พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างออกแบบก่อสร้าง: ความรับผิดของผู้รับจ้าง, ความผิดพลาดในการออกแบบ, และการปฏิเสธความรับผิด
โจทก์มีอาชีพออกแบบโครงการก่อสร้างย่อมต้องทราบระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเป็นอย่างดีจึงไม่น่าเป็นไปได้ที่โจทก์จะไม่ส่งมอบแบบพิมพ์เขียวในอัตราส่วน 1 ต่อ 100 เพื่อใช้ก่อสร้างให้แก่จำเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ส่งมอบแบบพิมพ์เขียวดังกล่าวแล้ว จำเลยต้องชำระค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 4 ส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ ส่วนการที่จำเลยไม่ได้ทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็ดีหรือยังไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้าง อันทำให้จำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างได้ก็ดีก็เป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยเอง หาอาจยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้ไม่
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าแห่งการงานอันเนื่องมาจากสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันโดยปริยายตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม ซึ่งไม่ได้กำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญา ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ทำงานในงวดที่ 2 ยังไม่แล้วเสร็จจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการวิชาชีพในงวดที่ 2 โดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาที่วินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันโดยปริยาย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าการงาน 2,140,000 บาท ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ออกแบบและส่งมอบแบบโครงการพัทยา สาย 2 ให้แก่จำเลย ส่วนจำเลยก็ได้ชำระค่าบริการวิชาชีพแก่โจทก์ครบตามสัญญา การที่จำเลยยอมรับมอบงานที่โจทก์ทำและชำระค่าบริการให้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่ามีข้อโต้แย้งใดบ่งชี้ว่างานออกแบบที่โจทก์ทำขึ้นไม่ถูกต้อง โจทก์จึงย่อมไม่มีความรับผิดใดๆ ตามสัญญาจ้างเดิม การที่โจทก์และจำเลยมาทำสัญญาจ้างออกแบบกันใหม่แม้จะมีเนื้อหาเป็นการให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงแบบเดิมที่โจทก์ทำไว้ก็ตาม ต้องถือเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาเพื่อผูกพันตามข้อตกลงใหม่ที่ระบุไว้ในสัญญาจึงไม่ใช่เป็นการก่อหนี้ที่จำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์โดยสำคัญผิดในแบบของสัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญาอันจะทำให้สัญญาจ้างออกแบบฉบับใหม่ตกเป็นโมฆะตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ดังนั้น จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดชำระค่าบริการวิชาชีพตามสัญญาฉบับใหม่แก่โจทก์ อย่างไรก็ดี แม้สัญญาฉบับใหม่จะไม่ตกเป็นโมฆะแต่การที่โจทก์ในฐานะผู้มีอาชีพออกแบบในงานสถาปัตยกรรมย่อมต้องมีหน้าที่ออกแบบให้เป็นไปตามข้อตกลงในกรอบของกฎหมาย ดังนั้น การที่โจทก์ออกแบบอาคารเออยู่ในตำแหน่งที่กฎหมายห้ามไม่ให้ก่อสร้างอาคารที่มีจำนวนเกิน 80 ห้อง นั้น แสดงว่าโจทก์ออกแบบโดยไม่คำนึงถึงข้อห้ามตามกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณชน แม้จำเลยรู้เห็นหรือยินยอมก็ต้องถือว่าโจทก์มีส่วนผิด จึงสมควรไม่กำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 2 ถึงที่ 4 ในส่วนของการออกแบบอาคารเอ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบริการวิชาชีพเฉพาะในส่วนของการออกแบบอาคารบีเท่านั้น ซึ่งเห็นสมควรกำหนดให้เป็นเงิน 428,000 บาท พร้อมด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์มีหน้าที่ออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโครงการพหลโยธิน 37 ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้จำเลยสามารถนำแบบแปลนไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของจำเลยแต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการตามสัญญาเป็นเหตุให้จำเลยก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด พอถือได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ออกแบบสำหรับการก่อสร้างไม่ถูกต้องแล้ว ข้อนำสืบของจำเลยว่าโจทก์ผิดสัญญาจึงไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น กรณีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาตามสัญญาจ้างออกแบบโครงการพหลโยธิน 37 หรือไม่... ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าการออกแบบของโจทก์เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยที่ต้องการให้เพดานห้องสูงมีความปลอดโปร่งอันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าซึ่งหากนำไปใช้เป็นแบบในการก่อสร้างจะทำให้อาคารที่ก่อสร้างมีความสูง 25 เมตร เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และการที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพด้านการออกแบบยอมกระทำในสิ่งที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สาธารณชนถือว่าโจทก์มีส่วนผิดที่ทำงานโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการออกแบบที่ผิดกฎหมายของตน โจทก์จึงไม่สมควรได้รับค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 2 ส่วนที่เหลือจำนวน 189,582.60 บาท
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าแห่งการงานอันเนื่องมาจากสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันโดยปริยายตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม ซึ่งไม่ได้กำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญา ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ทำงานในงวดที่ 2 ยังไม่แล้วเสร็จจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการวิชาชีพในงวดที่ 2 โดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาที่วินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันโดยปริยาย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าการงาน 2,140,000 บาท ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ออกแบบและส่งมอบแบบโครงการพัทยา สาย 2 ให้แก่จำเลย ส่วนจำเลยก็ได้ชำระค่าบริการวิชาชีพแก่โจทก์ครบตามสัญญา การที่จำเลยยอมรับมอบงานที่โจทก์ทำและชำระค่าบริการให้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่ามีข้อโต้แย้งใดบ่งชี้ว่างานออกแบบที่โจทก์ทำขึ้นไม่ถูกต้อง โจทก์จึงย่อมไม่มีความรับผิดใดๆ ตามสัญญาจ้างเดิม การที่โจทก์และจำเลยมาทำสัญญาจ้างออกแบบกันใหม่แม้จะมีเนื้อหาเป็นการให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงแบบเดิมที่โจทก์ทำไว้ก็ตาม ต้องถือเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาเพื่อผูกพันตามข้อตกลงใหม่ที่ระบุไว้ในสัญญาจึงไม่ใช่เป็นการก่อหนี้ที่จำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์โดยสำคัญผิดในแบบของสัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญาอันจะทำให้สัญญาจ้างออกแบบฉบับใหม่ตกเป็นโมฆะตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ดังนั้น จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดชำระค่าบริการวิชาชีพตามสัญญาฉบับใหม่แก่โจทก์ อย่างไรก็ดี แม้สัญญาฉบับใหม่จะไม่ตกเป็นโมฆะแต่การที่โจทก์ในฐานะผู้มีอาชีพออกแบบในงานสถาปัตยกรรมย่อมต้องมีหน้าที่ออกแบบให้เป็นไปตามข้อตกลงในกรอบของกฎหมาย ดังนั้น การที่โจทก์ออกแบบอาคารเออยู่ในตำแหน่งที่กฎหมายห้ามไม่ให้ก่อสร้างอาคารที่มีจำนวนเกิน 80 ห้อง นั้น แสดงว่าโจทก์ออกแบบโดยไม่คำนึงถึงข้อห้ามตามกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณชน แม้จำเลยรู้เห็นหรือยินยอมก็ต้องถือว่าโจทก์มีส่วนผิด จึงสมควรไม่กำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 2 ถึงที่ 4 ในส่วนของการออกแบบอาคารเอ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบริการวิชาชีพเฉพาะในส่วนของการออกแบบอาคารบีเท่านั้น ซึ่งเห็นสมควรกำหนดให้เป็นเงิน 428,000 บาท พร้อมด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์มีหน้าที่ออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโครงการพหลโยธิน 37 ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้จำเลยสามารถนำแบบแปลนไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของจำเลยแต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการตามสัญญาเป็นเหตุให้จำเลยก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด พอถือได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ออกแบบสำหรับการก่อสร้างไม่ถูกต้องแล้ว ข้อนำสืบของจำเลยว่าโจทก์ผิดสัญญาจึงไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น กรณีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาตามสัญญาจ้างออกแบบโครงการพหลโยธิน 37 หรือไม่... ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าการออกแบบของโจทก์เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยที่ต้องการให้เพดานห้องสูงมีความปลอดโปร่งอันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าซึ่งหากนำไปใช้เป็นแบบในการก่อสร้างจะทำให้อาคารที่ก่อสร้างมีความสูง 25 เมตร เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และการที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพด้านการออกแบบยอมกระทำในสิ่งที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สาธารณชนถือว่าโจทก์มีส่วนผิดที่ทำงานโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการออกแบบที่ผิดกฎหมายของตน โจทก์จึงไม่สมควรได้รับค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 2 ส่วนที่เหลือจำนวน 189,582.60 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม แม้ไม่มีการบอกกล่าวทวงถามก่อนฟ้องก็สามารถทำได้
แม้รายการสั่งซื้อวัสดุเพิ่มเติมที่โจทก์ดำเนินการสั่งซื้อไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้มีการทำคำสั่งนั้นเป็นลายลักษณ์อักษรตามทางปฏิบัติ แต่ในรายการสั่งซื้อวัสดุเพิ่มเติมนั้นได้มี บ. วิศวกรคุมงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ตรวจสอบและลงชื่อกำกับไว้ และมี ส. หัวหน้าคนงานเบิกความเป็นพยานยืนยันการตรวจสอบและลงลายมือชื่อกำกับดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้นำสืบหักล้างคำเบิกความของ ส. กรณีจึงต้องฟังตามที่ ส. เบิกความ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหนี้โจทก์ตามเอกสารรายการสั่งซื้อดังกล่าว
ตามป.พ.พ. มาตรา 602 บัญญัติว่าอันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ ดังนี้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าแรงและค่าวัสดุให้แก่โจทก์ในเวลาที่รับมอบงาน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้ โดยมิต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้อีก
ตามป.พ.พ. มาตรา 602 บัญญัติว่าอันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ ดังนี้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าแรงและค่าวัสดุให้แก่โจทก์ในเวลาที่รับมอบงาน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้ โดยมิต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายเมื่อคดีถึงที่สุด: การชำระค่าจ้างตามผลสำเร็จของงาน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาอาจจะตกลงเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือขั้นตอนในการชำระหนี้กันอย่างไรก็ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ตกลงชำระค่าจ้างว่าความให้แก่โจทก์เมื่อใดจึงต้องชำระค่าจ้างว่าความให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จกล่าวคือเมื่อคดีถึงที่สุด
โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเงื่อนไขการชำระเงินค่าจ้างว่าความไว้เป็นส่วนๆ ว่าโจทก์ทำการงานถึงขั้นตอนใดๆ จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์จำนวนเท่าใด หรือเมื่อคดีเสร็จเด็ดขาดในขั้นต้นใด จำเลยทั้งสองจะต้องชำระค่าจ้างว่าความแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใด อันเป็นการตกลงให้ค่าจ้างตามผลแห่งการงานที่ทำ จึงต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงจ้างว่าความกันโดยคำนึงถึงผลสำเร็จของการงานที่ทำเป็นประการสำคัญ โดยไม่คำนึงว่าการงานที่ให้ทำนั้นจะสำเร็จเมื่อใด ในขั้นตอนใด ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำการงานโดยดำเนินคดีให้แก่จำเลยทั้งสองจนจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับคู่กรณีได้ และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุด ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ทำการงานสำเร็จตามที่ตกลงว่าจ้างกันแล้ว
โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเงื่อนไขการชำระเงินค่าจ้างว่าความไว้เป็นส่วนๆ ว่าโจทก์ทำการงานถึงขั้นตอนใดๆ จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์จำนวนเท่าใด หรือเมื่อคดีเสร็จเด็ดขาดในขั้นต้นใด จำเลยทั้งสองจะต้องชำระค่าจ้างว่าความแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใด อันเป็นการตกลงให้ค่าจ้างตามผลแห่งการงานที่ทำ จึงต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงจ้างว่าความกันโดยคำนึงถึงผลสำเร็จของการงานที่ทำเป็นประการสำคัญ โดยไม่คำนึงว่าการงานที่ให้ทำนั้นจะสำเร็จเมื่อใด ในขั้นตอนใด ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำการงานโดยดำเนินคดีให้แก่จำเลยทั้งสองจนจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับคู่กรณีได้ และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุด ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ทำการงานสำเร็จตามที่ตกลงว่าจ้างกันแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบงานตามสัญญา ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) โจทก์กับจำเลยไม่ได้ตกลงกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ ต้องถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความถึงกำหนดเมื่อจำเลยได้รับมอบการงานที่ทำแล้วตามป.พ.พ.มาตรา 602 วรรคหนึ่ง จำเลยประสงค์ให้โจทก์ดำเนินคดีเฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ดำเนินคดีให้แก่จำเลยและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาอันถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบและจำเลยได้รับมอบการงานที่ทำตามสัญญาจ้างว่าความแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาค่าจ้างย่อมเกิดขึ้นทันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4857/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างทำของ การรับสภาพหนี้ และการนับอายุความใหม่เมื่อชำระหนี้บางส่วน
สัญญาที่โจทก์รับซ่อมรถยนต์ของจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1)
โจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จให้แก่ผู้ที่นำรถยนต์มาซ่อมแล้ว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิของตนในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระสินจ้างได้นับตั้งแต่วันที่ส่งมอบรถยนต์แต่ละคันให้แก่ผู้ที่นำมาซ่อม การที่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน จึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15
โจทก์นำหนี้จำนวน 41 รายการ รวมเป็นเงิน 402,197 บาท ซึ่งโจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 มาฟ้องในวันที่ 19 มิถุนายน 2543 ซึ่งเกินกว่า 2 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนหนี้ค่าซ่อมรถอีก 11 รายการ จำนวน 47,500 บาท ปรากฏว่าในวันที่ 8 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยชำระหนี้บางส่วน หนี้ค่าซ่อมรถทั้ง 11 รายการ ยังไม่ขาดอายุความ อายุความสำหรับหนี้ดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับใหม่ และเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์ในส่วน 11 รายการนี้ จึงยังไม่ขาดอายุความ
การรับสภาพหนี้อันจะเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจะต้องกระทำก่อนที่หนี้ขาดอายุความ เมื่อหนี้ค่าซ่อมรถจำนวน 402,197 บาท ขาดอายุความไปแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 การชำระหนี้บางส่วนของจำเลยในวันดังกล่าวจึงไม่มีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จให้แก่ผู้ที่นำรถยนต์มาซ่อมแล้ว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิของตนในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระสินจ้างได้นับตั้งแต่วันที่ส่งมอบรถยนต์แต่ละคันให้แก่ผู้ที่นำมาซ่อม การที่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน จึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15
โจทก์นำหนี้จำนวน 41 รายการ รวมเป็นเงิน 402,197 บาท ซึ่งโจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 มาฟ้องในวันที่ 19 มิถุนายน 2543 ซึ่งเกินกว่า 2 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนหนี้ค่าซ่อมรถอีก 11 รายการ จำนวน 47,500 บาท ปรากฏว่าในวันที่ 8 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยชำระหนี้บางส่วน หนี้ค่าซ่อมรถทั้ง 11 รายการ ยังไม่ขาดอายุความ อายุความสำหรับหนี้ดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับใหม่ และเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์ในส่วน 11 รายการนี้ จึงยังไม่ขาดอายุความ
การรับสภาพหนี้อันจะเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจะต้องกระทำก่อนที่หนี้ขาดอายุความ เมื่อหนี้ค่าซ่อมรถจำนวน 402,197 บาท ขาดอายุความไปแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 การชำระหนี้บางส่วนของจำเลยในวันดังกล่าวจึงไม่มีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีค่าจ้างและการรับมอบงานที่มีข้อบกพร่อง สิทธิเรียกร้องเริ่มเมื่อรับมอบงานจริง
วันที่โจทก์ส่งมอบงานถมดินและปรับพื้นที่ย่อมไม่เป็นการแน่นอนว่าจำเลยที่ 1จะรับมอบงานหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อโจทก์ส่งมอบงานแล้วจำเลยที่ 1 จะต้องชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ทันทีเพราะงานที่ส่งมอบอาจมีข้อบกพร่องอันจะต้องแก้ไขเสียก่อน โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 รับมอบงานเป็นต้นไป จำเลยที่ 1ลงชื่อในบันทึกท้ายหนังสือของคณะกรรมการตรวจรับงานเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2539 แต่ก็ยังมีข้อเรียกร้องให้โจทก์ปรับถนนให้เรียบร้อยเสียก่อน แสดงว่าการรับมอบงานของจำเลยที่ 1 ไม่เร็วไปกว่าวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24เมษายน 2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความโดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนจากทุนทรัพย์ ไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นการพนัน
ตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 และประกาศข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวออกใช้บังคับมิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความ ฉะนั้น สัญญาจ้างว่าความที่ระบุว่า "คิดค่าทนายความร้อยละ 20 ของยอดทุนทรัพย์ โดยชำระค่าทนายความเมื่อบังคับคดีได้ กรณีบังคับคดีได้เพียงบางส่วนก็คิดค่าทนายความบางส่วนที่บังคับคดีได้ และถ้าคดีมีการยอมความกันคิดค่าทนายความร้อยละ 10 ของยอดเงินที่ยอมความ" จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ส่วนข้อตกลงที่ให้คิดค่าทนายความเป็นร้อยละของทุนทรัพย์ และลดส่วนลงหากบังคับคดีได้เพียงบางส่วน หรือมีการประนีประนอมยอมความกัน เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาจ้างว่าความจึงไม่เป็นโมฆะ และตามสัญญาจ้างว่าความเมื่อไม่มีข้อใดที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชค และไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะกัน แต่เป็นสัญญาจ้างทำของที่ทนายความต้องลงแรงว่าต่างให้แก่ลูกความจึงหาใช่เป็นการพนันขันต่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 853 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของ เริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน และการเปลี่ยนแปลงสัญญา
สัญญาจ้างทำของไม่ต้องกระทำตามแบบหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นก็เป็นการเพียงพอที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ในรายการเพิ่มเติมมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิมและมีการเพิ่มงานมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าราคาค่าก่อสร้างจะต้องเพิ่มขึ้นกว่าราคาเดิมอย่างมาก ประกอบกับเจ้าของห้องชุดที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแบบจะต้องได้รับอนุญาตจากโจทก์เสียก่อน จึงฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องชุดตามรายการเพิ่มเติมโครงการจริง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต่อโจทก์
งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดำเนินการเสร็จในเดือนพฤษภาคม2534 แต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ บ. ในเมื่อขณะนั้นการก่อสร้างงานส่วนที่ 17 ยังไม่แล้วเสร็จ ย่อมมีเหตุผลอันควรที่โจทก์จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการจะเรียกสินจ้างจากจำเลยก็ยังไม่เกิดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 บัญญัติว่า"อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..."และสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบการที่ทำตามมาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบการที่ทำแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เช่นนี้ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงหาขาดอายุความไม่
งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดำเนินการเสร็จในเดือนพฤษภาคม2534 แต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ บ. ในเมื่อขณะนั้นการก่อสร้างงานส่วนที่ 17 ยังไม่แล้วเสร็จ ย่อมมีเหตุผลอันควรที่โจทก์จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการจะเรียกสินจ้างจากจำเลยก็ยังไม่เกิดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 บัญญัติว่า"อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..."และสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบการที่ทำตามมาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบการที่ทำแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เช่นนี้ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทำของ: เริ่มนับแต่วันรับมอบงาน มิใช่วันปฏิเสธการเบิกจ่าย
โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีวัตถุประสงค์หลายอย่างรวมทั้งรับเหมาประมูลงานก่อสร้างและงานด้านวิศวกรรมโยธาทุกชนิด โจทก์ทั้งสองจึงเป็นผู้ประกอบการค้า สิทธิเรียกร้องเอาค่าของที่ได้ส่งมอบหรือค่าการงานที่ได้ทำจึงมีอายุความ 2 ปี และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป และมาตรา 602 กำหนดให้สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำโจทก์ทั้งสองจึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างได้นับแต่วันที่ได้ทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างและได้ส่งมอบงานแล้ว ถือเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความ มิใช่ถือเอาวันที่ผู้ว่าจ้างปฏิเสธไม่อนุมัติการเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าวิชาชีพทนายความ: คดีต่อเนื่องกับการฟ้องขับไล่ และคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายแยกต่างหาก
โจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความให้แก่จำเลยเพื่อฟ้องขับไล่ ช. กับพวกผู้เช่าออกไปจากตึกแถวและแผงลอยทั้งหมดโดยตกลงค่าวิชาชีพกันไว้เป็นจำนวนแน่นอน เมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยจนบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว คือฟ้องขับไล่และดำเนินการให้ผู้เช่าขนย้ายออกจากที่ดินที่เช่า เพื่อให้จำเลยซึ่งเป็นตัวความเข้าครอบครองที่ดินและ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าวิชาชีพเต็มตามจำนวน แม้จำเลยจะมีส่วนในการทำความตกลงกับผู้เช่าบางรายจนมีการประนีประนอมยอมความกันก็ตาม
ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขับไล่ผู้เช่า ช. กับพวกซึ่งเป็นผู้เช่าได้ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 10425/2534 กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำสัญญาเช่าที่ดินโดยทุจริต ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าและชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้อง ช. กับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16093/2534 ฐานละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย คดีทั้งสองเรื่องดังกล่าวจำเลยได้มอบให้โจทก์เป็นทนายความแก้ต่างและยื่นฟ้อง เมื่อคดีทั้งสองไม่มี ความสัมพันธ์กับคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. กับพวก จึงไม่ใช่คดีที่ต่อเนื่องกัน จำเลยจึงต้องชำระค่าวิชาชีพในคดีแพ่งทั้งสองแยกต่างหากจากค่าวิชาชีพในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ ช. กับพวก
ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขับไล่ผู้เช่า ช. กับพวกซึ่งเป็นผู้เช่าได้ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 10425/2534 กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำสัญญาเช่าที่ดินโดยทุจริต ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าและชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้อง ช. กับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16093/2534 ฐานละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย คดีทั้งสองเรื่องดังกล่าวจำเลยได้มอบให้โจทก์เป็นทนายความแก้ต่างและยื่นฟ้อง เมื่อคดีทั้งสองไม่มี ความสัมพันธ์กับคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. กับพวก จึงไม่ใช่คดีที่ต่อเนื่องกัน จำเลยจึงต้องชำระค่าวิชาชีพในคดีแพ่งทั้งสองแยกต่างหากจากค่าวิชาชีพในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ ช. กับพวก