พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การแสดงข้อมูลเท็จเพื่อชักชวนลงทุน และความเสียหายที่เพิ่มขึ้นจากการสอบสวน
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2560 โดยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและความผิดต่อ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน สำหรับความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้ถูกหลอกลวงมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยกับพวกอันจะทำให้โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงชอบแล้ว โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนได้
โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทฺ อ. การที่จำเลยส่งแพ็กเกจการลงทุนกิจการต่าง ๆ ที่บริษัทนำเงินผู้ลงทุนไปลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากบริษัท บอกวิธีการแนะนำชักชวนผู้อื่นมาลงทุนกับบริษัท และรายได้ของผู้ชักชวนหรือแนะนำผู้อื่นลงทุนในไลน์กลุ่มโดยมีเว็บไซต์ประกอบฟังได้ว่า จำเลยแสดงเนื้อหาและข้อมูลต่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงได้ และข้อเท็จจริงได้ความจากพันตำรวจโท ส. ว่า พยานตรวจสอบการมีอยู่ของบริษัท อ. กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุโขทัยพบว่าไม่มีชื่อในนิติบุคคลจดทะเบียนไว้ ตามหนังสือตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยจำเลยตอบคำถามค้านโจทก์ว่า อ. จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้น จำเลยไม่ทราบ แสดงว่า บริษัท อ. อาจจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงเป็นข้อมูลสำคัญที่จำเลยต้องแจ้งในกลุ่มไลน์ด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนการที่จำเลยไม่แจ้งข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้ที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและคำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด มีลักษณะเป็นการแสดงต่อประชาชนทั่วไปมิได้เจาะจงคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษโดยเฉพาะ และไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการต่อผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้น ที่จำเลยอ้างว่า จำเลยจะซื้อหน่วยลงทุนผ่าน ท. และจำเลยสนทนาการซื้อขายหน่วยลงทุนกับ ท. ผ่านไลน์ จำเลยนำเงินที่ได้รับจากโจทก์ร่วมรวมกับเงินของจำเลยเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของบริษัทเข้าบัญชีของ บ. และ ท. ตามรายการโอนเงิน จำเลยพูดคุยกับ ท. ผ่านไลน์ว่า โอนเงินต่อให้ ร. และจำเลยก็โอนเงินลงทุนกับบริษัท อ. โดยซื้อหน่วยลงทุนจาก ท. น่าจะเป็นแผนการหลอกลวงโจทก์ร่วมและประชาชนให้หลงเชื่อนำเงินมาลงทุนตามเจตนาของจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนชักชวนโจทก์ร่วม จำเลยไม่ได้เป็นผู้บริหารของบริษัทจึงไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ร่วม
จำเลยกับพวกร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคหนึ่งแต่ที่ไม่ระบุมาตรา 83 ไว้ยังไม่ถูกต้องเพราะจำเลยมิได้กระทำความผิดโดยลำพัง
การที่โจทก์ร่วมเข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีนี้ โจทก์ร่วมได้แจ้งลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดได้กระทำลง และความเสียหายที่ได้รับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้เห็นว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นและโจทก์ร่วมมีความเสียหายเพื่อทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน ส่วนพนักงานสอบสวนก็มีหน้าที่รวบรวมหลักฐานทุกชนิด โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นหลักฐานที่ พนักงานสอบสวนสืบหามาได้เอง หรือที่โจทก์ร่วมหรือผู้ต้องหายื่นต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเป็นพยานหรือที่บุคคลภายนอกส่งมาให้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ ในคดีเพื่อที่รู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดรวมทั้งความเสียหายที่แท้จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 แสดงว่าหลักฐานมิได้ต้องมาจากโจทก์ร่วมเพียงฝ่ายเดียว เมื่อได้ความว่าพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนเบิกความว่าตรวจสอบรายการเดินบัญชีธนาคารของผู้เสียหายกับจำเลยแล้วพบมีรายการโอนเงินบัญชีผู้เสียหายไปยังบัญชีธนาคารของจำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทเป็นเงิน 3,023,352 บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนสืบหามาตามอำนาจหน้าที่ ถือว่าการสอบสวนชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทฺ อ. การที่จำเลยส่งแพ็กเกจการลงทุนกิจการต่าง ๆ ที่บริษัทนำเงินผู้ลงทุนไปลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากบริษัท บอกวิธีการแนะนำชักชวนผู้อื่นมาลงทุนกับบริษัท และรายได้ของผู้ชักชวนหรือแนะนำผู้อื่นลงทุนในไลน์กลุ่มโดยมีเว็บไซต์ประกอบฟังได้ว่า จำเลยแสดงเนื้อหาและข้อมูลต่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงได้ และข้อเท็จจริงได้ความจากพันตำรวจโท ส. ว่า พยานตรวจสอบการมีอยู่ของบริษัท อ. กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุโขทัยพบว่าไม่มีชื่อในนิติบุคคลจดทะเบียนไว้ ตามหนังสือตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยจำเลยตอบคำถามค้านโจทก์ว่า อ. จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้น จำเลยไม่ทราบ แสดงว่า บริษัท อ. อาจจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงเป็นข้อมูลสำคัญที่จำเลยต้องแจ้งในกลุ่มไลน์ด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนการที่จำเลยไม่แจ้งข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้ที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและคำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด มีลักษณะเป็นการแสดงต่อประชาชนทั่วไปมิได้เจาะจงคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษโดยเฉพาะ และไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการต่อผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้น ที่จำเลยอ้างว่า จำเลยจะซื้อหน่วยลงทุนผ่าน ท. และจำเลยสนทนาการซื้อขายหน่วยลงทุนกับ ท. ผ่านไลน์ จำเลยนำเงินที่ได้รับจากโจทก์ร่วมรวมกับเงินของจำเลยเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของบริษัทเข้าบัญชีของ บ. และ ท. ตามรายการโอนเงิน จำเลยพูดคุยกับ ท. ผ่านไลน์ว่า โอนเงินต่อให้ ร. และจำเลยก็โอนเงินลงทุนกับบริษัท อ. โดยซื้อหน่วยลงทุนจาก ท. น่าจะเป็นแผนการหลอกลวงโจทก์ร่วมและประชาชนให้หลงเชื่อนำเงินมาลงทุนตามเจตนาของจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนชักชวนโจทก์ร่วม จำเลยไม่ได้เป็นผู้บริหารของบริษัทจึงไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ร่วม
จำเลยกับพวกร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคหนึ่งแต่ที่ไม่ระบุมาตรา 83 ไว้ยังไม่ถูกต้องเพราะจำเลยมิได้กระทำความผิดโดยลำพัง
การที่โจทก์ร่วมเข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีนี้ โจทก์ร่วมได้แจ้งลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดได้กระทำลง และความเสียหายที่ได้รับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้เห็นว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นและโจทก์ร่วมมีความเสียหายเพื่อทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน ส่วนพนักงานสอบสวนก็มีหน้าที่รวบรวมหลักฐานทุกชนิด โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นหลักฐานที่ พนักงานสอบสวนสืบหามาได้เอง หรือที่โจทก์ร่วมหรือผู้ต้องหายื่นต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเป็นพยานหรือที่บุคคลภายนอกส่งมาให้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ ในคดีเพื่อที่รู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดรวมทั้งความเสียหายที่แท้จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 แสดงว่าหลักฐานมิได้ต้องมาจากโจทก์ร่วมเพียงฝ่ายเดียว เมื่อได้ความว่าพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนเบิกความว่าตรวจสอบรายการเดินบัญชีธนาคารของผู้เสียหายกับจำเลยแล้วพบมีรายการโอนเงินบัญชีผู้เสียหายไปยังบัญชีธนาคารของจำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทเป็นเงิน 3,023,352 บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนสืบหามาตามอำนาจหน้าที่ ถือว่าการสอบสวนชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางศาลชดใช้ค่าเสียหาย: สิทธิการรับเงินขาดอายุ 5 ปี เงินตกเป็นของแผ่นดิน
เมื่อจำเลยนำเงินมาวางเพื่อบรรเทาผลร้ายให้โจทก์ ศาลมีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่า มีเงินมาวางไว้ที่ศาลเพื่อให้โจทก์มารับไป เมื่อมีการแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว หากโจทก์ไม่มารับเงินไปภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ทราบว่ามีการวางเงิน เงินค้างจ่ายจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 345 คดีนี้จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อบรรเทาผลร้ายให้โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2558 ศาลชั้นต้นได้แจ้งให้โจทก์ทราบในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลในวันที่ 3 สิงหาคม 2559 ว่าจำเลยนำเงินมาวางศาลและให้โจทก์ติดต่อรับเงิน แม้โจทก์ไม่ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา แต่ศาลชั้นต้นได้จดแจ้งเหตุที่โจทก์ไม่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 50 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แล้ว ทั้งต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์โจทก์ก็ระบุในอุทธรณ์ว่าจำเลยนำเงินมาวางศาล 5,000 บาท ต้องถือว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยนำเงินมาวางศาลและโจทก์มีสิทธิขอรับเงินดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2559 แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งให้โจทก์มารับเงินที่จำเลยวางไว้ที่ศาลในภายหลังเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 อีก ไม่ทำให้วันที่โจทก์ทราบว่าจำเลยนำเงินมาวางศาลและโจทก์มีสิทธิขอรับเงินดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป เงินที่จำเลยนำมาวางศาลและโจทก์ยังไม่มาขอรับ จึงเป็นเงินค้างจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอรับเงิน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเกินกำหนดห้าปี นับแต่วันที่โจทก์ทราบว่ามีการวางเงิน เงินค้างจ่ายดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินแล้ว และโจทก์เป็นอันสิ้นสิทธิที่จะขอรับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4217/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 19 ปี
โจทก์ร่วมอายุ 10 ปีเศษ ถูกจำเลยล่วงละเมิดทางเพศ มิได้ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องกระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม กรณีเป็นบิดาต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดาโจทก์ร่วมหย่าขาดกับมารดาโดยให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า บิดาโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมโดยบิดาโจทก์ร่วมขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตนั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ว่าจะยกฟ้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์หรือฎีกา และจำเลยเพิ่งฎีกาขึ้นมา และคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป การจะสั่งให้แก้ไขอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วมให้ถูกต้องเสียก่อนในกรณีนี้จึงไม่จำเป็นเพราะไม่เกิดประโยชน์อย่างใด
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ซึ่งเป็นบิดา แต่ไม่รับคำร้องอีกฉบับของโจทก์ร่วมโดย พ. ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา ทั้งโจทก์ร่วมโดย พ. ยังเคยขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีส่วนแพ่งด้วย ต้องถือว่า พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม ได้ให้ความยินยอมตามคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ฉบับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องแล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์ร่วมแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ซึ่งเป็นบิดา แต่ไม่รับคำร้องอีกฉบับของโจทก์ร่วมโดย พ. ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา ทั้งโจทก์ร่วมโดย พ. ยังเคยขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีส่วนแพ่งด้วย ต้องถือว่า พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม ได้ให้ความยินยอมตามคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ฉบับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องแล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์ร่วมแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราโดยมีอาวุธปืน ความผิดต่อเด็ก และการรวมกรรมความผิด
จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพของผู้ถูกข่มขืนใจ และบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริมให้ผู้เสียหายที่ 2 ประพฤติตนไม่สมควร ก็เพื่อมุ่งประสงค์จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นความประสงค์มาแต่แรก การกระทำดังกล่าวจึงต่อเนื่องกันมาไม่ขาดตอน และโจทก์บรรยายฟ้องความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ดังกล่าว และข้อหากระทำชำเราผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีอาวุธปืนรวมกันมาในข้อเดียวกัน ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสาม, 309 วรรคสอง และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (3), 78 ของจำเลย จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัท กรณีเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบ
แม้บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) เอกสารหมาย จ.1 ซึ่งตรงกับเอกสารที่แนบท้ายสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเอกสารหมาย จ.11 และตรงกับเอกสารหมาย ล.19 ที่ออกเอกสารวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 และข้อมูลในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นหน้า 44 ระบุว่า ในปี 2561 โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 นอกจากนี้ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการตามมาตรา 1024 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่ไม่เด็ดขาด คู่ความมีสิทธินำสืบหักล้างได้ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายได้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัท อ. มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทำการเปลี่ยนหุ้นในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ย่อมมีผลกระทบต่อจำนวนหุ้นของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารราชการที่ไม่มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 268 จะต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนด้วย เมื่อโจทก์ฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบล ม. และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ม. ต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ออกคำสั่งรื้อถอนอาคารพาณิชย์เลขที่ 555/79, 555/80 และ 555/81 ส่วนที่ก่อสร้างต่อเติม โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาคารพาณิชย์เลขที่ 555/75 ด้วย การแก้ไขข้อความบันทึกการตรวจสอบโรงงานและแบบตรวจแนะนำของเจ้าพนักงานที่ระบุว่าเข้าไปตรวจสอบบ้านเลขที่ 555/75 ว่าเข้าไปตรวจสอบบ้านเลขที่ 555/79 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาคารพาณิชย์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามที่โจทก์ฟ้องว่าประกอบกิจการมีเสียงดังรบกวนให้ตรงกับที่เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปตรวจสอบอาคารตามความจริง กลับเป็นประโยชน์แก่โจทก์ การแก้ไขข้อความในเอกสารจึงไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชน จึงไม่เป็นการปลอมเอกสาร ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ เมื่อนำไปใช้จึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขับรถเมาแล้วชนคนตาย ศาลลงโทษฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และปรับดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน
ความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โจทก์ร่วมทั้งสามไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรงจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักกว่าโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามและศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับพิจารณาในข้อหานี้โดยกำหนดโทษใหม่เป็นจำคุก 4 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวแม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกมาจากค่ายสุรธรรมพิทักษ์ แล้วเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวาที่มีรถยนต์กระบะของจำเลยแล่นอยู่ โดยผู้ตายไม่ตรวจตรารถที่วิ่งมาในทางตรงให้ปลอดภัยทำให้รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน ผู้ตายมิได้ใช้ความระมัดระวังในการเปลี่ยนช่องเดินรถถือว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ส่วนจำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งประสงค์จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เนื่องจากสุราหรือของมึนเมาทำให้สมรรถภาพในการควบคุมยานพาหนะด้อยประสิทธิภาพลง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้โดยง่าย จำเลยขับรถผ่านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางตรงและเป็นช่วงเวลากลางวัน หากจำเลยไม่อยู่ในอาการมึนเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น จำเลยก็น่าจะหักรถหลบหรือหยุดรถได้ทันก่อนที่จะเกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น เหตุเฉี่ยวชนจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยมีส่วนประมาท จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
เมื่อจำเลยและผู้ตายต่างเป็นฝ่ายประมาทก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้น กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ที่บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 223 บัญญัติว่า ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ค่อนข้างมาก บ่งชี้ว่าจำเลยไม่แยแสต่อผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจากการขับรถในขณะที่ตนเมาสุรา ทั้งจุดชนอยู่ในช่องเดินรถที่สองนับจากซ้ายมือแสดงว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ขับรถในช่องเดินรถซ้ายสุดตามที่กฎหมายกำหนด บนพื้นถนนก็ไม่ปรากฏว่ามีรอยเบรคของรถยนต์คันที่จำเลยขับ ทั้งที่สถาพบริเวณถนนที่เกิดเหตุจำเลยสามารถมองเห็นรถที่แล่นอยู่ในทิศทางเดียวกับรถของตนได้โดยง่าย ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าผู้ตาย จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดนั้น เป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว จึงกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 เท่ากับจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนด
เมื่อลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่แล้ว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราตามมาตรา 160 ตรี วรรคหนึ่งได้อีก และจำเลยยังมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา และมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของค่าสินไหมทดแทน ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกมาจากค่ายสุรธรรมพิทักษ์ แล้วเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวาที่มีรถยนต์กระบะของจำเลยแล่นอยู่ โดยผู้ตายไม่ตรวจตรารถที่วิ่งมาในทางตรงให้ปลอดภัยทำให้รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน ผู้ตายมิได้ใช้ความระมัดระวังในการเปลี่ยนช่องเดินรถถือว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ส่วนจำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งประสงค์จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เนื่องจากสุราหรือของมึนเมาทำให้สมรรถภาพในการควบคุมยานพาหนะด้อยประสิทธิภาพลง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้โดยง่าย จำเลยขับรถผ่านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางตรงและเป็นช่วงเวลากลางวัน หากจำเลยไม่อยู่ในอาการมึนเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น จำเลยก็น่าจะหักรถหลบหรือหยุดรถได้ทันก่อนที่จะเกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น เหตุเฉี่ยวชนจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยมีส่วนประมาท จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
เมื่อจำเลยและผู้ตายต่างเป็นฝ่ายประมาทก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้น กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ที่บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 223 บัญญัติว่า ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์ในขณะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 182 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ค่อนข้างมาก บ่งชี้ว่าจำเลยไม่แยแสต่อผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจากการขับรถในขณะที่ตนเมาสุรา ทั้งจุดชนอยู่ในช่องเดินรถที่สองนับจากซ้ายมือแสดงว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ขับรถในช่องเดินรถซ้ายสุดตามที่กฎหมายกำหนด บนพื้นถนนก็ไม่ปรากฏว่ามีรอยเบรคของรถยนต์คันที่จำเลยขับ ทั้งที่สถาพบริเวณถนนที่เกิดเหตุจำเลยสามารถมองเห็นรถที่แล่นอยู่ในทิศทางเดียวกับรถของตนได้โดยง่าย ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าผู้ตาย จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดนั้น เป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว จึงกำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 เท่ากับจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนด
เมื่อลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่แล้ว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราตามมาตรา 160 ตรี วรรคหนึ่งได้อีก และจำเลยยังมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา และมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของค่าสินไหมทดแทน ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์: การประกอบธุรกิจโดยไม่แจ้ง/ขึ้นทะเบียน และการลงโทษที่เกินควร
พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 33 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ หรือต้องขึ้นทะเบียน ให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องแจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาก่อนเริ่มประกอบธุรกิจนั้น และตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 มาตรา 7 บัญญัติว่า ธุรกิจบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ใดที่ผู้ให้บริการต้องแจ้งให้ทราบ ขึ้นทะเบียน หรือได้รับใบอนุญาต ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งตามบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 ประเภท บัญชี ข (4) การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้าเป็นธุรกิจบริการที่ต้องขอขึ้นทะเบียนก่อนให้บริการ กฎหมายจึงอนุญาตให้ประกอบธุรกิจให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ เพียงแต่ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนประกอบการเท่านั้น ซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจรับฝากชำระค่าสาธารณูปโภคผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้าจึงเป็นธุรกิจที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ร่วมกันประกอบธุรกิจรับฝากชำระค่าสาธารณูปโภคผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 ก่อนได้รับอนุญาต กระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่จึงอยู่ที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อนดำเนินธุรกิจมาแต่ต้นเท่านั้น จึงเป็นการกระทำความผิดเพียงกรรมเดียว
แม้ตาม พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฎษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 พ.ศ.2561 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 แต่ตามมาตรา 4 ได้กำหนดให้บรรดาการกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจ บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้เป็นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายที่จะดำเนินการเกี่ยวกับความผิดนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จ เมื่อจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดคดีนี้ก่อน พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 พ.ศ.2561 มีผลบังคับ จึงสามารถดำเนินคดีจำเลยทั้งสี่ต่อไปจนแล้วเสร็จได้ และเมื่อกฎหมายกำหนดขั้นตอนดำเนินคดีต่อไปไว้ชัดแจ้ง จึงมิใช่กรณีกฎหมายที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องไม่เป็นความผิดต่อไปหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสี่ ตาม ป.อ. มาตรา 2 และมาตรา 3 จึงสามารถใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่ต่อไปจนเสร็จได้
แม้ตาม พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฎษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 พ.ศ.2561 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 แต่ตามมาตรา 4 ได้กำหนดให้บรรดาการกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจ บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้เป็นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายที่จะดำเนินการเกี่ยวกับความผิดนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จ เมื่อจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดคดีนี้ก่อน พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 พ.ศ.2561 มีผลบังคับ จึงสามารถดำเนินคดีจำเลยทั้งสี่ต่อไปจนแล้วเสร็จได้ และเมื่อกฎหมายกำหนดขั้นตอนดำเนินคดีต่อไปไว้ชัดแจ้ง จึงมิใช่กรณีกฎหมายที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องไม่เป็นความผิดต่อไปหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสี่ ตาม ป.อ. มาตรา 2 และมาตรา 3 จึงสามารถใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่ต่อไปจนเสร็จได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นให้ใช้งานไม่ได้เพื่อบีบบังคับ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
การที่จำเลยแก้ไขระบบโปรแกรมบัญชีและการเงินของโจทก์ร่วมให้เป็นรุ่นทดลองใช้ มีกำหนดอายุการใช้งาน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2559 เพื่อบีบบังคับให้โจทก์ร่วมว่าจ้างจำเลยให้ทำงานต่อไป เมื่อครบกำหนดระยะเวลาระบบโปรแกรมบัญชีและการเงินของโจทก์ร่วมไม่สามารถใช้งานได้อีก ถือได้ว่าจำเลยกระทำการด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วมถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 10 และเป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่วันที่มีการแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วมเป็นรุ่นทดลองใช้ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วมไม่สามารถทำงานตามปกติจากโปรแกรมที่ไม่มีวันหมดอายุเป็นโปรแกรมรุ่นทดลองใช้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่เป็นความผิดสำเร็จในวันที่หมดอายุ ดังนั้น การที่จำเลยมอบ External harddisk ให้ที่ปรึกษาของโจทก์ร่วมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 เพื่อใช้ปลดล็อกโปรแกรมรุ่นทดลองใช้ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ จึงมิใช่กรณีการพยายามกระทำความผิดแล้วยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8674/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบทะเบียนพาณิชย์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การฟ้องคดีขาดอายุความ
ใบทะเบียนพาณิชย์เป็นเอกสารราชการที่รัฐต้องการควบคุมพาณิชยกิจบางประเภทให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ทางสถิติและเพื่อทราบหลักฐานการประกอบพาณิชยกิจของผู้ประกอบการค้า อันจะใช้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการพาณิชย์ อุตสาหกรรม และปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น มิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 1 (9) การที่จำเลยปลอมใบทะเบียนพาณิชย์และใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และไม่เป็นการใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม