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของ ห. ผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมของ ห. ในส่วนของที่ดินแปลงที่สองซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ จำเลยจึงมีสิทธิขอรับโอนที่ดินแปลงนี้ในฐานะผู้รับพินัยกรรมได้ ส่วนข้อกำหนดพินัยกรรมที่ ห. ยกที่ดินแปลงแรกให้แก่จำเลยนั้น ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง กฎหมายมุ่งหมายที่จะให้ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินได้มีที่ดินไว้ทำกินตลอดไปถึงลูกหลานหรือทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย และเพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้มาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปให้บุคคลอื่นได้โดยง่าย เมื่อมูลเหตุที่ ห. ทำพินัยกรรมสืบเนื่องมาจาก ห. ตกลงแบ่งขายที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลย เนื้อที่ 20 ไร่ และ 4 ไร่ ตามลำดับ โดยให้จำเลยปรับปรุงพื้นที่และสร้างอาคารเรียนเพื่อสร้างโรงเรียนได้ แต่ ห. ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยตามสัญญา เพราะที่ดินแปลงแรกมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ทำให้จำเลยไม่อาจขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้ เพราะตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนมีกำหนดไม่น้อยกว่า 10 ปี ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงแนะนำให้ทำสัญญาเช่ากัน หากเกรงว่าจะเกิดปัญหาก็ให้ทำพินัยกรรมไว้ ประกอบกับขณะนั้น ห. ป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น จำเลยเองก็ทราบว่า ห. เป็นโรคดังกล่าว ฉะนั้น การที่ ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยตามเนื้อที่ดินที่จะแบ่งขายให้แก่จำเลยโดยได้รับเงินค่าที่ดินจากจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยกับ ห. ไปทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกันมีกำหนด 10 ปี โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ห. และจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง โดย ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงแรกซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอน และที่ดินแปลงที่สองซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนให้แก่จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงจะซื้อขายกัน เพื่อให้ มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย เมื่อจำเลยร่วมรู้เห็นให้ ห. ทำพินัยกรรมเพื่อหวังผลได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเป็นหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน อันแสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลย จึงถือได้ว่าการยกที่ดินแปลงแรกให้แก่จำเลยตามพินัยกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่า ห. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลยหรือไม่ และพินัยกรรมมีผลบังคับได้เพียงใด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว การที่ศาลจะยกบทกฎหมายเรื่องใดขึ้นปรับแก่คดี ย่อมเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินคืนทั้งสองแปลงคืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินแปลงแรกไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่เป็นทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของ ห. ผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทั้งโจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมปลอม มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710 ดังนั้น คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ แต่คดีโจทก์สำหรับที่ดินแปลงที่สองนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับพินัยกรรม โจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินแปลงที่สองขาดอายุความหรือไม่อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา และประเด็นการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทมีสามแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของโดยที่ดินของโจทก์ทั้งสามมีเขตติดต่อกันเท่านั้นการที่จำเลยที่ 1 ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสามแล้วขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 จนกรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนถูกโต้แย้งสิทธิแม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์ แต่ละคนแยกกัน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งการที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์ทั้งสามแต่เป็นของจำเลยที่ 1 และได้ออกโฉนดที่ดินโดยชอบแล้วจึงขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยที่ 2 โดยชอบนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสามแต่เป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาหากฟังว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองจำเลยที่ 1 ก็ได้แย่งการครอบครองจากโจทก์เกินกว่า 1 ปี ส่วนจำเลยที่ 2ให้การยืนยันเพียงว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1ดังนั้น ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองคงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์ทั้งสามหรือจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไม่อาจมีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่าเดิมจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาท ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ทั้งสามเป็น เจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงมิได้ครอบคลุมถึงว่าโจทก์ ทั้งสามมีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทหรือไม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นค่าเสียหายที่มิได้กำหนดในศาลชั้นต้นถือว่าสละ ส่วนภาระจำยอมยังคงมีผลผูกพัน
โจทก์บรรยายเรื่องค่าเสียหายมาในฟ้องแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้และคู่ความไม่ได้โต้แย้ง ย่อมถือว่าคู่ความได้สละประเด็นดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนอกประเด็น
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นโฉนดเดียวกัน ครั้นเจ้าของเดิมแบ่งแยกออกเป็นโฉนดเลขที่ 11887 และเลขที่ 1521 แล้ว ได้มีการโอนกันต่อมาหลายทอดจนถึงโจทก์และจำเลย โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11887ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ซึ่งได้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11887 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ เมื่อภาระจำยอมนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป จึงมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ต่อไป ดังนี้ เมื่อรูปคดีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์เรียกให้พ้นจากภาระจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีที่ภารย-ทรัพย์ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์ส่วนใดจึงชอบที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนแผงลอยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมยังไม่ระงับสิ้นแม้เจ้าของภารยทรัพย์ถูกบังคับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง การพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่กำหนดประเด็นไว้ ถือไม่ชอบ
โจทก์บรรยายเรื่องค่าเสียหายมาในฟ้องแล้ว แต่ศาลชั้นต้น มิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้และคู่ความไม่ได้โต้แย้งย่อมถือว่าคู่ความได้สละประเด็นดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนอกประเด็น เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นโฉนดเดียวกันครั้นเจ้าของเดิมแบ่งแยกออกเป็นโฉนดเลขที่ 11887 และเลขที่ 1521 แล้ว ได้มีการโอนกันต่อมาหลายทอดจนถึงโจทก์ และจำเลย โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11887ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ซึ่งได้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11887 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ เมื่อภารจำยอมนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป จึงมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ต่อไป ดังนี้ เมื่อรูปคดีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้เป็นเจ้าของ ภารยทรัพย์เรียกให้พ้นจากภารจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีที่ภารยทรัพย์ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อ ประโยชน์แก่ทรัพย์ส่วนใดจึงชอบที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง รื้อถอนแผงลอยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นภารยทรัพย์
of 253