พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,529 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังการซื้อขาย - การแย่งการครอบครอง - อำนาจฟ้องของสามี - ค่าเสียหายจากการบุกรุก
โจทก์ตกลงแบ่งขายที่ดินของโจทก์ตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 53 จำนวน 7 ไร่ ซึ่งเป็นที่พิพาทในคดีนี้ให้แก่ ส.แต่ยังไม่ทันได้รับมอบการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์ตามสัญญา ซื้อขายดังกล่าว ส. ถึงแก่กรรมเสียก่อน แม้สิทธิตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทจะเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทหรือผู้จัดการ มรดกของ ส. ก็ตาม แต่ก็จะต้องว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหากอีกกรณีหนึ่ง ส่วนสิทธิครอบครองที่พิพาทย่อมยังคงเป็น ของโจทก์อยู่ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนเสาพร้อมสาย รั้วลวดหนามที่กั้นออกไปจากที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าเดิมที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ขายให้ ส.ต่อมาก่อนส.ถึงแก่กรรมได้ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาตามคำให้การของจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลย แย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้ เพราะการ แย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ตามที่จำเลยฎีกา โจทก์เป็นสามี ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกทำละเมิดต่อโจทก์ และฟ้องเรียกค่าเสียหาย ที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายในที่ดินโจทก์เมื่อไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ในอนุมาตรา 1 ถึงอนุมาตรา 8และในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ฉะนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์โดยการนำรถแทรกเตอร์ไถแล้วปรับสภาพดินกับยังไม่ได้ล้อมรั้วรอบที่พิพาท อันถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองในอันที่โจทก์จะเข้าไปทำประโยชน์ ในที่พิพาท และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายศาลย่อมใช้ ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้เองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัด: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความแถลงร่วมกันเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าคำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในประเด็นที่ยกขึ้นต่อสู้ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 หรือไม่นั้นไม่เป็นประเด็นแห่งคดี เมื่อไม่มีประเด็นดังกล่าวขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยวินิจฉัยว่า คำให้การของจำเลยขัดแย้งกันเอง จำเลยไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการขัดแย้งในคำให้การ จำเลยไม่อาจสืบพยานได้ ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่กำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความแถลงร่วมกันเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนปัญหาที่ว่าคำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในประเด็นที่ยกขึ้นต่อสู้ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 หรือไม่นั้น ไม่เป็นประเด็นแห่งคดี เมื่อไม่มีประเด็นดังกล่าวขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยวินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยขัดแจ้งกันเอง จำเลยไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3634/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดค่าปรับงานก่อสร้างเกินสมควร ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับและพิพากษาให้ชำระค่าจ้างคงเหลือ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าทำสัญญารับจ้างก่อสร้างเขื่อนกับจำเลยเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพและอุปสรรคในการก่อสร้าง เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่โจทก์จะยอมรับได้โดยปกติทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยก็คิดจากค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรได้รับจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างที่ทำให้เกิดความล่าช้าโดยความผิดของจำเลย และเมื่อโจทก์ทำงานแล้วเสร็จส่งมอบงานแก่จำเลยแล้ว จำเลยคิดค่าปรับรายวันเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลย จำเลยจึงไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายให้โจทก์และโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์พอแสดงให้เข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวเนื่องจากการคิดค่าปรับของจำเลยเป็นไปโดยไม่ชอบ และจำเลยก็ให้การถึงการคิดค่าปรับดังกล่าวว่าจำเลยได้คิดค่าปรับโดยถูกต้องแล้ว และที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยหรือไม่ จึงครอบคลุมถึงกรณีการคิดค่าปรับหักจากค่าจ้างงวดสุดท้ายแล้ว และตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควร การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงการคิดค่าปรับอันเป็นเบี้ยปรับของโจทก์ว่าสูงเกินไปและคิดลดลงเหลือต่ำกว่าค่าจ้างงวดสุดท้าย จึงมีค่าจ้างงวดสุดท้ายคงเหลือที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายดังกล่าวแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลง และเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงินค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกาต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลง และเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงินค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกาต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3634/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าปรับจากการผิดสัญญาและการวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลฎีกาตัดสินให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าทำสัญญา รับจ้างก่อสร้างเขื่อนกับจำเลยเพราะกลฉ้อฉลของจำเลย ที่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพและอุปสรรคในการก่อสร้าง เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่า ที่โจทก์จะยอมรับได้โดยปกติทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ค่าสินไหมทดแทน ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยก็คิดจากค่าจ้างงวดสุดท้าย ที่โจทก์ควรได้รับจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว โดยโจทก์ ได้บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรค ในการก่อสร้างที่ทำให้เกิดความล่าช้าโดยความผิดของจำเลย และเมื่อโจทก์ทำงานแล้วเสร็จส่งมอบงาน แก่จำเลยแล้ว จำเลยคิดค่าปรับรายวันเป็นจำนวนมาก จนเกินกว่าค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลย จำเลยจึงไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายให้โจทก์ และโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์พอแสดงให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวเนื่องจากการคิดค่าปรับของจำเลยเป็นไปโดยไม่ชอบ และจำเลยก็ให้การ ถึงการคิดค่าปรับดังกล่าวว่าจำเลยได้คิดค่าปรับโดยถูกต้องแล้ว และที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยหรือไม่ จึงครอบคลุมถึง กรณีการคิดค่าปรับหักจากค่าจ้างงวดสุดท้ายแล้ว และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงการคิดค่าปรับอันเป็นเบี้ยปรับของโจทก์ว่าสูงเกินไปและคิดลดลงเหลือต่ำกว่าค่าจ้างงวดสุดท้าย จึงมีค่าจ้างงวดสุดท้ายคงเหลือที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายดังกล่าวแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลงและเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้าง ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหา ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงิน ค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกา ต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิด ต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน: คำพิพากษาศาลถึงที่สุดมีผลผูกพัน แม้เปลี่ยนรูปคดี
ที่ดินพิพาทคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยตั้งรูปคดีมาใหม่ว่าโจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและขอให้บังคับจำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ ซึ่งแตกต่างกับรูปคดีของคดีก่อนซึ่งโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่ประเด็นสำคัญของคดีก็ยังคงเป็นอย่างเดียวกันคือโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.มาตรา 148 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิครอบครองที่ดินที่เคยถูกวินิจฉัยแล้ว แม้เปลี่ยนรูปคดีก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ที่ดินพิพาทคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยตั้งรูปคดีมาใหม่ว่าโจทก์มอบ ที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและขอให้บังคับจำเลย ส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ ซึ่งแตกต่างกับรูปคดีของคดีก่อนซึ่งโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่ประเด็นสำคัญของคดีก็ยังคงเป็นอย่างเดียวกันคือโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การขาดอายุความ จำเลยต้องแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความในคำให้การ มิเช่นนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องอย่างคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 วรรคสอง บัญญัติให้จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับมาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 195 โดยจำเลย ต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการ ปฏิเสธนั้นด้วย แม้จำเลยไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมายว่า ขาดอายุความตามมาตราใดก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องให้การโดย แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏจำเลยจึงต้องบรรยาย ด้วยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้อง การที่จำเลยให้การเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความโดยมิได้ กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะคดีโจทก์ขาดอายุความการที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอายุความโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เคยวินิจฉัยแล้วเด็ดขาด แม้มีการอ้างเหตุครอบครองปรปักษ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คดีก่อนมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงท้ากันด้วยวิธีการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทและสืบพยาน ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนั้นเป็นประเด็นโดยตรงได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอีกว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา ในคดีก่อนเป็นของโจทก์ แม้คดีนี้โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มาด้วย ก็หาได้แตกต่างกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ และไม่ทำให้ประเด็นพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว แม้คดีใหม่อ้างครอบครองปรปักษ์ก็ไม่ต่างกัน
คดีก่อนมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงท้ากันด้วยวิธีการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทและสืบพยาน ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวาเป็นของโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนั้นเป็นประเด็นโดยตรงได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอีกว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา ในคดีก่อนเป็นของโจทก์ แม้คดีนี้โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มาด้วย ก็หาได้แตกต่างกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ และไม่ทำให้ประเด็นพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน