พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4865/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ: โจทก์ไม่ใช่ธุรกิจเงินทุน, สัญญาเลิกได้ทันทีเมื่อผิดนัด
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ข้อ (41) ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ซึ่งทรัพย์สินใด ๆ ตามหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ ธุรกิจของโจทก์มิใช่การจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามความหมายของ "ธุรกิจเงินทุน" ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 4(1) ถึง (5) ทั้งการประกอบธุรกิจเงินทุนจะกระทำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งในรูปบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ เท่านั้น ดังนั้นการดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภคที่ออกตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ข้อ 3 (7) ก. ที่จะต้องมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อที่ผิดนัดไม่ใช้เงินรายงวดสองงวดติด ๆ กันให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือก่อน เมื่อไม่ปฏิบัติตามจึงจะริบเงินที่ชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 13 เป็นต้นมา สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันทันทีตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 10 โจทก์ไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาอีก โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิเรียกร้อง (Factoring) ไม่ใช่การประกอบธุรกิจเงินทุนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า "ธุรกิจเงินทุน" หมายความว่า ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง จำแนกประเภทได้ดังต่อไปนี้..." นั้น ย่อมมีความหมายว่าการประกอบธุรกิจเงินทุนต้องมีการจัดหาเงินทุนและกำหนดกิจการใช้เงินทุนไว้ 5 ประเภท ซึ่งทุกประเภทได้บัญญัติถึงกิจการการหาเงินทุนไว้คือ "กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชน" ทั้งได้บัญญัติด้วยว่า "จัดหาเงินทุนจากประชาชน" หมายความรวมถึง กู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนด้วย ดังนี้ ความหมายของการประกอบธุรกิจเงินทุนที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ จะต้องเป็นธุรกิจที่มุ่งหมายจัดหาเงินทุนมาจากประชาชนทั่วไปโดยมิได้จำกัดว่าเป็นผู้ใด ดังนั้น แม้สัญญาขายโอนสิทธิเรียกร้อง (ในประเทศ) ที่เจ้าหนี้ทำกับบริษัท พ. จะมีข้อตกลงให้เจ้าหนี้ได้ประโยชน์มีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี หรือข้อตกลงอื่นๆ ที่ให้เจ้าหนี้ได้รับประโยชน์ก็ตามข้อตกลงเหล่านั้นก็เป็นข้อผูกพันระหว่างเจ้าหนี้กับบริษัท พ. เท่านั้น มิใช่การประกอบธุรกิจเงินทุนที่มุ่งหมายจัดหาเงินทุนจากประชาชนทั่วไป ทั้งมิได้เพิ่มภาระแก่ลูกหนี้ให้ต้องรับผิดยิ่งไปกว่าหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดต่อบริษัท พ. แต่อย่างใด ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย และแม้จะเป็นการตกลงซื้อขายสิทธิเรียกร้องที่จะมีขึ้นในอนาคตเป็นคราวๆ ไป ข้อตกลงเช่นนี้เป็นเพียงข้อผูกพันที่จะเลือกซื้อหรือขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ในโอกาสข้างหน้าต่อไป มิใช่นิติกรรมซึ่งคู่สัญญาทำขึ้นเพื่ออำพรางการกู้ยืมเงิน และเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6469/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธุรกิจเงินทุนที่ไม่ได้รับอนุญาต: การกู้ยืมจากบุคคลในเครือไม่ใช่การจัดหาทุนจากประชาชนทั่วไป
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 4 กำหนดให้ "ธุรกิจเงินทุน หมายความว่า ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจำแนกประเภทได้ดังต่อไปนี้..."ซึ่งกิจการเงินทุนแต่ละประเภทมีการกำหนดวิธีหาเงินทุนไว้ตรงกันคือ "ธุรกิจหาทุนจากประชาชน" ซึ่งหมายความรวมถึงกู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนด้วย ทั้งคำว่า"ประชาชน" ตามพจนานุกรม หมายถึง พลเมืองหรือสามัญชนทั่ว ๆ ไป ดังนั้น ธุรกิจเงินทุนภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นธุรกิจที่มีการจัดหาทุนดำเนินกิจการจากประชาชนพลเมืองทั่วไปไม่มีจำกัดว่าจะเป็นใคร เมื่อปรากฏว่าบริษัทโจทก์จัดหาเงินทุนมาจากบริษัทในเครือหรือจากญาติพี่น้องเฉพาะคนเท่านั้นไม่เป็นการทั่วไป ประกอบกับโจทก์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินหรือให้เครดิตด้วยวิธีการอื่นได้ ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โจทก์ก็มีอำนาจให้จำเลยกู้เงินได้โดยชอบ สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทเช่าซื้อ, การแปลงสภาพบริษัท, และดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน ตามวัตถุประสงค์ข้อ (1) ถึง (4) ในหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจของโจทก์หาใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ไม่ การดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อโจทก์ ซึ่งเดิมเป็นบริษัทเอกชนทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชน และเมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อโจทก์ ซึ่งเดิมเป็นบริษัทเอกชนทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชน และเมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธุรกิจเช่าซื้อไม่เข้าข่ายธุรกิจเงินทุน, อำนาจลงนามหลังแปรสภาพบริษัท, ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดมีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ จึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจดังกล่าวของโจทก์มิใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแยกประเภทไว้ ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพก็หมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัดตามมาตรา 184 แต่มาตรา 185 ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทจำกัดที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สินหนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัด การที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินแทนได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ช. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัด และโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพก็หมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัดตามมาตรา 184 แต่มาตรา 185 ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทจำกัดที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สินหนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัด การที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินแทนได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ช. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัด และโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทเช่าซื้อ, หนังสือมอบอำนาจหลังแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน, และดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน ตามวัตถุประสงค์ข้อ (1) ถึง (4) ในหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจของโจทก์หาใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแยกประเภทได้ดังต่อไปนี้........ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ไม่ การดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อบริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุผลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อบริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุผลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ย แม้มิใช่สถาบันการเงิน: การพิจารณาธุรกิจเงินทุนและการมีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 การประกอบธุรกิจเงินทุนต้องมีการจัดหาเงินทุนมา แต่โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจในการจัดหาเงินทุนมาเพื่อนำออกให้ผู้อื่นกู้ยืม จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้อง ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง โจทก์มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน จึงมิใช่สถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2533 มาตรา 3 แต่โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงินและตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์เรียกดอกเบี้ย จากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินโดยตัวแทนของบริษัทเงินทุน และความรับผิดในสัญญาฝากทรัพย์
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายยืนยันข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้แน่นอนว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วเงินหรือตามสัญญาฝากทรัพย์นั้นจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่14 กรกฎาคม 2524 ข้อ 2(2), ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนิติบุคคลต่อการรับฝากเงินโดยผ่านตัวแทน และข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องดอกเบี้ย
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายยืนยันข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้แน่นอนว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วเงินหรือตามสัญญาฝากทรัพย์นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่ 14 กรกฎาคม2524 ข้อ 2 (2), ข้อ 3 (1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่ 14 กรกฎาคม2524 ข้อ 2 (2), ข้อ 3 (1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทต่อการกระทำของกรรมการ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จะกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2528 ข้อ 2(2) ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับฝากเงินจากโจทก์แล้วมิได้ออกเอกสารการกู้ยืมเงินหรือออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราของจำเลยที่ 1 ประทับไว้ จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามบทกฎหมายและประกาศดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ตามพฤติการณ์ที่พนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์ณ สำนักงานของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1ที่กระทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โดยรับฝากเงินแล้วออกเป็นเช็คให้เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินและรู้เห็นเอง โดยจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการในการรับฝากเงินและออกเช็คให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ การกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 แล้วยกเสีย มิใช่กรณีที่ศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งซึ่งจะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่จะต้องบังคับตามมาตรา 161 ซึ่งศาลใช้ดุลพินิจไม่คืนค่าธรรมเนียมฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ได้.