คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 317 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และพรากเด็กจากผู้ปกครอง ศาลลดโทษตามกฎหมายใหม่
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 มีอายุเพียง 13 ปีเศษ เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 มีอายุไม่เกินสิบห้าปีและมิใช่ภริยาของจำเลยไม่ว่าผู้เสียหายที่ 1 จะยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ จำเลยย่อมมีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) และการที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราที่บ้านของ ส. ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร จำเลยมีความผิดฐานพรากเด็กอาจไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามด้วย แต่ขณะกระทำความผิดจำเลยยังเป็นวัยรุ่นกระทำความผิดด้วยความคึกคะนอง ทั้งผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนและพฤติการณ์แห่งคดียังไม่ร้ายแรงนัก ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำชำเราจำคุก 12 ปี และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร จำคุกไม่เกิน 8 ปี โดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เห็นว่า เป็นการกำหนดโทษที่หนักเกินไปและการให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกไปเสียเลยนั้นย่อมไม่เป็นผลดีแก่จำเลยและสังคม จึงเห็นสมควรกำหนดโทษจำคุกเสียใหม่และให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีด้วยการรอการลงโทษให้จำเลย แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงเห็นสมควรคุมความประพฤติของจำเลยด้วย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21)ฯ มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และ 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน คดีนี้ขณะจำเลยกระทำความผิด จำเลยอายุสิบเจ็ดปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษจะต้องลดตามมาตรา 76 (เดิม) และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 395 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15973/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดพยายามกระทำชำเราและกระทำอนาจารเด็ก ศาลต้องลงโทษฐานความผิดที่มีโทษหนักที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีและฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยให้ลงโทษบทหนักฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 80 มีโทษจำคุกขั้นสูง 33 ปี 4 เดือน ส่วนความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายมีโทษจำคุกขั้นสูงเพียง 15 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องเป็นให้ลงโทษบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 80 โดยไม่ได้แก้ไขบทความผิดและกำหนดโทษกับลดโทษให้จำเลยอีกกระทงละหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือน อันถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ส่วนความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจาร พิพากษาแก้เฉพาะโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้จำคุกไม่เกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีพิรุธและปรักปรำจำเลย กับขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลย เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษเมื่อข้อเท็จจริงพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลง ศาลสามารถลงโทษตามบทที่มีโทษเบากว่าได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสี่พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดพรากผู้เสียหายที่ 1 โดยเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายที่ 1 อายุกว่าสิบห้าปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก ศาลย่อมปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก ซึ่งมีการกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในความผิดตามที่โจทก์ฟ้องและมีโทษเบากว่าตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายได้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษดังที่จำเลยทั้งสี่ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร: การพิจารณาจากผู้ดูแล และอำนาจศาลในการลงโทษตามข้อเท็จจริง
การพรากเด็กอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม คือการพรากไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายจะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา เนื่องจากไปทำงานเป็นพนักงานในร้านอาหารสาวสระแก้วที่จังหวัดชุมพรก็ตาม แต่บิดาของผู้เสียหายได้มอบหมายให้ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารสาวสระแก้วเป็นผู้ดูแลผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านของจำเลยและต่อมาได้กระทำชำเราผู้เสียหายจึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยได้โต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าว ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานจากคำให้การและบาดแผลของผู้เสียหายเพียงพอรับฟังความผิด แม้ผู้เสียหายไม่มาเบิกความ
แม้โจทก์จะไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานเพราะเหตุจำเป็นที่ผู้เสียหายหนีออกจากบ้านพักไม่สามารถติดตามตัวได้ แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายตามบันทึกคำให้การ และผลการชันสูตรบาดแผล ซึ่งตรวจหลังเกิดเหตุในวันเดียวกันและพบรอยถลอกที่ปากช่องคลอดและรอยช้ำที่เยื่อพรมจรรย์แล้วเชื่อว่าผู้เสียหายให้การไปตามความจริง บันทึกคำให้การดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9725/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนเด็กและการพรากผู้เยาว์: อำนาจปกครองมารดาและการกระทำอนาจาร
เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะและพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ผู้เสียหายที่ 1 ย่อมอยู่ใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยดึงผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปในห้องพักของจำเลยแล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 รวม 2 ครั้ง เป็นการกระทำอันมีเจตนาล่วงล้ำอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 แล้ว เพราะจำเลยนำสืบรับว่ามีบุตรและภริยาอยู่แล้ว ย่อมไม่อยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 ฉันสามีภริยาได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร รวม 2 กระทง ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในห้องน้ำของโรงเรียนที่เกิดเหตุระหว่างที่ผู้เสียหายที่ 2 มีกิจธุระจึงให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปอยู่กับจำเลยนั้น จำเลยไม่ได้กระทำการใดอันจะเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 คงมีเจตนาที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยในครั้งนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษความผิดต่อเด็ก: พิจารณาบทหนักสุดและผลการยอมความของผู้เสียหาย
จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง ทั้งสามฐานความผิดเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา ถือเป็นการยอมความกันตามกฎหมาย เมื่อความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5619/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ จำเลยมีส่วนร่วมในการยินยอมให้ใช้สถานที่เพื่อกระทำอนาจารเท่านั้น ไม่ถือเป็นตัวการร่วม
คดีนี้คนร้าย 4 คน ได้พาผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปข่มขืนกระทำชำเรา หลังจากนั้นคนร้าย 2 คน ได้พาผู้เสียหายนั่งรถจักรยานยนต์ไปที่บ้านหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นห้องพักของจำเลย แล้วคนร้าย 2 คนนั้นได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอีกรอบ จากนั้นจึงให้จำเลยมาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการที่คนร้าย 4 คน ได้พรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตั้งแต่แรกแต่ประการใด จำเลยเป็นเพียงเจ้าของห้องพักที่เกิดเหตุซึ่งยินยอมให้พวกนำผู้เสียหายมาใช้ห้องพักเป็นสถานที่หลับนอนและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยมิได้มีการพรากผู้เสียหายไปยังที่อื่นๆ อีก จำเลยจึงมิใช่ตัวการร่วมหรือผู้สนับสนุนในความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4142/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงและการสมรสย่อมไม่ทำให้พ้นผิดในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่าสิบสามปี
การที่จำเลยไม่ต้องรับโทษถ้าศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงสมรสกันมีเพียงการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 เท่านั้น แม้จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดบังคับ ซึ่งมาตรา 277 วรรคห้า (เดิม) ที่ใช้บังคับแก่คดีนี้บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แต่ในคดีนี้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ยินยอมในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกินสิบสามปีกระทงหนึ่ง และอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีกระทงหนึ่ง เมื่อศาลได้อนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน การกระทำของจำเลยเฉพาะความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จึงไม่ต้องรับโทษ ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกินสิบสามปี ไม่เข้าเหตุที่จะไม่ต้องรับโทษ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการกระทำความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารแม้ผู้นั้นจะยินยอม จำเลยจึงต้องรับโทษในความผิดฐานดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14683/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่ออนาจารและการสนับสนุนการกระทำชำเราเด็ก
จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปขนำที่เกิดเหตุโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วย และผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยที่ 1 กระทำชำเรา เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 มารดาผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรและผู้เสียหายที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
การที่จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปพบจำเลยที่ 1 ที่ขนำที่เกิดเหตุในยามวิกาล ซุบซิบปรึกษากับจำเลยที่ 1 แล้วออกอุบายหลอกลวงเพื่อปลีกตัวหนีออกมาโดยปล่อยทิ้งผู้เสียหายที่ 2 อยู่กับจำเลยที่ 1 ตามลำพังจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานกระทำชำเราอีกกรรมหนึ่งหาใช่กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทไม่
of 7