พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกกรรมความผิดฐานเผยแพร่สื่อลามกอนาจารเด็ก: แยกกรรมหรือไม่?
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ 1.1 จำเลยทั้งสองเพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ร่วมกันทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร หรือส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก และยังร่วมกันนำข้อมูลคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยนำวิดีโอแสดงภาพและเสียงเด็กในลักษณะโป๊เปลือยและมีการร่วมประเวณี อัปโหลดเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้สร้างและดูแล 1.2 ภายหลังจากที่กระทำความผิดดังกล่าว เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าสื่อลามกอนาจารเด็ก จำเลยทั้งสองร่วมกันโฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใด ๆ ว่าสื่อลามกอนาจารเด็กนั้นสามารถรับชมได้ผ่านทางเว็บไซต์ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้สร้างและดูแล ทั้งยังได้ร่วมกันเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์สื่อลามกอนาจารเด็กดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันมีลักษณะลามกและประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ โดยจำเลยทั้งสองใช้บัญชีเฟซบุ๊กและอีเมลเป็นช่องทางในการติดต่อโฆษณาแก่ประชาชนทั่วไปว่าสื่อลามกอนาจารเด็กสามารถรับชมได้ผ่านทางเว็บไซต์ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้สร้างและดูแล ทั้งยังให้บุคคลทั่วไปสามารถติดต่อลงโฆษณาสินค้าหรือบริการในเว็บไซต์ดังกล่าวได้โดยมีค่าใช้จ่าย อันเป็นการค้าสื่อลามกอนาจารเด็กของจำเลยทั้งสอง จากคำบรรยายฟ้องข้อ 1.1 เห็นว่า การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) ซึ่งนำไปสู่การแพร่หลายแก่ประชาชนโดยเข้าถึงผ่านทางเว็บไซต์ที่จำเลยทั้งสองสร้างขึ้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 287/2 (1) ทำให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเจตนาทำให้แพร่หลายซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กอันเป็นความประสงค์หลัก การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 287/2 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ส่วนคำบรรยายฟ้องข้อ 1.2 นั้น เห็นว่า แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะอันลามกซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (5) มาด้วย แต่ตามพฤติการณ์กระทำความผิดข้อนี้เป็นการโฆษณาชักจูงให้ประชาชนเข้าชมสื่อลามกอนาจารเด็กผ่านเว็บไซต์ของจำเลยทั้งสอง และให้บุคคลลงโฆษณาสินค้าและบริการในเว็บไซต์ดังกล่าวอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 287/2 (3) การกระทำของจำเลยทั้งสองหาใช่เป็นการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะอันลามกโดยตรงแต่อย่างใดไม่ เพียงแต่การกระทำของจำเลยทั้งสองมีเจตนาพิเศษเพื่อช่วยการทำให้แพร่หลายและการค้าเท่านั้น การร่วมกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองข้อนี้จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 287/3 เพียงบทเดียว ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (5) เมื่อคดีนี้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดออกเป็นสองข้อต่างหากจากกัน โดยการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.2 เป็นการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่การกระทำความผิดข้อ 1.1 สำเร็จแล้ว และมีพฤติการณ์กระทำความผิดกับองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างจากกัน อีกทั้งจำเลยทั้งสองกระทำความผิดครั้งหลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่จำเลยทั้งสองเพื่อการค้าและดึงดูดให้ประชาชนรับชมเว็บไซต์ของจำเลยทั้งสองมากขึ้น อันเป็นการเพิ่มความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดไปด้วย แม้จำเลยทั้งสองยังคงมีเจตนาพิเศษเพื่อทำให้แพร่หลายและเพื่อการค้าเช่นเดียวกัน แต่ไม่อาจถือเอาเจตนาพิเศษเพียงประการเดียวมาวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวได้ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองในข้อ 1.2 ถือได้ว่าเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดในข้อ 1.1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: หน่วยงานรัฐรับผิดละเมิดเจ้าหน้าที่ – ผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
การที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนแล้วมาฟ้องคดีนี้ แม้จำเลยที่ 2 คดีนี้และจำเลยในคดีก่อนจะเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน แต่จำเลยในคดีก่อนและจำเลยที่ 2 คดีนี้ ต่างเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ พ. (จำเลยซึ่งในคดีนี้) เป็นเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับจำเลยในคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดของ พ. ซึ่งเป็นการฟ้องโดยอาศัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน และในคดีก่อนได้ถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้ โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 อันต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในคดีอาญา การไม่ตั้งทนายความ, การคุ้มครองสิทธิ, และเหตุไม่รอการลงโทษ
ก่อนเริ่มพิจารณาคดีศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดี ที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นการกำหนดรายละเอียดของสิทธิไว้ชัดแจ้งเช่นเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลย
จำเลยฎีกาว่า ในวันนัดสอบคำให้การจำเลย โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกันให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์ให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
จำเลยฎีกาว่า ในวันนัดสอบคำให้การจำเลย โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกันให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์ให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินจากข้อความสนทนาออนไลน์ ต้องมีน้ำหนักชัดเจนว่าเป็นการกู้ยืมจริง ไม่ใช่แค่การพูดถึงหนี้สิน
แม้ข้อความสนทนาผ่านระบบแอปพลิเคชันไลน์ระหว่างโจทก์และจําเลยที่ 1 เป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจําเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ข้อความสนทนาตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอมีน้ำหนักฟังได้ว่า เงินจำนวน 7,800,000 บาท ที่โจทก์มอบให้แก่จําเลยที่ 1 ไปเป็นเงินกู้ยืม และไม่อาจถือเป็นหลักฐานกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่จําเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้แล้วหรือเป็นหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ยืมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง และมาตรา 9 อันจะนํามาฟ้องร้องให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ห้องชุด: การซื้อขายจริง vs. ถือกรรมสิทธิ์แทน และภาระการพิสูจน์
คำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกไปจากห้องชุดพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ว่า ห้องชุดพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสอง คดีฟ้องขับไล่จึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์อันเป็นการจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วย โดยหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยทั้งสองหากเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาท โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทคืนแก่จำเลยทั้งสองตามฟ้องแย้ง ดังนั้น การฟ้องขับไล่โดยมีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ห้องชุด จึงเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีนั้นทั้งหมดแทนจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 25 จำเลยที่ 1 ไม่อาจดำเนินคดีต่อไปโดยยื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดอาญาตามกฎหมายใหม่ที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด และการกำหนดโทษตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด โดยขณะกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามมาตรา 276 วรรคหนึ่ง (เดิม) เมื่อฐานความผิดตามมาตรา 278 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องปรับบทความผิดตามกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดตามมาตรา 3 แต่ระวางโทษตามมาตรา 278 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ที่ใช้ในภายหลังมีระวางโทษเท่ากับมาตรา 276 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ในส่วนระวางโทษตามกฎหมายที่ใช้ในภายหลังจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 276 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองห้องชุด, การรับผิดของลูกหนี้ร่วม, ดอกเบี้ยผิดนัด, การบังคับชำระหนี้
ข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของ จ. ว่า จำเลยที่ 4 ปลอมลายมือชื่อตน ทำรายงานการประชุมเท็จ และนำห้องชุด 20 ห้องของจำเลยที่ 5 ไปจดทะเบียนจำนองกับโจทก์ตามฟ้อง และ จ. มาฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วหรือไม่ ผลแห่งคดีเป็นเช่นไร ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวนั้น ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยที่ 5 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ โดยโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองห้องชุด 20 ห้อง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร ข้ออ้างของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ โจทก์มิอาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 5 ดังที่จำเลยที่ 5 ฎีกา ประกอบกับโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 5 โดยชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาจำนองเพิ่มหลักทรัพย์เป็นประกันโดยไม่เพิ่มวงเงิน รวม 20 ห้องชุด และตามสัญญาค้ำประกัน ตามที่โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วม กรณีประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ
แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต่างคนต่างขับรถโดยประมาท แต่ความประมาทของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นหนี้อันมิอาจแบ่งแยกจากกันได้ จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยร่วมเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล 14,631 บาท แก่โจทก์แล้ว จึงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 โจทก์มิอาจเรียกค่ารักษาพยาบาลจำนวนเดียวกันนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกเพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
ค่าใช้จ่ายของญาติผู้ตายที่เดินทางมาช่วยจัดการศพ และค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ นอกเหนือไปจากค่าปลงศพ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง
ขณะเกิดเหตุ โจทก์มีอายุ 48 ปี ส่วนผู้ตายกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัย ท. หากผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายย่อมมีโอกาสจบการศึกษาและประกอบอาชีพมีรายได้จากการทำงาน เห็นควรกำหนดค่าขาดไร้อุปการะในอัตราเดือนละ 14,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ให้ยกเลิกมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 3 ต่อปี บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี หรือ อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาสามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ค่าใช้จ่ายของญาติผู้ตายที่เดินทางมาช่วยจัดการศพ และค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ นอกเหนือไปจากค่าปลงศพ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง
ขณะเกิดเหตุ โจทก์มีอายุ 48 ปี ส่วนผู้ตายกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัย ท. หากผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายย่อมมีโอกาสจบการศึกษาและประกอบอาชีพมีรายได้จากการทำงาน เห็นควรกำหนดค่าขาดไร้อุปการะในอัตราเดือนละ 14,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ให้ยกเลิกมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 3 ต่อปี บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี หรือ อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาสามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)