พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12852/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายป่าสงวนฯ และความผิดเกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์ ศาลฎีกายกฟ้องบางส่วนและแก้ไขโทษ
พ.ร.บ. เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 3 นิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ไว้ หมายถึง เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลและให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกกฎกระทรวงว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 เมื่อเหตุคดีนี้เกิดวันที่ 23 เมษายน 2552 ภายหลังจากวันที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องมาให้ครบถ้วนว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นไปตามคำนิยามในกฎกระทรวงด้วย เพราะถือว่ากำลังแรงม้าและขนาดความยาวของแผ่นบังคับโซ่เป็นข้อสาระสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องมือที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดยาวเกินกว่า 12 นิ้ว ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นฟ้องที่ไม่มีรายละเอียดพอสมควรไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพก็ไม่สามารถลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ และตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบ หรือในกรณีที่ศาลมิได้มีคำสั่งริบของกลางหรือของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อคดีนี้ศาลมิได้สั่งริบของกลางและมิได้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังพิพากษาให้จ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาทั้งสองข้อที่กล่าวมาข้างต้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16300/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความความหมาย ‘เลื่อยโซ่ยนต์’ ตามกฎกระทรวง และความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครอง
พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 3 ให้ความหมายของคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ไว้ว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง และกฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ กำหนดความหมายของคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ไว้ว่า
(1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งาน ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว
(2) ส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (1) ดังต่อไปนี้
(ก) เครื่องจักรกลต้นกำลังที่มีการออกแบบตัวเครื่องและอุปกรณ์ประกอบตัวเครื่องให้มีลักษณะหรือสภาพเพื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องมือตาม (1) โดยเฉพาะ ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า
(ข) แผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เลื่อยโซ่ยนต์ของกลางเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล ชนิดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ขนาดกำลังแรงม้าไม่ชัดเจน แต่แผ่นบังคับโซ่มีขนาดความยาวเกิน 12 นิ้ว แม้โจทก์ไม่ได้กล่าวยืนยันมาว่าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางมีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า คงกล่าวแต่เพียงว่า แผ่นบังคับโซ่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว เท่านั้นก็ตาม แต่ก็ต้องด้วยความหมายของคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 แล้ว เพราะใน (2) กำหนดความหมายเลื่อยโซ่ยนต์ ให้หมายถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (1) แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวด้วย ซึ่งก็คือเครื่องจักรกลต้นกำลังหรือแผ่นบังคับโซ่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางข้างต้น จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ขอให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้ริบ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ นอกจากนี้ ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสอง มาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
(1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งาน ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว
(2) ส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (1) ดังต่อไปนี้
(ก) เครื่องจักรกลต้นกำลังที่มีการออกแบบตัวเครื่องและอุปกรณ์ประกอบตัวเครื่องให้มีลักษณะหรือสภาพเพื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องมือตาม (1) โดยเฉพาะ ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า
(ข) แผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เลื่อยโซ่ยนต์ของกลางเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล ชนิดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ขนาดกำลังแรงม้าไม่ชัดเจน แต่แผ่นบังคับโซ่มีขนาดความยาวเกิน 12 นิ้ว แม้โจทก์ไม่ได้กล่าวยืนยันมาว่าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางมีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า คงกล่าวแต่เพียงว่า แผ่นบังคับโซ่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว เท่านั้นก็ตาม แต่ก็ต้องด้วยความหมายของคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 แล้ว เพราะใน (2) กำหนดความหมายเลื่อยโซ่ยนต์ ให้หมายถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือตาม (1) แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวด้วย ซึ่งก็คือเครื่องจักรกลต้นกำลังหรือแผ่นบังคับโซ่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางข้างต้น จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ขอให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้ริบ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ นอกจากนี้ ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสอง มาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20741/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ยังไม่มีกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์
ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 3 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้ เลื่อยโซ่ยนต์หมายความว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติดังกล่าว ให้ความหมายของเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ชัดเจนแล้วว่า เลื่อยโซ่ยนต์ หมายถึง เครื่องมือใช้สำหรับตัดไม้ หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และมาตรา 2 ของพระราชบัญญัตินี้ยังบัญญัติให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 และสอดคล้องกับความในมาตรา 14 ที่บัญญัติให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้นั้นไม่มีความผิดตามมาตรา 4 เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตยังไม่มีกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 3 ดังกล่าวออกมา ไม่ว่ากฎกระทรวงจะมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องถึงลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงตามที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ยกขึ้นอ้างในฎีกา คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4856/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลื่อยวงเดือนไม่ใช่เลื่อยโซ่ยนต์ การฟ้องผิดฐานครอบครองเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่成立
"เลื่อยโซ่ยนต์" ตามคำนิยามในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ หมายความว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อนติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง แต่เลื่อยวงเดือน ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายความว่า เลื่อยชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นกลม มีฟันอยู่โดยรอบจึงเป็นเลื่อยคนละชนิดกัน เมื่อคำฟ้องโจทก์ระบุชัดแจ้งว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเลื่อยวงเดือนพร้อมใบเลื่อย มิใช่มีเลื่อยโซ่ยนต์ การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม มาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ตาม เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดศาลฎีกาต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา