พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินก่อนการซื้อโดยบุคคลภายนอก ไม่มีผลผูกพันผู้ซื้อที่ดิน ผู้ซื้อมีสิทธิรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลว.เจ้าของเดิมได้ตกลงให้จำเลยที่1เช่าโดยให้จำเลยที่1ทำการก่อสร้างตึกแถวบนที่ดินพิพาทที่เช่าและมีสิทธินำไปให้บุคคลอื่นเช่าต่อได้เป็นระยะเวลา20ปีเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของว. แต่ข้อตกลงการเช่าระหว่างจำเลยที่1กับว. ดังกล่าวมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาเช่าระหว่างว.กับจำเลยที่1จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่างว. กับจำเลยที่1เท่านั้นไม่มีผลผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยอมตกลงกับจำเลยที่1ด้วยเมื่อสัญญาไม่ผูกพันโจทก์จำเลยที่1ก็ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวคงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไปส่วนค่าเสียหายมีอยู่อย่างใดจำเลยที่1ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนต่อไป จำเลยที่2แม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่1มีกำหนด20ปีก็ตามเมื่อจำเลยที่1ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่2เป็นบริวารของจำเลยที่1ต้องออกไปด้วยกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนตึกแถวที่เช่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้ค่าเช่าได้ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในแหล่งการค้ารถยนต์เข้าไม่ได้และมีเนื้อที่เพียง9ตารางวาเศษเฉพาะที่ดินพิพาทจึงไม่อาจให้เช่าได้สูงกว่าเดือนละ100บาทที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ2,000บาทจึงสูงเกินไปนั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ผู้เช่าที่มีค่าเช่าไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน เป็นคดีที่ไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากที่เช่าเมื่ออสังหาริมทรัพย์ที่เช่ามีค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทจึงเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8370/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินทำบ่อเลี้ยงปลาไม่เข้าข่ายการเช่านาตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ได้รับการคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองและมาตรา 248 วรรคสอง คดีจึงอุทธรณ์ฎีกาได้แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย และการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แต่ ก. มารดาเป็นผู้เช่าและเป็นการเช่าเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลา
การเช่าที่ดินเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลาถือไม่ได้ว่าเป็นการเช่านาตามความหมายในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาโดยอาศัย มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติ-ดังกล่าว กำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใดนอกจากการเช่านาเป็นการเช่าที่ดินที่ต้องมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การที่จำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลาจึงไม่ได้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
การเช่าที่ดินเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลาถือไม่ได้ว่าเป็นการเช่านาตามความหมายในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาโดยอาศัย มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติ-ดังกล่าว กำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใดนอกจากการเช่านาเป็นการเช่าที่ดินที่ต้องมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การที่จำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลาจึงไม่ได้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7549/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และคดีขอปลดเปลื้องทุกข์
โจทก์กล่าวในฟ้องถึงการกระทำของจำเลยแยกจากกันเป็นสองกรณี คือ จำเลยเป็นตัวการจ้างวานบุคคลอื่น ทำการขุดร่องน้ำในที่ดินบริเวณรัศมีคลองชลประทานสัมปทวน ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังของบุคคลซึ่งจำเลยว่าจ้างทำให้โดนท่อน้ำประปาของโจทก์ ซึ่งฝังไว้บริเวณทางเข้าที่ดินโจทก์แตกหักเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นเงิน 100 บาท จำเลยในฐานะตัวการและผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชอบต่อ ความเสียหายดังกล่าวกรณีหนึ่ง และหลังจากที่จำเลยจ้างบุคคลอื่นขุดร่องน้ำในที่ดินดังกล่าวซึ่งโจทก์ใช้เป็นที่ทำสวนและเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์แล้ว จำเลยได้เอาเครื่องสูบน้ำไปตั้งสูบน้ำขึ้นจากคลองชลประทานสัมปทวน เข้าไปในร่องน้ำดังกล่าว เป็นเหตุให้น้ำไหลเอ่อท่วมที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถปลูกพืชทำสวนในที่ดินนั้น ตลอดจนบริเวณพื้นที่รัศมีคลองชลประทานสัมปทวนได้อีกกรณีหนึ่ง ดังนี้ ในกรณีแรกโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ ค่าเสียหายในการซ่อมแซมท่อน้ำประปาเป็นเงิน 100 บาท เมื่อความเสียหายส่วนนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ส่วนกรณีหลัง โจทก์ขอให้บังคับจำเลยกลบร่องน้ำที่ขุดและทำที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิม กับห้ามจำเลยสูบน้ำจากคลองชลประทานสัมปทวนเข้าไปในร่องน้ำ ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคสอง แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการทำสวนในที่ดินบริเวณรัศมีคลองชลประทานสัมปทวนที่จำเลยขุดร่องน้ำและที่ดิน ของโจทก์เป็นเงิน 1,500 บาท และค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ 1,000 บาท มาด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบและเมื่อคดีในส่วนนี้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ส่วนกรณีหลัง โจทก์ขอให้บังคับจำเลยกลบร่องน้ำที่ขุดและทำที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิม กับห้ามจำเลยสูบน้ำจากคลองชลประทานสัมปทวนเข้าไปในร่องน้ำ ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคสอง แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการทำสวนในที่ดินบริเวณรัศมีคลองชลประทานสัมปทวนที่จำเลยขุดร่องน้ำและที่ดิน ของโจทก์เป็นเงิน 1,500 บาท และค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ 1,000 บาท มาด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบและเมื่อคดีในส่วนนี้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7518/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสอง กรณีค่าเช่าไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยาน
ที่จำเลยฎีกาว่าเอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ศาลจะอนุญาตและรับฟังและจำเลยไม่ผิดสัญญาเช่านั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลที่เห็นว่าเอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นสัญญาเช่าบ้านซึ่งไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนไปเนื่องจากข้อเท็จจริงฟังยุติแล้วว่าจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วงจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7518/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการพิสูจน์การผิดสัญญาเช่า รวมถึงข้อจำกัดการฎีกาในคดีค่าเช่าต่ำ
ที่จำเลยฎีกาว่า เอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ศาลจะอนุญาตและรับฟัง และจำเลยไม่ผิดสัญญาเช่านั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลที่เห็นว่า เอกสารที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นสัญญาเช่าบ้านซึ่งไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนไป เนื่องจากข้อเท็จจริงฟังยุติแล้วว่าจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย แม้จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างพิจารณา จำเลยก็ต่อสู้คดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์แล้วได้นำที่ดินไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วง โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ อันเป็นการผิดสัญญา ซึ่งเป็นการแสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดิน อันเป็นคำขอบังคับครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนการกระทำของจำเลยที่ว่านำที่ดินให้ผู้ใดเช่าและเป็นการผิดสัญญาข้อใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบให้เห็นได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย แม้จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างพิจารณา จำเลยก็ต่อสู้คดีได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์แล้วได้นำที่ดินไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วง โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ อันเป็นการผิดสัญญา ซึ่งเป็นการแสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดิน อันเป็นคำขอบังคับครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนการกระทำของจำเลยที่ว่านำที่ดินให้ผู้ใดเช่าและเป็นการผิดสัญญาข้อใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบให้เห็นได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทและขอบเขตอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงบางส่วน
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาทจนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาทจึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาทและตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆและเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้ เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้องแต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้นเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การละเมิด, และการส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาท จนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาท จึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาท และตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆ และเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้
เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่า พบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้น เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาท และตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆ และเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้
เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่า พบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้น เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่และโมฆะสัญญาซื้อขายที่ดินนิคมฯ ผู้ขายโอนไม่ได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในอัตราปีละ 200,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น หากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ด้วยก็ตามแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเอง ยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นที่ดินที่ต้องห้ามมิให้สมาชิกของนิคมหรือทายาทผู้รับมรดกโอนไปยังบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511มาตรา 12 วรรคหนึ่ง การที่ผู้รับมรดกที่ดินพิพาทโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม แม้จะมอบการครอบครองในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ห้ามโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเข้าไปหาประโยชน์ ยึดถือหรือครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ด้วยก็ตามแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเอง ยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นที่ดินที่ต้องห้ามมิให้สมาชิกของนิคมหรือทายาทผู้รับมรดกโอนไปยังบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511มาตรา 12 วรรคหนึ่ง การที่ผู้รับมรดกที่ดินพิพาทโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม แม้จะมอบการครอบครองในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ห้ามโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเข้าไปหาประโยชน์ ยึดถือหรือครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการใช้ดุลพินิจของศาลชั้นอุทธรณ์ในคดีขับไล่
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าตามสัญญาเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท แม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวมาในฟ้องด้วยว่าหากโจทก์ทั้งสองจะให้ผู้อื่นเช่าในปัจจุบันจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 45,000 บาท และโจทก์ทั้งสองใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายไปตามอัตราจำนวน 45,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาทก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองมิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น หากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคสอง
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้เช่าในสัญญาเช่าเป็นลายมือชื่อของจำเลย โดยเหตุผลว่าตามสัญญาเช่าจะเขียนคล้ายหมึกต่างสีกันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาเพราะปากกาที่ใช้เขียนหมึกอาจจะออกมาไม่สม่ำเสมอหรือหมึกหมดแล้วเปลี่ยนด้ามใหม่ก็ได้ อันเป็นความเห็นซึ่งโจทก์จำเลยมิได้นำสืบไว้ จึงเป็นการรับฟังโดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. นั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยดังกล่าวก็โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งสามารถตรวจดูด้วยสายตาและศาลอุทธรณ์สามารถใช้ดุลพินิจได้ การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งดังกล่าวจึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้สร้างอาคารในที่ดินพิพาทและโจทก์ที่ 1 สัญญาจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปอีก 10 ปี หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลง สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์ที่ 1 จะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาท 10 ปี โดยมีค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของจำเลยฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าที่มีต่อกัน จึงเป็นฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาจำเลยทั้งหมดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้เช่าในสัญญาเช่าเป็นลายมือชื่อของจำเลย โดยเหตุผลว่าตามสัญญาเช่าจะเขียนคล้ายหมึกต่างสีกันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาเพราะปากกาที่ใช้เขียนหมึกอาจจะออกมาไม่สม่ำเสมอหรือหมึกหมดแล้วเปลี่ยนด้ามใหม่ก็ได้ อันเป็นความเห็นซึ่งโจทก์จำเลยมิได้นำสืบไว้ จึงเป็นการรับฟังโดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. นั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยดังกล่าวก็โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งสามารถตรวจดูด้วยสายตาและศาลอุทธรณ์สามารถใช้ดุลพินิจได้ การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งดังกล่าวจึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้สร้างอาคารในที่ดินพิพาทและโจทก์ที่ 1 สัญญาจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปอีก 10 ปี หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลง สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์ที่ 1 จะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาท 10 ปี โดยมีค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของจำเลยฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าที่มีต่อกัน จึงเป็นฎีกาเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาจำเลยทั้งหมดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง