พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,529 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด, การชำระหนี้ไถ่ถอนการขายฝาก, และการพิสูจน์หลักฐาน
ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนว่าจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังนั้น แม้จำเลยไม่ให้การต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลอาจกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายได้
การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และ ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วนและกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม จึงไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยาน
การใช้สิทธิฟ้องขับไล่ในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อครบกำหนดไถ่คืนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืนและโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ตราบใดที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปการละเมิดก็ยังคงอยู่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และ ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วนและกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม จึงไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยาน
การใช้สิทธิฟ้องขับไล่ในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อครบกำหนดไถ่คืนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืนและโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ตราบใดที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปการละเมิดก็ยังคงอยู่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดในที่ดินขายฝาก: ประเด็นอายุความและประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม
เรื่องค่าเสียหายโจทก์บรรยายกล่าวไว้ในคำฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนว่าจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสามไม่ให้การต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายได้ การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องนั้นให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาล เมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วน และกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม ไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยานแต่อย่างใดจึงชอบแล้ว
การฟ้องขับไล่เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลยทั้งสามซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อโจทก์อ้างว่าครบกำหนดไถ่คืนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืน และโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้วจำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปเป็นการอยู่โดยละเมิด ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ อายุความย่อมยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะหยุดการทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การฟ้องขับไล่เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลยทั้งสามซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อโจทก์อ้างว่าครบกำหนดไถ่คืนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืน และโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้วจำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปเป็นการอยู่โดยละเมิด ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ อายุความย่อมยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะหยุดการทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์นอกประเด็นในคำให้การ ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตัดสินเป็นเหตุต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงตามคำฟ้องและใส่ชื่อโจทก์ในเอกสารสิทธิดังกล่าว พร้อมกับเรียกเก็บค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงไม่ได้สูญหายแต่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 4 โจทก์ต้องไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้จำเลยที่ 4 ส่งมอบ ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าจำเลยที่ 1 จะออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงตามฟ้องโจทก์ให้ได้หรือไม่เพราะเอกสารสิทธิดังกล่าวไม่ได้สูญหาย แต่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 4 ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ออกใบแทนเอกสารสิทธิทั้งหกแปลงให้โจทก์ไม่ได้เนื่องจากโจทก์ไม่เคยยื่นคำขอออกใบแทน จึงเป็นอุทธรณ์ที่นอกเหนือจากประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกที่ดินพิพาท: สิทธิในที่ดินเป็นของผู้ครอบครองทำประโยชน์ ไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรม
คดีก่อนมีประเด็นว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ และมีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ. หรือไม่ จึงมีประเด็นต่างกัน แม้ในคดีก่อนศาลจะฟังว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 312 เป็นของ ฟ. ผู้ตายเพียงผู้เดียว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วในคดีก่อน จึงไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยดังกล่าวในคดีก่อนมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10251/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้สิทธิสถานีบริการน้ำมันกับการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ศาลยืนตามประเมินของเจ้าหน้าที่
ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินค่ารายปีและภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย และคำชี้ขาดของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับโรงเรือนพิพาทตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาสัญญาการให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการซึ่งเป็นโรงเรือนพิพาทที่ปรากฏในสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า การที่โจทก์ได้รับค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า เพราะเป็นสัญญาที่ตกลงให้คู่สัญญาสามารถใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินและคู่สัญญาต้องเสียค่าตอบแทนในการเข้าไปใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ค่าใช้สิทธิที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเพียงค่าเช่าบางส่วน การที่จำเลยกำหนดค่ารายปีสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ต่ำกว่าอัตราค่าเช่าที่โจทก์ได้รับ นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว เป็นการวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงในสำนวนแล้วปรับกับข้อกฎหมายตามประเด็นข้อพิพาท จึงมิได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็นพิพาทตามที่โจทก์อุทธรณ์
