คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8596/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอำนาจปกครองบุตรหลังหย่า และการเพิกถอนข้อตกลงค่าเลี้ยงชีพโดยพิจารณาประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฎีกาประเด็นขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเรื่องที่โจทก์ตกลงจะให้ค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของโจทก์ว่า คำฟ้องในเรื่องค่าเลี้ยงชีพเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 และไม่รับวินิจฉัยนั้น เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เพราะประเด็นค่าเลี้ยงชีพ เป็นการฟ้องตั้งสิทธิ อันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากัน จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว ซึ่งโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และ 248 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247
ประเด็นขอเพิกถอนอำนาจปกครองของจำเลยนั้น โจทก์อ้างว่า หากผู้เยาว์อยู่กับโจทก์ จะได้ประโยชน์และความผาสุกดีกว่าอยู่กับจำเลย เหตุที่อ้างไม่ถือเป็นการใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบ หรือประพฤติชั่วร้ายอันเป็นเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองจำเลยได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง แต่การที่ผู้เยาว์พักอาศัย เรียนหนังสือ และอยู่ในความดูแลของโจทก์ และผู้เยาว์ทำคำแถลงต่อศาลว่า ประสงค์จะอยู่กับโจทก์ อยู่กับจำเลยและบิดาเลี้ยงไม่มีความสุข ผู้เยาว์อายุ 10 ปีแล้วถือได้ว่ามีความรู้สึกนึกคิดได้โดยตนเอง สาเหตุที่ไม่อยากอยู่กับจำเลยสามารถบอกเหตุผลได้ มิได้กล่าวอ้างลอยๆ ประกอบกับฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองของจำเลยฝ่ายเดียวตามที่ตกลงในบันทึกท้ายทะเบียนหย่า แต่คำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่ตกลงกันไว้กับจำเลย ถือว่าโจทก์ประสงค์ที่จะใช้อำนาจปกครอง เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์ความผาสุกของผู้เยาว์ อาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520,1521 สมควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองร่วมกับจำเลย โดยให้โจทก์มีอำนาจกำหนดที่อยู่ผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7307/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัย และการโต้แย้งพยานที่ไม่น่าเชื่อถือ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาคอนกรีตออกไปจากที่ดินของโจทก์กับเรียกค่าเสียหาย จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดี ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่ง กับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง ประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 5,000 บาท แก่โจทก์ ไม่มีคู่ความอุทธรณ์โต้แย้งว่า ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวสูงหรือต่ำเกินไป เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีในส่วนฟ้องขับไล่ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ปีละ 2,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกา ถือได้ว่าในขณะยื่นคำฟ้องที่ดินของโจทก์อาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาคำแถลงของ ส. เจ้าพนักงานผู้รังวัดที่ดินซึ่งแถลงต่อศาลชั้นต้นแล้ววินิจฉัยว่า ส. ได้รังวัดที่ดินของโจทก์และจำเลยไปตามหลักวิชา ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เจ้าพนักงานผู้รังวัดได้รังวัดที่ดินของโจทก์และจำเลยตามคำท้าทุกประการ จำเลยฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีความคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริงตามคำท้าของโจทก์และจำเลย คำแถลงของ ส. ไม่น่าเชื่อถือ ไม่น่ารับฟังเป็นพยานคนกลาง เป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ฎีกาของจำเลยข้อที่เหลือเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยแล้ว ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่: ต้องมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย และข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีค่าเช่าต่ำ
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเพียงเดือนละ 1,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสองและมาตรา 248 วรรคสอง การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 และศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย แล้ววินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง โดยไม่มีการรับรองหรืออนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ทั้งไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงไม่ชอบ ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสองและมาตรา 243 (3) (ก) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
เมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่เคยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิการเช่า เพราะจำเลยครอบครองอยู่ก่อนแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่จำเลยจอดรถในที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงเป็นการละเมิดต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย หาใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่และขอให้ศาลเรียกการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมซึ่งจะมีผลทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่และบังคับคดีที่ดิน/บ้าน: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าวพร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 36,000 บาท จำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,500 บาท คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย โดย ท. ยกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องทั้งสองในฐานะบุตรสาวและบุตรเขย และศาลชั้นต้นงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง และมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีบ้านของผู้ร้องทั้งสอง เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องทั้งสองไม่เป็นบริวารของจำเลย และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุโต้เถียงดุลพินิจศาลอุทธรณ์ คดีครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์
ในชั้นฎีกาโจทก์และจำเลยโต้เถียงกันว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ขณะยื่นคำฟ้องเดือนละไม่เกิน 10,000 บาท การที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิใช่ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4868/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย: บริวารในคดีขับไล่และอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่พร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเนื่องจากขาดประโยชน์จากการนำที่ดินพิพาทออกให้เช่า แม้จำเลยทั้งสี่จะให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ แต่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 และพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสี่พร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาทพร้อมกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 300 บาท จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลฎีกายกอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยทั้งสี่ตามลำดับ เนื่องจากเป็นอุทธรณ์และฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คู่ความในคดีดังกล่าวจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับแก่บริวารของจำเลยทั้งสี่ผู้ถูกฟ้องขับไล่และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่ผู้ร้องในฐานะบริวารของจำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องมิใช่บริวารของจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีขับไล่และการแสดงอำนาจพิเศษเมื่อมูลค่าเช่าที่ดินต่ำกว่าเกณฑ์
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดิน ซึ่งขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าชั้นนี้เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการบังคับผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นบริวารของจำเลยถูกฟ้องขับไล่ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องทั้งสามไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษได้ ที่ผู้ร้องทั้งสามฎีกาว่า ผู้ร้องทั้งสามมิใช่บริวารของจำเลย เนื่องจากผู้ร้องที่ 3 ได้รับโอนที่ดินมาจากเจ้าของเดิมและครอบครองโดยสุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง เหตุทุนทรัพย์เกินและข้อพิพาทเป็นเรื่องสัญญาหมั้นสินสอด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301-6304/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท, การบอกเลิกสัญญาเช่านา, และอำนาจฟ้องของมิสซัง
จำเลยทั้งสี่เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์และอ้างว่าได้ยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์กับแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยทั้งสี่แล้ว จำเลยทั้งสี่จะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้แสดงเจตนาดังกล่าวให้โจทก์ทราบ จำเลยทั้งสี่จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการครอบครองเกิน 1 ปี มายันโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องการแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นข้อที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การเป็นประเด็นไว้มาด้วยก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ. ว่าด้วยลักษณะ ฐานะ ของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 ข้อ 5 บัญญัติว่า มิสซังจะร้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินได้แต่ในชื่อของมิสซังเองนั้น มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการห้ามโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้เช่าที่ดินของโจทก์ หรือบุคคลที่มิได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในหนังสือสำหรับที่ดินหรือโฉนดที่ดินในเรื่องที่เกี่ยวกับที่ดินนั้น แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ ว. เป็นผู้ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่า หนังสือมอบอำนาจช่วงของโจทก์ติดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์มาเบิกความรับรองต้นฉบับและส่งสำเนาเป็นพยานหลักฐานแทนโดยรับต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงคืนไป จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้ถามค้านหรือโต้แย้งคัดค้าน จึงยังไม่ได้ความว่าต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงของโจทก์ติดอากรแสตมป์ไว้เป็นจำนวนเงินเท่าใด จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจช่วงของโจทก์ติดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คู่ความพิพาทกันในเรื่องสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทซึ่งมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง และเรื่องขับไล่เพราะผิดสัญญาเช่าซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกส่วนหนึ่ง แต่ละส่วนแยกจากกันได้ สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องแยกพิจารณาตามส่วนดังกล่าว จำเลยทั้งสี่โต้แย้งข้อเท็จจริงว่าการเช่าที่ดินพิพาทเป็นการเช่านาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า การบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 34 และโต้แย้งค่าเสียหายของโจทก์ไม่เกินปีละ 500 บาท ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ข้อโต้แย้งดังกล่าวอยู่ในส่วนคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และเป็นคดีที่โจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทอันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
จำเลยทั้งสี่ฎีกาคำสั่ง โดยขอให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเพิ่มเติมมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสี่ว่าได้เปลี่ยนลักษณะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ประกอบกับฎีกาของจำเลยทั้งสี่ข้ออื่นไม่มีปัญหาโต้แย้งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาท ศาลฎีกาจึงคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเพิ่มเติมมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ให้จำเลยทั้งสี่ กรณีเป็นไปตามคำขอของจำเลยทั้งสี่แล้ว จึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาคำสั่งของจำเลยทั้งสี่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ศาลไม่รับฎีกาเนื่องจากโจทก์ไม่โต้แย้งค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และการขอให้รอฟังผลคดีอื่นเป็นดุลยพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ย่อมถือได้ว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องนั้นที่ดินและบ้านพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นงดการอ่านคำพิพากษาจนกว่าคดีที่จำเลยร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินและบ้านพิพาทถึงที่สุดนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการสั่งไม่รอฟังผลคดีอื่นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
of 7