คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่ดินพิพาท: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปปลูกในที่ดินพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังว่า ที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครองโดยซื้อมาจาก ป.และ ค. เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้องเรื่องตัวแทนเชิด และข้อจำกัดการฎีกาฟ้องขับไล่
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างใดและที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามยินยอมแสดงออกยอมรับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการกิจการเข้าหุ้นส่วนกันนั้น ก็มีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จำเลยทั้งสามเข้าหุ้นส่วนกันนั้นเท่านั้นมิได้หมายความว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3อีกด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามมิได้ตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับชำระราคาที่ดินและตึกแถวพิพาทนั้นจากโจทก์ครบถ้วนแล้วจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ และพิพากษาให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินราชพัสดุและการฟ้องขับไล่: แม้เป็นที่ราชพัสดุ ผู้มีสิทธิครอบครองก่อนย่อมมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้จะไม่ปรากฏว่าขณะยื่นคำฟ้องที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่ แต่ก็ได้ความว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 75 ตารางวาใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัย ไม่ปรากฏว่าอยู่ในทำเลการค้า เชื่อว่าอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง แม้ที่พิพาทจะเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังตาม พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5แต่เมื่อจำเลยทั้งสองเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยโจทก์อนุญาตให้เข้าไปอยู่อาศัยชั่วคราว จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากข้อเท็จจริงเกินกรอบและมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์
การโต้เถียงเรื่องวันเวลาในการเข้าแย่งการครอบครองที่พิพาทว่าเมื่อใดเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเดือนละไม่เกิน 10,000 บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยสามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นอุทธรณ์ได้ แต่จำเลยหาได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงที่เกินกรอบประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และประเด็นที่จำเลยมิได้ยกขึ้นสู่การพิจารณา
ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 และที่ 2ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของตน แต่อ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบิดาจึงมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่าในขณะยื่นคำฟ้องที่พิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ5,000 บาท หรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ ราคา ที่ตั้งและสภาพทั่ว ๆ ไปของที่พิพาทแล้ว อาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ก็ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา ตามคำร้องสอดของจำเลยที่ 3 มิได้กล่าวอ้างหรือยกประเด็นในเรื่ององค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและโจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตไว้ ทั้ง ๆ ที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายตนที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่โจทก์ว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและโจทก์รับโอนที่พิพาทไว้โดยสุจริตหรือไม่ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงเดิมที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และประเด็นค่าเสียหายที่เป็นข้อเท็จจริง
ข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นฎีกาว่า ก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้จำเลยเคยฟ้องโจทก์มาก่อน ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้พิพากษาโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิได้เช่าอาคารพิพาทจากจำเลยศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ในคดีนี้กลับวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เช่าอาคารพิพาทจากจำเลย การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่คณะกรรมการปรับปรุงอาคารพิพาทของโจทก์ผู้ให้เช่ามีมติให้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยผู้เช่า นางย. ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองอาคารของโจทก์ผู้ให้เช่า ได้มีหนังสือบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยผู้เช่าไปตามมติดังกล่าวนั้น แม้ในมตินั้นจะไม่ได้ระบุให้นางย.เป็นผู้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยก็ถือได้ว่านางย.บอกเลิกการเช่าแทนโจทก์ผู้ให้เช่าแล้วโดยชอบโดยปริยาย ไม่จำเป็นต้องให้ผู้อำนวยการของโจทก์ผู้ให้เช่าต้องมอบอำนาจอีกการเช่าอาคารระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่าระงับลงแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นฟ้องอาจให้ค่าเช่าได้เพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทดังนี้ การที่จำเลยฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ควรต่ำกว่าเดือนละ 1,000 บาท เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีขับไล่และค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยละเมิดปลูกสร้างร้านค้าและที่อยู่อาศัยของจำเลยในที่ดินพิพาทของโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยรื้อถอนร้านค้าและที่อยู่อาศัยออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งถ้าหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 500 บาท จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอก จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ - คดีขับไล่บุคคลออกจากที่ดิน
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งห้าบุกรุก เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องที่ดินโจทก์จะให้เช่าได้เกิดเดือนละ 5,000 บาท และจำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ ฉ.จำเลยทั้งห้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิฉ. ซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จะเปลี่ยนใจภายหลัง ศาลยังคงยึดตามการเสียค่าขึ้นศาลเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งจำเลยได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณะ และขอให้จำเลยออกโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินที่พิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จะเปลี่ยนความเห็นภายหลัง ศาลยึดตามการเสียค่าขึ้นศาลเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งจำเลยได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณะ และขอให้จำเลยออกโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินที่พิพาท
of 7