คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ โรจน์อนนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7912/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระหนี้หลังอายุความครบกำหนด ถือเป็นการสละสิทธิอายุความ
จำเลยใช้บัตรเครดิตของธนาคาร ก. ในการซื้อสินค้าและบริการครั้งสุดท้าย ในวันที่ 21 กันยายน 2537 โจทก์ซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาใช้บัตรเครดิตจากธนาคาร ก. แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนดจึงต้องถือว่าธนาคาร ก. อาจบังคับสิทธิเรียกร้องหนี้นับแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อสัญญาใช้บัตรเครดิตเป็นกรณีที่ธนาคาร ก.ออกเงินทดรองไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง หนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการของจำเลยจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 และครบกำหนดวันที่ 10 พฤศจิกายน 2539 แต่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการครั้งสุดท้ายแล้ว ธนาคาร ก. บอกกล่าวทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้ตลอดมา ปรากฏว่าหลังจากอายุความครบกำหนดแล้ว จำเลยได้ผ่อนชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการให้แก่ธนาคาร ก. หลายครั้งตั้งแต่ปี 2540 ติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงปี 2544 โดยชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 8 ตุลาคม 2544 พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า จำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 จำเลยย่อมไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้ธนาคาร ก. และโจทก์ได้ และต้องเริ่มนับอายุความจากวันที่จำเลยชำระครั้งสุดท้ายซึ่งนับถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 2 ปี สิทธิเรียกร้องในหนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการตามฟ้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7707/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดีลักทรัพย์: ค้อนปอนด์เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงหรือไม่
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าค้อนปอนด์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง เนื่องจากการลักทรัพย์สำเร็จตั้งแต่การย้ายเสาปูน ส่วนการใช้ค้อนปอนด์ทุบเสาปูนเกิดขึ้นภายหลังเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
การที่ศาลจะอำนาจสั่งริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้น มีความมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้นๆ กล่าวคือ ทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดนั้นๆ ซึ่งต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติดังที่จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องว่าค้อนปอนด์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองใช้ในการทุบเสาปูนของผู้เสียหาย ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันลักเสาปูนของผู้เสียหายย่อมต้องอาศัยค้อนปอนด์ของกลางในการกระทำความผิด อันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าเป็นทรัพย์สินที่ควรริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7319/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้จากบัญชีเงินฝากโดยไม่ปรากฏข้อตกลงชัดเจน และหนี้ขาดอายุความ
ตามคำยินยอมคำขอเปิดบัญชีสะสมทรัพย์ข้อ 3 และข้อ 4 มีข้อความว่า "ข้าพเจ้ายินยอมให้ธนาคารนำเงินที่ข้าพเจ้านำเข้าฝากในบัญชีสะสมทรัพย์มาหักทอนยอดหนี้ที่เกิดขึ้นตามกล่าวในข้อ 3 หรือหนี้ลักษณะอื่นใดที่ข้าพเจ้ามีอยู่กับธนาคารได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบล่วงหน้า" ซึ่งข้อ 3 มีข้อความว่า "ในกรณีที่ข้าพเจ้าให้คำยินยอมหรือมอบอำนาจให้แก่ธนาคารหรือได้สั่งการไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ธนาคารหักเงินจากบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารหรือบุคคลอื่น เช่น รายการชำระหนี้ตามบัตรเครดิต ... เป็นต้น ถ้าหากธนาคารได้ผ่อนผันการจ่ายเงินเกินบัญชีไป ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินคืนธนาคารโดยถือเสมือนว่าข้าพเจ้าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคาร และยินยอมให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราสูงสุดที่ธนาคารได้มีประกาศกำหนด.." โดยไม่ปรากฏข้อตกลงว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อจำเลยที่ 1 ก่อนวันขอเปิดบัญชีสะสมทรัพย์มาหักจากเงินฝากในบัญชีของโจทก์ได้ อีกทั้งตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โจทก์ตกลงชำระหนี้การใช้บัตรเครดิตด้วยการให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์เลขที่ 170-0-09210-7 เท่านั้น โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีเงินฝากอื่นของโจทก์ได้อีก ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำเงินฝากจากบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เลขที่ 230-0-38370-6 มาหักชำระหนี้บัตรเครดิตได้ และจำเลยที่ 1 ก็มิอาจนำเงินฝากในบัญชีสะสมทรัพย์มาหักกลบลบหนี้บัตรเครดิตตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกันได้ เนื่องจากในวันที่โจทก์เปิดบัญชีสะสมทรัพย์ไว้กับจำเลยที่ 1 ขณะนั้นสิทธิเรียกร้องในหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 ได้ขาดอายุความไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5588/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายและสนับสนุนหลบหนี ถือเป็นกรรมต่างกัน
ความผิดตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และมาตรา 72 แห่งพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 86 เป็นความผิดที่ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน กฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นความผิดและมีบทลงโทษสำหรับความผิดแต่ละอย่างแตกต่างกัน และลักษณะแห่งการกระทำความผิดสามารถแยกส่วนจากกันได้ แสดงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดในแต่ละการกระทำเป็นกรณีไป แม้เหตุการณ์ที่จำเลยถูกจับกุมจะเป็นเหตุเดียวกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา: การพิจารณาคำให้การของผู้เสียหายและจำเลยที่สอดคล้องกัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย หลังเกิดเหตุผู้เสียหายไปแจ้งความและพาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับ อ. และ ว. ได้ที่บ้านเกิดเหตุ อ. และ ว. ให้การรับสารภาพตรงกันกับที่ผู้เสียหายแจ้งความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนและจำเลยที่ 3 ยังให้การต่ออีกว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งคำให้การของจำเลยที่ 3 ไม่ได้มีลักษณะปัดความรับผิดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อันอาจทำให้น่าระแวงสงสัยแต่อย่างใด คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังมีรายละเอียดสอดคล้องรับกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 2 เองแม้จะให้การปฏิเสธ แต่ก็ยอมรับว่าพวกของจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งรับกันกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเช่นเดียวกัน ดังนั้น แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายและของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ตามสภาพลักษณะแหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมข้างต้น เมื่อรับฟังประกอบกันแล้วมีเหตุผลเชื่อมโยงสนับสนุนกันเป็นลำดับ จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 และน่าเชื่อว่าเป็นความจริง
ส่วนที่ผู้เสียหายเบิกความว่า เหตุที่ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าเป็นเพราะความโกรธนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวมาก่อน ทั้งยังไปเบิกความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ยืนยันว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับพวกข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเพิ่งยกเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิด น่าเชื่อว่าสืบเนื่องมาจากผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากมารดาจำเลยที่ 1 และจากบิดาจำเลยที่ 2 จนเป็นที่พอใจแล้ว ข้ออ้างดังกล่าวของผู้เสียหายจึงส่อพิรุธ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า บันทึกคำให้การของ อ. และ ว. ที่ถูกฟ้องไปก่อนในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 เป็นพยานบอกเล่าซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีโอกาสถามค้านนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถอ้างและนำสืบ อ. และ ว. เป็นพยานของตนได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีเหตุผลให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่า: ความผิดฐานผู้ใช้
ขณะ บ. ใช้อาวุธปืนเล็งไปที่ผู้ตาย จำเลยที่ 2 พูดกับ บ. ว่า ยิงเลยๆ แล้ว บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการยุยงส่งเสริมให้ บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย เมื่อ บ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตายและกระสุนปืนยังถูกผู้เสียหายได้รับอันตายสาหัส จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 และมาตรา 288, 80, 60 ประกอบมาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายขังระหว่างพิจารณาหลังผู้ประกันสิ้นสภาพสมาชิกสภาฯ และผลของการไม่ส่งตัวผู้ต้องหาคืนศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 และในวันเดียวกัน ส. ได้ใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นอนุญาต กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะออกหมายขังระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. 88 (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะนั้น แม้ในระหว่างพิจารณาจะปรากฏข้อเท็จจริงแก่ศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมและควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินคดีที่ศาลอาญาก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 116 บัญญัติว่า "การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล" เมื่อผู้ประกันไม่ได้ยื่นคำร้องขอมอบตัวจำเลยที่ 2 คืนต่อศาล จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันได้ส่งมอบหรือคืนตัวจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นก็มิได้เพิกถอนสัญญาประกันแล้วออกหมายขังจำเลยไว้ในคดีนี้ เพราะเมื่อศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้ศาลอาญาส่งตัวจำเลยมาพิจารณาคดีนี้ ศาลอาญาแจ้งว่าจะส่งตัวจำเลยให้เมื่อพิจารณาคดีเสร็จแล้ว ดังนี้ ในระหว่างนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นต้องออกหมายขังระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 จนกระทั่งเมื่อได้ตัวจำเลยที่ 2 มาและเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส. ผู้ประกันจำเลยที่ 2 ได้พ้นจากสภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาประกันและออกหมายขังจำเลยที่ 2 ระหว่างพิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายขังระหว่างพิจารณาเมื่อมีสัญญาประกัน และการเพิกถอนสัญญาประกันเมื่อผู้ประกันไม่ได้ส่งตัวจำเลยคืนศาล
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 116 บัญญัติว่า "การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล" เมื่อผู้ประกันไม่ได้ยื่นคำร้องขอมอบตัวจำเลยที่ 2 คืนต่อศาล จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันได้ส่งมอบหรือคืนตัวจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นก็มิได้เพิกถอนสัญญาประกันแล้วออกหมายขังจำเลยที่ 2 ไว้ในคดีนี้ ในระหว่างนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นต้องออกหมายขังระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะถูกจับและควบคุมตัวที่เรือนจำเพื่อดำเนินคดีอื่นก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายกระทง เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ-ข่มขืนใจ-ทำร้ายร่างกาย-แจ้งความเท็จ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายข้อหาในคดีที่มีข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำหรือกรอกข้อความในบันทึกการจับกุม รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงซึ่งมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จโดยบรรยายฟ้องรวมกันมาเป็นข้อเดียว มิได้แยกกระทงแต่อย่างใด อีกทั้งการกระทำตามฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะกระทำการหลายอย่าง แต่ด้วยเจตนาเดียวกัน คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นกรรมเดียวกัน เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกเกินสามปีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 และมาตรา 310 วรรคแรก เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
1/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานจากคำให้การและบาดแผลของผู้เสียหายเพียงพอรับฟังความผิด แม้ผู้เสียหายไม่มาเบิกความ
แม้โจทก์จะไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานเพราะเหตุจำเป็นที่ผู้เสียหายหนีออกจากบ้านพักไม่สามารถติดตามตัวได้ แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายตามบันทึกคำให้การ และผลการชันสูตรบาดแผล ซึ่งตรวจหลังเกิดเหตุในวันเดียวกันและพบรอยถลอกที่ปากช่องคลอดและรอยช้ำที่เยื่อพรมจรรย์แล้วเชื่อว่าผู้เสียหายให้การไปตามความจริง บันทึกคำให้การดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (1)
of 12