พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,529 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การแย่งการครอบครองและคำฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนฟ้อง/ถูกฟ้องคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 485 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดต่อสู้คดีว่า เดิมที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 465 มีจำนวน 12 ไร่เป็นของ ป.มารดาผู้ร้องสอด แต่ ป.ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเนื้อที่ 17ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2529 ผู้ร้องสอดได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ป. แล้วผู้ร้องสอดได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาและได้ซื้อเพิ่มเติมจากบุคคลภายนอกทางทิศตะวันออกของที่ดิน รวมแล้ว 23 ไร่เศษ ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยทำกิน ตามคำร้องสอดดังกล่าวเท่ากับว่าผู้ร้องสอดอ้างว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งหมด ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง ได้
คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้หาเกินคำขอไม่
คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินเนื่องจากฉ้อฉล แม้ไม่ได้ยกประเด็นในชั้นชี้สองสถาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีก่อน จำเลยทั้งสองและทายาทของ จ.นางแจ่มได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโดยการสมยอม ทำให้ที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 ลดน้อยลงและโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1ได้ครบถ้วนตามคำพิพากษา เป็นการฉ้อฉลโจทก์ และโจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 4445 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534ระหว่างจำเลยทั้งสอง กับให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดพิพาทเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หรือให้ลบชื่อจำเลยที่ 2 ที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 มาด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการฉ้อฉลโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 ด้วยได้แม้ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดตามคำขอดังกล่าวเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม เพราะเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การโดยตรง มิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น และกรณีหาใช่โจทก์สละประเด็นข้อพิพาทในกรณีตามคำขอส่วนนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีรายชื่อพยานตามกำหนด และประเด็นอำนาจฟ้องที่สละสิทธิ์ การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่าระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้าที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุสุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบจึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้น โดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่ดินที่ ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลยครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองนั้น
แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้น โดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่ดินที่ ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลยครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด การฟ้องรังวัด และประเด็นอำนาจฟ้องที่จำเลยสละประเด็น
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วมกัน และการยื่นบัญชีระบุพยานที่ไม่ทันกำหนด
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อต่อสู้และประเด็นข้อพิพาทในชั้นฎีกา และการวินิจฉัยความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างในฎีกาเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องไม่ตรงกับที่จำเลยได้ให้การไว้จึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2รับว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และอ้างว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดและคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพียงใด เช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ หยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087มาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077 จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็น บทบังคับเด็ดขาดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพื่อวินิจฉัย ถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ย่อมไม่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นอำนาจฟ้อง & ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ & ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในคำให้การ
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างในฎีกาเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องไม่ตรงกับที่จำเลยได้ให้การไว้ จึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และอ้างว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด และคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพียงใดเช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยก ป.พ.พ.มาตรา 1087 มาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1077 จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพื่อวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ ย่อมไม่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น
แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และอ้างว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด และคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพียงใดเช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยก ป.พ.พ.มาตรา 1087 มาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1077 จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพื่อวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ ย่อมไม่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาท
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค.เมื่อค. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อ ของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่พิพาทแทน ทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาท จากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครอง ที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค. จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่าที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค. ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองและเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดก
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค. เมื่อ ค.ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค.จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่า ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค.ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง
คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่า ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค.ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง
คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอากรแสตมป์ ศาลไม่รับเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีต่อจำเลยแทนโจทก์โดยปิดอากรแสตมป์มาครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร 7 ตามประมวลรัษฎากร แต่มิได้มี การขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์ บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 118 และห้ามมิให้รับฟัง ตราสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจนกว่าจะได้ขีดฆ่า อากรแสตมป์แล้ว ดังนั้น จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ การที่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลแล้ว หามีผลเหมือนกับการขีดฆ่าอากรแสตมป์ เพราะไม่ต้องด้วยความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 103 กรณีมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งห้ามมิให้รับฟังตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแม้โจทก์จะมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความพลั้งเผลอ ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุอ้างให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ และแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ไว้ในคำให้การหรือคัดค้านกรณีดังกล่าวในระหว่างพิจารณา แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้เรื่องหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งศาล จะต้องอาศัยการรับฟังเอกสารใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานและในเรื่องตราสารที่มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์นี้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเป็นปัญหาว่ากฎหมายห้ามรับฟังหรือไม่ อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาขออนุญาตนำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไปขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีของโจทก์โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วกรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์