พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,529 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8149/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยเน้นประเด็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องเป็นไปตามที่คู่ความยกขึ้น และอายุความในการเรียกค่าเช่า
แม้จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีสถานีบริการอื่นมาเปิดใกล้เคียงกับสถานีบริการน้ำมันบางจากของจำเลยที่ 1 ก็เป็นวิสัยของการประกอบการที่จะต้องมีการแข่งขัน ไม่ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กลายเป็นพ้นวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องกำหนดตามที่คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ 5 ปี ในการเรียกค่าเช่าที่ได้ชำระล่วงหน้าจากจำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ตามที่คู่ความแถลงรวมทั้งวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไว้ด้วย ก็เป็นประเด็นข้อพิพาทและข้อวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 อุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องกำหนดตามที่คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ 5 ปี ในการเรียกค่าเช่าที่ได้ชำระล่วงหน้าจากจำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ตามที่คู่ความแถลงรวมทั้งวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไว้ด้วย ก็เป็นประเด็นข้อพิพาทและข้อวินิจฉัยที่นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 อุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ประเด็นการแย่งการครอบครองและสิทธิในที่ดินเมื่อมีการอ้างสิทธิโดยคู่กรณี
จำเลยให้การว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพราะผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบิดายกให้และจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ส่วนผู้ร้องสอดร้องสอดว่า ครอบครองที่ดินพิพาทเพราะบิดายกให้ ผู้ร้องสอดทำประโยชน์ตลอดมาและแบ่งที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่จำเลยปลูกบ้านพักอาศัย เมื่อโจทก์ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยและผู้ร้องสอดคัดค้านจนเจ้าพนักงานที่ดินไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องขอปลดเปลื้องการครอบครองเกินเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง จึงเสียสิทธิในการฟ้องคดี ดังนี้ คดีไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินที่เป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนเองและได้ครอบครองทำประโยชน์เอง จึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง จึงไม่มีสิทธิฟ้องเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น ย่อมไม่ชอบ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและขัดแย้งกับข้อต่อสู้ในคำให้การและคำร้องสอด ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ต่อการชำระค่าจ้าง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าจ้างโดยบรรยายฟ้องสรุปได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าทำสัญญารับจ้างรับเหมาก่อสร้างอาคารผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ และเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้รับเหมาช่วงติดตั้งต่อเติมอาคารดังกล่าว จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจ้างโจทก์ระบุเงื่อนไขในการทำงานและได้รับค่าจ้างตามหนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 จำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จะว่าจ้างช่วงหรือให้ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานเป็นอำนาจของจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ว่าจ้างและชำระเงินให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ประสานงานให้จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ กับตรวจรับมอบงานแทนจำเลยที่ 1 และเบิกค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 มามอบให้โจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง ดังนั้น แม้ตามคำให้การจำเลยที่ 2 มิได้ใช้ถ้อยคำว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 แต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้ว เห็นได้ในตัวว่าจำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 คดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12639/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแนวเขตที่ดิน: โจทก์ซื้อโฉนดถูกต้อง จำเลยอ้าง น.ส.3 ทับที่ดินเดิม ศาลยืนตามโฉนด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่าโจทก์รับโอนที่ดินมาจาก ห. โดยไม่สุจริต โดยไม่ปรากฏว่าไม่สุจริตอย่างไร และทางนำสืบของจำเลยก็ไม่ปรากฏเรื่องนี้ ถือว่าคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทนี้
จำเลยให้การว่าจำเลยคัดค้านการขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ เนื่องจากเป็นที่ดินของจำเลย เป็นคำให้การที่ยืนยันว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตาม น.ส.3 ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ แม้จำเลยจะให้การด้วยว่า จำเลยกับมารดาร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้วก็ตาม เพราะจะขัดกับคำให้การที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่แรกแล้ว เพราะการครอบครองปรปักษ์จะต้องกระทำต่ออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาท จำเลยยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดที่ดินพิพาทของโจทก์ เท่ากับขอให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์นั่นเอง ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย เมื่อคดีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
จำเลยให้การว่าจำเลยคัดค้านการขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ เนื่องจากเป็นที่ดินของจำเลย เป็นคำให้การที่ยืนยันว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตาม น.ส.3 ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ แม้จำเลยจะให้การด้วยว่า จำเลยกับมารดาร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้วก็ตาม เพราะจะขัดกับคำให้การที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่แรกแล้ว เพราะการครอบครองปรปักษ์จะต้องกระทำต่ออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาท จำเลยยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดที่ดินพิพาทของโจทก์ เท่ากับขอให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์นั่นเอง ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย เมื่อคดีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9330-9333/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมและการโต้แย้งคำสั่งศาลที่ไม่ชอบตามขั้นตอน ก่อให้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาเสีย
จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องโดยขอให้กำหนดประเด็นเพิ่มว่า จำเลยทั้งสามต่อเติมผนังคอนกรีตด้านหลังตึกแถวของจำเลยทั้งสามรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริตหรือไม่ด้วย หากศาลไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจึงขอคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า คำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชัดแจ้งว่าจะต่อสู้ไปในทางใด จึงไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ ถือเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยทั้งสามต้องโต้แย้งคำสั่งชี้ขาดของศาลชั้นต้นนั้นไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้จำเลยทั้งสามจะถือเอาคำร้องของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลแล้วไม่ได้เพราะเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชี้ขาด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ ถึงแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในปัญหาเรื่องนี้ให้จำเลยทั้งสาม โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ เพราะต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวมิให้อุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยทั้งสามถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ว่าสัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น จึงต้องย้อนสำนวน
ตามคำให้การของจำเลยเป็นการต่อสู้ว่า สัญญากู้ยืมปลอมทั้งฉบับ มิใช่ปลอมแค่เพียงบางส่วน ดังนั้น คำให้การที่ว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 120,000 บาท เป็นเพียงเหตุผลประกอบการปฏิเสธเท่านั้น ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมหรือไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7919/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงฟ้องของจำเลย ทำให้ประเด็นข้อพิพาทสิ้นสุด ศาลฎีกายกอุทธรณ์
เดิมจำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น ต่อมาระหว่างที่โจทก์และจำเลยทั้งสามเจรจาทำความตกลงเพื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ทนายจำเลยทั้งสามแถลงรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสามตกลงรับข้อเท็จจริงตามฟ้องทุกประการ และคู่ความต่างไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป เพียงแต่ให้โจทก์ส่งเอกสารประกอบการแถลงรับข้อเท็จจริงของจำเลย หลังจากนั้นคดียังตกลงกันไม่ได้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งคู่ความก็ยังคงไม่ติดใจสืบพยานและไม่ได้โต้แย้งการนัดฟังคำพิพากษา ครั้นถึงวันนัดศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงพิพากษาคดีไปตามวันเวลาที่กำหนดไว้ เช่นนี้ ไม่เพียงแต่มีผลเท่ากับจำเลยทั้งสามยอมสละประเด็นข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามที่ยื่นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เท่านั้น หากแต่ยังเท่ากับยอมรับรองด้วยว่าฟ้องของโจทก์ถูกต้องเป็นจริงทุกประการ ข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามยอมรับจึงเป็นอันยุติไปตามนั้น ไม่หลงเหลือข้อเท็จจริงใดเป็นประเด็นข้อพิพาทอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมล้วนแต่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7919/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงต่อศาลมีผลผูกพันคู่ความ ห้ามยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์
จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น ต่อมาระหว่างที่โจทก์และจำเลยทั้งสามเจรจาทำความตกลงเพื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ทนายจำเลยทั้งสามแถลงรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามตกลงรับข้อเท็จจริงตามฟ้องทุกประการ และคู่ความต่างไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป เพียงแต่ให้โจทก์ส่งเอกสารประกอบการแถลงรับข้อเท็จจริงของจำเลย หลังจากนั้นคดียังตกลงกันไม่ได้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าประหว่างประเทศกลางจึงนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งคู่ความก็ยังคงไม่ติดใจสืบพยานและไม่ได้โต้แย้งการนัดฟังคำพิพากษา ครั้งถึงวันนัด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงพิพากษาคดีไปตามวันเวลาที่กำหนดไว้ กรณีเช่นนี้ ไม่เพียงแต่มีผลเท่ากับจำเลยทั้งสามยอมสละประเด็นข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามที่ยื่นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เท่านั้น ยังเท่ากับยอมรับรองด้วยว่าฟ้องของโจทก์ถูกต้องเป็นจริงทุกประการ ข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามยอมรับจึงเป็นอันยุติไปตามนั้น ไม่หลงเหลือข้อเท็จจริงใดเป็นประเด็นข้อพิพาทอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่โจทก์คำนวณไว้ในฟ้องไม่ใช่อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์และจำเลยทั้งสามไม่ได้ตกลงกันในเรื่องอัตราดอกเบี้ยให้แน่นอนชัดเจน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น และการติดต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่โจทก์ออกเงินทดรองไปก่อนไม่ใช่สัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีท ย่อมล้วนแต่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7463/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเช่าและค่าปรับ, การหักกลบลบหนี้, ลูกหนี้ร่วม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติว่า คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าปรับตามสัญญาเช่าวันละ 200 บาท ของค่าเช่าแต่ละงวดที่ยังไม่ได้ชำระกับค่าปรับจำนวนหนึ่งในสิบของค่าเช่าที่เหลือตลอดอายุของสัญญาเช่าเป็นการฟ้องเรียกค่าปรับตามสัญญาเช่าที่กำหนดให้จำเลยผู้เช่าต้องชำระเพราะเหตุผิดสัญญาจึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 563 ต้องใช้อายุความหกเดือน แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่า มิใช่กรณีฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่าเมื่อกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามมาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าขาดประโยชน์จึงไม่ขาดอายุความและเมื่อค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องใช้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าและจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันคำพิพากษาจึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายและค่าปรับกับโจทก์จากเงินที่จำเลยที่ 1 วางเป็นประกันตามสัญญาเช่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ขอหักกลบลบหนี้มาในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้มาและศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งนั้นชอบแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายและค่าปรับกับโจทก์จากเงินที่จำเลยที่ 1 วางเป็นประกันตามสัญญาเช่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ขอหักกลบลบหนี้มาในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้มาและศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งนั้นชอบแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6784/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท การแย่งการครอบครอง และอำนาจฟ้องเกินกำหนด
จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่าที่โจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือขายที่ดินท้ายฟ้องนั้นเป็นเท็จ ส. ไม่เคยสละการครอบครองที่ดินพิพาท ไม่เคยขออาศัยหรือเช่าจากโจทก์ เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายในปี 2541 จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยสิทธิของจำเลยที่ 2 เอง ดังนี้ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 มิได้ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตั้งแต่แรก หากแต่ต่อสู้อ้างสิทธิของ ส. ผู้เป็นมารดาและสิทธิของตนเมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อมาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์และโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี จึงขัดแย้งกับข้อความตอนแรก เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและโจทก์ฟ้องเอาคืนเกินกำหนดหรือไม่