โจทก์ทำสัญญาให้บริษัท ฮ. เข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเพื่อจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ โดยสัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการดังกล่าวมีเงื่อนไขในสัญญาว่า โจทก์อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี เครื่องหมายการค้า เทคนิคการบริหาร การตลาดและการใช้เครื่องบริภัณฑ์ และระบบต่าง ๆ ของโจทก์ โดยบริษัทดังกล่าวต้องจ่ายค่าใช้สิทธิในสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวให้โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 85,000 บาท และแต่ละเดือนบริษัทดังกล่าวต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ในสัญญา มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่ตกลงกัน นอกจากนี้ผู้ใช้บริการมีเพียงสิทธิอาศัยในสถานีบริการน้ำมันและที่ดินโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า ไม่อาจถือได้ว่าค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวรวมค่าเช่าโรงเรือนรวมอยู่ด้วย
โจทก์ทำสัญญาให้บริษัท ฮ. เข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเพื่อจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ โดยสัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการดังกล่าวมีเงื่อนไขในสัญญาว่า โจทก์อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี เครื่องหมายการค้า เทคนิคการบริหาร การตลาดและการใช้เครื่องบริภัณฑ์ และระบบต่าง ๆ ของโจทก์ โดยบริษัทดังกล่าวต้องจ่ายค่าใช้สิทธิในสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวให้โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 85,000 บาท และแต่ละเดือนบริษัทดังกล่าวต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ในสัญญา มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่ตกลงกัน นอกจากนี้ผู้ใช้บริการมีเพียงสิทธิอาศัยในสถานีบริการน้ำมันและที่ดินโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า ไม่อาจถือได้ว่าค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวรวมค่าเช่าโรงเรือนรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในสาระสำคัญ และการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยประสงค์จะทำสัญญาซื้อขายต่อไป แต่จำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจำนอง โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาจำนองและไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนอง ขอให้เพิกถอนสัญญาจำนอง จำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจำนองกระทำโดยชอบและสุจริต ไม่มีเหตุเพิกถอนตามคำคู่ความดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าการทำสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ทั้งปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามคำคู่ความมีประเด็นเพียงว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองเพื่อประกันเงินกู้และโจทก์ได้รับเงินตามสัญญากู้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาจำนองที่ดินเป็นโมฆียะเพราะโจทก์กระทำโดยถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กลฉ้อฉลหรือไม่นั้น จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาตามประเด็นที่ถูกต้องศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย แต่เนื่องจากคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ประสงค์ทำนิติกรรมจะขายที่ดินโดยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การทำสัญญาจำนองของโจทก์จึงเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามคำคู่ความมีประเด็นเพียงว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองเพื่อประกันเงินกู้และโจทก์ได้รับเงินตามสัญญากู้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาจำนองที่ดินเป็นโมฆียะเพราะโจทก์กระทำโดยถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กลฉ้อฉลหรือไม่นั้น จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาตามประเด็นที่ถูกต้องศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย แต่เนื่องจากคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ประสงค์ทำนิติกรรมจะขายที่ดินโดยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การทำสัญญาจำนองของโจทก์จึงเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของข้อตกลงประนีประนอมยอมความ และการระงับหนี้เดิม
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความในส่วนที่เกี่ยวกับการถอนฟ้องที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่ง 1 คดี จำเลยกับพวกถอนฟ้องคดีอาญา 1 คดี คดีแพ่ง 2 คดี และตกลงประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งอีก 1 คดี คดีแพ่งทั้ง 4 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150แม้ข้อตกลงในส่วนที่ฝ่ายจำเลยต้องถอนฟ้องคดีอาญาในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอม เป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตามมาตรา 173 จึงไม่เกี่ยวกับส่วนที่โจทก์จะได้รับชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท จากจำเลยและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความ
ประเด็นข้อพิพาทตั้งขึ้นได้โดยคำคู่ความ ซึ่งหมายความรวมถึงคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5),183 เมื่อจำเลยให้การว่าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องระงับไปด้วยการทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องหรือไม่ ปัญหาว่าบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะหรือไม่ จึงเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพราะมีผลโดยตรงต่อการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามข้อต่อสู้ของจำเลย ทั้งโจทก์ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในชั้นอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ประเด็นข้อพิพาทตั้งขึ้นได้โดยคำคู่ความ ซึ่งหมายความรวมถึงคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5),183 เมื่อจำเลยให้การว่าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องระงับไปด้วยการทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องหรือไม่ ปัญหาว่าบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะหรือไม่ จึงเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพราะมีผลโดยตรงต่อการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามข้อต่อสู้ของจำเลย ทั้งโจทก์ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในชั้นอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การสำแดงราคาสินค้าเท็จ, อำนาจฟ้อง, อายุความ, ความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ในชั้นชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ข้อ คือ 1. โจทก์มีอำนาจฟ้องและหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 2. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ 3. คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ 4. ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ 5. จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด แต่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นในข้อ 2. และข้อ 5. เท่านั้น โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ทราบแล้วว่าจะต้องชำระภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มที่ได้สำแดงเท็จไว้ จะถือว่าจำเลยจงใจทำละเมิดให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกต่อไปแล้วพิพากษายกฟ้อง ซึ่งปัญหาว่าจำเลยทราบหรือไม่ว่าต้องชำระค่าภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่นั้น หากฟังได้ว่าจำเลยทราบเหตุดังกล่าว ก็จะมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะมิได้นำเงินซึ่งเป็นทรัพย์สินของห้างมาชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ก่อนอันจะถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ฉะนั้น หากจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริง และจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มแก่โจทก์เพียงใดเสียก่อน ถ้าหากมิได้เป็นหนี้ค่าภาษีอากรเพราะได้สำแดงราคาสินค้าถูกต้องตามราคาซื้อขายอันแท้จริงในท้องตลาดแล้ว จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินของห้างไปชำระให้แก่โจทก์ แต่เมื่อศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ กรณีจึงยังไม่อาจทราบแน่ชัดว่าห้างเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์หรือไม่ เพียงใด แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นแล้วอันเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะวินิจฉัยในประเด็นที่ 1. และประเด็นที่ 3. ที่ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเองได้ก็ตามแต่เพื่อให้คดีมีการตรวจสอบดุลพินิจเป็นไปตามลำดับชั้นศาล จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คพิพาทโดยทุจริตและการพิสูจน์มูลหนี้ที่ชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิด
คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทไว้ในครอบครองโดยทุจริตนั้นทุจริตอย่างไรก็ไม่ได้กล่าวไว้ชัด ที่ว่าคบคิดกับบุคคลอื่น บุคคลอื่นนั้น เป็นผู้ทรงเช็คคนก่อนหรือไม่ หรือเป็นผู้ใดไม่ปรากฏ ที่ว่าโจทก์ควรรู้ว่าเช็คพิพาทมีการชำระหนี้แล้ว ก็ไม่ใช่คำยืนยันว่าโจทก์รู้ แปลความว่าอาจไม่รู้ก็ได้เช่นกันแล้วให้การว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทมาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจาก ร. โดยคบคิดกันฉ้อฉล จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นพิพาท
จำเลยที่ 2 ให้ ร. นำเช็คแลกเงินสดจากโจทก์และมีการเปลี่ยนเช็คเรื่อยมาต่อมาได้รวมจำนวนเงินที่เป็นหนี้และกู้เงินเพิ่มอีกแล้วจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นการกู้เงินและการแลกเปลี่ยนเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรงแต่ติดต่อผ่าน ร. เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้โดยชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยทั้งสองเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900,987และ 989
จำเลยที่ 2 ให้ ร. นำเช็คแลกเงินสดจากโจทก์และมีการเปลี่ยนเช็คเรื่อยมาต่อมาได้รวมจำนวนเงินที่เป็นหนี้และกู้เงินเพิ่มอีกแล้วจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นการกู้เงินและการแลกเปลี่ยนเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรงแต่ติดต่อผ่าน ร. เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้โดยชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยทั้งสองเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900,987และ 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทนผู้ขนส่ง: ตัวแทนไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้ขนส่งหากไม่ได้รับมอบหมาย
โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ประกอบธุรกิจตัวแทนของผู้ขนส่งในราชอาณาจักร เนื่องจากผู้ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงมอบให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการต่าง ๆ ที่ท่าต้นทางแทน โดยโจทก์จะได้รับบำเหน็จตัวแทนจากจำนวนค่าระวางที่ผู้ส่งชำระให้ โจทก์จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเล ให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 3 โจทก์เป็นตัวแทนสายการเดินเรือ ว. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่คู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางทะเลกับจำเลย ทั้งไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจตัวแทนผู้ขนส่งฟ้องคดีแทนผู้ขนส่งได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยที่สายการเดินเรือ ว. มิได้มอบอำนาจให้ดำเนินการ จึงไม่มีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการกำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการกำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)